เห็นโพลบอกคนโน้นคะแนนนำ คนนี้คะแนนนำ นิด้าโพล
รังสิตโพล แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่ผมได้รับมา สิ่งนี้น่าจะเป็นไปได้พอสมควรนะครับทฤษฎีสามเหลี่ยม สามขั้ว
............................................................................................
ที่มา Facebook
Theerapat Charoensuk วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 04:54 น.
ปกติไม่ได้เขียนวิเคราะห์เรื่องการเมืองแบบการเมืองเชิงพรรคเลย
แต่ดูดีเบตช่อง One31 แล้วขัดใจ เลยมาวิเคราะห์จากข้อมูลเท่าที่ทราบและจับประเด็นมา วงนงวงในอะไรไม่มีนอกจากญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเล่าให้ฟัง ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ให้ถือเสียว่าเป็นการบ่นบ้าของนักเขียนนิยายเอาแล้วกัน
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับคุณจาตุรนต์ในดีเบตคืนนี้เกี่ยวกับเรื่องว่าจะมีสองขั้ว
คือฝั่งเอาประยุทธ์ กับไม่เอาประยุทธ์
และถึงกับเห็นด้วยกับคุณอภิสิทธิ์ว่า จริงๆ
แล้วภูมิทัศน์การเมืองตอนนี้มันมีขั้วที่สามเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
ถึงแม้ว่าสุดท้ายก็ต้องเลือกว่าจะหนุนใคร
แต่การเลือกข้างแบ่งฝ่ายสองฝั่งนั้นจบไปแล้วภายหลังการเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่และมีประกาศเลือกตั้ง
สามเหลี่ยมขั้วของพรรคการเมืองไทยในตอนนี้ ก็จะเป็นดังภาพ คือ
พรรคทักษิณ พรรคคสช. และพรรคที่เกิดขึ้นเพราะเบื่อหน่ายขั้วการเมืองเดิม
ในการบ่นบ้าของผมครั้งนี้ จะไม่พูดถึงพรรคเล็กพรรคน้อยที่อาจจะได้ ส.ส.
1-2 คน
เลือกแต่เฉพาะพรรคที่มีศักยภาพเข้าเจรจาต่อรองทางการเมืองได้เท่านั้น
และจะมองว่าแต่ละพรรคก็มีแนวทางของตนเอง
ไม่ได้ไปตามกันหมดแม้จะอยู่ในขั้วใกล้กัน
ขั้วใหญ่สองขั้ว แน่นอนคือพรรคฝ่ายทักษิณ กับพรรคฝ่ายคสช.
ขั้วทักษิณ
- พรรคไทยรักษาชาตินั้นใกล้ชิดกับทักษิณมากกว่า
แม้จะเป็นพรรคที่แตกออกมาจากพรรคหลักอย่างเพื่อไทย
เนื่องจากเป็นพรรคที่ใกล้ชิดกับกลุ่ม สส.เดิมมากกว่า
มีความเกี่ยวพันกับเครือข่ายเสื้อแดงมากกว่า
และเป็นแหล่งรวมของคนที่ไม่เอาคุณหญิงสุดารัตน์ในพรรคเพื่อไทยออกมาแทน
แต่ด้วยความอ่อนแอของพรรค ทษช. ที่ไม่มีแกนนำหลัก ต่างคนต่างเก่ง
แนวนโยบายและการนำเสนอไม่ไปทางเดียวกัน ทำให้ทักษิณมีเสียงชี้ขาดมากกว่า
แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ 8 ก.พ. ทักษิณพลาดไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด
ต่างคนต่างก็มึนงงและไม่รู้จะไปทางไหน
จนคุณจาตุรนต์ก็ต้องกลับมาช่วยกุมบังเหียนให้อีกครั้ง
ถึงแม้ว่าอาจจะถูกยุบพรรค (ซึ่งผมคิดว่ายุบแน่)
ถ้าไม่ถูกยุบพรรคคงได้สส.สัก 30 ที่นั่ง
- พรรคเพื่อชาติ
ของจตุพรและยงยุทธ ติยะไพรัช เป็นกลุ่มอดีตแกนนำเสื้อแดงฮาร์ดคอร์
