อยากจะเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการที่ลูกคนแรกคลอดออกมาพร้อมกับภาวะผนังหัวใจรั่ว ASD ให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้รับทราบ รับอ่าน รับฟัง เพื่อเป็นกำลังใจให้กันและกันนะ อาจจะยาวไปหน่อย แต่ไม่ชอบอ่านยาวๆ ก็อ่านสรุปย่อหน้าสุดท้ายเลยละกันนะ
เรากับภรรยาแต่งงานกันเมื่อช่วงปลายปี 60 และช่วงปลายไตรมาสแรกของปี 61 เราก็ได้รับข่าวดีที่สุดในชีวิตข่าวนึง เมื่อรู้ว่า ภรรยาได้ตั้งครรภ์อ่อนๆแล้ว หลังจากที่ภรรยาสงสัยว่าทำไมช่วงนี้ถึงง่วงนอนมากกว่าปกติ และหิวบ่อยมากกว่าปกติ ที่สำคัญคือประจำเดือนเริ่มเบี้ยวนัดมาร่วม 2 สัปดาห์แล้ว (แต่ปกติก็มาไม่ค่อยตรง) แน่นอนว่าหลังจากลองใช้อุปกรณ์ตรวจจากปัสสาวะ ก็ขึ้นชัดเจน และชัดเจนกว่านั้นที่โรงพยาบาลและหลังจากนั้นเป็นต้นมา เราก็ยิ่งเพิ่มการดูแลภรรยาให้ดีมากกว่าเดิมที่เป็นอยู่ ช่วยเหลือทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ภรรยาไม่ต้องลำบากยากนักในการดำเนินชีวิตในฐานะหญิงมีครรภ์ และทำทุกอย่างตามที่มีคำแนะนำเพื่อหวังให้ลูกเกิดมาจากสมบูรณ์แข็งแรง ยามว่างๆ หรือขับรถไปทำงาน ภรรยาก็ฟังเพลงคลาสสิคเบาๆ กลางคืนก่อนนอนก็เล่านิทานให้ฟัง จะฟังรู้เรื่องรับรู้หรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ไปฝากครรภ์ตามกำหนดที่โรงพยาบาลรัฐใน กทม. แห่งหนึ่งซึ่งมีคณะแพทย์ศาสตร์อยู่ด้วย ไปตรวจครรภ์ทุกครั้ง คุณหมอก็บอกว่าลูกปกติดี หัวใจเต้นดี สม่ำเสมอ เริ่มเห็นอวัยวะโน่นนี่ แต่พ่อกับแม่มองไม่ออก แล้วก็ได้ตรวจ นิฟตี้ เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดตรวจด้วย เนื่องจากภรรยามีอายุหลัก 3 อยู่ในระดับที่ควรต้องตรวจแล้ว ผลการตรวจพบว่า ปกติดี โครโมโซมครบถ้วน ปกติทุกอย่าง และสรุปแน่ชัดว่าเราได้ลูกสาว สร้างความยินดีให้เราและภรรยาอย่างมาก การตรวจครรภ์ตามกำหนดต่อมาก็ผ่านไปด้วยดีเสมอมา ภรรยาเองก็ควบคุมตัวเองอย่างเคร่งครัด ระดับเบาหวานปกติ น้ำตาลปกติ ความดันปกติ คุณหมอไม่พบสิ่งใดผิดปกติ และภรรยาตัดสินใจว่าจะคลอดเอง ซึ่งเราก็ไม่ขัดข้องแล้วแต่ภรรยาจะเลือกได้เลย คุณหมอก็ไม่มีปัญหา ตรวจแล้วพบว่าทารกพร้อมคลอดได้ จนมาถึงสัปดาห์ที่ 40 ซึ่งตอนนี้คุณหมอได้บอกว่าแล้วถ้าปากมดลูกยังอยู่สูงอีก คงต้องเริ่มทำอะไรสักอย่างแล้ว
แต่หลังจากนั้นแค่ไม่กี่วัน ในคืนวันหนึ่ง ภรรยาตื่นขึ้นมากลางดึกพร้อมกับรู้สึกว่ามีน้ำไหลออกมาเปียกเต็มที่นอน เมื่อเปิดไฟดูพบว่ามันไม่ใช่เลือดนะ แต่สันนิษฐานว่า ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว จึงโทรศัพท์ไปถามที่โรงพยาบาลตามที่เขาให้เบอร์ไว้ ซึ่งคุณพยาบาลเวรก็แจ้งว่า เป็นถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว ให้มาที่โรงพยาบาลได้เลย จึงได้เตรียมเก็บข้าวของซึ่งจริงๆก็เตรียมไว้พร้อมแล้ว เอาใส่รถเพื่อเดินทางไปโรงพยาบาลตามที่ฝากครรภ์ไว้ทันที แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบนัก เนื่องจากได้รับคำแนะนำว่าท้องแรก ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะทะลักออกมา ท้องแรกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 ชั่วโมง หลังจากเริ่มเจ็บท้อง และตอนนี้ภรรยาก็ยังไม่ได้เริ่มเจ็บนัก และเมื่อเดินทางไปถึงโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วเนื่องจากการจราจรโล่งโปร่งสบายกลางดึกนั้น คุณพยาบาลก็พาภรรยาไปนอนรอในห้องคลอด ส่วนเราเองหลังจากนำเอกสารที่เตรียมไว้มาแจ้งข้อมูลต่างๆเรียบร้อยแล้ว คุณพยาบาลก็บอกว่า ให้คุณพ่อกลับไปพักผ่อนบ้านก่อน แล้วพรุ่งนี้เช้าค่อยมานะ เพราะตอนนี้ภรรยายังไม่คลอดแน่นอนเนื่องจาก ปากมดลูกยังเปิดน้อยมาก และในวอร์ดไม่มีพื้นที่ให้รอได้ ถ้าไม่อยากกลับบ้านก็ให้ไปรอที่นอกวอร์ดได้ แต่ควรไปนอนพักผ่อนที่บ้านจะดีกว่า เมื่อได้ยินคำแนะนำแบบนั้น ตอนแรกก็ลังเลว่าจะเอาอย่างไรดี แต่ในเมื่อคุณพยาบาลแนะนำมาแบบนี้ และเราก็ไม่มีสิทธิได้พักอยู่ภายในวอร์ดนั้นอยู่แล้ว ดังนั้นเราควรไปนอนพักผ่อน นอนเอาแรงดีกว่า พรุ่งนี้ยังมีอะไรให้ทำอีกเยอะ เราจึงกลับไปนอนที่บ้านคนเดียวแต่ก็ยังรู้สึกตื่นเต้น ปนความง่วง และพยายามข่มตานอนหลับ ที่สุดก็หลับไป
หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงช่วงเช้ามืด เราก็สะดุ้งตื่นจากโทรศัพท์ที่ตั้งเวลาไว้ แล้วก็รีบกลับมาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง (กลัวหาที่จอดรถยาก) และเมื่อมาถึงวอร์ดตอนเช้านี้แล้ว คุณพยาบาลอนุญาตให้เข้าไปในวอร์ดและไปที่ห้องคลอดที่ภรรยานอนรอคลอดอยู่ได้แล้ว ในฐานะเป็นสามี แต่เข้าไปคนเดียว ถ้ามีญาติๆมาอีกก็ต้องรอข้างนอก ตอนนั้นภรรยาก็ยังไม่ค่อยเจ็บมากนัก ส่วนปากมดลูกก็เปิดมามากกว่าเดิมอีกนิดเดียว แต่คุณหมอได้มาตรวจและให้ยาเร่งแล้ว ก็ได้แต่รอกันต่อไป จับมือให้กำลังใจภรรยา กอดภรรยากันไป ระหว่างนั้นคุณพยาบาลจะเข้ามาตรวจปาดมดลูกเป็นระยะๆ จนกระทั่งเวลาผ่านไปจากเช้าถึงใกล้ถึงเที่ยง ภรรยาก็เริ่มเจ็บท้องมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว ปากมดลูกก็เริ่มขยายมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว ตอนนี้ภรรยาตัดสินใจขอยาแก้ปวดมาเพื่อบรรเทาอาการ หลังจากเพื่อนภรรยาที่เพิ่งคลอดก่อนหน้าไม่นานนี้ ได้แนะนำว่าถ้าปวดอย่าทน ให้ขอยาแก้ปวดเลย เพราะถ้าช่วงใกล้ๆคลอดที่ปวดมากๆ ตอนนั้นคุณหมออาจจะไม่ให้ยาแก้ปวดแล้วก็ได้ (อันนี้ไม่ทราบข้อเท็จจริงเป็นตามนี้ไหม) ซึ่งพอได้ยาแก้ปวดมาแล้ว ภรรยาก็เริ่มรู้สึกว่ามันคลายความปวดมากขึ้น แต่ความรู้สึกมันก็คล้ายๆมึนๆเบลอๆเหมือนกัน จนที่สุดในหลังเที่ยงไปอีกไม่นานนัก เมื่อคุณพยาบาลมาตรวจปากมดลูกอีกครั้ง คราวนี้ก็รีบวิ่งไปเรียกคุณพยาบาลมาเพิ่มอีกหลายคนพร้อมทั้งคุณหมอที่เราฝากครรภ์ไว้ พร้อมกับเชิญให้เราไปรอน้องห้องคลอดทันที เราเลยสันนิษฐานว่าปากมดลูกน่าจะเปิดกว้างเพียงพอแล้วสินะ หลังจากช่วงเวลานั้นอีกเพียง 20 นาทีได้ เราก็ได้ยินเสียงร้องของเด็กทารกภายในห้องคลอดนั้น ความรู้สึกดีใจที่สุด มันปริ่มล้นมาทันที