●●เราจะพิสูจน์ความจริงเรื่อง‘ธนาธร’อย่างไร? ถ้าเป็นการโอนโดยสุจริต ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปเช็คไว้●●

●●เราจะพิสูจน์ความจริงเรื่อง‘ธนาธร’อย่างไร? ถ้าเป็นการโอนโดยสุจริต ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปเช็คไว้●●

             
30 เม.ย.62-เมื่อวันที่ 29 เม.ย. สำนักข่าวอิศรา เผยแพร่บทความ "เราจะพิสูจน์ความจริงเรื่อง ‘ธนาธร’ อย่างไร?" เขียนโดยวิศาล เทศนนท์  เนื้อหาระบุว่า

 "... ถ้าเป็นการโอนโดยสุจริต และต้องการเก็บรูปเช็คไว้เป็นหลักฐานตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมจริง เมื่อจ่ายเช็คแล้ว
ก็น่าจะนำเข้าบัญชีเลย และ ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปไว้ แต่ควรแสดงหลักฐานฉบับที่อยู่ที่ธนาคารที่นำไปเข้าบัญชี
แล้วมากกว่า..."

1. หลักฐานสำคัญที่สุดคือ “จดทะเบียนหุ้น วี-ลัคมีเดีย(โดยบริษัท) และ แจ้งเลขที่ใบหุ้นต่อกระทรวงพาณิชย์
วันที่ 21 มีนาคม 2562”

2. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ชี้แจงว่าก่อนการลงสมัครรับเลือกตั้ง(4- 8 กุมภาพันธ์ 2562) วันที่ 8 มกราคม มีหลักฐานว่า นายธนาธร กลับมานอน กทม. ก่อนวันรุ่งขึ้นบินไปนครศรีธรรมราช
ปัญหาเรื่องการเดินทางจึงยังถกกันได้ แต่จะแปลว่า โอนกันจริงในวันที่ 8 มกราคม 2562 หรือไม่ ?
ยังไม่ชัดอยู่ดี ต้องแสดงหลักฐานอื่นที่ทำย้อนหลังไม่ได้

3. การจะพิสูจน์ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง( กกต.) ศาล และ สังคม ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานที่ “ทำย้อนหลัง”
ไม่ได้ แต่ยังมีข้อสงสัยสำคัญ ดังนี้

3.1. ทำตราสารโอนหุ้นแล้ว หุ้นของนายธนาธร 675,000 หุ้น ผู้โอนได้รับเงิน 6,750,000 บาทจากมารดา ที่ราคา
หุ้นละ 10 บาท

3.2. แต่ข้อสงสัยคือ หุ้นละ 10 บาท(ราคาพาร์) ทั้งๆที่ทั้งบริษัททุนจดทะเบียนคือ 45,000,000 บาท แต่ขาดทุน
ต่อเนื่อง จนสิ้นปี 2560 ราคาเหลือไม่ถึงครึ่ง คือ เหลือ 21,209,207.33 บาท

3.3. เช็คที่นำมาแสดง ทำให้สงสัยว่า “ทำย้อนหลัง” เพราะ มีการถ่ายรูปไว้ โดยไม่มีตราประทับของธนาคาร
เพราะ ถ้านำเข้าบัญชีธนาคารจะต้องมีตราประทับธนาคารผู้รับ

3.4. ถ้าเป็นการโอนโดยสุจริต และต้องการเก็บรูปเช็คไว้เป็นหลักฐานตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมจริง เมื่อจ่ายเช็คแล้ว
ก็น่าจะนำเข้าบัญชีเลย และ ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปไว้ แต่ควรแสดงหลักฐานฉบับที่อยู่ที่ธนาคารที่นำไปเข้าบัญชี
แล้วมากกว่า

ที่สำคัญคือ ควรไปจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ช่วงนั้น หรือ อย่างน้อย การลงทะเบียนหุ้นภายใน ก็น่า
จะปรับสมุดทะเบียนของบริษัทได้เลย

4. คำถามที่ นายธนาธร ควรแสดงหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อให้พ้นข้อสงสัยคือ

4.1. เช็คจำนวน 6,750,000 บาท ธนาธร ได้นำเข้าบัญชี หรือไม่ ? เมื่อใด ? : ถ้าไม่มีการนำเข้าบัญชี เป็นการ
“ทำเอกสารย้อนหลัง” หรือไม่ ? อุตส่าห์บึ่งรถมาจากสตึก แต่เช็คที่รับมาก็ไม่นำเข้าบัญชี เพราะวันนั้น ไม่ได้ทำ
กันจริงหรือไม่ ? ไม่มีเช็คจริงในวันนั้นหรือไม่ ? เพราะ การนำเข้าบัญชี ทำหลักฐานย้อนหลังไม่ได้?