ที่ก็รับคุณหญิงสุดารัตน์ไม่ได้ โดยท่าทีของจตุพรเปลี่ยนไปหลังออกจากคุก
ประสานไปในแนวทางเดียวกับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ
มีแนวร่วม กำลังคนในท้องถิ่นเยอะมากจากเครือข่ายเสื้อแดงดั้งเดิม
แต่การจะได้ ส.ส. เขตคงยาก และอาจตัดคะแนนเพื่อไทยได้ในหลายเขต
ประเมินว่าอาจจะได้สัก 5 ที่นั่ง
หรืออาจจะไม่ได้เลยแต่เป็นตัวแปรด้านคะแนนเสียงในฐานเสียงของเพื่อไทย
- พรรคประชาชาติ กลุ่มพรรคมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย
วันมูหะหมัดนอร์ มะทาแห่งกลุ่มวะดะห์
เน้นขายนโยบายเฉพาะกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด
มีความเกี่ยวพันไปในแนวเดียวกันกับกลุ่มพรรคขั้วทักษิณ
แต่ก็มีจุดยืนของตนเองในด้านการจัดการปัญหาภาคใต้ นอกจาก 3
จชต.แล้วยังเจาะฐานเสียงมุสลิมในกรุงเทพและจังหวัดต่างๆ ด้วย
คิดว่าน่าจะได้ที่นั่ง 3 จชต.จำนวนมาก และฐานปาร์ตี้ลิสต์รวมสัก 10 ที่นั่ง
- พรรคเพื่อไทย พรรคหลักของฝ่ายทักษิณในครั้งนี้
แต่เว้นระยะห่างจากทักษิณมากกว่าปี 54 เป็นอย่างมาก
แกนนำความคิดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบ้านเลขที่ 111
ของไทยรักไทยเดิมที่ร่วมก่อตั้งพรรคกลับมาบริหาร ทั้งคุณหญิงสุดารัตน์
นพ.พรหมินทร์ ฯลฯ
ทำให้ปากเสียงต่อรองกับทักษิณเรื่องแนวทางบริหารพรรคและนโยบายเปลี่ยนไป
ส.ส.เขตถูกดูดไป พปชร. จำนวนหนึ่ง ทำให้ผู้สมัคร ส.ส. เป็นคนหน้าใหม่ วัย
30-40 (เขตหนองคายบ้านผมคือเปลี่ยนชุดผู้สมัคร ส.ส. ทั้งจังหวัดเลย)
มีชัชชาติชูโรงในกรุงเทพ คุณหญิงสุดารัตน์ไปตจว. กระแสแรงมากพอๆ
กับยิ่งลักษณ์ปี 54 คนคิดถึงอดีตและคุณหญิงหน่อยเองก็เก่งการเมืองกว่า
ทีมงานในพรรคขัดแย้งน้อยลงเนื่องจากมุ้งต่างๆ ย้ายไป ทษช.
แนวทางหาเสียงจึงออกมาเข้มแข็งชัดเจนคล้ายยุคไทยรักไทย ผมประเมินให้ประมาณ
200 ที่นั่งขึ้นไป
ขั้วคสช.
พรรคพลังประชารัฐ
เกิดจากการตั้งใจสร้างพรรคเพื่อหนุนฐาน คสช.
เป็นการรวมตัวของนักการเมืองเก่าๆในหลายพรรคเดิม ทั้งมัชฌิมา พลังชล
กลุ่มสามมิตร และดูดตัวนักการเมือง ส.ส. เดิมของทั้งเพื่อไทยและปชป. ไปด้วย
โดยเอารมต. ในรัฐบาล คสช. มาเป็นคนออกหน้าปราศรัยและวางนโยบาย
ซึ่สุดท้ายก็คงใช้กลไกรัฐราชการทำงานมากกว่าจะเป็นระบบทางการเมือง
ดูจากกระแสจริงในพื้นที่ คงจะได้ ส.ส.
เขตเฉพาะในเขตจังหวัดเดิมที่ค่อนข้างเหนียวแน่น อย่างชลบุรี สุโขทัย
ในเขตที่ส.ส. ย้ายพรรค คงไม่รอด อีสานนี่ถึงขั้นคนไล่ออกจากหมู่บ้าน
ส่วนคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ที่เก็บมาอย่างละนิดละหน่อย
คงจะดันเข้าสภาได้ในระดับหนึ่ง คิดว่าน่าจะได้ ส.ส.รวมสัก 50 คน
พรรครวมพลังประชาชาติไทย เป็นพรรคสุเทพเทือกสุบรรณ
ร่วมมือกับหม่อมเต่าและเอนกเป็นนายทุนดึงทุนจากผู้สนับสนุนกปปส.
