สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
คนจากกรุงศรีอยุทธยาไม่ได้ถูกกวาดต้อนไปหมดครับ เพราะมีทั้งพระราชวงศ์และข้าราชการที่หลบหนีจากกรุงไปอยู่ที่หัวเมืองต่างๆ จำนวนมากตั้งแต่กรุงยังไม่เสีย และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสุกี้พระนายกองกักตัวไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้นเพื่อรอส่งไปพม่าต่อไป เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก สถาปนาราชธานีขึ้นใหม่ และสามารถปราบปรามเจ้าชุมนุมต่างๆ ได้สิ้นแล้ว บรรดาพระราชวงศ์และข้าราชการกรุงเก่าส่วนใหญ่ก็มาอยู่ที่กรุงธนบุรีกันหมด ในราชสำนักกรุงธนบุรีจึงมีข้าราชการครั้งกรุงศรีอยุทธยาอยู่จำนวนมาก
เอกสารราชการสำคัญต่างๆ ก็ไม่ได้อยู่ที่กรุงศรีอยุทธยาที่เดียว แต่กระจายอยู่ตามหัวเมืองจำนวนมาก หัวเมืองสำคัญของกรุงศรีอยุทธยาเช่น พิษณุโลก นครราชสีมา หรือนครศรีธรรมราช ก็น่าเชื่อว่าต้องรักษาเอกสารสำคัญต่างๆ ไว้ โดยเฉพาะเมืองเอกอย่างนครศรีธรรมราชซึ่งยังพบหลักฐานตำราขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ อยู่มาก ในสมัยหลังก็ยังพบเอกสารประเภทพงศาวดารจากเมืองเพชรบุรี ระยอง และเมืองอื่นๆ อีก ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์
นครศรีธรรมราชและพัทลุงยังมีพราหมณ์พิธีและพราหมณ์โหราจารย์ที่สืบเชื้อสายจากอินเดียอยู่ตั้งแต่โบราณ ตอนกรุงศรีอยุทธยาเสียตระกูลพราหมณ์สูญไปมาก ก็เอาพราหมณ์จากทางใต้ขึ้นไปอยู่กรุงเทพฯ ด้วย พราหมณ์ตระกูลรังสิพราหมณกุลซึ่งเป็นพราหมณ์หลวงในปัจจุบันนี้ ก็สืบเชื้อสายจากพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช-พัทลุงครับ
ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ยังมีการชำระรวบรวมเอกสารสำคัญทั้งหลายขึ้นหลายครั้ง เช่น
พ.ศ. ๒๓๒๓ มีการแต่งตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักกรุงศรีอยุทธยา โดยให้เจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) รับพระราชโองการให้ "คนเก่า" หรือข้าราชการครั้งกรุงเก่า ๒๐ ท่าน ได้แก่
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ในสมัยพระเจ้าเอกทัศเป็นพระยาธิเบศร์บริรักษ์ จางวางมหาดเล็ก
เจ้าพระยาราชาบริรักษ์
เจ้าพระยาราชนายก
พระยาราชสุภาวดี ลคร เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชสมัยพระเจ้าเอกทัศ
พระยาราชทูต
พระยาสุรเสนา กรมท่า
พระยาธรรมไตรโลก
พระสุรเสนา
พระมหาอำมาตย์
พระอินทราช
พระนิลพล นอกราชการ
หลวงศรีกาฬสมุด
หมื่นนิลพล นอกราชการ
หมื่นนรินทรเสนี นอกราชการ
หมื่นศรีสหเทพ นอกราชการ
พันเทพราช
พันพุฒ
พันภาณ
พันเภา
พันจันท์
นายหงส์ เสมียนนครบาล มาพร้อมกัน ณ โณงพระแก้วมรกต "บอกขนบธรรมเนียมราชการตามอย่างแต่ก่อน"
เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏในพระราชพงศาวดาร "คนเก่า" ผู้รู้ขนบธรรมเนียมหลายคนก็ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่
