บทความตามใจฉัน Message in Music: Toui sora he
เพลงประกอบ คือ เพลงที่ถูกเล่นเพื่อประกอบฉาก, ขับเน้นบรรยากาศ,
เนื้อหา, หรือสื่อถึงเรื่องราวหรืออารมณ์ของตัวละคร
เพลงประกอบนั้นมีทั้งแบบที่แต่งขึ้นโดยเฉพาะหรือเพลงที่เคยมีอยู่แล้วถูกนำมาใช้
เพลงประกอบถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ
- เพลงที่มีเนื้อร้อง
มักถูกใช้ให้ตัวละครในเรื่องร้องเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว, เป็นเพลงเปิดเพื่อเริ่มการแสดงหรือเพื่อประกอบฉาก
- เพลงที่มีแต่เครื่องดนตรี มีชื่อเรียกที่ไม่ค่อยแพร่หลายว่า Score แต่รู้จักกันดีในชื่อ OST (Original Sound Track) หรือ BGM (Back Ground Music) ส่วนใหญ่มักถูกใช้เป็นเพื่อประกอบฉากแต่ก็พบว่าบางครั้งก็ถูกใช้เป็นเพลงเปิดการแสดง
ในไทยนั้น หากพูดถึงเพลงประกอบมักหมายถึงเพลงที่มีเนื้อร้องเสียมากเพราะผู้กำกับสามารถสื่อความหมายได้ง่ายกว่า,
ผู้ฟังก็เข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความและเพลงเองก็สามารถนำไปต่อยอดทางการตลาดได้ เช่น ออกมิวสิกวิดีโอ, ขายไฟล์เพลง, ร้องเพลงออกคอนเสิร์ต
ความนิยมของคนไทยในเพลงประกอบที่มีแต่เครื่องดนตรีนั้นผู้เขียนยังไม่พบข้อมูลว่าเริ่มต้นอย่างไรแต่พบว่าในไทยเองก็มีเพลงประกอบที่มีแต่เครื่อง
ดนตรีมานานแล้วเช่น “เพลงหน้าพาทย์” ที่เป็นการเล่นเครื่องดนตรีไทยประกอบการแสดงโขน
แต่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นส่วนใหญ่มักนิยมเพลงประกอบด้วยเครื่องดนตรีสากลมากกว่าเพราะเข้าถึงได้ง่ายและคุ้นชินมากว่าเนื่องจากได้รับชมสื่อบันเทิงจาก
ต่างประเทศที่มีเพลงประกอบเล่นด้วยเครื่องดนตรีสากลมานานอย่างต่อเนื่องเช่น ภาพยนตร์, เกมคอมพิวเตอร์, อนิเมชั่น
จึงทำให้เกิดกลุ่มคนที่ชื่นชอบฟังเพลงประเภทนี้ขึ้นมา
แต่จุดที่ทำให้พบว่ามีผู้ที่สนใจฟังเพลงแบบ Score
ในไทยจำนวนไม่น้อยคือการมาของละครดังเรื่อง “เลือดข้น คนจาง” ที่ใช้เพลงแบบ Score
เล่นด้วยเครื่องดนตรีสากลเป็นเพลงเปิดและเพลงประกอบซึ่งได้รับการยอมรับพร้อมเสียงชื่นชมไม่น้อย
และด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนที่เป็นหนึ่งในผู้ที่ชื่นชอบฟังเพลงประกอบแบบ Score
เช่นกันจึงขอเปิดบทความตามใจฉัน หัวใหม่ ชื่อ “Message in Music”
เพื่อแนะนำเพลงประกอบที่น่าสนใจให้ผู้อ่านได้ทดลองฟังรวมถึงอธิบายความหมายที่อยู่ในเพลงที่ผู้แต่งเพลงและผู้กำกับพยามยามจะสื่อถึงผู้ฟัง
ตามมุมมองของผู้เขียน
บทความ “Message in Music” นั้น ที่จริงผู้เขียนมีความคิดที่จะเขียนนานแล้วแต่ติดปัญหาอยู่ที่
“จะเอาเพลงอะไรมาเขียนถึงเป็นเพลงแรกดี”
โดยผู้เขียนตั้งใจว่าเพลงแรกนั้นอยากจะเขียนถึงเพลงที่สื่ออารมณ์ของ “การเริ่มต้น” แต่เพลงที่สื่ออารมณ์แบบนี้นั้นมีอยู่หลายเพลงมาก
สุดท้าย ผู้เขียนจึงตัดสินใจเลือกเพลง Toui sora he จากอนิเมชั่น Yosuga no Sora มาเป็นเพลงแรกของ Message in Music
Yosuga no Sora ถูกสร้างขึ้นในฐานะ Visual novel สำหรับผู้ใหญ่ แนว โรแมนติก ดราม่า ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2008
และถูกดัดแปลงเป็นอนิเมชั่นออกฉายครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2010 โดยได้ Rate R15 ที่ญี่ปุ่นและ MA (mature audience = สำหรับผู้ใหญ่) ที่อเมริกา
เพลงประกอบฉบับอนิเมชั่นประพันธ์โดย Manabu Miwa (นามปากกา Manack) และ Bruno-Wen Li.