มาเพื่อหนุน คสช. โดนแยกตัวกลุ่ม
กปปส.ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ลงชิงพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคใต้
ลักษณะของพรรคก็คล้ายๆ เพื่อชาติของฝั่งทักษิณ
แต่น่าจะได้ที่นั่งมากกว่าเนื่องจากฐานเสียงในเขตสุราษฎร์ธานี คงได้ราวๆ 10
ที่นั่ง
ขั้วที่สาม พรรคที่พื้นฐานไม่ได้มาจากทั้งทักษิณและ คสช.
พรรคประชาธิปัตย์ คนมักจะมองว่าจะเข้าร่วมรัฐบาลกับประยุทธ์ได้ง่าย
แต่จริงแล้วเกิดความแตกแยกภายในและเสียหายจากการแยกตัวไปของกลุ่มสุเทพและการดูดของพปชร.
ชวนที่แก่ลงมากแล้ว และสุเทพที่จากไป
ทำให้อภิสิทธิ์ดูเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
แม้จะยังติดภาพดีแต่พูดที่เคยเป็นมาแต่ก็ยังพูดดีเสมอ
นโยบายที่คิดมาในการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่าละเอียดและมีความเป็นไปได้สูง
(TDRI คงช่วยทำให้)
แต่ประวัติเก่าที่มีมากับความเสียหายที่เยอะของอภิสิทธิ์
รวมถึงสภาพเศรษฐกิจภาคใต้ที่ตกต่ำลงห้าปีที่ผ่านมา
แม้จะมีฐานเสียงเดิมที่เหนียวแน่นคงทำให้ได้ปริ่มๆ น้ำที่ 100
ที่นั่งขั้นไปไม่มาก โดยสุดท้ายแล้ว หากคะแนนเสียงคู่คี่ก้ำกึ่ง
ประชาธิปัตย์คงปฏิเสธการตั้งรัฐบาลร่วมกับเพื่อไทยไปจับมือพปชร.
ให้ประยุทธ์เป็นนายกฯ มากกว่า แต่ถ้าน้ำท่วมฟ้าปลากินดาว ปชป.ยอมกัดฟัน
เพื่อไทยยอมกลืนเลือดตั้งรัฐบาลร่วมกันจัดการได้และประชาชนที่เลือกยินยอม
เราอาจเห็นหนทางหลุดออกจากวงจรรัฐประหารนี้ในที่สุด
ภูมิใจไทย
ซึ่งคนมักจะมองว่าใกล้ชิดกับทหารและคสช.
แต่ในท้องที่นั้นโดนเล่นงานหนักมากไม่แพ้เพื่อไทย
โดนดูดและข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ
คุณอนุทินหัวหน้าพรรคก็ประกาศว่าไม่ไปทางเดียวกับสว. 250 เสียงแน่นอน
ภจท.เน้นนโยบายจับต้องได้อย่างกัญชาและแกร็บ เน้นกระจายอำนาจท้องถิ่น
ลงพื้นที่หาเสียงจริงจังโดยมีบุรีรัมย์โมเดลเป็นต้นแบบจับต้องเห็นผล
แต่ส.ส.เขตคงได้ในพื้นที่เดิมมากกว่าจะไปชนะในเขตอื่น
อานิสงส์ของรธน.นี้คงทำให้ได้ส.ส.ปาตี้ลิสต์เพิ่มขึ้น น่าจะได้สัก 60
ที่นั่ง แต่ถ้าทษช.ถูกยุบ อาจจะได้จำนวนมากขึ้นมาแข่งกับพปชร.และ ปชป.