- หลวงอินทราธิบดีศรีราชรองเมือง "เปนคนเก่ารู้ขนบธรรมเนียมในกรมพระนครบาล" ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช เสนาบดีนครบาล
- พระยาธรรมาธิบดีเสนาบดีกรมวังในสมัยธนบุรี เป็นบุตรพระยามณเฑียรบาล กรมวังของวังหน้าสมัยกรุงเก่า "รู้ขนบธรรมเนียมในกรมวัง จะยกไปกรมอื่นไม่ได้" จึงได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์
- นายหงส์ เสมียนกรมนครบาล "รู้ขนบธรรมเนียมใช้สอยได้ดังพระทัย" ได้เป็น พระยาพิพิธไอศูรย์ จางวางชาวที่ บางฉบับว่าได้เป็น พระยาเพ็ชรพิไชย จางวางกรมล้อมพระราชวัง
เจ้าพระยายมราชกับเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ในสงครามเก้าทัพอ่อนแอในการศึก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานประหารชีวิต แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงขอชีวิตไว้ จึงถูกถอดจากบรรดาศักดิ์ ภายหลังทรงเห็นว่าทั้งสองเป็นข้าราชการเก่ารู้ขนบธรรมเนียมแผ่นดินมาก จึงโปรดตั้งเจ้าพระยาธรรมาเป็น พระยาศรีธรรมาธิราช จางวางกรมวัง (ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยา) ตั้งเจ้าพระยายมราชเป็น พระยามหาธิราช ช่วยราชการในกรมเมือง
พ.ศ. ๒๓๒๖ มีการแต่งตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุทธยาโดยข้าราชการผู้ใหญ่ ๔ ท่าน คือ เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (เข้าใจว่าคือเสมียนหงส์) เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระยาราชสงคราม พระยาอุทัยมนตรี ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นข้าราชการกรุงเก่าที่เคยเห็นพระราชพิธีโดยตรง เพราะมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้าจำได้แต่เพียงนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม"
นอกจากนี้ก็มีพระราชวงศ์สมัยกรุงเก่า คือ เจ้าฟ้าพินทวดี พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นผู้บอกประเพณีลงสรงโสกันต์เจ้าฟ้าในสมัยกรุงเก่าให้เป็นแบบแผนสำหรับกรุงรัตนโกสินทร์ "คิดอ่านจดหมายการงานลงสรงโสกันต์ต่าง ๆ ลงไว้ แล้วชี้แจงให้ผู้ใหญ่ผู้น้อยข้างหน้าข้างในเรียนดูรู้ไว้ด้วยกันมาก เพื่อจะไม่ให้การสาบศูนย์ไป"
พ.ศ. ๒๓๓๑ โปรดให้สมเด็จพระสังฆราชเลือกพระราชาคณะ ถานานุกรม บาเรียน และอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎก รวม ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิต ๓๒ คนร่วมกันสังคายนาพระไตรปิฎกใหม่
พ.ศ. ๒๓๔๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชโองการให้อาลักษณ์ ลูกขุน ราชบัณฑิต ร่วมกัน "ชำระพระราชกำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมสาตรไป ให้ถูกถ้วยตามบาฬีแลเนื้อความมิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกันได้ จัดเป็นหมดเปนเหล่าเข้าไว้ และชำระดัดแปลงวึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้" คือการชำระรวบรวมประมวลกฎหมายเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาขึ้นใหม่ เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" ซึ่งมีทั้งกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และพระราชกฤษฎีกาสมัยกรุงเก่าอยู่หลายบท
