บทความคัดลอกมาจาก facebook เพจ อายุรศาสตร์ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2243790059270348
เล่าให้ฟังนะครับ สรุปมาที่ประชาชนอย่างเราท่านน่าจะได้มีความเข้าใจที่ดี ผมยังไม่ได้ไปค้นเพิ่มเติมนะครับ เรียกว่าสรุปและเล่าสด คิดว่าการบรรยายนี้มีค่ามากในเรื่องของกัญชา โดย รศ.พญ.สุดา วรรณประสาท, ผศ.นพ.วรพันธ์ เกรียงสุนทร, ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ
1. สำหรับทางการแพทย์แล้ว กัญชาเป็นที่มาของสารออกฤทธิ์ที่สำคัญสองชนิดเรียกว่า THC (tetrahydrocanabivarin) และ CBD (canabidiol) ซึ่งการใช้ทางการแพทย์จะสกัดเอาสารทั้งสองมาทำเป็นยาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ได้นำมาใช้แบบตรง ๆ ในการเผาใบกัญชาหรือนำใบกัญชามาผสมในอาหาร ซึ่งการจะสกัดมาใช้ทางการแพทย์ได้ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มีสัดส่วนของสารสกัดที่ชัดเจน มีการรับรองการผลิต ดังนั้นการใช้กัญชาทางการแพทย์ต้องนำไปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมอีกหลายขั้นตอนครับ
2. สารที่ออกฤทธิ์จากกัญชามีสมบัติพิเศษคือ มันละลายในไขมันได้ดี แทรกซึมไปในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ดีและรูปแบบที่เราเห็นกันคือ น้ำมันกัญชา นั่นเอง อีกประการคือจะต้องอาศัยความร้อนจึงจะปล่อยสารออกฤทธิ์ออกมาได้ เราจึงเห็นการเผาการสูบในกัญชาอยู่บ่อย ๆ
3. การใช้ THC และ CBD โดยวิธีสูบจะออกฤทธิ์เร็วมากพอ ๆ กับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สำหรับการหยดใส่ใต้ลิ้น (แบบที่เคยเห็นกันนั่นแหละ) จะออกฤทธิ์ช้าลงมา แต่วิธีที่ช้าที่สุดคือการกิน เพราะการดูดซึมน้อยและช้า แต่รูปแบบการกินจะเกิดพิษมากสุด เพราะผู้ใช้ไม่รอจนกระทั่งยาออกฤทธิ์ 1-3 ชั่วโมง พอยายังไม่ทันไม่ออกฤทธิ์ก็คิดว่าไม่ได้ผลจึงกินซ้ำ ๆ สุดท้ายจะเกินขนาดและเป็นพิษได้
4. THC จะมีฤทธิ์เมาและทำให้เคลิ้ม คนที่เสพกัญชามักจะชอบผลอันนี้ ในขณะเดียวกันก็จะมีอาการทางจิตประสาทและหลอนได้ ฤทธิ์ลดปวดสูง สามารถแก้อาเจียนได้ดี แต่ CBD จะมีฤทธิ์ต้านเมาหลอน มีผลทำให้สงบมากกว่าอาการจิตประสาท ลดปวดได้แต่ไม่ดีเท่า THC ในทางการแพทย์เราต้องการ CBD มากกว่า THC หรือใช้ CBD ผสม THC จะได้ไม่ต้องใช้ THC ในขนาดสูงมากตนเกิดผลเสีย
5. กัญชาที่นิยมมากขึ้นในการใช้เพื่อความบันเทิงจึงจะเป็นพันธุ์ที่สามารถสกัดแล้วให้ THC สูง ส่วนทางการแพทย์จะขอสายพันธุ์ที่ CBD สูง มันสวนทางกัน ในอดีตต้นกัญชาไม่ได้มีการปรับปรุงและดูแลให้มี THC สูงแบบทุกวันนี้ กัญชาสมัยก่อนจะมีสัดส่วน THC/CBD ต่ำกว่านี้ จึงสามารถใช้เป็นยาได้ดี แต่กัญชาปัจจุบันสายพันธุ์เปลี่ยนไปจากอดีตแล้ว จึงใช้กัญชาแบบเดิมในการรักษาโรคแบบในอดีตไม่ได้
6. สาร THC และ CBD ที่มีสัดส่วนเหมาะสมคงที่ ทั้งจากการสกัดแบบพิเศษหรือจากการสังเคราะห์ มีที่ใช้และได้รับการรับรองในหลายประเทศคือ โรคลมชักบางชนิด, โรคปลอกประสาทอักเสบ multiple sclerosis, อาการปวดเรื้อรังแบบปวดจากเส้นประสาท และลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการใช้ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ข้อรับรองต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มาจากหลักฐานที่ดีเลิศ และต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย และยังไม่มีข้อตกลงขนาดยาในการรักษาแต่ละโรคที่ชัดเจน
