จริงๆก่อนที่ผมจะนำเสนอบทความนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ 2562 ที่ค่อนข้างปั่นป่วน
ตั้งแต่การเลือกตั้งล่วงหน้า การเลือกตั้งของคนไทยที่นิวซีแลนด์แล้วบัตรเลือกตั้งกกต.บอกไม่นำมานับคะแนนทั้งหมด
รวมทั้งการล่ารายชื่อเพื่อถอดถอนกกต. การที่บางฝ่ายอาจไปร้องให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ ประเด็นคือกกต.ตอนนี้ถ้ามีอัน
ต้องไป หรือออกจากตำแหน่งจริงๆนี่ ผมว่ากระทบแน่นอนนะครับต่อการประกาศผลเลือกตั้ง ตามรัฐธรรนูญที่บอกการเลือกตั้งต้อง
จัดให้แล้วเสร็จภายใน 150 วันนับแต่ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายมีผลบังคับใช้ ซึ่งก็คือ 9/5/2562 ประเด็นคือ
รายการเมื่อวาน ของคุณจอมขวัญ คุณศรีสุวรรณบอก นี่ผมก็ช่างใจอยู่นะ ถ้าทำให้กกต.พ้นตำแหน่งปุ๊บ
หรือเลือกตั้งโมฆะนั่นก็หมายความว่าเราต้องอยู่กับ
ลุงตู่ กับ ม.44 ไปอีก ไม่รู้ว่านานเท่าไร ก็ไปเริ่มกระบวนการสรรหา กกต.กันใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญบอก ครม.ชุดประยุทธ์ต้องอยู่ต่อไปจนกว่า ครม.ชุดใหม่เข้าทำหน้าที่
ส่วนเรื่องการที่ครั้งนี้ ผลการเลือกตั้งหัวเราะกันไม่ออกเลยทีเดียวเพราะว่า คนดังๆของ ปชป.สอบตก ทั้งๆที่เป็นคีย์แมนของพรรค ทั้งนิพิฏฐ์
ศิริโชค และหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม ส่วนตัวในความคิดผม คะแนน พปชร.ในกรุงเทพส่วนหนึ่งและอาจเป็นส่วนใหญ่ก็ว่าได้
คือคะแนน ฐานเดิมของคนเคยเลือก ปชป.นะครับ เลยทำให้ครั้งนี้ไม่ได้สส.แม้แต่คนเดียวในกรุงเทพนะครับ เป็นไปได้ไหมในความคิดผมมาจากคลิป
คุณอภิสิทธิ์ "ฟังช้าๆ นะครับ ผมไม่สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ในการสืบทอดอำนาจ........
...............................................................................................
ทำไมเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์แพ้ ที่มา
https://markpeak.net/election-2019-analysis/ ผลการเลือกตั้ง 2562 มีความน่าสนใจหลายประการ ณ เวลาที่เขียน (เช้าวันที่ 25 มีนาคม) ผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการของ กกต. ยังไม่ออก แต่คิดว่าตัวเลขเบื้องต้นก็น่าจะพอให้เห็น “ภาพรวม” ของการเลือกตั้งครั้งนี้
การวิเคราะห์ละเอียดคงต้องดูคะแนนกันเป็นรายเขต (หรือแม้กระทั่งรายหน่วย) ดังนั้น ขอวิเคราะห์แบบหยาบๆ ไปก่อนดังนี้
ภาพรวมของการเลือกตั้ง 62 คือ “พรรคใหญ่คะแนนลด พรรคเล็กคะแนนเพิ่ม” ซึ่งตรงกับที่ผู้เขียนรัฐธรรมนูญได้ design ไว้ตั้งแต่แรก (ถือว่า success!)