แต่ทั้งนี้กฏหมายเก่าที่รวบรวมไว้มีเพียงส่วนเดียว ส่วนใหญ่สูญหายไปในสงครามเสียกรุง ดังที่ปรากฏกล่าวถึงในกฎหมายเมื่อจุลศักราช ๑๑๕๖ ปีขาลฉศก (พ.ศ. ๒๓๓๗) ว่า
"พระราชกำหนตบทพระอายการสำหรับแผ่นดินกระษัตรมีมากหลายต่อ ๆ มาจะนับจะคลณามิได้ ครั้งกรุงศรีอยุทธยาเสียแก่อ้ายพะม่าฆ่าศึก พระธรรมสาตรราชาตรบทพระอายการกระจัดกระจาย หายเก้าส่วน สิบส่วนมีอยู่สักส่วนหนึ่ง"
นอกจากนี้ก็มีเอกสารประเภทคำให้การ เช่น คำให้การชาวกรุงเก่า ที่ราชสำนักพม่าเรียบเรียงขึ้นจากเชลยกรุงศรีอยุทธยาที่ถูกกวาดต้อนไป มีฉบับภาษามอญตกทอดมาถึงเมืองไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งก็มีตำราแบบแผนธรรมเนียมต่างๆ แทรงอยู่ด้วย
จะเห็นได้ว่า ทั้งผู้รู้ขนบธรรมเนียมและเอกสารสมัยอยุทธยายังมีหลงเหลืออยู่ ทำให้สามารถสืบทอดองค์ความรู้มาถึงสมัยหลังได้ แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์เท่าสมัยกรุงศรีอยุทธยาก็ตามครับ
เอกสารราชการสำคัญต่างๆ ก็ไม่ได้อยู่ที่กรุงศรีอยุทธยาที่เดียว แต่กระจายอยู่ตามหัวเมืองจำนวนมาก หัวเมืองสำคัญของกรุงศรีอยุทธยาเช่น พิษณุโลก นครราชสีมา หรือนครศรีธรรมราช ก็น่าเชื่อว่าต้องรักษาเอกสารสำคัญต่างๆ ไว้ โดยเฉพาะเมืองเอกอย่างนครศรีธรรมราชซึ่งยังพบหลักฐานตำราขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ อยู่มาก ในสมัยหลังก็ยังพบเอกสารประเภทพงศาวดารจากเมืองเพชรบุรี ระยอง และเมืองอื่นๆ อีก ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์
นครศรีธรรมราชและพัทลุงยังมีพราหมณ์พิธีและพราหมณ์โหราจารย์ที่สืบเชื้อสายจากอินเดียอยู่ตั้งแต่โบราณ ตอนกรุงศรีอยุทธยาเสียตระกูลพราหมณ์สูญไปมาก ก็เอาพราหมณ์จากทางใต้ขึ้นไปอยู่กรุงเทพฯ ด้วย พราหมณ์ตระกูลรังสิพราหมณกุลซึ่งเป็นพราหมณ์หลวงในปัจจุบันนี้ ก็สืบเชื้อสายจากพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช-พัทลุงครับ
ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ยังมีการชำระรวบรวมเอกสารสำคัญทั้งหลายขึ้นหลายครั้ง เช่น
พ.ศ. ๒๓๒๓ มีการแต่งตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักกรุงศรีอยุทธยา โดยให้เจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) รับพระราชโองการให้ "คนเก่า" หรือข้าราชการครั้งกรุงเก่า ๒๐ ท่าน ได้แก่
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ในสมัยพระเจ้าเอกทัศเป็นพระยาธิเบศร์บริรักษ์ จางวางมหาดเล็ก
เจ้าพระยาราชาบริรักษ์
เจ้าพระยาราชนายก
พระยาราชสุภาวดี ลคร เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชสมัยพระเจ้าเอกทัศ
พระยาราชทูต
พระยาสุรเสนา กรมท่า
พระยาธรรมไตรโลก
พระสุรเสนา
พระมหาอำมาตย์
พระอินทราช
พระนิลพล นอกราชการ
หลวงศรีกาฬสมุด
หมื่นนิลพล นอกราชการ
หมื่นนรินทรเสนี นอกราชการ