7. ส่วนการรักษามะเร็ง การรักษาอัลไซเมอร์ การรักษาพาร์กินสัน ยังคงต้องศึกษาต่อไปอีกมาก ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากสัตว์ทดลองและหลอดทดลอง ที่ยังสรุปประโยชน์และโทษที่ชัดเจนในคนได้ยาก หรือแม้แต่การศึกษาที่เป็นหลักฐานสนับสนุนข้อบ่งชี้ก็ไม่ได้เป็นการศึกษาที่ได้ผลดี ยังจำเป็นต้องศึกษาอีกมาก ในหลาย ๆ ประเทศจะมีการอนุญาตให้มีการปลูกเพื่อนำไปวิจัยทางการแพทย์หรือใช้ทางการแพทย์ ไม่ได้อิสระเสรีเต็มที่นัก
8. อันตรายจากสารสกัดกัญชาที่ต้องระวังเพราะการกำหนดขนาดรักษายังไม่ชัดเจนนัก โอกาสจะได้ผิดวิธีหรือขนาดสูงเกินไปจะมีมาก หากได้รับพิษในขนาดสูงจะมีอาการสับสนกระวนกระวาย มีอาการทางจิตประสาท มือสั่นปากแห้งได้ มีผลมากต่อการพัฒนาการสมองเด็ก อันตรายต่อทารกในครรภ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่อนุมัติให้ใช้ในทางการรักษายังพบการเกิดพิษเพิ่มขึ้นมากมาย และในหลายรัฐที่อนุมัติเสพเพื่อความบันเทิงก็ยิ่งพบอันตรายจากพิษเฉียบพลันมากขึ้น รวมทั้งอุบัติเหตุท้องถนนก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
9. อันตรายในระยะยาวที่แน่นอนคือ เสพติด โรคจิตประสาท และเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตาย อันตรายที่พบน้อยแต่รุนแรงเรียกว่า canabinoid hyperemesis syndrome เป็นอาการอาเจียนต่อเนื่องรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อยาต้านอาการอาเจียน พบในผู้ที่ใช้กัญชามานาน ๆ ข้อแปลกของอาการนี้คือ เวลาอาบน้ำร้อนอาการอาเจียนจะลดลง (เป็นผลของการขยายหลอดเลือดของกัญชา)
10. แต่เนื่องจากโอกาสพัฒนาของสารสกัดกัญชาในการพัฒยายาหลายชนิด จึงมีการปลดล็อกระดับสารเสพติดของ CBD และปรับระดับสารเสพติดของ THC จากระดับ 4 เป็นระดับ 1(ปรับเกรดมาเท่ากับการใช้อนุพันธุ์ของฝิ่นมาเป็นยา) ตามเกณฑ์ของ WHO ไม่ได้หมายถึงปลดล็อกเพราะปลอดภัยแล้ว เสรีได้ หลาย ๆ สมาคมการแพทย์ยังไม่สนับสนุนเสรี 100% แต่สนับสนุนให้ปลูกได้แต่ต้องควบคุมเคร่งครัดและใช้ในทางการแพทย์เท่านั้น (medical purpose) ไม่ให้ใช้กัญชาและสารสกัดกัญชาเพื่อความบันเทิง (recreation purpose)
11. จะต้องสร้างปัจจัยแวดล้อมมารองรับและสนับสนุนมาพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ดี ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ การควบคุมและกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ การดูแลเมื่อเกิดพิษหรือการใช้แบบไม่ได้ตั้งใจโดยเฉพาะในเด็ก การออกกฎหมายควบคุมที่ดี นโยบายและการติดตามผลที่รัดกุม
อาจารย์ผู้บรรยายแนะนำ อันนี้เยอะและละเอียด ผมจะทยอยอ่านแล้วมาเล่าให้ฟัง
http://www.nationalacademies.org/hmd/Reports/2017/health-effects-of-cannabis-and-cannabinoids.aspx?fbclid=IwAR1VI2SyeGdilbaBTs_icZBpEESsd-aYrLDIPx0aFeOksNOO8mBDROfFfVk
บทความจาก facebook เพจ อายุรศาสตร์ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2243790059270348