สามารถเข้าร่วมกับขั้วทักษิณได้
แต่ก็ยังมีโอกาสเข้ากับพปชร.ได้เช่นกันขึ้นอยู่กับจำนวนตัวเลขที่นั่ง
ส.ส.ของแต่ละฝ่าย
อนาคตใหม่ พรรคธนาธรที่เริ่มต้นมาแรง
ฟุบไปเพราะการจัดการในพรรคที่วุ่นวาย
แต่พอตั้งตัวได้ก็กลับมาแรงอีกหลังพรฎ.เลือกตั้งประกาศด้วยกระแส #ฟ้ารักพ่อ
แนวนโยบายแหวกและแนวทางการนำเสนอที่แปลกใหม่ดึงกระแสวัยรุ่นได้มากขนาดในกรุ๊ปเกมออนไลน์ยังพูดถึงว่าจะเลือก
เป็นตัวแปรสำคัญพอสมควร
แม้ว่าส.ส.เขตจะอ่อนไปหน่อยจนอาจจะได้ที่นั่งไม่มากหรือไม่ได้เลย
แต่คะแนนพรรคที่เอามาคำนวณน่าจะได้สูง ผมประเมินว่าคงได้สัก 20 ที่นั่ง
แต่ถ้าพรรค ทษช. ถูกยุบ อันนี้อาจทำให้อนาคตใหม่ได้ที่นั่งเยอะกว่าเดิม
หรืออาจชนะส.ส.เขตในบางพื้นที่ได้เลย
ซึ่งอนาคตใหม่จะไม่เข้ากับฝ่ายคสช.แน่นอนดังนั้นจะเอนมาทางฝ่ายขั้วทักษิณมากกว่า
แต่ถ้าเจรจาไม่ลงตัวก็เชื่อว่าอนาคตใหม่พร้อมที่จะกดดันพรรคเพื่อไทยได้
พรรคเสรีรวมไทย ป๊าเสรีที่แรงตั้งแต่ต้น ชูนโยบายปฏิรูปทหารมาก่อนใคร
ส.ส.เขตอาจจะอ่อน แต่ด้วยกระแสมาแรงเงียบๆ แบบขวายุคดั้งเดิมนักเลงโบราณ
ที่คนเกลียดคสช. เบื่อ ปชป. แต่ก็ไม่ชอบทักษิณ
รวมถึงไม่เข้าใจหรือรับไม่ค่อยได้กับแนวคิดซ้ายๆแบบอนาคตใหม่
โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการ ตำรวจ ทหาร(นอกกลุ่มคสช.) พูดถึงกันมาก
เห็นอย่างนี้ก็ล้านไลค์ 180 ล้านวิว คล้ายกับชูวิทย์ในยุคก่อน
ทำให้มองว่าคงได้ ส.ส.สัก 5 ที่นั่ง และคงไม่เข้ากับขั้วคสช.แน่นอน
พรรคชาติไทยพัฒนา/รวมใจไทยชาติพัฒนา - ปลาไหลเสมอ ขี้เกียจวิเคราะห์ อาจจะได้ที่นั่งกันสักเล็กน้อย เข้าได้ทุกฝัง
XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
ถ้าสมการเป็นแบบนี้ การมีส.ว. 250 เสียงคอยโหวตนายกฯ ย่อมทำให้พปชร.
และรปช. เสียงไม่พอต่อการดันพล.อ.ประยุทธเป็นนายกฯต่อ และถึงแม้ ปชป.
จะเข้าร่วมด้วยก็จะเป็นรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ เสียงข้างน้อย
แต่การเจรจาให้พรรคอื่นตั้งรัฐบาลก็ดำเนินไปได้ลำบากหลังงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
และแม้จะตั้งรัฐบาลได้
รัฐบาลผสมที่มีแนวทางบริหารแตกต่างกันก็น่าจะอ่อนแอมากไม่ต่างจากยุคก่อนรธน.
40 รวมถึงมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ มีปปช. ศาลรธน.
และองค์กรอิสระมากมายคอยแทรกแซง
ดังนั้นพรรคที่ชนะที่สุดในการเลือกตั้งในรับธรรมนูญนี้
คือพรรคข้าราชการประจำและองค์กรอิสระที่รับเงินเดือนและผลประโยชน์ปรับขึ้นตลอดเวลา
และเป็นกลุ่มอำนาจที่ไม่ว่าฝ่ายไหนชนะก็สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เสมอ
แต่ด้วยระบบที่คนทำงานทำได้ยาก ขนาดมี ม.44
ยังต้องใช้กับเรื่องเล็กน้อยเพราะวางกฎหมายไว้กันไปทั่วโดยไม่ดูว่าจะทำงานได้ไหม
รธน.ปัจจุบันต้องถูกแก้แน่นอนไม่ว่าจะโดยฝ่ายไหน อยู่ที่ว่าจะแก้จุดใด
และเมื่อไร หรือจะถูกฉีกไปเลยทั้งฉบับเท่านั้น
แต่ยังไง
ผลทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการลงคะแนนหย่อนบัตรในวันที่ 24 มีนาคม
ของประชาชนทุกคนที่จะสะท้อนเสียงที่แท้จริงของคนไทยออกมา
และต้องจับตามองไม่ให้เกิดการโกงเลือกตั้งไม่มากกว่าการเขียนกติกาเข้าข้างขนาดนี้
สุดท้ายก็อยากจะอ้างข้อความของไพลนีผู้อาวุโส นักปรัชญาการเมืองและในสาธารณรัฐโรมัน
"เมื่อนักการเมืองแบ่งฝ่ายสร้างศัตรูกัน ทหารย่อมขึ้นมาเป็นใหญ่"
วิเคราห์ผลการเลือกตั้ง มีนาคม 2562 แบบที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด
รังสิตโพล แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่ผมได้รับมา สิ่งนี้น่าจะเป็นไปได้พอสมควรนะครับทฤษฎีสามเหลี่ยม สามขั้ว
............................................................................................