Yosuga no Sora เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสองพี่น้องฝาแฝดที่พ่อและแม่พึ่งเสียชีวิต
หลังจากจัดแจงอะไรต่าง ๆ แล้วทั้งคู่จึงเดินทางกลับไปยังเมืองบ้านเกิดของพ่อแม่ที่ซึ่งฝาแฝดเคยใช้ชีวิตในสมัยยังเด็ก
เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งโดยมีกันเพียงสองพี่น้อง
สำหรับผู้ที่อยากฟังเพลงก่อนที่จะอ่านการตีความของผม
สามารถกดฟังได้ที่ Link ข้างล่างนี้ได้
https://www.youtube.com/watch?v=inEvh-I0buI
ส่วนคนที่อยากอ่านก่อน ผู้เขียนจะวาง Link ไว้ให้ที่บรรทัดสุดท้ายของบทความอีกครั้ง
ในฉบับอนิเมชั่นนั้น Toui sora he นั้นเป็นเพลงแรกที่ถูกเล่นเมื่อเริ่มเรื่อง
โดยรวมเพลงนั้นให้อารมณ์ของการเริ่มต้นและการเดินทางโดยเพลงนั้นสื่ออารมณ์ด้วยเครื่องดนตรีหลัก ๆ สามประเภท
ความโดดเดียว,ความกังวล สื่อด้วยเปียนโน
ความเศร้า สื่อด้วยไวโอลีน
ความฝันและความหวัง สื่อด้วยฮาร์ฟ
ในท่อนแรกของเพลง
ท่อน intro นั้นจะสื่อถึงความโดดเดียวและความกังวลเป็นสิ่งที่ใครที่เคยเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่เคยไป,
สถานที่ที่ห่างไกล น่าจะเคยรู้สึกบ้างและไม่จำเป็นต้องเป็นการเดินทางเสมอไป
เพราะเพลงนี้เองก็ใช้ได้กับการเริ่มต้นไม่รู้ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร เช่น การเริ่มทำงานวันแรกหรือการย้ายไปโรงเรียนใหม่วันแรก
หลังจากนั้น เพลงจะเข้าสู่ท่อนที่สองซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็นท่อน Hook ของเพลง
ดนตรีจะเริ่มโหมดังขึ้นช้า ๆ Main ด้วยไวโอลีนและฮาร์ปคลอด้วยเปียนโนและฉาบคู่
ฮาร์ปให้อารมณ์ของความหวัง หวังว่าจะได้พบสิ่งดี ๆ ในเส้นทางที่กำลังจะมุ่งไป ที่น่าสนใจคือมีการใช้ฉาบคู่แบบเบา ๆ ทำให้เพลงมีอารมณ์แบบอบอุ่นแฝงอยู่
ส่วนไวโอลีนสื่อความเศร้าที่ยังแฝงอยู่
ในอนิเมชั่นตอนแรกของเรื่องเพลงนี้จะถูกใช้ถึงแค่ตรงนี้
ในเพลงเต็ม จุดนี้จะต่อด้วยท่อนที่เรียกว่า Bridge เพื่อเชื่อมต่อกับเพลงในท่อน Hook ที่ 2 ในท่อนนี้จะเป็นเล่นด้วยเปียนโนเป็นหลักคลอด้วยฮาร์ป
จุดเด่นที่สุดในการใช้เพลงนี้ของผู้กำกับคือการใช้เพลงนี้อีกครั้ง ในตอนสุดท้ายของซีรีย์
อย่างที่กล่าวไปว่าเพลงนี้คือเพลงที่ให้อารมณ์ของการเริ่มต้นและการเดินทาง
แต่สิ่งที่ผู้กำกับต้องการสื่อคือ
การเริ่มต้นไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายคือการสิ้นสุด
การเดินทางไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายคือการถึงที่หมายปลายทาง
บางครั้งการเริ่มต้นก็นำไปสู่การเริ่มต้นอีกครั้งเหมือนกับการเดินทางที่บางครั้งก็นำไปสู่การเดินทางอีกครา
ผู้กำกับใช้เพลงนี้อีกครั้งในช่วงปัจฉิมบทของตอนสุดท้ายโดยใช้แบบเต็มทั้งเพลง