นี่คงเป็นเสียงลูกของเราแล้วสินะ หลังจากนั้นไม่นานคุณพยาบาลก็มาเรียกให้เข้าไปดูหน้าลูกครั้งแรกในชีวิต เป็นความดีใจ ปลื้มใจอย่างที่สุดจริงๆ ความรู้สึกนี้เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนน่าจะรู้สึกไม่ต่างกันนะ ยิ่งเมื่อเข้าไปเห็นหน้าลูก เห็นว่าเขามีร่างกายปกติดี น้ำหนัก 3 กิโลครึ่ง ถือว่าตัวใหญ่เหมือนกันเมื่อเทียบกับการคลอดเอง เบื้องต้นคุณหมอก็แจ้งว่าปกติดี ก็ยิ่งดีใจมากๆ แล้วเราก็ได้ถ่ายภาพพ่อแม่ลูกครั้งแรกที่ได้พบกัน ไม่นานนักคุณพยาบาลก็เชิญเราออกมาจากวอร์ด ส่วนลูกสาวของเราก็จะถูกส่งไปตรวจสุขภาพ ส่งไปดูแลตามขั้นตอนและส่งไปที่เนอส ส่วนภรรยาก็ถูกส่งไปนอนพักฟื้นที่วอร์ดคุณแม่ลูกอ่อน เราเองก็ได้ไปพักในห้องที่ภรรยานอนพักฟื้น ภรรยายังเจ็บแผลคลอด หลับๆตื่นๆ เราก็ได้แต่จับมือให้กำลังใจกันไป แล้วในช่วงตอนเย็นวันนั้น คุณพยาบาลก็พาลูกสาวเรามาให้ดูอีกครั้ง คราวนี้ให้เริ่มดูดนมแม่ครั้งแรก ภาพนั้นยังจำติดตาได้จนถึงวันนี้ ลูกสาวตัวเล็กๆค่อยๆเริ่มดูดนมจากเต้าแม่ครั้งแรก ดูดอย่างหิวกระหายเลย อธิบายไม่ถูกว่ารู้สึกอย่างไร แต่น้ำตาซึมๆนะ พอดื่มนมเสร็จแล้ว ช่วงสักพักนึง คุณพยาบาลก็พาลูกกลับไปที่เนอส
ภรรยาเราพักฟื้นที่โรงพยาบาล 3 วัน โดยตอนแรกว่าจะอยู่แค่ 2 วัน แล้วกลับ แต่ตอนช่วงตอนเที่ยงของวันที่ 2 เรารู้สึกว่าเรายังไม่พร้อม ไม่มั่นใจที่จะพาลูกตัวน้อยๆของเราออกจากโรงพยาบาลเลย แม้กระทั่งว่าจะเป็นเรื่องต่างๆเช่น เป็นการอาบน้ำลูก ที่แม้คุณพยาบาลจะพาไปฝึกแล้วก็ตาม แต่เราก็ยังดูเก้ๆ กังๆ หรือการห่มตัวลูกก็ยังห่มมั่วๆ ม้วนๆพับ ไหนจะกลัวว่าถ้าลูกร้องไห้ ให้กินนมแล้วไม่หยุด ไม่กิน จะทำยังไงต่อไป แล้วช่วงนั้นญาติฯ ปู่ย่า ตายาย ที่จะมาดูแลหลานได้ก็ยังไม่สะดวกกัน ก็เท่ากับว่าเราต้องดูแลลูกกันเอง 2 คน พ่อแม่ เราจึงขอพักต่ออีก 1 คืน คุณหมอเด็กที่ดูแลลูกรวมทั้งคุณหมอที่ดูแลภรรยาก็ไม่มีปัญหาให้พักต่อได้ คืนนั้นเป็นคืนแรกที่เราได้นอนด้วยกัน 3 คน พ่อแม่ลูก แต่เรานอนไม่ค่อยหลับเพราะกลัวว่าลูกจะหนาวมั้ย จะร้อนมั้ย แต่เขาไม่ค่อยงอแงมากนัก และหลับค่อนข้างมาก แต่เราก็ต้องปลุกเขาให้มาดูดนมทุก 3 ชั่วโมง ซึ่งเขาก็ดูดนมเป็นอย่างดีมากอย่างไม่น่าเชื่อ คุณพยาบาลเองก็บอกว่าเขาดูดนมเก่งทีเดียว อย่างนี้ไม่น่ากังวลอะไร เช้าวันที่ 3 ที่เราได้มาอยู่ที่โรงพยาบาลนี้ เรารีบไปแจ้งความประสงค์ว่าจะออกจากโรงพยาบาลช่วงบ่ายวันนี้เรียบร้อย คุณพยาบาลก็มาพาลูกสาวเราไปที่เนอสอีกครั้ง ไปตรวจสุขภาพดำเนินการฉีดวัคซีนต่างๆให้เรียบร้อย
ขณะที่เรากำลังรอให้คุณพยาบาลพาลูกสาวมาส่งเราที่ห้องพักฟื้น พร้อมกับรอใบแจ้งค่าใช้จ่ายอยู่นั้น คุณพยาบาลก็ได้โทรศัพท์มาที่ห้องพักฟื้นของเรา และแจ้งให้เรากับภรรยาให้ไปที่เนอส เรากับภรรยาก็เข้าใจว่า คุณพยาบาลอาจจะเรียกมาให้คำแนะนำเรื่องการดูแลเด็กทารกก็ได้มั้ง แต่เมื่อมาถึงเนอสแล้ว ก็มีคุณหมออีกท่านหนึ่งมาพบ ซึ่งคุณหมอท่านนี้ก็คือคุณหมอที่ดูแลเกี่ยวกับโรคหัวใจในเด็กนั่นเอง