กฎข้อสำคัญที่มีผลมากคือการรวบบัตรเหลือใบเดียว ทำให้วิธีการออกเสียงเปลี่ยนไป จากเดิมที่คนคิดเรื่องเขต-ปาร์ตี้ลิสต์แยกกัน ก็ต้องมาคิดรวมกัน ซึ่งจบลงที่การแบ่งคนเป็น 2 ประเภทคือ เลือกตามเขตเป็นหลัก และเลือกตามพรรคเป็นหลัก
กรณีของพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้คะแนนเยอะแบบ surprise มาก (ก่อนเลือกตั้ง 2 สัปดาห์ คนของอนาคตใหม่ยังคุยกับผมอยู่เลยว่าจะได้ ส.ส. เขตมั้ย) อันนี้วิเคราะห์ง่ายที่สุด ตรงไปตรงมาที่สุด
เกิดเพราะกลุ่มคนที่เลือกตามพรรคเป็นหลัก ซึ่ง “ส่วนใหญ่” ก็มักเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนที่ให้คุณค่ากับอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นสำคัญ
(e.g. ประทับใจนโนบายบางอย่าง หรือ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง)
แต่เมื่อคนเหล่านี้มีเยอะพอ บวกกับ ส.ส. ในบางพื้นที่ทำผลงานดี ย่อมทำให้คะแนนบางพื้นที่เยอะจนชนะเขตตามไปด้วย
ในแง่นี้ก็ต้องยินดีกับพรรคด้วยที่ทำผลงานได้ดีมากๆ และขอให้ขยายผลต่อไป ตามความตั้งใจที่จะเป็นพรรคในระยะยาว
ต่อมาเป็นกรณีของ พรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ประสบภาวะคล้ายๆ กันคือโดนดึงเสียงไปมาก ซึ่งเกิดจาก 2 ปัจจัยที่เหมือนกัคือ
อนาคตใหม่ ดึงเสียงในเชิงอุดมการณ์ **ไปจากทั้งสองพรรค** ตรงนี้เป็นเรื่องที่คงต้องคุยกันยาวๆ ในรายละเอียดต่อไป
พลังประชารัฐ ดึงเสียงจาก ส.ส. พื้นที่ โดยการดูดอดีต ส.ส. เดิมจากทั้งสองพรรค และยังประสบความสำเร็จ สอบได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง เหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก
ส่วนปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่าง พรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ คิดว่ามีประเด็นดังนี้
พรรคเพื่อไทย เดินเกมพรรคไทยรักษาชาติพลาด จากที่ลองดูสถิติเก่า ทษช. มีอดีต ส.ส. เขต 4 คน และอดีต ส.ส. บัญชีรายชื่ออีกสิบกว่าคน (ส่วนใหญ่เป็นสายเสื้อแดง-นปช. ด้วย) การที่ ทษช. โดนยุบพรรคไปโดยเพื่อไทยไม่สามารถหา ส.ส. มาแทนได้ทัน (อย่าลืมว่า เพื่อไทยรอบนี้ส่งแค่ 250 เขต) จึงเสียคะแนนทั้ง ส.ส. เขต และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ไปพอสมควร (ประเมินเองคร่าวๆ คือ 10-20 ที่)
พรรคประชาธิปัตย์ น่าสนใจกว่ามาก เพราะเสียเสียงใน กทม. ไปแทบทั้งหมด (รอตัวเลข official) น่าจะเป็นกรณีเรื่องอุดมการณ์ของพรรค พปชร. ที่มาแย่งฐานเสียงเดิมไปเยอะมาก ข้อสันนิษฐานของผมคือ ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์คือคนเมือง ที่แนวคิดค่อนข้าง conservative และไม่เอาพรรคเพื่อไทย ซึ่งคนเหล่านี้ไม่มีตัวเลือกอื่นนอกจาก ปชป.แต่พอเจอ พปชร. ที่อุดมการณ์ลักษณะเดียวกัน แต่ชัดเจนกว่า แรงกว่า (เป็นขวาที่ขวากว่า ปชป.) คนเหล่านี้จึงเทไปยัง พปชร. แทน (ตรงกับแนวโน้มการเมืองทั่วโลกที่ radical ขึ้นทั้งซ้ายและขวา) แต่เพราะเหตุใดจึงเทไปเยอะขนาดนี้ เป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามต่อไปอีกมาก
ภาพรวมคิดว่า พท. และ ปชป. เจอปัญหาเดียวกัน คือ โมเดลการเมืองแบบเดิมๆ ที่ยึดปฏิบัติมา กลับใช้งานไม่ออกแล้ว พ่ายแพ้ทั้ง “สองนครา”
ต่างจังหวัดที่ยังเน้นตัวบุคคลของ ส.ส. เขต แพ้พลังดูด พปชร. (realpolitik)