ซึ่งลำดับของเรื่องนั้นผู้กำกับจงใจจะใช้ใช้ท่อน Hook ที่ 2 เป็น Finale ของเรื่อง
โดยท่อน Hook ที่ 2 จะค่อย ๆ โหมขึ้นด้วยฮาร์ปแล้วเล่นด้วยทำนองที่คล้ายกับ Hook ที่ 1
แต่ดังกว่า จุดเด่นคือไวโอลีนไม่ได้สื่ออารมณ์ความเศร้าอีกแล้วแต่กลับเปี่ยมไปด้วยความฝันและความหวังเช่นเดียวกับฮาร์ป
เช่นเดียวกับเรื่องราวในไคลแม็กซ์สุดท้าย แต่ผู้เขียนก็ยังรู้สึกว่ายังมีความเศร้าปนอยู่บ้าง
ตามด้วย Breakdown สั้น ๆ ด้วยฮาร์ปและไวโอลีนเพื่อดึงอารมณ์ผู้ฟัง
และในท่อนสุดท้าย Outro ก็ปิดด้วยเปียนโนโซโล่ที่สื่อถึงความโดดเดียวและความกังวลของตัวละครอีกครั้ง
แต่ก็รู้สึกได้ว่าแม้จะโดดเดียวและกังวลแต่ก็มีความสุขด้วยเช่นกัน
อันที่จริง Toui sora he
เป็นเพลงที่อยากจะนำมาเขียนถึงเป็นเพลงแรกอยู่นานแล้วแต่ใจนึงจะไม่อยากให้เพลงแรกที่เขียนเป็นเพลงที่มีความโศกเศร้าผสมอยู่
แต่สุดท้ายผู้เขียนก็ยอมรับว่าไม่ว่าอย่างไรเพลงนี้ไพเราะเหมาะสมที่จะเป็นเพลงแรกใน “Message in Music” อยู่ดี
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน Message in Music: Toui sora he
เพลงประกอบ คือ เพลงที่ถูกเล่นเพื่อประกอบฉาก, ขับเน้นบรรยากาศ,
เนื้อหา, หรือสื่อถึงเรื่องราวหรืออารมณ์ของตัวละคร
เพลงประกอบนั้นมีทั้งแบบที่แต่งขึ้นโดยเฉพาะหรือเพลงที่เคยมีอยู่แล้วถูกนำมาใช้
เพลงประกอบถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ
- เพลงที่มีเนื้อร้อง
มักถูกใช้ให้ตัวละครในเรื่องร้องเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว, เป็นเพลงเปิดเพื่อเริ่มการแสดงหรือเพื่อประกอบฉาก
- เพลงที่มีแต่เครื่องดนตรี มีชื่อเรียกที่ไม่ค่อยแพร่หลายว่า Score แต่รู้จักกันดีในชื่อ OST (Original Sound Track) หรือ BGM (Back Ground Music) ส่วนใหญ่มักถูกใช้เป็นเพื่อประกอบฉากแต่ก็พบว่าบางครั้งก็ถูกใช้เป็นเพลงเปิดการแสดง
ในไทยนั้น หากพูดถึงเพลงประกอบมักหมายถึงเพลงที่มีเนื้อร้องเสียมากเพราะผู้กำกับสามารถสื่อความหมายได้ง่ายกว่า,
ผู้ฟังก็เข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความและเพลงเองก็สามารถนำไปต่อยอดทางการตลาดได้ เช่น ออกมิวสิกวิดีโอ, ขายไฟล์เพลง, ร้องเพลงออกคอนเสิร์ต
ความนิยมของคนไทยในเพลงประกอบที่มีแต่เครื่องดนตรีนั้นผู้เขียนยังไม่พบข้อมูลว่าเริ่มต้นอย่างไรแต่พบว่าในไทยเองก็มีเพลงประกอบที่มีแต่เครื่อง
ดนตรีมานานแล้วเช่น “เพลงหน้าพาทย์” ที่เป็นการเล่นเครื่องดนตรีไทยประกอบการแสดงโขน
แต่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นส่วนใหญ่มักนิยมเพลงประกอบด้วยเครื่องดนตรีสากลมากกว่าเพราะเข้าถึงได้ง่ายและคุ้นชินมากว่าเนื่องจากได้รับชมสื่อบันเทิงจาก
ต่างประเทศที่มีเพลงประกอบเล่นด้วยเครื่องดนตรีสากลมานานอย่างต่อเนื่องเช่น ภาพยนตร์, เกมคอมพิวเตอร์, อนิเมชั่น