ที่มา Facebook
Theerapat Charoensuk วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 04:54 น.
ปกติไม่ได้เขียนวิเคราะห์เรื่องการเมืองแบบการเมืองเชิงพรรคเลย
แต่ดูดีเบตช่อง One31 แล้วขัดใจ เลยมาวิเคราะห์จากข้อมูลเท่าที่ทราบและจับประเด็นมา วงนงวงในอะไรไม่มีนอกจากญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเล่าให้ฟัง ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ให้ถือเสียว่าเป็นการบ่นบ้าของนักเขียนนิยายเอาแล้วกัน
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับคุณจาตุรนต์ในดีเบตคืนนี้เกี่ยวกับเรื่องว่าจะมีสองขั้ว
คือฝั่งเอาประยุทธ์ กับไม่เอาประยุทธ์
และถึงกับเห็นด้วยกับคุณอภิสิทธิ์ว่า จริงๆ
แล้วภูมิทัศน์การเมืองตอนนี้มันมีขั้วที่สามเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
ถึงแม้ว่าสุดท้ายก็ต้องเลือกว่าจะหนุนใคร
แต่การเลือกข้างแบ่งฝ่ายสองฝั่งนั้นจบไปแล้วภายหลังการเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่และมีประกาศเลือกตั้ง
สามเหลี่ยมขั้วของพรรคการเมืองไทยในตอนนี้ ก็จะเป็นดังภาพ คือ
พรรคทักษิณ พรรคคสช. และพรรคที่เกิดขึ้นเพราะเบื่อหน่ายขั้วการเมืองเดิม
ในการบ่นบ้าของผมครั้งนี้ จะไม่พูดถึงพรรคเล็กพรรคน้อยที่อาจจะได้ ส.ส.
1-2 คน
เลือกแต่เฉพาะพรรคที่มีศักยภาพเข้าเจรจาต่อรองทางการเมืองได้เท่านั้น
และจะมองว่าแต่ละพรรคก็มีแนวทางของตนเอง
ไม่ได้ไปตามกันหมดแม้จะอยู่ในขั้วใกล้กัน
ขั้วใหญ่สองขั้ว แน่นอนคือพรรคฝ่ายทักษิณ กับพรรคฝ่ายคสช.
ขั้วทักษิณ
- พรรคไทยรักษาชาตินั้นใกล้ชิดกับทักษิณมากกว่า
แม้จะเป็นพรรคที่แตกออกมาจากพรรคหลักอย่างเพื่อไทย
เนื่องจากเป็นพรรคที่ใกล้ชิดกับกลุ่ม สส.เดิมมากกว่า
มีความเกี่ยวพันกับเครือข่ายเสื้อแดงมากกว่า
และเป็นแหล่งรวมของคนที่ไม่เอาคุณหญิงสุดารัตน์ในพรรคเพื่อไทยออกมาแทน
แต่ด้วยความอ่อนแอของพรรค ทษช. ที่ไม่มีแกนนำหลัก ต่างคนต่างเก่ง
แนวนโยบายและการนำเสนอไม่ไปทางเดียวกัน ทำให้ทักษิณมีเสียงชี้ขาดมากกว่า
แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ 8 ก.พ. ทักษิณพลาดไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด
ต่างคนต่างก็มึนงงและไม่รู้จะไปทางไหน
จนคุณจาตุรนต์ก็ต้องกลับมาช่วยกุมบังเหียนให้อีกครั้ง
ถึงแม้ว่าอาจจะถูกยุบพรรค (ซึ่งผมคิดว่ายุบแน่)
ถ้าไม่ถูกยุบพรรคคงได้สส.สัก 30 ที่นั่ง
- พรรคเพื่อชาติ
ของจตุพรและยงยุทธ ติยะไพรัช เป็นกลุ่มอดีตแกนนำเสื้อแดงฮาร์ดคอร์
ที่ก็รับคุณหญิงสุดารัตน์ไม่ได้ โดยท่าทีของจตุพรเปลี่ยนไปหลังออกจากคุก
ประสานไปในแนวทางเดียวกับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ
มีแนวร่วม กำลังคนในท้องถิ่นเยอะมากจากเครือข่ายเสื้อแดงดั้งเดิม
แต่การจะได้ ส.ส. เขตคงยาก และอาจตัดคะแนนเพื่อไทยได้ในหลายเขต
ประเมินว่าอาจจะได้สัก 5 ที่นั่ง
หรืออาจจะไม่ได้เลยแต่เป็นตัวแปรด้านคะแนนเสียงในฐานเสียงของเพื่อไทย
- พรรคประชาชาติ กลุ่มพรรคมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย
วันมูหะหมัดนอร์ มะทาแห่งกลุ่มวะดะห์
เน้นขายนโยบายเฉพาะกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด
มีความเกี่ยวพันไปในแนวเดียวกันกับกลุ่มพรรคขั้วทักษิณ
แต่ก็มีจุดยืนของตนเองในด้านการจัดการปัญหาภาคใต้ นอกจาก 3
จชต.แล้วยังเจาะฐานเสียงมุสลิมในกรุงเทพและจังหวัดต่างๆ ด้วย
คิดว่าน่าจะได้ที่นั่ง 3 จชต.จำนวนมาก และฐานปาร์ตี้ลิสต์รวมสัก 10 ที่นั่ง
- พรรคเพื่อไทย พรรคหลักของฝ่ายทักษิณในครั้งนี้
แต่เว้นระยะห่างจากทักษิณมากกว่าปี 54 เป็นอย่างมาก
แกนนำความคิดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบ้านเลขที่ 111
ของไทยรักไทยเดิมที่ร่วมก่อตั้งพรรคกลับมาบริหาร ทั้งคุณหญิงสุดารัตน์
นพ.พรหมินทร์ ฯลฯ
ทำให้ปากเสียงต่อรองกับทักษิณเรื่องแนวทางบริหารพรรคและนโยบายเปลี่ยนไป
ส.ส.เขตถูกดูดไป พปชร. จำนวนหนึ่ง ทำให้ผู้สมัคร ส.ส. เป็นคนหน้าใหม่ วัย
30-40 (เขตหนองคายบ้านผมคือเปลี่ยนชุดผู้สมัคร ส.ส. ทั้งจังหวัดเลย)
มีชัชชาติชูโรงในกรุงเทพ คุณหญิงสุดารัตน์ไปตจว. กระแสแรงมากพอๆ
กับยิ่งลักษณ์ปี 54 คนคิดถึงอดีตและคุณหญิงหน่อยเองก็เก่งการเมืองกว่า
ทีมงานในพรรคขัดแย้งน้อยลงเนื่องจากมุ้งต่างๆ ย้ายไป ทษช.
แนวทางหาเสียงจึงออกมาเข้มแข็งชัดเจนคล้ายยุคไทยรักไทย ผมประเมินให้ประมาณ
200 ที่นั่งขึ้นไป
ขั้วคสช.
พรรคพลังประชารัฐ
เกิดจากการตั้งใจสร้างพรรคเพื่อหนุนฐาน คสช.
เป็นการรวมตัวของนักการเมืองเก่าๆในหลายพรรคเดิม ทั้งมัชฌิมา พลังชล
กลุ่มสามมิตร และดูดตัวนักการเมือง ส.ส. เดิมของทั้งเพื่อไทยและปชป. ไปด้วย
โดยเอารมต. ในรัฐบาล คสช. มาเป็นคนออกหน้าปราศรัยและวางนโยบาย
ซึ่สุดท้ายก็คงใช้กลไกรัฐราชการทำงานมากกว่าจะเป็นระบบทางการเมือง
ดูจากกระแสจริงในพื้นที่ คงจะได้ ส.ส.
เขตเฉพาะในเขตจังหวัดเดิมที่ค่อนข้างเหนียวแน่น อย่างชลบุรี สุโขทัย
ในเขตที่ส.ส. ย้ายพรรค คงไม่รอด อีสานนี่ถึงขั้นคนไล่ออกจากหมู่บ้าน
ส่วนคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ที่เก็บมาอย่างละนิดละหน่อย
คงจะดันเข้าสภาได้ในระดับหนึ่ง คิดว่าน่าจะได้ ส.ส.รวมสัก 50 คน
พรรครวมพลังประชาชาติไทย เป็นพรรคสุเทพเทือกสุบรรณ
ร่วมมือกับหม่อมเต่าและเอนกเป็นนายทุนดึงทุนจากผู้สนับสนุนกปปส.