หมื่นศรีสหเทพ นอกราชการ
พันเทพราช
พันพุฒ
พันภาณ
พันเภา
พันจันท์
นายหงส์ เสมียนนครบาล มาพร้อมกัน ณ โณงพระแก้วมรกต "บอกขนบธรรมเนียมราชการตามอย่างแต่ก่อน"
เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏในพระราชพงศาวดาร "คนเก่า" ผู้รู้ขนบธรรมเนียมหลายคนก็ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่
- หลวงอินทราธิบดีศรีราชรองเมือง "เปนคนเก่ารู้ขนบธรรมเนียมในกรมพระนครบาล" ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช เสนาบดีนครบาล
- พระยาธรรมาธิบดีเสนาบดีกรมวังในสมัยธนบุรี เป็นบุตรพระยามณเฑียรบาล กรมวังของวังหน้าสมัยกรุงเก่า "รู้ขนบธรรมเนียมในกรมวัง จะยกไปกรมอื่นไม่ได้" จึงได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์
- นายหงส์ เสมียนกรมนครบาล "รู้ขนบธรรมเนียมใช้สอยได้ดังพระทัย" ได้เป็น พระยาพิพิธไอศูรย์ จางวางชาวที่ บางฉบับว่าได้เป็น พระยาเพ็ชรพิไชย จางวางกรมล้อมพระราชวัง
เจ้าพระยายมราชกับเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ในสงครามเก้าทัพอ่อนแอในการศึก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานประหารชีวิต แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงขอชีวิตไว้ จึงถูกถอดจากบรรดาศักดิ์ ภายหลังทรงเห็นว่าทั้งสองเป็นข้าราชการเก่ารู้ขนบธรรมเนียมแผ่นดินมาก จึงโปรดตั้งเจ้าพระยาธรรมาเป็น พระยาศรีธรรมาธิราช จางวางกรมวัง (ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยา) ตั้งเจ้าพระยายมราชเป็น พระยามหาธิราช ช่วยราชการในกรมเมือง
พ.ศ. ๒๓๒๖ มีการแต่งตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุทธยาโดยข้าราชการผู้ใหญ่ ๔ ท่าน คือ เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (เข้าใจว่าคือเสมียนหงส์) เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระยาราชสงคราม พระยาอุทัยมนตรี ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นข้าราชการกรุงเก่าที่เคยเห็นพระราชพิธีโดยตรง เพราะมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้าจำได้แต่เพียงนี้ แล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม"
นอกจากนี้ก็มีพระราชวงศ์สมัยกรุงเก่า คือ เจ้าฟ้าพินทวดี พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นผู้บอกประเพณีลงสรงโสกันต์เจ้าฟ้าในสมัยกรุงเก่าให้เป็นแบบแผนสำหรับกรุงรัตนโกสินทร์ "คิดอ่านจดหมายการงานลงสรงโสกันต์ต่าง ๆ ลงไว้ แล้วชี้แจงให้ผู้ใหญ่ผู้น้อยข้างหน้าข้างในเรียนดูรู้ไว้ด้วยกันมาก เพื่อจะไม่ให้การสาบศูนย์ไป"
พ.ศ. ๒๓๓๑ โปรดให้สมเด็จพระสังฆราชเลือกพระราชาคณะ ถานานุกรม บาเรียน และอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎก รวม ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิต ๓๒ คนร่วมกันสังคายนาพระไตรปิฎกใหม่
