นิทรรศการเรื่อง “วิวัฒน์หนังสือไทย”
โดย สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๗ ประจำปี ๒๕๖๒
ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม - ๗ เมษายน ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
คุณสรพล ขาวสะอาด บรรณารักษ์ชำนาญการ พาชมนิทรรศการเรื่อง “วิวัฒน์หนังสือไทย”
กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีหน้าที่หลักในการบริการความรู้สู่ประชาชน ได้ตระหนักในคุณค่าความสำคัญของหนังสือและประสงค์จะถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของหนังสือไทย และจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาค้นคว้า และเป็นข้อมูลให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างกว้างขวาง
นิทรรศการเรื่อง “วิวัฒน์หนังสือไทย” มีเนื้อหา ๒ ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนแรก เป็นการนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของหนังสือในรูป “นิทรรศการวิวัฒน์หนังสือไทย” เริ่มตั้งแต่กกำเนิดอักษรไทย กำเนิดตัวพิมพ์และการพิมพ์ไทย โรงพิมพ์ไทย หนังสือสำคัญตั้งแต่เริ่มมีการพิมพ์ หนังสือต้องห้าม หนังสือพิมพ์ในอดีต เช่น กรุงเทพฯ เดลิเมล์ และ Siam Observer นอกจากนี้ ยังจัดแสดงวรรณกรรมที่นำมาเผยแพร่ผ่านสื่อบันเทิง เช่น สี่แผ่นดิน คู่กรรม และบุพเพสันนิวาส เป็นต้น ประวัติความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ผ่านการพิมพ์ในยุคสมัยต่าง ๆ และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โบราณราชประเพณีแห่งราชอาณาจักรไทย
ส่วนที่สอง เป็นบรรณนิทัศน์หนังสือที่นำมาจัดแสดงนิทรรศการวิวัฒน์หนังสือไทย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสาระสำคัญ พร้อมภาพปกของหนังสือแต่ละรายการ เพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการที่สนใจหนังสือสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ
นิทรรศการเรื่อง “วิวัฒน์หนังสือไทย” (ข้อมูลจากสูจิบัตรครับ)
จุดเริ่มต้นของหนังสือไทยสืบเนื่องจากการที่ชาวไทยมีตัวอักษร ‘ลายสือไทย’ สำหรับบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ นานา นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ภายหลังตัวอักษรนี้ปรากฏแล้วจึงใช้เป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารภาษาไทยมาทุกยุคสมัย ครั้นเมื่อตัวพิมพ์ไทยถือกำเนิดขึ้นชัดเจนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อีกทั้งมีการจัดพิมพ์หนังสือไทยด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยครั้งแรก ลักษณะหนังสือไทยจึงแปรเปลี่ยนมานำ เสนอในรูปแบบตัวพิมพ์ทดแทนตัวเขียนแบบเดิมพร้อมๆ กับการก่อตัวและขยายตัวของโรงพิมพ์หลายแห่งกระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และภูมิภาค นับเป็นระยะเวลาแห่งการสร้างสรรค์หนังสือสำคัญอันทรงคุณค่าออกมามากมาย เมื่อกาลเวลาล่วงเข้าสู่โลกยุคสมัยใหม่ ผลงานหนังสือระบือนามหลายเล่มโดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม ที่ได้รับการหยิบยกมานำเสนอผ่านสื่อบันเทิงรูปแบบอื่น เช่น ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ จากตัวอักษรบนหน้ากระดาษกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอแก้ว และจอเงิน สำหรับแหล่งขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญของประเทศคือ ‘หอสมุดแห่งชาติ’ ที่ปฏิบัติภารกิจในฐานะคลังหนังสือของชาติ มาตลอดระยะเวลา ๑๑๓ ปี และมุ่งมั่นสืบสานภารกิจนี้ต่อไป ขณะที่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอันเป็นโบราณราชประเพณีแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งปวงชนชาวไทยจะได้เฝ้าชื่นชมพระบารมี ในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ นั้น รายละเอียดของพระราชพิธีทุกขั้นตอนก็ได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือเช่นกัน ทั้งหมดนี้คือ วิวัฒน์หนังสือไทย
โซนที่ 1 กำเนิดอักษรไทย
เล่าเรื่องราวการกำเนิดอักษรไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติ แต่ปรากฏหลักฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ ลายสือไทย
โซนที่ 2 กำเนิดตัวพิมพ์และการพิมพ์ไทย
การก่อกำเนิดของตัวพิมพ์ไทย และการพิมพ์ไทย
นิทรรศการเรื่อง “วิวัฒน์หนังสือไทย”
โดย สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๗ ประจำปี ๒๕๖๒
นิทรรศการเรื่อง “วิวัฒน์หนังสือไทย” มีเนื้อหา ๒ ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนแรก เป็นการนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของหนังสือในรูป “นิทรรศการวิวัฒน์หนังสือไทย” เริ่มตั้งแต่กกำเนิดอักษรไทย กำเนิดตัวพิมพ์และการพิมพ์ไทย โรงพิมพ์ไทย หนังสือสำคัญตั้งแต่เริ่มมีการพิมพ์ หนังสือต้องห้าม หนังสือพิมพ์ในอดีต เช่น กรุงเทพฯ เดลิเมล์ และ Siam Observer นอกจากนี้ ยังจัดแสดงวรรณกรรมที่นำมาเผยแพร่ผ่านสื่อบันเทิง เช่น สี่แผ่นดิน คู่กรรม และบุพเพสันนิวาส เป็นต้น ประวัติความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ผ่านการพิมพ์ในยุคสมัยต่าง ๆ และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โบราณราชประเพณีแห่งราชอาณาจักรไทย