มาเพื่อหนุน คสช. โดนแยกตัวกลุ่ม
กปปส.ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ลงชิงพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคใต้
ลักษณะของพรรคก็คล้ายๆ เพื่อชาติของฝั่งทักษิณ
แต่น่าจะได้ที่นั่งมากกว่าเนื่องจากฐานเสียงในเขตสุราษฎร์ธานี คงได้ราวๆ 10
ที่นั่ง
ขั้วที่สาม พรรคที่พื้นฐานไม่ได้มาจากทั้งทักษิณและ คสช.
พรรคประชาธิปัตย์ คนมักจะมองว่าจะเข้าร่วมรัฐบาลกับประยุทธ์ได้ง่าย
แต่จริงแล้วเกิดความแตกแยกภายในและเสียหายจากการแยกตัวไปของกลุ่มสุเทพและการดูดของพปชร.
ชวนที่แก่ลงมากแล้ว และสุเทพที่จากไป
ทำให้อภิสิทธิ์ดูเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
แม้จะยังติดภาพดีแต่พูดที่เคยเป็นมาแต่ก็ยังพูดดีเสมอ
นโยบายที่คิดมาในการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่าละเอียดและมีความเป็นไปได้สูง
(TDRI คงช่วยทำให้)
แต่ประวัติเก่าที่มีมากับความเสียหายที่เยอะของอภิสิทธิ์
รวมถึงสภาพเศรษฐกิจภาคใต้ที่ตกต่ำลงห้าปีที่ผ่านมา
แม้จะมีฐานเสียงเดิมที่เหนียวแน่นคงทำให้ได้ปริ่มๆ น้ำที่ 100
ที่นั่งขั้นไปไม่มาก โดยสุดท้ายแล้ว หากคะแนนเสียงคู่คี่ก้ำกึ่ง
ประชาธิปัตย์คงปฏิเสธการตั้งรัฐบาลร่วมกับเพื่อไทยไปจับมือพปชร.
ให้ประยุทธ์เป็นนายกฯ มากกว่า แต่ถ้าน้ำท่วมฟ้าปลากินดาว ปชป.ยอมกัดฟัน
เพื่อไทยยอมกลืนเลือดตั้งรัฐบาลร่วมกันจัดการได้และประชาชนที่เลือกยินยอม
เราอาจเห็นหนทางหลุดออกจากวงจรรัฐประหารนี้ในที่สุด
ภูมิใจไทย
ซึ่งคนมักจะมองว่าใกล้ชิดกับทหารและคสช.
แต่ในท้องที่นั้นโดนเล่นงานหนักมากไม่แพ้เพื่อไทย
โดนดูดและข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ
คุณอนุทินหัวหน้าพรรคก็ประกาศว่าไม่ไปทางเดียวกับสว. 250 เสียงแน่นอน
ภจท.เน้นนโยบายจับต้องได้อย่างกัญชาและแกร็บ เน้นกระจายอำนาจท้องถิ่น
ลงพื้นที่หาเสียงจริงจังโดยมีบุรีรัมย์โมเดลเป็นต้นแบบจับต้องเห็นผล
แต่ส.ส.เขตคงได้ในพื้นที่เดิมมากกว่าจะไปชนะในเขตอื่น
อานิสงส์ของรธน.นี้คงทำให้ได้ส.ส.ปาตี้ลิสต์เพิ่มขึ้น น่าจะได้สัก 60
ที่นั่ง แต่ถ้าทษช.ถูกยุบ อาจจะได้จำนวนมากขึ้นมาแข่งกับพปชร.และ ปชป.