โดยหลังจากสอบถามตรวจเช็คว่าเป็นพ่อแม่ของน้องเรียบร้อยแล้ว คุณหมอก็เริ่มบอกกับเราทันทีว่า คุณหมอได้ตรวจพบว่า “ลูกสาวเรามีภาวะผนังหัวใจห้องบนปิดไม่สนิท หรือหัวใจรั่ว” พร้อมกับมีช่องระหว่างเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อทารกคลอดออกมาช่องนี้จะต้องปิดไป (ข้อมูลนี้เราไม่แน่ใจว่าเราจำผิดหรือไม่) โดยคุณหมอเด็กได้ตรวจพบความผิดปกตินี้ จากอุปกรณ์หูฟังของหมอขณะตรวจการเต้นของหัวใจลูกสาวเรา ก็จะได้เสียงฟู่ขณะหัวใจเต้น จึงได้ส่งตัวมาให้คุณหมอหัวใจซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์เฉพาะทางมาตรวจซ้ำอีกครั้ง และก็เห็นได้ชัดเจนว่า หัวใจห้องบนรั่ว ซึ่งพร้อมกันกับที่คุณหมออธิบายนั้น คุณหมอก็ได้ให้ดูหน้าจอมอนิเตอร์ของเครื่อง เอคโค ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ตรวจหัวใจดังกล่าว ซึ่งหลังจากที่เราและภรรยาได้ยินคุณหมออธิบายพร้อมกับเห็นภาพความผิดปกติของหัวใจลูกผ่านหน้าจอมอนิเตอร์เครื่องเอคโคดังกล่าว เห็นชัดๆว่า มันมีลักษณะของวัตถุบางอย่างซึ่งนั่นก็คือเลือด จำนวนหนึ่งได้ไหลลอดทะลุช่องของหัวใจจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งจริงๆ เรารู้สึกเหมือนฟ้าผ่า เปรี้ยง สนั่นลงมาที่โรงพยาบาลและมันฟาดเข้าที่กลางใจของเราอย่างฉับพลันทันที ความรู้สึกกลัว ความรู้สึกไม่ดีต่างๆนานา มันเอ่อล้นขึ้นมาทันที จนน้ำตาไหลซึมออกมา ตอนนั้นเราไม่รู้เลยว่า โรคหัวใจแบบนี้มันคืออะไร แต่ขึ้นชื่อว่าโรคหัวใจรั่ว มันก็น่ากลัวสุดๆอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ เราแทบไม่ได้ถามอะไรคุณหมอเลยด้วยซ้ำ เพราะเสมือนว่าตอนนั้นเราอาจจะช็อคไปแล้ว แต่ภรรยากลับเข้มแข็งกว่าอีก และเขาเอามือของเขามาจับมือของเราไว้ แน่นอนว่ามือของเราตอนนั้นต้องเย็นเฉียบแน่ๆ ตอนนั้นมีเพียงภรรยาของเราคนเดียวที่สอบถามคุณหมอว่า แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไป หรือต้องรักษาอย่างไร ดูแลอย่างไร ส่วนเราเองได้แต่รู้สึกเสียใจในโชคชะตาที่เราต้องมาเจอกันมันในครั้งนี้อย่างที่สุด รู้สึกสงสารลูกสาวมากๆ เขาจะเป็นอย่างไรต่อไป เราจะแข็งแรงไหม เขาจะโชคร้ายไปกว่านี้ไหม มันสารพัดความคิดที่เกิดขึ้นในทางแย่ๆ แต่ก่อนที่ความคิดเราจะเตลิดไปไกลกว่านั้น คุณหมอก็อธิบายต่อว่า เรื่องเส้นเลือดที่เกินมา ไม่น่ามีปัญหา เดี๋ยวมันก็คงจะตีบตันไปเองตามธรรมชาติ ส่วนช่องรั่วของผนังหัวใจที่ตรวจพบถือว่ามีขนาดเล็กประมาณ 4 มิลลิเมตร และมีเพียงช่องเดียว โดยหัวใจรั่วชนิดนี้เรียกว่า ASD โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial septal defect
ซึ่งขนาดมันเล็ก 4 มิลลิเมตร นี้ คุณหมอมั่นใจ 90% ว่ามันจะปิดเองได้แน่นอน แต่สำหรับ 10% ที่เผื่อไว้นั้น หากมันไม่ปิดเอง ก็รอให้เขามีน้ำหนักตัวที่มากเพียงพอจะผ่าตัดได้ ก็จะสามารถรักษาโดยการผ่าตัดและหลังจากผ่าตัดแล้ว กรณี ASD แล้วแทบไม่ต้องกังวลใดๆ ใช้ชีวิตได้ตามปกติทุกประการ ส่วนหลังจากนี้แล้วก็ให้ดูแลเค้าไปตามปกติ คุณหมอไม่มียาให้กิน แต่คุณหมอจะนัดมาเพื่อคอยดูอาการเป็นระยะๆก็แล้วกันโดยเบื้องต้นเราจะนัดกันอีกครั้ง 1 เดือน ถัดไป