หมอเพจอายุรศาสตร์ง่ายนิดเดียว สรุปเรื่องกัญชาทางการแพทย์
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2243790059270348
เล่าให้ฟังนะครับ สรุปมาที่ประชาชนอย่างเราท่านน่าจะได้มีความเข้าใจที่ดี ผมยังไม่ได้ไปค้นเพิ่มเติมนะครับ เรียกว่าสรุปและเล่าสด คิดว่าการบรรยายนี้มีค่ามากในเรื่องของกัญชา โดย รศ.พญ.สุดา วรรณประสาท, ผศ.นพ.วรพันธ์ เกรียงสุนทร, ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ
1. สำหรับทางการแพทย์แล้ว กัญชาเป็นที่มาของสารออกฤทธิ์ที่สำคัญสองชนิดเรียกว่า THC (tetrahydrocanabivarin) และ CBD (canabidiol) ซึ่งการใช้ทางการแพทย์จะสกัดเอาสารทั้งสองมาทำเป็นยาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ได้นำมาใช้แบบตรง ๆ ในการเผาใบกัญชาหรือนำใบกัญชามาผสมในอาหาร ซึ่งการจะสกัดมาใช้ทางการแพทย์ได้ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มีสัดส่วนของสารสกัดที่ชัดเจน มีการรับรองการผลิต ดังนั้นการใช้กัญชาทางการแพทย์ต้องนำไปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมอีกหลายขั้นตอนครับ
2. สารที่ออกฤทธิ์จากกัญชามีสมบัติพิเศษคือ มันละลายในไขมันได้ดี แทรกซึมไปในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ดีและรูปแบบที่เราเห็นกันคือ น้ำมันกัญชา นั่นเอง อีกประการคือจะต้องอาศัยความร้อนจึงจะปล่อยสารออกฤทธิ์ออกมาได้ เราจึงเห็นการเผาการสูบในกัญชาอยู่บ่อย ๆ
3. การใช้ THC และ CBD โดยวิธีสูบจะออกฤทธิ์เร็วมากพอ ๆ กับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สำหรับการหยดใส่ใต้ลิ้น (แบบที่เคยเห็นกันนั่นแหละ) จะออกฤทธิ์ช้าลงมา แต่วิธีที่ช้าที่สุดคือการกิน เพราะการดูดซึมน้อยและช้า แต่รูปแบบการกินจะเกิดพิษมากสุด เพราะผู้ใช้ไม่รอจนกระทั่งยาออกฤทธิ์ 1-3 ชั่วโมง พอยายังไม่ทันไม่ออกฤทธิ์ก็คิดว่าไม่ได้ผลจึงกินซ้ำ ๆ สุดท้ายจะเกินขนาดและเป็นพิษได้
4. THC จะมีฤทธิ์เมาและทำให้เคลิ้ม คนที่เสพกัญชามักจะชอบผลอันนี้ ในขณะเดียวกันก็จะมีอาการทางจิตประสาทและหลอนได้ ฤทธิ์ลดปวดสูง สามารถแก้อาเจียนได้ดี แต่ CBD จะมีฤทธิ์ต้านเมาหลอน มีผลทำให้สงบมากกว่าอาการจิตประสาท ลดปวดได้แต่ไม่ดีเท่า THC ในทางการแพทย์เราต้องการ CBD มากกว่า THC หรือใช้ CBD ผสม THC จะได้ไม่ต้องใช้ THC ในขนาดสูงมากตนเกิดผลเสีย
5. กัญชาที่นิยมมากขึ้นในการใช้เพื่อความบันเทิงจึงจะเป็นพันธุ์ที่สามารถสกัดแล้วให้ THC สูง ส่วนทางการแพทย์จะขอสายพันธุ์ที่ CBD สูง มันสวนทางกัน ในอดีตต้นกัญชาไม่ได้มีการปรับปรุงและดูแลให้มี THC สูงแบบทุกวันนี้ กัญชาสมัยก่อนจะมีสัดส่วน THC/CBD ต่ำกว่านี้ จึงสามารถใช้เป็นยาได้ดี แต่กัญชาปัจจุบันสายพันธุ์เปลี่ยนไปจากอดีตแล้ว จึงใช้กัญชาแบบเดิมในการรักษาโรคแบบในอดีตไม่ได้
6. สาร THC และ CBD ที่มีสัดส่วนเหมาะสมคงที่ ทั้งจากการสกัดแบบพิเศษหรือจากการสังเคราะห์ มีที่ใช้และได้รับการรับรองในหลายประเทศคือ โรคลมชักบางชนิด, โรคปลอกประสาทอักเสบ multiple sclerosis, อาการปวดเรื้อรังแบบปวดจากเส้นประสาท และลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการใช้ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ข้อรับรองต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มาจากหลักฐานที่ดีเลิศ และต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย และยังไม่มีข้อตกลงขนาดยาในการรักษาแต่ละโรคที่ชัดเจน