จึงทำให้เกิดกลุ่มคนที่ชื่นชอบฟังเพลงประเภทนี้ขึ้นมา
แต่จุดที่ทำให้พบว่ามีผู้ที่สนใจฟังเพลงแบบ Score
ในไทยจำนวนไม่น้อยคือการมาของละครดังเรื่อง “เลือดข้น คนจาง” ที่ใช้เพลงแบบ Score
เล่นด้วยเครื่องดนตรีสากลเป็นเพลงเปิดและเพลงประกอบซึ่งได้รับการยอมรับพร้อมเสียงชื่นชมไม่น้อย
และด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนที่เป็นหนึ่งในผู้ที่ชื่นชอบฟังเพลงประกอบแบบ Score
เช่นกันจึงขอเปิดบทความตามใจฉัน หัวใหม่ ชื่อ “Message in Music”
เพื่อแนะนำเพลงประกอบที่น่าสนใจให้ผู้อ่านได้ทดลองฟังรวมถึงอธิบายความหมายที่อยู่ในเพลงที่ผู้แต่งเพลงและผู้กำกับพยามยามจะสื่อถึงผู้ฟัง
ตามมุมมองของผู้เขียน
บทความ “Message in Music” นั้น ที่จริงผู้เขียนมีความคิดที่จะเขียนนานแล้วแต่ติดปัญหาอยู่ที่
“จะเอาเพลงอะไรมาเขียนถึงเป็นเพลงแรกดี”
โดยผู้เขียนตั้งใจว่าเพลงแรกนั้นอยากจะเขียนถึงเพลงที่สื่ออารมณ์ของ “การเริ่มต้น” แต่เพลงที่สื่ออารมณ์แบบนี้นั้นมีอยู่หลายเพลงมาก
สุดท้าย ผู้เขียนจึงตัดสินใจเลือกเพลง Toui sora he จากอนิเมชั่น Yosuga no Sora มาเป็นเพลงแรกของ Message in Music
Yosuga no Sora ถูกสร้างขึ้นในฐานะ Visual novel สำหรับผู้ใหญ่ แนว โรแมนติก ดราม่า ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2008
และถูกดัดแปลงเป็นอนิเมชั่นออกฉายครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2010 โดยได้ Rate R15 ที่ญี่ปุ่นและ MA (mature audience = สำหรับผู้ใหญ่) ที่อเมริกา
เพลงประกอบฉบับอนิเมชั่นประพันธ์โดย Manabu Miwa (นามปากกา Manack) และ Bruno-Wen Li.
Yosuga no Sora เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสองพี่น้องฝาแฝดที่พ่อและแม่พึ่งเสียชีวิต
หลังจากจัดแจงอะไรต่าง ๆ แล้วทั้งคู่จึงเดินทางกลับไปยังเมืองบ้านเกิดของพ่อแม่ที่ซึ่งฝาแฝดเคยใช้ชีวิตในสมัยยังเด็ก
เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งโดยมีกันเพียงสองพี่น้อง
สำหรับผู้ที่อยากฟังเพลงก่อนที่จะอ่านการตีความของผม
สามารถกดฟังได้ที่ Link ข้างล่างนี้ได้
https://www.youtube.com/watch?v=inEvh-I0buI
ส่วนคนที่อยากอ่านก่อน ผู้เขียนจะวาง Link ไว้ให้ที่บรรทัดสุดท้ายของบทความอีกครั้ง
ในฉบับอนิเมชั่นนั้น Toui sora he นั้นเป็นเพลงแรกที่ถูกเล่นเมื่อเริ่มเรื่อง
โดยรวมเพลงนั้นให้อารมณ์ของการเริ่มต้นและการเดินทางโดยเพลงนั้นสื่ออารมณ์ด้วยเครื่องดนตรีหลัก ๆ สามประเภท
ความโดดเดียว,ความกังวล สื่อด้วยเปียนโน
ความเศร้า สื่อด้วยไวโอลีน
ความฝันและความหวัง สื่อด้วยฮาร์ฟ
ในท่อนแรกของเพลง
ท่อน intro นั้นจะสื่อถึงความโดดเดียวและความกังวลเป็นสิ่งที่ใครที่เคยเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่เคยไป,
