แต่เดิมผมเข้าใจมาว่า ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ จะมีการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ พระมหาพิชัยมงกุฎ ความเข้าใจของผมก็คือ เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎแล้ว (ได้ข่าวว่าช่วงรัชกาลที่ ๑-๓ แค่ทรงรับไว้เฉย ๆ แต่มิได้ทรงบนพระเศียร) ก็จะถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์
ทีนี้ ไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสชมพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๖ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ซึ่งก็ได้ไปค้นคว้าข้อมูลจนได้ทราบว่า รัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒ ครั้ง ครั้งแรกคือเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๓ เป็นพระราชพิธีแบบย่นย่อ จนมาถึงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๔ หลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง โดยครั้งที่ ๒ นี้เป็นการประกอบพระราชพิธีแบบเต็มตามโบราณราชประเพณี เรียกว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ที่มีพระราชอาคันตุกะจากประเทศต่าง ๆ มาร่วมพิธีกันมากมาย
จนกระทั่งผมได้ไปเจอบทความเกี่ยวกับพระชฎามหากฐินเข้า และเห็นว่าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชนั้น รัชกาลที่ ๖ มิได้ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ แต่ทรงพระชฎามหากฐิน หรือพระชฎาห้ายอด ดังภาพด้านล่างนี้
ซึ่งพระชฎามหากฐินนั้นโดยมากจะมีการสร้างใหม่ในทุกรัชกาล มีศักดิ์เป็นรองแค่พระมหาพิชัยมงกุฎ และจะใช้ทรงในพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น ถวายผ้าพระกฐิน และเมื่อพระมหากษัติรย์สวรรคต จะมีการทรงพระชฎามหากฐินไว้กับพระบรมศพ เมื่อจะถึงเวลาถวายพระเพลิงจึงเปลื้องพระชฎามหากฐินออก
ที่ผมข้องใจ อยากรู้ก็คือว่า อันไหนมันถูกกันแน่ ระหว่าง
๑.ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อาจไม่จำเป็นต้องทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ แต่ใช้พระชฎามหากฐินแทนได้ (คิดว่าไม่น่าใช่)
๒.รัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒ ครั้ง ซึ่งในครั้งแรกที่เป็นพระราชพิธีแบบย่อ อาจจะทรงพระมหาพิชัยมงกุฎไปแล้วก็ได้ แต่ไม่มีภาพ พอมาถึงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช จึงทรงพระชฎามหากฐินเฉย ๆ (แต่คิดว่าครั้งที่ ๒ ที่เป็นพระราชพิธีแบบเต็ม ก็น่าจะต้องทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ)
หรือไม่ใช่ทั้ง ๒ ข้อ แต่มีเหตุผลอื่น ก็ขอความกรุณาด้วยครับ
ขอถามข้อสงสัยเกี่ยวกับ "พระชฎามหากฐิน" ครับ
ทีนี้ ไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสชมพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๖ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ซึ่งก็ได้ไปค้นคว้าข้อมูลจนได้ทราบว่า รัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒ ครั้ง ครั้งแรกคือเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๓ เป็นพระราชพิธีแบบย่นย่อ จนมาถึงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๔ หลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง โดยครั้งที่ ๒ นี้เป็นการประกอบพระราชพิธีแบบเต็มตามโบราณราชประเพณี เรียกว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ที่มีพระราชอาคันตุกะจากประเทศต่าง ๆ มาร่วมพิธีกันมากมาย
จนกระทั่งผมได้ไปเจอบทความเกี่ยวกับพระชฎามหากฐินเข้า และเห็นว่าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชนั้น รัชกาลที่ ๖ มิได้ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ แต่ทรงพระชฎามหากฐิน หรือพระชฎาห้ายอด ดังภาพด้านล่างนี้
ซึ่งพระชฎามหากฐินนั้นโดยมากจะมีการสร้างใหม่ในทุกรัชกาล มีศักดิ์เป็นรองแค่พระมหาพิชัยมงกุฎ และจะใช้ทรงในพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น ถวายผ้าพระกฐิน และเมื่อพระมหากษัติรย์สวรรคต จะมีการทรงพระชฎามหากฐินไว้กับพระบรมศพ เมื่อจะถึงเวลาถวายพระเพลิงจึงเปลื้องพระชฎามหากฐินออก
ที่ผมข้องใจ อยากรู้ก็คือว่า อันไหนมันถูกกันแน่ ระหว่าง
๑.ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อาจไม่จำเป็นต้องทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ แต่ใช้พระชฎามหากฐินแทนได้ (คิดว่าไม่น่าใช่)
๒.รัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒ ครั้ง ซึ่งในครั้งแรกที่เป็นพระราชพิธีแบบย่อ อาจจะทรงพระมหาพิชัยมงกุฎไปแล้วก็ได้ แต่ไม่มีภาพ พอมาถึงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช จึงทรงพระชฎามหากฐินเฉย ๆ (แต่คิดว่าครั้งที่ ๒ ที่เป็นพระราชพิธีแบบเต็ม ก็น่าจะต้องทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ)
หรือไม่ใช่ทั้ง ๒ ข้อ แต่มีเหตุผลอื่น ก็ขอความกรุณาด้วยครับ