ส่วนที่สอง เป็นบรรณนิทัศน์หนังสือที่นำมาจัดแสดงนิทรรศการวิวัฒน์หนังสือไทย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสาระสำคัญ พร้อมภาพปกของหนังสือแต่ละรายการ เพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการที่สนใจหนังสือสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ
จุดเริ่มต้นของหนังสือไทยสืบเนื่องจากการที่ชาวไทยมีตัวอักษร ‘ลายสือไทย’ สำหรับบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ นานา นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ภายหลังตัวอักษรนี้ปรากฏแล้วจึงใช้เป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารภาษาไทยมาทุกยุคสมัย ครั้นเมื่อตัวพิมพ์ไทยถือกำเนิดขึ้นชัดเจนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อีกทั้งมีการจัดพิมพ์หนังสือไทยด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยครั้งแรก ลักษณะหนังสือไทยจึงแปรเปลี่ยนมานำ เสนอในรูปแบบตัวพิมพ์ทดแทนตัวเขียนแบบเดิมพร้อมๆ กับการก่อตัวและขยายตัวของโรงพิมพ์หลายแห่งกระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และภูมิภาค นับเป็นระยะเวลาแห่งการสร้างสรรค์หนังสือสำคัญอันทรงคุณค่าออกมามากมาย เมื่อกาลเวลาล่วงเข้าสู่โลกยุคสมัยใหม่ ผลงานหนังสือระบือนามหลายเล่มโดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม ที่ได้รับการหยิบยกมานำเสนอผ่านสื่อบันเทิงรูปแบบอื่น เช่น ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ จากตัวอักษรบนหน้ากระดาษกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอแก้ว และจอเงิน สำหรับแหล่งขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญของประเทศคือ ‘หอสมุดแห่งชาติ’ ที่ปฏิบัติภารกิจในฐานะคลังหนังสือของชาติ มาตลอดระยะเวลา ๑๑๓ ปี และมุ่งมั่นสืบสานภารกิจนี้ต่อไป ขณะที่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอันเป็นโบราณราชประเพณีแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งปวงชนชาวไทยจะได้เฝ้าชื่นชมพระบารมี ในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ นั้น รายละเอียดของพระราชพิธีทุกขั้นตอนก็ได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือเช่นกัน ทั้งหมดนี้คือ วิวัฒน์หนังสือไทย
เล่าเรื่องราวการกำเนิดอักษรไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติ แต่ปรากฏหลักฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ ลายสือไทย
การก่อกำเนิดของตัวพิมพ์ไทย และการพิมพ์ไทย
เรื่องราวเกี่ยวกับการพิมพ์หนังสือในประเทศไทย มีการจัดแสดงแท่นพิมพ์โบราณ
โซนที่ 4 หนังสือสำคัญ
จัดแสดงเกี่ยวกับหนังสือที่น่าสนใจนับตั้งแต่คนไทยสามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เอง ตั้งแต่รัชกาลที่ ๓
<img class="img-in-post in-tiny-editor"> <img class="img-in-post in-tiny-editor">
โซนที่ 5 จากวรรณกรรมสู่สื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
ผลงานนวนิยาย ได้แก่ สี่แผ่นดิน ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช , คู่กรรม ของ ทมยันตี (นามปากกาของคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์) และ บุพเพสันนิวาส ของรอมแพง (นามปากกาของจันทร์ยวีร์ สมปรีดา) จะถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์จนประสบความสำเร็จสูงสุด มีเสียงตอบรับจากนักอ่าน และผู้ชมอย่างล้นหลาม นำไปต่อยอดสู่ผลงานภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวที
โซนที่ 6 ขุมทรัพย์แห่งปัญญา
นำเสนอเรื่องราวประวัติความป็นมาของหอสมุดแห่งชาติ และตัวอย่างวรรณกรรมในรัชสมัยต่างๆ อาทิ วรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๖ เหตุการณ์เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ ของไทยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ ๗ การฉลองกรุงเทพมหานครครบ ๑๕๐ ปี อันยิ่งใหญ่ โดยการสร้างสิ่งอนุสรณ์ที่คงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า
โซนที่ 7 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยขนบอันเป็นโบราณราชประเพณี นับเป็นพระราชพิธีที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง นอกจากนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ยังเป็นเครื่องแสดงถึงเกียรติยศของแผ่นดินและความเป็นศรีสวัสดิมงคลของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นที่เจริญสุขแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎรทั่วไปในพระราชอาณาเขตไทย อีกทั้งยังเสนอขั้นตอนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกด้วย