รองปลัด สธ.แจง
ห้ามเฉพาะรถพยาบาล'วิ่งเกิน 80 กม./ชม. -ห้ามฝ่าไฟแดง' เท่านั้น!
ไม่รวมรถกู้ชีพ-กู้ภัย และใช้ในกรณีผู้ป่วยมีสัญญาณชีพคงที่
ล่าสุด นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า เ
ป็นการห้ามในส่วนของรถพยาบาลฉุกเฉินในสังกัดกระทรวงเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับรถกู้ชีพ กู้ภัย ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยการจำกัดความเร็วของรถพยาบาลฉุกเฉินไม่ได้กระทบต่อการช่วยชีวิตของผู้ป่วยแต่อย่างใด เนื่องจากระบบการดูแล และส่งต่อจะถูกประเมินโดยศูนย์สั่งการอยู่แล้ว
โดยรถพยาบาล จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมีสัญญาณชีพคงที่เป็นการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล ภายในรถมีแพทย์ และพยาบาลอยู่ ดังนั้นจึงเป็นเสมือนห้องฉุกเฉินอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็ว และยังเป็นการนัดหมายกับโรงพยาบาลจึงไม่เป็นปัญหา
นายแพทย์ประพนธ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ต้องออกมาจำกัดความเร็วของรถพยาบาลฉุกเฉิน เนื่องจากในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบันพบผู้เสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาลมาจากปัจจัยหลายด้าน อันดับหนึ่งมาจากการขับด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และฝ่าสัญญาณจราจร ไม่ขาดเข็มขัดนิรภัย ตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ 110 ครั้ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต 318 ราย เป็นพยาบาล และบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 129 ราย เสียชีวิต 4 ราย และพิการ 2 ราย ส่วนผู้ป่วยบาดเจ็บมี 58 ราย เสียชีวิต 3 ราย และยังพบคู่กรณีเสียชีวิตอีก 14 ราย เป็นที่น่าตกใจว่าส่วนใหญ่เกิดขึ้น ขณะส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลสูงถึงร้อยละ 80 กระทรวงจึงต้องมีมาตรการคุมเข้มแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาล และคุ้มครองอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจัง
https://morning-news.bectero.com/social-crime/20-Apr-2019/142367?fbclid=IwAR37N0aq8NetRtOx-11UVcha1duxEw-qN2OGAhixIaIWpQSJMlfIPdTN4e0
มีข้อสรุปแล้ว [กรณีห้ามรถพยาบาลวิ่งเกิน 80 กม./ชม.] อัพเดท 20/04/62
ห้ามเฉพาะรถพยาบาล'วิ่งเกิน 80 กม./ชม. -ห้ามฝ่าไฟแดง' เท่านั้น!
ไม่รวมรถกู้ชีพ-กู้ภัย และใช้ในกรณีผู้ป่วยมีสัญญาณชีพคงที่
ล่าสุด นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า เป็นการห้ามในส่วนของรถพยาบาลฉุกเฉินในสังกัดกระทรวงเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับรถกู้ชีพ กู้ภัย ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยการจำกัดความเร็วของรถพยาบาลฉุกเฉินไม่ได้กระทบต่อการช่วยชีวิตของผู้ป่วยแต่อย่างใด เนื่องจากระบบการดูแล และส่งต่อจะถูกประเมินโดยศูนย์สั่งการอยู่แล้ว โดยรถพยาบาล จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมีสัญญาณชีพคงที่เป็นการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล ภายในรถมีแพทย์ และพยาบาลอยู่ ดังนั้นจึงเป็นเสมือนห้องฉุกเฉินอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็ว และยังเป็นการนัดหมายกับโรงพยาบาลจึงไม่เป็นปัญหา
นายแพทย์ประพนธ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ต้องออกมาจำกัดความเร็วของรถพยาบาลฉุกเฉิน เนื่องจากในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบันพบผู้เสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาลมาจากปัจจัยหลายด้าน อันดับหนึ่งมาจากการขับด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และฝ่าสัญญาณจราจร ไม่ขาดเข็มขัดนิรภัย ตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ 110 ครั้ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต 318 ราย เป็นพยาบาล และบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 129 ราย เสียชีวิต 4 ราย และพิการ 2 ราย ส่วนผู้ป่วยบาดเจ็บมี 58 ราย เสียชีวิต 3 ราย และยังพบคู่กรณีเสียชีวิตอีก 14 ราย เป็นที่น่าตกใจว่าส่วนใหญ่เกิดขึ้น ขณะส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลสูงถึงร้อยละ 80 กระทรวงจึงต้องมีมาตรการคุมเข้มแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาล และคุ้มครองอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจัง
https://morning-news.bectero.com/social-crime/20-Apr-2019/142367?fbclid=IwAR37N0aq8NetRtOx-11UVcha1duxEw-qN2OGAhixIaIWpQSJMlfIPdTN4e0