ในเขตเมืองที่เน้นอุดมการณ์ แพ้อนาคตใหม่ (และกรณีของ ปชป. ใน กทม. ก็แพ้อุดมการณ์ พปชร. อีกเด้ง คือเป็น 3 เด้งเลย แทบสูญพันธุ์)
หมายเหตุ: ส่วนคนคิด “สองนครา” แพ้ไปนานแล้ว อิอิ อันที่ค่อนข้าง surprise คือ ชัยชนะของพรรคพลังประชารัฐ ที่ได้ ส.ส. เยอะมาก ก็เป็นด้านกลับของ พท. กับ ปชป. ที่เขียนถึงไปแล้ว นั่นคือ ประสบความสำเร็จทั้งจาก ส.ส. เขต ด้วยพลังดูดและพลังอุดมการณ์, แถมเก็บแต้มปาร์ตี้ลิสต์ได้จากกติกาใหม่ด้วย
อันที่ surprise กว่าคือ ภูมิใจไทย ที่มาเงียบๆ แต่ได้คะแนนเยอะไม่น้อย เคสของภูมิใจไทย ผมคิดว่ามีเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองน้อยมาก น่าจะมาจากพลังของ ส.ส. พื้นที่ล้วนๆ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลตรงนี้มากนัก ไว้ดูตัวเลขอย่างเป็นทางการก่อนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ยังไม่ทราบ แต่คิดว่านี่เป็น wake up call ครั้งสำคัญไปยังแกนนำของทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ว่าตอนนี้ถึงเวลาปรับตัวครั้งใหญ่แล้ว
ข้อเสนอของผมต่อพรรคประชาธิปัตย์คือ กรรมการบริหารพรรคต้องลาออกทั้งชุด และประกาศไม่เข้ามารับตำแหน่งอีก เปิดทางให้คนรุ่นใหม่เข้ามาปฏิรูปพรรคอย่างจริงๆ จังๆ ข้อเสนอต่อพรรคเพื่อไทยก็คล้ายๆ กัน แต่อาจทำแบบค่อยเป็นค่อยไปได้มากกว่า และต้องหาวิธีบริหารทรัพยากรบุคคลที่หลุดไปอยู่ในฝั่ง ทษช. ด้วยว่าจะทำอย่างไรต่อไป (ใจจริงคืออยากให้แก๊ง ทษช. แยกพรรคใหม่ออกมาให้ขาดกันเลย แล้วมาแข่งกันในสนามเลือกตั้ง)
น่าคิดทำไมเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ แพ้ในการเลือกตั้ง 2562
ตั้งแต่การเลือกตั้งล่วงหน้า การเลือกตั้งของคนไทยที่นิวซีแลนด์แล้วบัตรเลือกตั้งกกต.บอกไม่นำมานับคะแนนทั้งหมด
รวมทั้งการล่ารายชื่อเพื่อถอดถอนกกต. การที่บางฝ่ายอาจไปร้องให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ ประเด็นคือกกต.ตอนนี้ถ้ามีอัน
ต้องไป หรือออกจากตำแหน่งจริงๆนี่ ผมว่ากระทบแน่นอนนะครับต่อการประกาศผลเลือกตั้ง ตามรัฐธรรนูญที่บอกการเลือกตั้งต้อง
จัดให้แล้วเสร็จภายใน 150 วันนับแต่ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายมีผลบังคับใช้ ซึ่งก็คือ 9/5/2562 ประเด็นคือ
รายการเมื่อวาน ของคุณจอมขวัญ คุณศรีสุวรรณบอก นี่ผมก็ช่างใจอยู่นะ ถ้าทำให้กกต.พ้นตำแหน่งปุ๊บ
หรือเลือกตั้งโมฆะนั่นก็หมายความว่าเราต้องอยู่กับ
ลุงตู่ กับ ม.44 ไปอีก ไม่รู้ว่านานเท่าไร ก็ไปเริ่มกระบวนการสรรหา กกต.กันใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญบอก ครม.ชุดประยุทธ์ต้องอยู่ต่อไปจนกว่า ครม.ชุดใหม่เข้าทำหน้าที่
ส่วนเรื่องการที่ครั้งนี้ ผลการเลือกตั้งหัวเราะกันไม่ออกเลยทีเดียวเพราะว่า คนดังๆของ ปชป.สอบตก ทั้งๆที่เป็นคีย์แมนของพรรค ทั้งนิพิฏฐ์
ศิริโชค และหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม ส่วนตัวในความคิดผม คะแนน พปชร.ในกรุงเทพส่วนหนึ่งและอาจเป็นส่วนใหญ่ก็ว่าได้
คือคะแนน ฐานเดิมของคนเคยเลือก ปชป.นะครับ เลยทำให้ครั้งนี้ไม่ได้สส.แม้แต่คนเดียวในกรุงเทพนะครับ เป็นไปได้ไหมในความคิดผมมาจากคลิป
คุณอภิสิทธิ์ "ฟังช้าๆ นะครับ ผมไม่สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ในการสืบทอดอำนาจ........
