●●คนไทยใช้สิทธิ "ตายตามธรรมชาติ" ได้ เน้นประคับประคอง มีความสุขในวาระสุดท้าย ผู้ป่วย 93% กลัวทรมานมากกว่าตาย●●
เวที สช.เจาะประเด็น ชี้คนไทยใช้สิทธิ "ตายตามธรรมชาติ" ได้ พบผู้ป่วย 93% ไม่กลัวตาย แต่กลัวทรมาน ใช้สิทธิปฏิเสธรักษา ช่วยจากไปอย่างสงบ ผ่านการดูแลประคับประคอง ระบุ ร.ร.แพทย์หันมาให้บริการแล้ว แนะแก้รูปแบบญาติเซ็นหนังสือปฏิเสธรักษา เป็นพูดคุยให้ผู้ป่วยรักษาวิธีธรรมชาติ มีความสุขมากที่สุดก่อนตายในวาระสุดท้าย
วันนี้ (25 เม.ย.) ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส กรรมการที่ปรึกษาด้านสิทธิสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในเวที “สช.เจาะประเด็น : เร่งตาย vs เลือกตาย สิทธิในวาระสุดท้าย ใครกำหนด?” ว่า การเลือกสิทธิที่จะตายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ซึ่งในโลกนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ 1.การทำการุณยฆาต หรือการช่วยผู้ป่วยฆ่าตัวตาย หรือพูดอีกแง่หนึ่ง คือ การเร่งการตาย ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศที่อนุญาต และ 2.การปฏิเสธไม่รับการรักษาเพื่อยืดชีวิต เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย โดยรับการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อตายในวาระสุดท้ายแบบตามธรรมชาติ ซึ่งไทยมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตาย
ศ.แสวง กล่าวว่า สิทธิการตายตามธรรมชาติ มาตรา 12 ต้องมีการเขียนความต้องการเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ได้มีแบบแผน สามารถเขียนลงไปได้เลยว่า ในวาระสุดท้ายของชีวิตต้องการให้ทำอะไรหรือไม่ทำอะไรกับร่างกายบ้าง กำหนดได้ถึงขั้นว่า ไม่อยากให้ใครมาเยี่ยม หรืออยากจะกินอะไรก่อนวาระสุดท้ายมาถึง ซึ่งควรเขียนวันที่กำกับเอาไว้ทุกครั้งในการเขียน หากไม่ทราบว่าจะเขียนอย่างไร สามารถดูตัวอย่างได้ที่เว็บไซต์ของ สช. และควรมีพยานเซ็นกำกับ นอกจากนี้ ควรทำสำเนา เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง แนบตัวสำเนาไปกับเวชระเบียน ส่วนเอกสารตัวจริงเก็บไว้กับตัว ซึ่งอยากให้เก็บเป็นฐานข้อมูลในบัตรประชาชนด้วย
"กฎหมายฉบับนี้ใช้มานานถึง 11 ปี แต่คนไม่ค่อยรู้ เพราะเป็นเรื่องใหม่ และก่อนหน้านี้มีการคัดค้าน แต่ปี 2558 ศาลปกครองสูงสุดตัดสินว่า กฎหมายดังกล่าวถูกต้อง เพราะทำในวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่ใช่การทอดทิ้งผู้ป่วย เพราะยังดูแลแบบประคับประคอง ปัจจุบันโรงเรียนแพทย์เริ่มทำศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแล้ว ทั้งศิริราช จุฬาลงกรณ์ รามาธิบดี ธรรมศาสตร์ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เริ่มทำได้ 2-3 ปี แต่อยากให้แก้ไข จากแบบฟอร์มให้ญาติผู้ป่วยเซ็นหนังสือปฏิเสธการรักษา ซึ่งทำให้เขากลัว มาเป็นแบบมีการคุยให้ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ และอยากเรียกร้องให้สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. กำหนดเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานพยาบาล และเรียกร้องให้พรรคการเมืองหันมาสนใจทำเรื่องนี้มากขึ้น และควรบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนให้คนรุ่นใหม่เข้าใจมากขึ้น" ศ.แสวง กล่าว
ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากการพูดคุยและเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยสูงอายุ พบว่า ร้อยละ 93 ไม่กลัวความตาย แต่กลัวความทรมาน การมีกฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบได้ แต่ปัญหา คือ คำว่าวาระสุดท้ายของชีวิต บุคลากรจะเข้าใจกันง่าย แต่ประชาชนอาจจะยังไม่เข้าใจ ดังนั้น แพทย์จะตัดสินใจจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ คือ เป็นโรคร้ายแรงที่รักษาไม่หายแล้ว โอกาสตายเยอะ เช่น มะเร็ง หากเป็นเช่นนี้ ทั้งผู้ป่วย ญาติทุกคน และแพทย์ต้องมาคุยให้พร้อมกัน เพื่อวางแผนกันต่อ เพราะที่ผ่านมาพบว่า ญาติ คือ กลุ่มที่มีปัญหา ไม่ยอมทำตามความประสงค์ของผู้ป่วย โดยเฉพาะญาติที่อยู่ทางไกลมักจะแสดงความกตัญญูเฉียบพลัน ส่วนกรณีผู้ป่วยที่นอนไม่รู้สึกตัวแล้ว และไม่ได้ทำเอกสารตามมาตรา 12 ไว้การตัดสินใจรักษาแบบประคับประคองจะอยู่ที่ญาติ
ด้าน ดีเจพี่อ้อย-นภาพร ไตรวิทย์อารีกุล นักจัดรายการชื่อดัง กล่าวว่า จากที่ตนเคยไปอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการตอบแบบสอบถาม 2 ส่วน ส่วนแรกในฐานะที่เราเป็นเจ้าของชีวิตเอง เมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพก็เลือกที่จะจากไปเลยดีกว่า แต่การตอบคำถามในกรณีที่เราเป็นญาติกลับมีความต้องการที่จะยื้อชีวิตญาติเราเอาไว้อีกนิด นับเป็นการเห็นแก่ตัวอยู่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในวาระสุดท้ายแทนที่จะอยู่ท่ามกลางการรักษาของแพทย์ พยาบาลที่เราไม่รู้จักใครเลย จะดีกว่าหรือไม่หากเราได้รับการดูแลแบบประคับประคองแทน และตายในอ้อมกอดของคนที่เรารัก อยากกินอะไรก็กิน ญาติที่ได้ดูแลกันในช่วงสุดท้ายก็จะมีความสุขไปด้วย อย่างน้อยเขาก็จากไปด้วยความสุข ส่วนตัวได้ทำเอกสารแสดงเจตจำนงเอาไว้แล้ว
Cr.
https://mgronline.com/qol/detail/9620000040204
●●คนไทยใช้สิทธิ "ตายตามธรรมชาติ" ได้ เน้นประคับประคอง มีความสุขในวาระสุดท้าย ผู้ป่วย 93% กลัวทรมานมากกว่าตาย●●
เวที สช.เจาะประเด็น ชี้คนไทยใช้สิทธิ "ตายตามธรรมชาติ" ได้ พบผู้ป่วย 93% ไม่กลัวตาย แต่กลัวทรมาน ใช้สิทธิปฏิเสธรักษา ช่วยจากไปอย่างสงบ ผ่านการดูแลประคับประคอง ระบุ ร.ร.แพทย์หันมาให้บริการแล้ว แนะแก้รูปแบบญาติเซ็นหนังสือปฏิเสธรักษา เป็นพูดคุยให้ผู้ป่วยรักษาวิธีธรรมชาติ มีความสุขมากที่สุดก่อนตายในวาระสุดท้าย
วันนี้ (25 เม.ย.) ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส กรรมการที่ปรึกษาด้านสิทธิสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในเวที “สช.เจาะประเด็น : เร่งตาย vs เลือกตาย สิทธิในวาระสุดท้าย ใครกำหนด?” ว่า การเลือกสิทธิที่จะตายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ซึ่งในโลกนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ 1.การทำการุณยฆาต หรือการช่วยผู้ป่วยฆ่าตัวตาย หรือพูดอีกแง่หนึ่ง คือ การเร่งการตาย ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศที่อนุญาต และ 2.การปฏิเสธไม่รับการรักษาเพื่อยืดชีวิต เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย โดยรับการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อตายในวาระสุดท้ายแบบตามธรรมชาติ ซึ่งไทยมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตาย
ศ.แสวง กล่าวว่า สิทธิการตายตามธรรมชาติ มาตรา 12 ต้องมีการเขียนความต้องการเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ได้มีแบบแผน สามารถเขียนลงไปได้เลยว่า ในวาระสุดท้ายของชีวิตต้องการให้ทำอะไรหรือไม่ทำอะไรกับร่างกายบ้าง กำหนดได้ถึงขั้นว่า ไม่อยากให้ใครมาเยี่ยม หรืออยากจะกินอะไรก่อนวาระสุดท้ายมาถึง ซึ่งควรเขียนวันที่กำกับเอาไว้ทุกครั้งในการเขียน หากไม่ทราบว่าจะเขียนอย่างไร สามารถดูตัวอย่างได้ที่เว็บไซต์ของ สช. และควรมีพยานเซ็นกำกับ นอกจากนี้ ควรทำสำเนา เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง แนบตัวสำเนาไปกับเวชระเบียน ส่วนเอกสารตัวจริงเก็บไว้กับตัว ซึ่งอยากให้เก็บเป็นฐานข้อมูลในบัตรประชาชนด้วย
"กฎหมายฉบับนี้ใช้มานานถึง 11 ปี แต่คนไม่ค่อยรู้ เพราะเป็นเรื่องใหม่ และก่อนหน้านี้มีการคัดค้าน แต่ปี 2558 ศาลปกครองสูงสุดตัดสินว่า กฎหมายดังกล่าวถูกต้อง เพราะทำในวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่ใช่การทอดทิ้งผู้ป่วย เพราะยังดูแลแบบประคับประคอง ปัจจุบันโรงเรียนแพทย์เริ่มทำศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแล้ว ทั้งศิริราช จุฬาลงกรณ์ รามาธิบดี ธรรมศาสตร์ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เริ่มทำได้ 2-3 ปี แต่อยากให้แก้ไข จากแบบฟอร์มให้ญาติผู้ป่วยเซ็นหนังสือปฏิเสธการรักษา ซึ่งทำให้เขากลัว มาเป็นแบบมีการคุยให้ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ และอยากเรียกร้องให้สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. กำหนดเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานพยาบาล และเรียกร้องให้พรรคการเมืองหันมาสนใจทำเรื่องนี้มากขึ้น และควรบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนให้คนรุ่นใหม่เข้าใจมากขึ้น" ศ.แสวง กล่าว
ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากการพูดคุยและเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยสูงอายุ พบว่า ร้อยละ 93 ไม่กลัวความตาย แต่กลัวความทรมาน การมีกฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบได้ แต่ปัญหา คือ คำว่าวาระสุดท้ายของชีวิต บุคลากรจะเข้าใจกันง่าย แต่ประชาชนอาจจะยังไม่เข้าใจ ดังนั้น แพทย์จะตัดสินใจจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ คือ เป็นโรคร้ายแรงที่รักษาไม่หายแล้ว โอกาสตายเยอะ เช่น มะเร็ง หากเป็นเช่นนี้ ทั้งผู้ป่วย ญาติทุกคน และแพทย์ต้องมาคุยให้พร้อมกัน เพื่อวางแผนกันต่อ เพราะที่ผ่านมาพบว่า ญาติ คือ กลุ่มที่มีปัญหา ไม่ยอมทำตามความประสงค์ของผู้ป่วย โดยเฉพาะญาติที่อยู่ทางไกลมักจะแสดงความกตัญญูเฉียบพลัน ส่วนกรณีผู้ป่วยที่นอนไม่รู้สึกตัวแล้ว และไม่ได้ทำเอกสารตามมาตรา 12 ไว้การตัดสินใจรักษาแบบประคับประคองจะอยู่ที่ญาติ
ด้าน ดีเจพี่อ้อย-นภาพร ไตรวิทย์อารีกุล นักจัดรายการชื่อดัง กล่าวว่า จากที่ตนเคยไปอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการตอบแบบสอบถาม 2 ส่วน ส่วนแรกในฐานะที่เราเป็นเจ้าของชีวิตเอง เมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพก็เลือกที่จะจากไปเลยดีกว่า แต่การตอบคำถามในกรณีที่เราเป็นญาติกลับมีความต้องการที่จะยื้อชีวิตญาติเราเอาไว้อีกนิด นับเป็นการเห็นแก่ตัวอยู่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในวาระสุดท้ายแทนที่จะอยู่ท่ามกลางการรักษาของแพทย์ พยาบาลที่เราไม่รู้จักใครเลย จะดีกว่าหรือไม่หากเราได้รับการดูแลแบบประคับประคองแทน และตายในอ้อมกอดของคนที่เรารัก อยากกินอะไรก็กิน ญาติที่ได้ดูแลกันในช่วงสุดท้ายก็จะมีความสุขไปด้วย อย่างน้อยเขาก็จากไปด้วยความสุข ส่วนตัวได้ทำเอกสารแสดงเจตจำนงเอาไว้แล้ว
Cr. https://mgronline.com/qol/detail/9620000040204