พ.ศ. ๒๓๔๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชโองการให้อาลักษณ์ ลูกขุน ราชบัณฑิต ร่วมกัน "ชำระพระราชกำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมสาตรไป ให้ถูกถ้วยตามบาฬีแลเนื้อความมิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกันได้ จัดเป็นหมดเปนเหล่าเข้าไว้ และชำระดัดแปลงวึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้" คือการชำระรวบรวมประมวลกฎหมายเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาขึ้นใหม่ เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" ซึ่งมีทั้งกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และพระราชกฤษฎีกาสมัยกรุงเก่าอยู่หลายบท
แต่ทั้งนี้กฏหมายเก่าที่รวบรวมไว้มีเพียงส่วนเดียว ส่วนใหญ่สูญหายไปในสงครามเสียกรุง ดังที่ปรากฏกล่าวถึงในกฎหมายเมื่อจุลศักราช ๑๑๕๖ ปีขาลฉศก (พ.ศ. ๒๓๓๗) ว่า
"พระราชกำหนตบทพระอายการสำหรับแผ่นดินกระษัตรมีมากหลายต่อ ๆ มาจะนับจะคลณามิได้ ครั้งกรุงศรีอยุทธยาเสียแก่อ้ายพะม่าฆ่าศึก พระธรรมสาตรราชาตรบทพระอายการกระจัดกระจาย หายเก้าส่วน สิบส่วนมีอยู่สักส่วนหนึ่ง"
นอกจากนี้ก็มีเอกสารประเภทคำให้การ เช่น คำให้การชาวกรุงเก่า ที่ราชสำนักพม่าเรียบเรียงขึ้นจากเชลยกรุงศรีอยุทธยาที่ถูกกวาดต้อนไป มีฉบับภาษามอญตกทอดมาถึงเมืองไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งก็มีตำราแบบแผนธรรมเนียมต่างๆ แทรงอยู่ด้วย
จะเห็นได้ว่า ทั้งผู้รู้ขนบธรรมเนียมและเอกสารสมัยอยุทธยายังมีหลงเหลืออยู่ ทำให้สามารถสืบทอดองค์ความรู้มาถึงสมัยหลังได้ แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์เท่าสมัยกรุงศรีอยุทธยาก็ตามครับ
ความคิดเห็นที่ 6
1 คนที่หนีออกไปได้มีเยอะกว่าที่ตายและถูกกวาดต้อนไปครับ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พม่าทำลายกำแพงบุกเข้าเมืองมาและคนอยุธยาเหมือนหนูติดจั่นแต่ก็ยังมีคนที่หนีออกไปในตอนนั้นไม่น้อย โดยเฉพาะขุนนางอยุธยานี่รอดไปได้มากพอควรเลย
2 หัวเมืองที่เหลือรอดมีอีกเยอะ ข้อมูลต่างๆอยู่กับหัวเมืองอื่นก็ไม่น้อย
3 หลังกรุงแตกทางไทยก็บุกมาตีทัพพม่าบางส่วนที่รั้งรออยู่ได้เชลยคนไทยพอสมควร
4 ครั้งทวายสวามิภักดิ์ก็ส่งคนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปกลับมาให้ไม่น้อย
5 รับตัวเจ้าฟ้าพินทวดีกลับมาได้ ซึ่งเจ้าฟ้าพินทวดีนี่ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในระเบียบธรรมเนียมประเพณีต่างๆของราชสำนักเลย
2 หัวเมืองที่เหลือรอดมีอีกเยอะ ข้อมูลต่างๆอยู่กับหัวเมืองอื่นก็ไม่น้อย
3 หลังกรุงแตกทางไทยก็บุกมาตีทัพพม่าบางส่วนที่รั้งรออยู่ได้เชลยคนไทยพอสมควร
4 ครั้งทวายสวามิภักดิ์ก็ส่งคนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปกลับมาให้ไม่น้อย
5 รับตัวเจ้าฟ้าพินทวดีกลับมาได้ ซึ่งเจ้าฟ้าพินทวดีนี่ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในระเบียบธรรมเนียมประเพณีต่างๆของราชสำนักเลย
แสดงความคิดเห็น
ในเมื่อกรุงศรีแตกแล้วคนถูกกวาดต้อน บันทึกโดนทำลาย ความรู้พิธีต่างๆ ก็ต้องหายไป แล้วมันกลับมาได้ไงครับ