สถานที่ที่ห่างไกล น่าจะเคยรู้สึกบ้างและไม่จำเป็นต้องเป็นการเดินทางเสมอไป
เพราะเพลงนี้เองก็ใช้ได้กับการเริ่มต้นไม่รู้ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร เช่น การเริ่มทำงานวันแรกหรือการย้ายไปโรงเรียนใหม่วันแรก
หลังจากนั้น เพลงจะเข้าสู่ท่อนที่สองซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็นท่อน Hook ของเพลง
ดนตรีจะเริ่มโหมดังขึ้นช้า ๆ Main ด้วยไวโอลีนและฮาร์ปคลอด้วยเปียนโนและฉาบคู่
ฮาร์ปให้อารมณ์ของความหวัง หวังว่าจะได้พบสิ่งดี ๆ ในเส้นทางที่กำลังจะมุ่งไป ที่น่าสนใจคือมีการใช้ฉาบคู่แบบเบา ๆ ทำให้เพลงมีอารมณ์แบบอบอุ่นแฝงอยู่
ส่วนไวโอลีนสื่อความเศร้าที่ยังแฝงอยู่
ในอนิเมชั่นตอนแรกของเรื่องเพลงนี้จะถูกใช้ถึงแค่ตรงนี้
ในเพลงเต็ม จุดนี้จะต่อด้วยท่อนที่เรียกว่า Bridge เพื่อเชื่อมต่อกับเพลงในท่อน Hook ที่ 2 ในท่อนนี้จะเป็นเล่นด้วยเปียนโนเป็นหลักคลอด้วยฮาร์ป
จุดเด่นที่สุดในการใช้เพลงนี้ของผู้กำกับคือการใช้เพลงนี้อีกครั้ง ในตอนสุดท้ายของซีรีย์
อย่างที่กล่าวไปว่าเพลงนี้คือเพลงที่ให้อารมณ์ของการเริ่มต้นและการเดินทาง
แต่สิ่งที่ผู้กำกับต้องการสื่อคือ
การเริ่มต้นไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายคือการสิ้นสุด
การเดินทางไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายคือการถึงที่หมายปลายทาง
บางครั้งการเริ่มต้นก็นำไปสู่การเริ่มต้นอีกครั้งเหมือนกับการเดินทางที่บางครั้งก็นำไปสู่การเดินทางอีกครา
ผู้กำกับใช้เพลงนี้อีกครั้งในช่วงปัจฉิมบทของตอนสุดท้ายโดยใช้แบบเต็มทั้งเพลง
ซึ่งลำดับของเรื่องนั้นผู้กำกับจงใจจะใช้ใช้ท่อน Hook ที่ 2 เป็น Finale ของเรื่อง
โดยท่อน Hook ที่ 2 จะค่อย ๆ โหมขึ้นด้วยฮาร์ปแล้วเล่นด้วยทำนองที่คล้ายกับ Hook ที่ 1
แต่ดังกว่า จุดเด่นคือไวโอลีนไม่ได้สื่ออารมณ์ความเศร้าอีกแล้วแต่กลับเปี่ยมไปด้วยความฝันและความหวังเช่นเดียวกับฮาร์ป
เช่นเดียวกับเรื่องราวในไคลแม็กซ์สุดท้าย แต่ผู้เขียนก็ยังรู้สึกว่ายังมีความเศร้าปนอยู่บ้าง
ตามด้วย Breakdown สั้น ๆ ด้วยฮาร์ปและไวโอลีนเพื่อดึงอารมณ์ผู้ฟัง
และในท่อนสุดท้าย Outro ก็ปิดด้วยเปียนโนโซโล่ที่สื่อถึงความโดดเดียวและความกังวลของตัวละครอีกครั้ง
แต่ก็รู้สึกได้ว่าแม้จะโดดเดียวและกังวลแต่ก็มีความสุขด้วยเช่นกัน
อันที่จริง Toui sora he
เป็นเพลงที่อยากจะนำมาเขียนถึงเป็นเพลงแรกอยู่นานแล้วแต่ใจนึงจะไม่อยากให้เพลงแรกที่เขียนเป็นเพลงที่มีความโศกเศร้าผสมอยู่
แต่สุดท้ายผู้เขียนก็ยอมรับว่าไม่ว่าอย่างไรเพลงนี้ไพเราะเหมาะสมที่จะเป็นเพลงแรกใน “Message in Music” อยู่ดี
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ https://www.facebook.com/uptomejournal/