เมื่อเราและภรรยาพบว่าลูกคนแรกของเราทั้งคู่เกิดมาพร้อมกับโรคหัวใจรั่ว
เรากับภรรยาแต่งงานกันเมื่อช่วงปลายปี 60 และช่วงปลายไตรมาสแรกของปี 61 เราก็ได้รับข่าวดีที่สุดในชีวิตข่าวนึง เมื่อรู้ว่า ภรรยาได้ตั้งครรภ์อ่อนๆแล้ว หลังจากที่ภรรยาสงสัยว่าทำไมช่วงนี้ถึงง่วงนอนมากกว่าปกติ และหิวบ่อยมากกว่าปกติ ที่สำคัญคือประจำเดือนเริ่มเบี้ยวนัดมาร่วม 2 สัปดาห์แล้ว (แต่ปกติก็มาไม่ค่อยตรง) แน่นอนว่าหลังจากลองใช้อุปกรณ์ตรวจจากปัสสาวะ ก็ขึ้นชัดเจน และชัดเจนกว่านั้นที่โรงพยาบาลและหลังจากนั้นเป็นต้นมา เราก็ยิ่งเพิ่มการดูแลภรรยาให้ดีมากกว่าเดิมที่เป็นอยู่ ช่วยเหลือทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ภรรยาไม่ต้องลำบากยากนักในการดำเนินชีวิตในฐานะหญิงมีครรภ์ และทำทุกอย่างตามที่มีคำแนะนำเพื่อหวังให้ลูกเกิดมาจากสมบูรณ์แข็งแรง ยามว่างๆ หรือขับรถไปทำงาน ภรรยาก็ฟังเพลงคลาสสิคเบาๆ กลางคืนก่อนนอนก็เล่านิทานให้ฟัง จะฟังรู้เรื่องรับรู้หรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ไปฝากครรภ์ตามกำหนดที่โรงพยาบาลรัฐใน กทม. แห่งหนึ่งซึ่งมีคณะแพทย์ศาสตร์อยู่ด้วย ไปตรวจครรภ์ทุกครั้ง คุณหมอก็บอกว่าลูกปกติดี หัวใจเต้นดี สม่ำเสมอ เริ่มเห็นอวัยวะโน่นนี่ แต่พ่อกับแม่มองไม่ออก แล้วก็ได้ตรวจ นิฟตี้ เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดตรวจด้วย เนื่องจากภรรยามีอายุหลัก 3 อยู่ในระดับที่ควรต้องตรวจแล้ว ผลการตรวจพบว่า ปกติดี โครโมโซมครบถ้วน ปกติทุกอย่าง และสรุปแน่ชัดว่าเราได้ลูกสาว สร้างความยินดีให้เราและภรรยาอย่างมาก การตรวจครรภ์ตามกำหนดต่อมาก็ผ่านไปด้วยดีเสมอมา ภรรยาเองก็ควบคุมตัวเองอย่างเคร่งครัด ระดับเบาหวานปกติ น้ำตาลปกติ ความดันปกติ คุณหมอไม่พบสิ่งใดผิดปกติ และภรรยาตัดสินใจว่าจะคลอดเอง ซึ่งเราก็ไม่ขัดข้องแล้วแต่ภรรยาจะเลือกได้เลย คุณหมอก็ไม่มีปัญหา ตรวจแล้วพบว่าทารกพร้อมคลอดได้ จนมาถึงสัปดาห์ที่ 40 ซึ่งตอนนี้คุณหมอได้บอกว่าแล้วถ้าปากมดลูกยังอยู่สูงอีก คงต้องเริ่มทำอะไรสักอย่างแล้ว
แต่หลังจากนั้นแค่ไม่กี่วัน ในคืนวันหนึ่ง ภรรยาตื่นขึ้นมากลางดึกพร้อมกับรู้สึกว่ามีน้ำไหลออกมาเปียกเต็มที่นอน เมื่อเปิดไฟดูพบว่ามันไม่ใช่เลือดนะ แต่สันนิษฐานว่า ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว จึงโทรศัพท์ไปถามที่โรงพยาบาลตามที่เขาให้เบอร์ไว้ ซึ่งคุณพยาบาลเวรก็แจ้งว่า เป็นถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว ให้มาที่โรงพยาบาลได้เลย จึงได้เตรียมเก็บข้าวของซึ่งจริงๆก็เตรียมไว้พร้อมแล้ว เอาใส่รถเพื่อเดินทางไปโรงพยาบาลตามที่ฝากครรภ์ไว้ทันที แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบนัก เนื่องจากได้รับคำแนะนำว่าท้องแรก ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะทะลักออกมา ท้องแรกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 