สามารถเข้าร่วมกับขั้วทักษิณได้
แต่ก็ยังมีโอกาสเข้ากับพปชร.ได้เช่นกันขึ้นอยู่กับจำนวนตัวเลขที่นั่ง
ส.ส.ของแต่ละฝ่าย
อนาคตใหม่ พรรคธนาธรที่เริ่มต้นมาแรง
ฟุบไปเพราะการจัดการในพรรคที่วุ่นวาย
แต่พอตั้งตัวได้ก็กลับมาแรงอีกหลังพรฎ.เลือกตั้งประกาศด้วยกระแส #ฟ้ารักพ่อ
แนวนโยบายแหวกและแนวทางการนำเสนอที่แปลกใหม่ดึงกระแสวัยรุ่นได้มากขนาดในกรุ๊ปเกมออนไลน์ยังพูดถึงว่าจะเลือก
เป็นตัวแปรสำคัญพอสมควร
แม้ว่าส.ส.เขตจะอ่อนไปหน่อยจนอาจจะได้ที่นั่งไม่มากหรือไม่ได้เลย
แต่คะแนนพรรคที่เอามาคำนวณน่าจะได้สูง ผมประเมินว่าคงได้สัก 20 ที่นั่ง
แต่ถ้าพรรค ทษช. ถูกยุบ อันนี้อาจทำให้อนาคตใหม่ได้ที่นั่งเยอะกว่าเดิม
หรืออาจชนะส.ส.เขตในบางพื้นที่ได้เลย
ซึ่งอนาคตใหม่จะไม่เข้ากับฝ่ายคสช.แน่นอนดังนั้นจะเอนมาทางฝ่ายขั้วทักษิณมากกว่า
แต่ถ้าเจรจาไม่ลงตัวก็เชื่อว่าอนาคตใหม่พร้อมที่จะกดดันพรรคเพื่อไทยได้
พรรคเสรีรวมไทย ป๊าเสรีที่แรงตั้งแต่ต้น ชูนโยบายปฏิรูปทหารมาก่อนใคร
ส.ส.เขตอาจจะอ่อน แต่ด้วยกระแสมาแรงเงียบๆ แบบขวายุคดั้งเดิมนักเลงโบราณ
ที่คนเกลียดคสช. เบื่อ ปชป. แต่ก็ไม่ชอบทักษิณ
รวมถึงไม่เข้าใจหรือรับไม่ค่อยได้กับแนวคิดซ้ายๆแบบอนาคตใหม่
โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการ ตำรวจ ทหาร(นอกกลุ่มคสช.) พูดถึงกันมาก
เห็นอย่างนี้ก็ล้านไลค์ 180 ล้านวิว คล้ายกับชูวิทย์ในยุคก่อน
ทำให้มองว่าคงได้ ส.ส.สัก 5 ที่นั่ง และคงไม่เข้ากับขั้วคสช.แน่นอน
พรรคชาติไทยพัฒนา/รวมใจไทยชาติพัฒนา - ปลาไหลเสมอ ขี้เกียจวิเคราะห์ อาจจะได้ที่นั่งกันสักเล็กน้อย เข้าได้ทุกฝัง
XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX
ถ้าสมการเป็นแบบนี้ การมีส.ว. 250 เสียงคอยโหวตนายกฯ ย่อมทำให้พปชร.
และรปช. เสียงไม่พอต่อการดันพล.อ.ประยุทธเป็นนายกฯต่อ และถึงแม้ ปชป.
จะเข้าร่วมด้วยก็จะเป็นรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ เสียงข้างน้อย
แต่การเจรจาให้พรรคอื่นตั้งรัฐบาลก็ดำเนินไปได้ลำบากหลังงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
และแม้จะตั้งรัฐบาลได้
รัฐบาลผสมที่มีแนวทางบริหารแตกต่างกันก็น่าจะอ่อนแอมากไม่ต่างจากยุคก่อนรธน.
40 รวมถึงมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ มีปปช. ศาลรธน.
และองค์กรอิสระมากมายคอยแทรกแซง
ดังนั้นพรรคที่ชนะที่สุดในการเลือกตั้งในรับธรรมนูญนี้
คือพรรคข้าราชการประจำและองค์กรอิสระที่รับเงินเดือนและผลประโยชน์ปรับขึ้นตลอดเวลา
และเป็นกลุ่มอำนาจที่ไม่ว่าฝ่ายไหนชนะก็สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เสมอ
แต่ด้วยระบบที่คนทำงานทำได้ยาก ขนาดมี ม.44
ยังต้องใช้กับเรื่องเล็กน้อยเพราะวางกฎหมายไว้กันไปทั่วโดยไม่ดูว่าจะทำงานได้ไหม
รธน.ปัจจุบันต้องถูกแก้แน่นอนไม่ว่าจะโดยฝ่ายไหน อยู่ที่ว่าจะแก้จุดใด
และเมื่อไร หรือจะถูกฉีกไปเลยทั้งฉบับเท่านั้น
แต่ยังไง
ผลทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการลงคะแนนหย่อนบัตรในวันที่ 24 มีนาคม
ของประชาชนทุกคนที่จะสะท้อนเสียงที่แท้จริงของคนไทยออกมา
และต้องจับตามองไม่ให้เกิดการโกงเลือกตั้งไม่มากกว่าการเขียนกติกาเข้าข้างขนาดนี้
สุดท้ายก็อยากจะอ้างข้อความของไพลนีผู้อาวุโส นักปรัชญาการเมืองและในสาธารณรัฐโรมัน
"เมื่อนักการเมืองแบ่งฝ่ายสร้างศัตรูกัน ทหารย่อมขึ้นมาเป็นใหญ่"