หอยทะเลเกราะเหล็ก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Iron Snail | Animal Fact Files
ถ้าดำดิ่งลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย
ใกล้กับปล่องน้ำพุร้อนที่ร้อนจัดซึ่งมีน้ำร้อนพุ่งขึ้นมาเสียงดังสนั่น
พื้นที่บริเวณนี้มีความร้อน/ความเข้มข้นสูงมาก
อุณหภูมิราว 350 องศาเซลเซียส จาก Hydrothermal vents
ที่ระบายออกมาทางปล่องภูเขาไฟใต้ท้องทะเล
แต่รอบ ๆ น้ำทะเลจะมีอุณหภูมิแกว่งไปแกว่งมาราว ๆ 2-60 องศาเซลเซียส
และมีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้คือ หอยทะเล ที่คล้ายกับหอยทาก ที่เรียกว่า

เพราะภายใต้สภาพแวดล้อมที่รุนแรง
ทำให้หอยทะเลพัฒนาโครงกระดูกที่ไม่เหมือนใคร
เปลือกนอกของพวกมันถูกปกคลุมด้วยชั้นของเหล็ก
เท้าเนื้อนุ่มนิ่มที่ยื่นออกมาจากใต้เปลือกหอย
ได้รับการคุ้มครองโดยเกล็ดแร่หนักที่ทำจากเหล็กซัลไฟด์
หอยทะเลชนิดนี้เป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในโลก
ที่รู้จักใช้ประโยชน์จากเหล็กในลักษณะนี้
หอยทะเลเกราะ/เกล็ดเหล็กถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1999
ที่ระดับความลึกมากกว่า 2.7 กิโลเมตร
ในมหาสมุทรอินเดียตอนกลาง

ในช่องระบายความร้อนจากบ่อน้ำพุร้อน
น้ำที่ไหลออกจากช่องระบายนี้
มีซัลไฟด์และธาตุโลหะในประมาณที่สูง
ซึ่งหอยทะเลได้นำมารวมอยู่ในเปลือกหอย
เปลือกของหอยทะเลจึงถูกปกคลุมไปด้วย
สารประกอบเหล็กส่วนใหญ่ที่หนาแน่น
ที่เรียกว่า Fool’s gold และ Greigite Fe3S4
Greigite เป็นแม่เหล็ก หอยทะเลจึงใช้ประโยชน์จากแม่เหล็ก
โดยดูดธาตุเหล็กที่ทำให้เกิดสนิมได้ง่าย
ยิ่งในพื้นที่มีทั้งน้ำ/ออกซิเจนในท้องทะเล
ทำให้ชั้นเปลือกด้านนอกมีร่องรอยสนิมเหล็ก
1.

 Chrysomallon squamiferum 3 ประเภท : Kairei, Longqi, Solitaire (ซ้ายไปขวา) 




เปลือกหอยทะเลนี้มีขนาดเฉลี่ยราว ๆ 35 มม. ถึง 45 มม.(มิลลิเมตร)
รูปทรงคล้ายหอยทากที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับหอยทั่วไปจะมีขนาดราว ๆ 15 มม.
เปลือกหอยทะเลชนิดนี้ประกอบด้วยสามชั้น
ชั้นนอกหนาประมาณ 30 ไมครอนมีส่วนผสมจากเหล็กซัลไฟด์
ชั้นกลางนั้นเทียบเท่ากับ periostracum
อินทรีย์วัตถุซึ่งเป็นสารเคลือบโปรตีนชนิดบาง
ที่พบได้ในเปลือกหอยทะเลชนิดอื่น ๆ
ชั้นที่หนาที่สุดของทั้งสาม (ประมาณ 150 μm)
อยู่ชั้นในสุดทำจาก Aragonite
ซึ่งเป็นรูปแบบของ Calcium carbonate
ที่พบได้ทั่วไปในเปลือกหอย
และในแนวปะการังต่าง ๆ
แต่ละชั้นดูเหมือนจะมีส่วนร่วมกัน
ในการเสริมประสิทธิภาพการป้องกันหอยทะเล
ในรูปแบบที่แตกต่างกัน

ชั้นนอกของเหล็กถูกออกแบบมาให้แตกเมื่อถูกโจมตี
แต่มีลักษณะที่ดูดซับพลังงาน/ลดแรงกระแทก
ในขณะเดียวกันก็มีรูปทรงคล้ายกรงเล็บสัตว์นักล่า


แกนกลางด้านในเป็นช่องว่างภายใน
เพื่อกระจายแรงกระแทกเชิงกล
พลังงานที่เกิดจากการโจมตีอย่างแรง
เช่น ก้ามปูหนีบ เปลือกหอยทะเลชนิดนี้
เพื่อทำให้เปลือกแตกแล้วกินเป็นอาหาร
ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่เปลือกชั้นใน mollusca จะแตกร้าว

ชุดเกราะมีประสิทธิภาพมากของหอยทะเลเกราะเหล็ก
กองทัพสหรัฐได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย
เกี่ยวกับชุดเกราะของหอยทะเล
ด้วยความหวังในการพัฒนาข้อมูลเชิงลึก
เกี่ยวกับการออกแบบชุดเกราะทหารใหม่




เรียบเรียง/ที่มา






2.

Credit : David Shale

3. - 8.  ที่มา  https://bit.ly/2W7rQMR 

4.

5.

6.

7.

8.

9.

บริเวณที่ค้นพบหอยทะเลเกราะเหล็ก scaly-foot gastropod

10.

ผิวด้านนอก sclerite ของ Chrysomallon squamiferum ขนาด 1 มม.

11.

Chrysomallon squamiferum จาก  Kairei vent field

12.

C. squamiferum จาก Solitaire vent field

13.

ตัวอ่อนกับฝา ที่จุดแดง ขนาดเปลือกราว 2 มม.

14.

เปลือกตัวอ่อนหอย ขนาด 1 มม.

15.

เปลือกตัววัยรุ่น ราว 1 มม.

16.

เกล็ดใค้เปลือกตัวโตเต็มวัย ที่ลูกศรสีแดง ราว 5 มม.

17.

SEM ส่วนหัว และ ctenidium (ct) ขนาดใหญ่
sn – snout, tt – cephalic tentacle  ขนาด 2 มม.
SEM = Scanning electron microscope

18.
 

ภาพตัดขวางส่วนเท้า แสดงถึงต่อม oesophageal gland (og) ขนาดใหญ่
ct – ctenidium, pm – pedal muscle, sc – scales,
si – blood sinus, te – testis ขนาดราว 1 ซม.

19.

ส่วนหลังของ  Chrysomallon squamiferum กับสี่งที่ห่อหุ้ม
เปลือกหอยกับเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้ม ถูกดึงออกมา ขนาดราว 1 มม.

20.

21.

หอยกับเปลือกสีเทา กับสะเก็ดสีเทา  annelinds สีน้ำตาล-แดง,  crustaceans สีเหลือง-ขาว อยู่รอบ ๆ

22.

23.

24.

25.


26.-31.   ที่มา https://bit.ly/2GmmO8q

27.

28.

29.

30.

31.

32.

33.

34.
White Smoker

35.
Black Smoker

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่