การเริ่มต้นมักจะยากและต้องใช้เวลาเสมอ รถไฟความเร็วสูงก็เช่นกัน แต่เมื่อเริ่มต้นได้แล้ว การต่อยอดจะทำได้ง่าย...

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
          จากวิดีโอรายการกบนอกกะลา เมื่อปี 2559  เราจะเห็นว่า วิศวกรไทย บริษัทไทย เป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด  การขุดอุโมงค์ การสร้างสถานีรถไฟ  การวางระบบราง  เราจะเห็นได้ว่า เมื่อความรู้เชิงวิศวกรรมเราพร้อม  คนไทยไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกเลย  ปัจจุบันที่ยังไม่100% คือไทยเรายังต้องซื้อเครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูงเช่นเครื่องเจาะอุโมงค์หรือตัวรถไฟฟ้า มาจากต่างประเทศ  ถ้าไทยสามารถผลิตเทคโนโลยีชั้นสูงต่างๆพวกนี้เองได้  ไทยเราจะสร้างทุกอย่างได้เอง100% 

          เมื่อเราสร้างได้เองมันมีผลดีอะไร  คำตอบคือ มันเกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้  เศรษฐกิจหมุนเวียน  บริษัทในประเทศเติบโต การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง มันกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากเลยด้วย ฯลฯ และเมื่อเราสร้างได้เอง 1สาย สายที่ 2 3 4 5 ก็จะตามมา  และในปี2566 กรุงเทพมหานครก็จะมีรถไฟฟ้าเมโทรไลน์ ครอบคลุมเกือบทั้งกรุงเทพ นี่แหละคือข้อดีของการที่ไทยเราสามารถสร้างระบบได้ด้วยตนเอง

          เช่นเดียวกันกับรถไฟความเร็วสูง มันคือของใหม่สำหรับประเทศไทย การวางระบบราง การใช้คลื่นความถี่ รัศมีความโค้ง ความชัน อะไรต่างๆ ถือเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมดของวิศวกรไทย ด้วยเหตุนี้ การจ้างให้ต่างประเทศมาทำ มาสร้างอะไรให้ทั้งหมดจึงง่ายกว่า  แต่คำถามคือ...ถ้าทำเช่นนั้นแล้วไทยเราจะได้ประโยชน์อะไร  วันดีคืนนี้ต้องการสร้างเส้นทางใหม่ๆเพิ่ม ก็ไปจ้างต่างชาติอีกหรือ  การจ้างงานในประเทศก็ไม่เกิด  ผลผลิต วัตถุดิบ อุปกรณ์ในประเทศก็ไม่ได้ใช้   แล้วถามว่ามันเกิดประโยชน์อะไรกับประเทศกับประชาชน  

** เพราะฉะนั้น รถไฟความเร็วสูงต้องอดทนรอ อดใจรอกันอีกสักพักใหญ่ๆเลย การได้พิมพ์เขียว การได้เทคโนโลยีมาสร้างเอง มันสำคัญกว่าการได้รถไฟฟ้าทั้งเส้นแต่ต่างชาติสร้างให้เป็นไหนๆ  เหมือนคำพูดของฝรั่งที่เคยพูดไว้ว่า  " ให้ปลาฉัน1ตัว ฉันมีกิน1วัน  สอนให้ฉันจับปลา ฉันมีกินตลอดไป "  คำๆนี้ถูกต้องที่สุดในสถานการณ์นี้จริงๆครับ **
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่