ชั่วโมง หลังจากเริ่มเจ็บท้อง และตอนนี้ภรรยาก็ยังไม่ได้เริ่มเจ็บนัก และเมื่อเดินทางไปถึงโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วเนื่องจากการจราจรโล่งโปร่งสบายกลางดึกนั้น คุณพยาบาลก็พาภรรยาไปนอนรอในห้องคลอด ส่วนเราเองหลังจากนำเอกสารที่เตรียมไว้มาแจ้งข้อมูลต่างๆเรียบร้อยแล้ว คุณพยาบาลก็บอกว่า ให้คุณพ่อกลับไปพักผ่อนบ้านก่อน แล้วพรุ่งนี้เช้าค่อยมานะ เพราะตอนนี้ภรรยายังไม่คลอดแน่นอนเนื่องจาก ปากมดลูกยังเปิดน้อยมาก และในวอร์ดไม่มีพื้นที่ให้รอได้ ถ้าไม่อยากกลับบ้านก็ให้ไปรอที่นอกวอร์ดได้ แต่ควรไปนอนพักผ่อนที่บ้านจะดีกว่า เมื่อได้ยินคำแนะนำแบบนั้น ตอนแรกก็ลังเลว่าจะเอาอย่างไรดี แต่ในเมื่อคุณพยาบาลแนะนำมาแบบนี้ และเราก็ไม่มีสิทธิได้พักอยู่ภายในวอร์ดนั้นอยู่แล้ว ดังนั้นเราควรไปนอนพักผ่อน นอนเอาแรงดีกว่า พรุ่งนี้ยังมีอะไรให้ทำอีกเยอะ เราจึงกลับไปนอนที่บ้านคนเดียวแต่ก็ยังรู้สึกตื่นเต้น ปนความง่วง และพยายามข่มตานอนหลับ ที่สุดก็หลับไป
หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงช่วงเช้ามืด เราก็สะดุ้งตื่นจากโทรศัพท์ที่ตั้งเวลาไว้ แล้วก็รีบกลับมาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง (กลัวหาที่จอดรถยาก) และเมื่อมาถึงวอร์ดตอนเช้านี้แล้ว คุณพยาบาลอนุญาตให้เข้าไปในวอร์ดและไปที่ห้องคลอดที่ภรรยานอนรอคลอดอยู่ได้แล้ว ในฐานะเป็นสามี แต่เข้าไปคนเดียว ถ้ามีญาติๆมาอีกก็ต้องรอข้างนอก ตอนนั้นภรรยาก็ยังไม่ค่อยเจ็บมากนัก ส่วนปากมดลูกก็เปิดมามากกว่าเดิมอีกนิดเดียว แต่คุณหมอได้มาตรวจและให้ยาเร่งแล้ว ก็ได้แต่รอกันต่อไป จับมือให้กำลังใจภรรยา กอดภรรยากันไป ระหว่างนั้นคุณพยาบาลจะเข้ามาตรวจปาดมดลูกเป็นระยะๆ จนกระทั่งเวลาผ่านไปจากเช้าถึงใกล้ถึงเที่ยง ภรรยาก็เริ่มเจ็บท้องมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว ปากมดลูกก็เริ่มขยายมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว ตอนนี้ภรรยาตัดสินใจขอยาแก้ปวดมาเพื่อบรรเทาอาการ หลังจากเพื่อนภรรยาที่เพิ่งคลอดก่อนหน้าไม่นานนี้ ได้แนะนำว่าถ้าปวดอย่าทน ให้ขอยาแก้ปวดเลย เพราะถ้าช่วงใกล้ๆคลอดที่ปวดมากๆ ตอนนั้นคุณหมออาจจะไม่ให้ยาแก้ปวดแล้วก็ได้ (อันนี้ไม่ทราบข้อเท็จจริงเป็นตามนี้ไหม) ซึ่งพอได้ยาแก้ปวดมาแล้ว ภรรยาก็เริ่มรู้สึกว่ามันคลายความปวดมากขึ้น แต่ความรู้สึกมันก็คล้ายๆมึนๆเบลอๆเหมือนกัน จนที่สุดในหลังเที่ยงไปอีกไม่นานนัก เมื่อคุณพยาบาลมาตรวจปากมดลูกอีกครั้ง คราวนี้ก็รีบวิ่งไปเรียกคุณพยาบาลมาเพิ่มอีกหลายคนพร้อมทั้งคุณหมอที่เราฝากครรภ์ไว้ พร้อมกับเชิญให้เราไปรอน้องห้องคลอดทันที เราเลยสันนิษฐานว่าปากมดลูกน่าจะเปิดกว้างเพียงพอแล้วสินะ หลังจากช่วงเวลานั้นอีกเพียง 20 นาทีได้ เราก็ได้ยินเสียงร้องของเด็กทารกภายในห้องคลอดนั้น ความรู้สึกดีใจที่สุด มันปริ่มล้นมาทันที นี่คงเป็นเสียงลูกของเราแล้วสินะ หลังจากนั้นไม่นานคุณพยาบาลก็มาเรียกให้เข้าไปดูหน้าลูกครั้งแรกในชีวิต เป็นความดีใจ ปลื้มใจอย่างที่สุดจริงๆ ความรู้สึกนี้เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนน่าจะรู้สึกไม่ต่างกันนะ ยิ่งเมื่อเข้าไปเห็นหน้าลูก เห็นว่าเขามีร่างกายปกติดี น้ำหนัก 3 กิโลครึ่ง ถือว่าตัวใหญ่เหมือนกันเมื่อเทียบกับการคลอดเอง เบื้องต้นคุณหมอก็แจ้งว่าปกติดี ก็ยิ่งดีใจมากๆ แล้วเราก็ได้ถ่ายภาพพ่อแม่ลูกครั้งแรกที่ได้พบกัน ไม่นานนักคุณพยาบาลก็เชิญเราออกมาจากวอร์ด ส่วนลูกสาวของเราก็จะถูกส่งไปตรวจสุขภาพ ส่งไปดูแลตามขั้นตอนและส่งไปที่เนอส ส่วนภรรยาก็ถูกส่งไปนอนพักฟื้นที่วอร์ดคุณแม่ลูกอ่อน เราเองก็ได้ไปพักในห้องที่ภรรยานอนพักฟื้น ภรรยายังเจ็บแผลคลอด หลับๆตื่นๆ เราก็ได้แต่จับมือให้กำลังใจกันไป แล้วในช่วงตอนเย็นวันนั้น คุณพยาบาลก็พาลูกสาวเรามาให้ดูอีกครั้ง คราวนี้ให้เริ่มดูดนมแม่ครั้งแรก ภาพนั้นยังจำติดตาได้จนถึงวันนี้ ลูกสาวตัวเล็กๆค่อยๆเริ่มดูดนมจากเต้าแม่ครั้งแรก ดูดอย่างหิวกระหายเลย อธิบายไม่ถูกว่ารู้สึกอย่างไร แต่น้ำตาซึมๆนะ พอดื่มนมเสร็จแล้ว ช่วงสักพักนึง คุณพยาบาลก็พาลูกกลับไปที่เนอส
ภรรยาเราพักฟื้นที่โรงพยาบาล 3 วัน โดยตอนแรกว่าจะอยู่แค่ 2 วัน แล้วกลับ แต่ตอนช่วงตอนเที่ยงของวันที่ 2 เรารู้สึกว่าเรายังไม่พร้อม ไม่มั่นใจที่จะพาลูกตัวน้อยๆของเราออกจากโรงพยาบาลเลย แม้กระทั่งว่าจะเป็นเรื่องต่างๆเช่น เป็นการอาบน้ำลูก ที่แม้คุณพยาบาลจะพาไปฝึกแล้วก็ตาม แต่เราก็ยังดูเก้ๆ กังๆ หรือการห่มตัวลูกก็ยังห่มมั่วๆ ม้วนๆพับ ไหนจะกลัวว่าถ้าลูกร้องไห้ ให้กินนมแล้วไม่หยุด ไม่กิน จะทำยังไงต่อไป แล้วช่วงนั้นญาติฯ ปู่ย่า ตายาย ที่จะมาดูแลหลานได้ก็ยังไม่สะดวกกัน ก็เท่ากับว่าเราต้องดูแลลูกกันเอง 2 คน พ่อแม่ เราจึงขอพักต่ออีก 1 คืน คุณหมอเด็กที่ดูแลลูกรวมทั้งคุณหมอที่ดูแลภรรยาก็ไม่มีปัญหาให้พักต่อได้ คืนนั้นเป็นคืนแรกที่เราได้นอนด้วยกัน 3 คน พ่อแม่ลูก แต่เรานอนไม่ค่อยหลับเพราะกลัวว่าลูกจะหนาวมั้ย จะร้อนมั้ย แต่เขาไม่ค่อยงอแงมากนัก และหลับค่อนข้างมาก แต่เราก็ต้องปลุกเขาให้มาดูดนมทุก 3 ชั่วโมง ซึ่งเขาก็ดูดนมเป็นอย่างดีมากอย่างไม่น่าเชื่อ คุณพยาบาลเองก็บอกว่าเขาดูดนมเก่งทีเดียว อย่างนี้ไม่น่ากังวลอะไร เช้าวันที่ 3 ที่เราได้มาอยู่ที่โรงพยาบาลนี้ เรารีบไปแจ้งความประสงค์ว่าจะออกจากโรงพยาบาลช่วงบ่ายวันนี้เรียบร้อย คุณพยาบาลก็มาพาลูกสาวเราไปที่เนอสอีกครั้ง ไปตรวจสุขภาพดำเนินการฉีดวัคซีนต่างๆให้เรียบร้อย
ขณะที่เรากำลังรอให้คุณพยาบาลพาลูกสาวมาส่งเราที่ห้องพักฟื้น พร้อมกับรอใบแจ้งค่าใช้จ่ายอยู่นั้น คุณพยาบาลก็ได้โทรศัพท์มาที่ห้องพักฟื้นของเรา และแจ้งให้เรากับภรรยาให้ไปที่เนอส เรากับภรรยาก็เข้าใจว่า คุณพยาบาลอาจจะเรียกมาให้คำแนะนำเรื่องการดูแลเด็กทารกก็ได้มั้ง แต่เมื่อมาถึงเนอสแล้ว ก็มีคุณหมออีกท่านหนึ่งมาพบ ซึ่งคุณหมอท่านนี้ก็คือคุณหมอที่ดูแลเกี่ยวกับโรคหัวใจในเด็กนั่นเอง โดยหลังจากสอบถามตรวจเช็คว่าเป็นพ่อแม่ของน้องเรียบร้อยแล้ว คุณหมอก็เริ่มบอกกับเราทันทีว่า คุณหมอได้ตรวจพบว่า “ลูกสาวเรามีภาวะผนังหัวใจห้องบนปิดไม่สนิท หรือหัวใจรั่ว” พร้อมกับมีช่องระหว่างเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อทารกคลอดออกมาช่องนี้จะต้องปิดไป (ข้อมูลนี้เราไม่แน่ใจว่าเราจำผิดหรือไม่) โดยคุณหมอเด็กได้ตรวจพบความผิดปกตินี้ จากอุปกรณ์หูฟังของหมอขณะตรวจการเต้นของหัวใจลูกสาวเรา ก็จะได้เสียงฟู่ขณะหัวใจเต้น จึงได้ส่งตัวมาให้คุณหมอหัวใจซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์เฉพาะทางมาตรวจซ้ำอีกครั้ง และก็เห็นได้ชัดเจนว่า หัวใจห้องบนรั่ว ซึ่งพร้อมกันกับที่คุณหมออธิบายนั้น คุณหมอก็ได้ให้ดูหน้าจอมอนิเตอร์ของเครื่อง เอคโค ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ตรวจหัวใจดังกล่าว ซึ่งหลังจากที่เราและภรรยาได้ยินคุณหมออธิบายพร้อมกับเห็นภาพความผิดปกติของหัวใจลูกผ่านหน้าจอมอนิเตอร์เครื่องเอคโคดังกล่าว เห็นชัดๆว่า มันมีลักษณะของวัตถุบางอย่างซึ่งนั่นก็คือเลือด จำนวนหนึ่งได้ไหลลอดทะลุช่องของหัวใจจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งจริงๆ เรารู้สึกเหมือนฟ้าผ่า เปรี้ยง สนั่นลงมาที่โรงพยาบาลและมันฟาดเข้าที่กลางใจของเราอย่างฉับพลันทันที ความรู้สึกกลัว ความรู้สึกไม่ดีต่างๆนานา มันเอ่อล้นขึ้นมาทันที จนน้ำตาไหลซึมออกมา ตอนนั้นเราไม่รู้เลยว่า โรคหัวใจแบบนี้มันคืออะไร แต่ขึ้นชื่อว่าโรคหัวใจรั่ว มันก็น่ากลัวสุดๆอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ เราแทบไม่ได้ถามอะไรคุณหมอเลยด้วยซ้ำ เพราะเสมือนว่าตอนนั้นเราอาจจะช็อคไปแล้ว แต่ภรรยากลับเข้มแข็งกว่าอีก และเขาเอามือของเขามาจับมือของเราไว้ แน่นอนว่ามือของเราตอนนั้นต้องเย็นเฉียบแน่ๆ ตอนนั้นมีเพียงภรรยาของเราคนเดียวที่สอบถามคุณหมอว่า แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไป หรือต้องรักษาอย่างไร ดูแลอย่างไร ส่วนเราเองได้แต่รู้สึกเสียใจในโชคชะตาที่เราต้องมาเจอกันมันในครั้งนี้อย่างที่สุด รู้สึกสงสารลูกสาวมากๆ เขาจะเป็นอย่างไรต่อไป เราจะแข็งแรงไหม เขาจะโชคร้ายไปกว่านี้ไหม มันสารพัดความคิดที่เกิดขึ้นในทางแย่ๆ แต่ก่อนที่ความคิดเราจะเตลิดไปไกลกว่านั้น คุณหมอก็อธิบายต่อว่า เรื่องเส้นเลือดที่เกินมา ไม่น่ามีปัญหา เดี๋ยวมันก็คงจะตีบตันไปเองตามธรรมชาติ ส่วนช่องรั่วของผนังหัวใจที่ตรวจพบถือว่ามีขนาดเล็กประมาณ 4 มิลลิเมตร และมีเพียงช่องเดียว โดยหัวใจรั่วชนิดนี้เรียกว่า ASD โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial septal defect ซึ่งขนาดมันเล็ก 4 มิลลิเมตร นี้ คุณหมอมั่นใจ 90% ว่ามันจะปิดเองได้แน่นอน แต่สำหรับ 10% ที่เผื่อไว้นั้น หากมันไม่ปิดเอง ก็รอให้เขามีน้ำหนักตัวที่มากเพียงพอจะผ่าตัดได้ ก็จะสามารถรักษาโดยการผ่าตัดและหลังจากผ่าตัดแล้ว กรณี ASD แล้วแทบไม่ต้องกังวลใดๆ ใช้ชีวิตได้ตามปกติทุกประการ ส่วนหลังจากนี้แล้วก็ให้ดูแลเค้าไปตามปกติ คุณหมอไม่มียาให้กิน แต่คุณหมอจะนัดมาเพื่อคอยดูอาการเป็นระยะๆก็แล้วกันโดยเบื้องต้นเราจะนัดกันอีกครั้ง 1 เดือน ถัดไป