...............................................................................................
ทำไมเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์แพ้ ที่มา https://markpeak.net/election-2019-analysis/ ผลการเลือกตั้ง 2562 มีความน่าสนใจหลายประการ ณ เวลาที่เขียน (เช้าวันที่ 25 มีนาคม) ผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการของ กกต. ยังไม่ออก แต่คิดว่าตัวเลขเบื้องต้นก็น่าจะพอให้เห็น “ภาพรวม” ของการเลือกตั้งครั้งนี้
การวิเคราะห์ละเอียดคงต้องดูคะแนนกันเป็นรายเขต (หรือแม้กระทั่งรายหน่วย) ดังนั้น ขอวิเคราะห์แบบหยาบๆ ไปก่อนดังนี้
ภาพรวมของการเลือกตั้ง 62 คือ “พรรคใหญ่คะแนนลด พรรคเล็กคะแนนเพิ่ม” ซึ่งตรงกับที่ผู้เขียนรัฐธรรมนูญได้ design ไว้ตั้งแต่แรก (ถือว่า success!)
กฎข้อสำคัญที่มีผลมากคือการรวบบัตรเหลือใบเดียว ทำให้วิธีการออกเสียงเปลี่ยนไป จากเดิมที่คนคิดเรื่องเขต-ปาร์ตี้ลิสต์แยกกัน ก็ต้องมาคิดรวมกัน ซึ่งจบลงที่การแบ่งคนเป็น 2 ประเภทคือ เลือกตามเขตเป็นหลัก และเลือกตามพรรคเป็นหลัก
กรณีของพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้คะแนนเยอะแบบ surprise มาก (ก่อนเลือกตั้ง 2 สัปดาห์ คนของอนาคตใหม่ยังคุยกับผมอยู่เลยว่าจะได้ ส.ส. เขตมั้ย) อันนี้วิเคราะห์ง่ายที่สุด ตรงไปตรงมาที่สุด
เกิดเพราะกลุ่มคนที่เลือกตามพรรคเป็นหลัก ซึ่ง “ส่วนใหญ่” ก็มักเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนที่ให้คุณค่ากับอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นสำคัญ
(e.g. ประทับใจนโนบายบางอย่าง หรือ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง)
แต่เมื่อคนเหล่านี้มีเยอะพอ บวกกับ ส.ส. ในบางพื้นที่ทำผลงานดี ย่อมทำให้คะแนนบางพื้นที่เยอะจนชนะเขตตามไปด้วย
ในแง่นี้ก็ต้องยินดีกับพรรคด้วยที่ทำผลงานได้ดีมากๆ และขอให้ขยายผลต่อไป ตามความตั้งใจที่จะเป็นพรรคในระยะยาว
ต่อมาเป็นกรณีของ พรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ประสบภาวะคล้ายๆ กันคือโดนดึงเสียงไปมาก ซึ่งเกิดจาก 2 ปัจจัยที่เหมือนกัคือ
อนาคตใหม่ ดึงเสียงในเชิงอุดมการณ์ **ไปจากทั้งสองพรรค** ตรงนี้เป็นเรื่องที่คงต้องคุยกันยาวๆ ในรายละเอียดต่อไป
พลังประชารัฐ ดึงเสียงจาก ส.ส. พื้นที่ โดยการดูดอดีต ส.ส. เดิมจากทั้งสองพรรค และยังประสบความสำเร็จ สอบได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง เหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก
ส่วนปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่าง พรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ คิดว่ามีประเด็นดังนี้