4.2. มีหลักฐานตราสารโอนหุ้น 225,000 หุ้น และ เช็ค ของ นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ภรรยาของนายธนาธร
หรือไม่ ? : ถ้าไม่มี หลักฐานการโอนหุ้นของนายธนาธร เป็นจริงหรือไม่ ?

นางสมพร จึงรุงเรืองกิจ มารดาจ่ายราคาพาร์เต็ม ให้ลูกสะใภ้ ทั้งๆที่ มูลค่าหุ้นต่ำกว่าครึ่งจริงหรือไม่ ? ถ้ามีเช็ค
เลขต่อกันหรือไม่ (เพราะถ้าสามีขาย ภรรยาต้องขายด้วยหรือไม่ เพราะ เป็นบุคคลเดียวกันตามกฎหมาย ?) ?
เข้าบัญชีหรือไม่ ?

4.3. มีหลักฐานตราสารโอนหุ้น และ เช็ค ที่นางสมพร ขายให้ นายทวี และ นายปิติ(หลาน) หรือไม่ ? ราคาพาร์เหมือนกันหรือไม่ ? : ถ้าไม่มี หลักฐานการโอนหุ้นของธนาธร ทำย้อนหลังหรือไม่ ? หลานจะจ่ายค่าหุ้นราคาพาร์
จริงหรือ ? แล้วที่นางสมพร จ่ายราคาพาร์เต็ม ทั้งๆที่ มูลค่าต่ำกว่าครึ่ง จะเชี่อถือได้หรือไม่ ?

ถ้านางสมพรโอนให้หลานฟรีโดยไม่ต้องจ่ายเงิน จะต้องโอนให้เป็นผู้ถือหุ้นทำไม ? เป็นการ “ทำย้อนหลัง” เพียง
เพื่อมาชี้แจงจำนวนผู้เข้าประชุมเท่านั้น ใช่หรือไม่ ? นางสมพร ซื้อหุ้นมาราคาพาร์ แต่ยกหุ้นให้หลานฟรี การที่
นางสมพรทำหลักฐานเช็คจ่ายนายธนาธรที่ราคาพาร์ ซึ่งอาจไม่ได้นำเข้าบัญชีธนาคารอีกด้วย
เชื่อถือได้หรือไม่ ?

4.4มีหลักฐานตราสารโอนหุ้น และ เช็ค ที่นางสมพรจ่ายในการรับโอนหุ้นคืนจาก นายณรงค์ศักดิ์ โอปีสันธน์ 225,000 หุ้น (เลขหมายหุ้นที่ 2925001-3150000) นายอรัญ วงศ์งามกิจ 225,000 หุ้น (เลขหมายหุ้นที่
3625001-3670000,4075001-4120000,4187501-4232500) นายอรัญ วงศ์งามกิจ และ นางกมลฉัตร
จึงรุ่งเรืองกิจ 225,000 หุ้น (เลขหมายหุ้นที่ 5175001-5220000,5445001-5490000,5220001-5445000)
หรือไม่ ? ราคาพาร์เหมือนกันหรือไม่ ?

ถ้าไม่มี หลักฐาน การโอนหุ้นของนายธนาธร เป็นจริงหรือไม่ ? ถ้าต่างราคากัน แสดงว่า เช็คนายธนาธร ที่ทำที่ราคาพาร์ เชื่อถือได้หรือไม่ ? เพราะ เป็นการจดทะเบียนโอนในวันเดียวกัน.

                                          ป.ล.  มีการแก้ไขการจัดเรียงบรรทัดใหม่

Cr. https://www.thaipost.net/main/detail/34754
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่