7. ส่วนการรักษามะเร็ง การรักษาอัลไซเมอร์ การรักษาพาร์กินสัน ยังคงต้องศึกษาต่อไปอีกมาก ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากสัตว์ทดลองและหลอดทดลอง ที่ยังสรุปประโยชน์และโทษที่ชัดเจนในคนได้ยาก หรือแม้แต่การศึกษาที่เป็นหลักฐานสนับสนุนข้อบ่งชี้ก็ไม่ได้เป็นการศึกษาที่ได้ผลดี ยังจำเป็นต้องศึกษาอีกมาก ในหลาย ๆ ประเทศจะมีการอนุญาตให้มีการปลูกเพื่อนำไปวิจัยทางการแพทย์หรือใช้ทางการแพทย์ ไม่ได้อิสระเสรีเต็มที่นัก
8. อันตรายจากสารสกัดกัญชาที่ต้องระวังเพราะการกำหนดขนาดรักษายังไม่ชัดเจนนัก โอกาสจะได้ผิดวิธีหรือขนาดสูงเกินไปจะมีมาก หากได้รับพิษในขนาดสูงจะมีอาการสับสนกระวนกระวาย มีอาการทางจิตประสาท มือสั่นปากแห้งได้ มีผลมากต่อการพัฒนาการสมองเด็ก อันตรายต่อทารกในครรภ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่อนุมัติให้ใช้ในทางการรักษายังพบการเกิดพิษเพิ่มขึ้นมากมาย และในหลายรัฐที่อนุมัติเสพเพื่อความบันเทิงก็ยิ่งพบอันตรายจากพิษเฉียบพลันมากขึ้น รวมทั้งอุบัติเหตุท้องถนนก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
9. อันตรายในระยะยาวที่แน่นอนคือ เสพติด โรคจิตประสาท และเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตาย อันตรายที่พบน้อยแต่รุนแรงเรียกว่า canabinoid hyperemesis syndrome เป็นอาการอาเจียนต่อเนื่องรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อยาต้านอาการอาเจียน พบในผู้ที่ใช้กัญชามานาน ๆ ข้อแปลกของอาการนี้คือ เวลาอาบน้ำร้อนอาการอาเจียนจะลดลง (เป็นผลของการขยายหลอดเลือดของกัญชา)
10. แต่เนื่องจากโอกาสพัฒนาของสารสกัดกัญชาในการพัฒยายาหลายชนิด จึงมีการปลดล็อกระดับสารเสพติดของ CBD และปรับระดับสารเสพติดของ THC จากระดับ 4 เป็นระดับ 1(ปรับเกรดมาเท่ากับการใช้อนุพันธุ์ของฝิ่นมาเป็นยา) ตามเกณฑ์ของ WHO ไม่ได้หมายถึงปลดล็อกเพราะปลอดภัยแล้ว เสรีได้ หลาย ๆ สมาคมการแพทย์ยังไม่สนับสนุนเสรี 100% แต่สนับสนุนให้ปลูกได้แต่ต้องควบคุมเคร่งครัดและใช้ในทางการแพทย์เท่านั้น (medical purpose) ไม่ให้ใช้กัญชาและสารสกัดกัญชาเพื่อความบันเทิง (recreation purpose)
11. จะต้องสร้างปัจจัยแวดล้อมมารองรับและสนับสนุนมาพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ดี ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ การควบคุมและกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ การดูแลเมื่อเกิดพิษหรือการใช้แบบไม่ได้ตั้งใจโดยเฉพาะในเด็ก การออกกฎหมายควบคุมที่ดี นโยบายและการติดตามผลที่รัดกุม
อาจารย์ผู้บรรยายแนะนำ อันนี้เยอะและละเอียด ผมจะทยอยอ่านแล้วมาเล่าให้ฟัง
http://www.nationalacademies.org/hmd/Reports/2017/health-effects-of-cannabis-and-cannabinoids.aspx?fbclid=IwAR1VI2SyeGdilbaBTs_icZBpEESsd-aYrLDIPx0aFeOksNOO8mBDROfFfVk
บทความจาก facebook เพจ อายุรศาสตร์ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2243790059270348