พรรคเพื่อไทย เดินเกมพรรคไทยรักษาชาติพลาด จากที่ลองดูสถิติเก่า ทษช. มีอดีต ส.ส. เขต 4 คน และอดีต ส.ส. บัญชีรายชื่ออีกสิบกว่าคน (ส่วนใหญ่เป็นสายเสื้อแดง-นปช. ด้วย) การที่ ทษช. โดนยุบพรรคไปโดยเพื่อไทยไม่สามารถหา ส.ส. มาแทนได้ทัน (อย่าลืมว่า เพื่อไทยรอบนี้ส่งแค่ 250 เขต) จึงเสียคะแนนทั้ง ส.ส. เขต และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ไปพอสมควร (ประเมินเองคร่าวๆ คือ 10-20 ที่)
พรรคประชาธิปัตย์ น่าสนใจกว่ามาก เพราะเสียเสียงใน กทม. ไปแทบทั้งหมด (รอตัวเลข official) น่าจะเป็นกรณีเรื่องอุดมการณ์ของพรรค พปชร. ที่มาแย่งฐานเสียงเดิมไปเยอะมาก ข้อสันนิษฐานของผมคือ ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์คือคนเมือง ที่แนวคิดค่อนข้าง conservative และไม่เอาพรรคเพื่อไทย ซึ่งคนเหล่านี้ไม่มีตัวเลือกอื่นนอกจาก ปชป.แต่พอเจอ พปชร. ที่อุดมการณ์ลักษณะเดียวกัน แต่ชัดเจนกว่า แรงกว่า (เป็นขวาที่ขวากว่า ปชป.) คนเหล่านี้จึงเทไปยัง พปชร. แทน (ตรงกับแนวโน้มการเมืองทั่วโลกที่ radical ขึ้นทั้งซ้ายและขวา) แต่เพราะเหตุใดจึงเทไปเยอะขนาดนี้ เป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามต่อไปอีกมาก
ภาพรวมคิดว่า พท. และ ปชป. เจอปัญหาเดียวกัน คือ โมเดลการเมืองแบบเดิมๆ ที่ยึดปฏิบัติมา กลับใช้งานไม่ออกแล้ว พ่ายแพ้ทั้ง “สองนครา”
ต่างจังหวัดที่ยังเน้นตัวบุคคลของ ส.ส. เขต แพ้พลังดูด พปชร. (realpolitik)
ในเขตเมืองที่เน้นอุดมการณ์ แพ้อนาคตใหม่ (และกรณีของ ปชป. ใน กทม. ก็แพ้อุดมการณ์ พปชร. อีกเด้ง คือเป็น 3 เด้งเลย แทบสูญพันธุ์)
หมายเหตุ: ส่วนคนคิด “สองนครา” แพ้ไปนานแล้ว อิอิ อันที่ค่อนข้าง surprise คือ ชัยชนะของพรรคพลังประชารัฐ ที่ได้ ส.ส. เยอะมาก ก็เป็นด้านกลับของ พท. กับ ปชป. ที่เขียนถึงไปแล้ว นั่นคือ ประสบความสำเร็จทั้งจาก ส.ส. เขต ด้วยพลังดูดและพลังอุดมการณ์, แถมเก็บแต้มปาร์ตี้ลิสต์ได้จากกติกาใหม่ด้วย
อันที่ surprise กว่าคือ ภูมิใจไทย ที่มาเงียบๆ แต่ได้คะแนนเยอะไม่น้อย เคสของภูมิใจไทย ผมคิดว่ามีเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองน้อยมาก น่าจะมาจากพลังของ ส.ส. พื้นที่ล้วนๆ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลตรงนี้มากนัก ไว้ดูตัวเลขอย่างเป็นทางการก่อนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ยังไม่ทราบ แต่คิดว่านี่เป็น wake up call ครั้งสำคัญไปยังแกนนำของทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ว่าตอนนี้ถึงเวลาปรับตัวครั้งใหญ่แล้ว
ข้อเสนอของผมต่อพรรคประชาธิปัตย์คือ กรรมการบริหารพรรคต้องลาออกทั้งชุด และประกาศไม่เข้ามารับตำแหน่งอีก เปิดทางให้คนรุ่นใหม่เข้ามาปฏิรูปพรรคอย่างจริงๆ จังๆ ข้อเสนอต่อพรรคเพื่อไทยก็คล้ายๆ กัน แต่อาจทำแบบค่อยเป็นค่อยไปได้มากกว่า และต้องหาวิธีบริหารทรัพยากรบุคคลที่หลุดไปอยู่ในฝั่ง ทษช. ด้วยว่าจะทำอย่างไรต่อไป (ใจจริงคืออยากให้แก๊ง ทษช. แยกพรรคใหม่ออกมาให้ขาดกันเลย แล้วมาแข่งกันในสนามเลือกตั้ง)