สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เหมียวฝึกหัดเอ๊ยย~ สงสัยคงจะต้องฝึกกันอีกเยอะเลยทีเดียว... คำนี้ไม่ได้"เพี้ยน"จากละตินมาเป็นอังกฤษ แต่มันมีที่มาที่ไปของมัน
คำว่า calculus (n.) คำนี้มาจากการสมาสคำภาษาละตินระหว่าง calx+ulus ได้เป็น calculus ส่วน calculi เป็นการสดงความเป็นเจ้าของของนามเอกพจน์ (genitive singular) ของคำนี้อีกที
"calx" : /kalks/ (คาล์กส์) นี้แปลว่าหินแร่จำพวกหินชอล์กหรือหินปูนก้อนเล็กๆ คำนี้รากศัพท์รับมาจากกรีกโบราณอีกที χάλιξ : /ˈxa.liks/ (ฆาลิกส์) อันแปลว่า หินก้อนกรวด
ส่วน -ulus เป็นคำลงท้ายเพื่อแสดงถึงส่วนย่อยกว่าของนามตัวหน้า ยกตัวอย่างเช่น rēx ที่แปลว่ากษัตริย์ เมื่อเติม -ulus > regulus จะกลายเป็นเจ้าชายแทน อันนี้คือในกรณีที่นามข้างหน้าเป็นเพศชาย ถ้าเป็นนามเพศหญิงใช้ -ula (form+ula > formula) และถ้าเป็นเพศกลางใช้ -ulum (modus-ulus > modulus)
เมื่อมารวมกัน calculus ก็จะแปลได้ว่า ก้อนหิน(ชอล์กหรือหินปูน)ก้อนเล็กๆ ที่ภาษาเขาใช้แบบนี้ก็เพราะว่าในสมัยนั้นเขานับก้อนหินก้อนเล็กเพื่อคำนวณ วิธีคือนับในกระดานบนโต๊ะที่ตีตารางเป็นเส้นๆ อย่างลูกคิด ดูภาพตัวอย่างได้ที่นี่ :- https://ethw.org/File:Sks23cu-HAmap2ST.jpg
"calculare" ที่เป็นคำกริยาความหมายตรงตัวเลยคือไปนับหิน ซึ่งกลายมาเป็นคำอังกฤษ "to calculate" ในช่วงราวปีค.ศ. 1600s อันแปลว่าคำนวณเช่นที่เข้าใจในปัจจุบัน
พูดถึงการเปลี่ยนเสียง calculare เป็น calculate ตรงนี้ประเมินว่ามาจากอิทธิพลการไม่ออกเสียง /r/ ที่เรียกว่า non-rhotic accent ในภูมิภาคอังกฤษ วิธีการออกเสียง r หรือตัว ร คือเอาปลายลิ้นไปเคาะรัวที่ตำแหน่งปุ่มเหงือก อันเรียกว่า apical alveolar trill ทีนี้ถ้าผู้พูดไม่สามารถรัวได้ ปลายลิ้นมันก็จะแค่ไปหยุดอยู่ที่ตรงตำแหน่งปุ่มเหงือก อันจะได้เสียงเป็น voiceless alveolar stop หรือเสียง /t/ นั่นเอง จากตรงนี้น่าจะทำให้เสียงสะกดจาก calculare กลายเป็น calculate
แล้วการเติม suffix -or ลงไปข้างหลังคำว่า calculate นั้นเรียกว่าการทำให้เป็น agent noun เพื่อบ่งบอกว่าคำนามในรูปสำเร็จนั้นมีความสามารถกระทำการดังเช่นคำกริยาที่นำมาเข้ากระบวนการได้บอกเป็นนัยไว้ ในที่นี้คือ คำนวณ เมื่อเติม -or ไว้ข้างหลัง จะกลายเป็น agent noun ที่หมายถึง เครื่องที่สามารถคำนวณได้ > เครื่องคำนวณ
อธิบายคร่าว ๆ เช่นนี้ก็คงพอเข้าใจได้ว่าภาษามันไม่ได้มั่วไม่ได้เพี้ยนมาอย่างที่ว่ามาในบทความ มันมีกระบวนการทางภาษาอยู่ มีที่มาที่ไปของมัน
คำว่า calculus (n.) คำนี้มาจากการสมาสคำภาษาละตินระหว่าง calx+ulus ได้เป็น calculus ส่วน calculi เป็นการสดงความเป็นเจ้าของของนามเอกพจน์ (genitive singular) ของคำนี้อีกที
"calx" : /kalks/ (คาล์กส์) นี้แปลว่าหินแร่จำพวกหินชอล์กหรือหินปูนก้อนเล็กๆ คำนี้รากศัพท์รับมาจากกรีกโบราณอีกที χάλιξ : /ˈxa.liks/ (ฆาลิกส์) อันแปลว่า หินก้อนกรวด
ส่วน -ulus เป็นคำลงท้ายเพื่อแสดงถึงส่วนย่อยกว่าของนามตัวหน้า ยกตัวอย่างเช่น rēx ที่แปลว่ากษัตริย์ เมื่อเติม -ulus > regulus จะกลายเป็นเจ้าชายแทน อันนี้คือในกรณีที่นามข้างหน้าเป็นเพศชาย ถ้าเป็นนามเพศหญิงใช้ -ula (form+ula > formula) และถ้าเป็นเพศกลางใช้ -ulum (modus-ulus > modulus)
เมื่อมารวมกัน calculus ก็จะแปลได้ว่า ก้อนหิน(ชอล์กหรือหินปูน)ก้อนเล็กๆ ที่ภาษาเขาใช้แบบนี้ก็เพราะว่าในสมัยนั้นเขานับก้อนหินก้อนเล็กเพื่อคำนวณ วิธีคือนับในกระดานบนโต๊ะที่ตีตารางเป็นเส้นๆ อย่างลูกคิด ดูภาพตัวอย่างได้ที่นี่ :- https://ethw.org/File:Sks23cu-HAmap2ST.jpg
"calculare" ที่เป็นคำกริยาความหมายตรงตัวเลยคือไปนับหิน ซึ่งกลายมาเป็นคำอังกฤษ "to calculate" ในช่วงราวปีค.ศ. 1600s อันแปลว่าคำนวณเช่นที่เข้าใจในปัจจุบัน
พูดถึงการเปลี่ยนเสียง calculare เป็น calculate ตรงนี้ประเมินว่ามาจากอิทธิพลการไม่ออกเสียง /r/ ที่เรียกว่า non-rhotic accent ในภูมิภาคอังกฤษ วิธีการออกเสียง r หรือตัว ร คือเอาปลายลิ้นไปเคาะรัวที่ตำแหน่งปุ่มเหงือก อันเรียกว่า apical alveolar trill ทีนี้ถ้าผู้พูดไม่สามารถรัวได้ ปลายลิ้นมันก็จะแค่ไปหยุดอยู่ที่ตรงตำแหน่งปุ่มเหงือก อันจะได้เสียงเป็น voiceless alveolar stop หรือเสียง /t/ นั่นเอง จากตรงนี้น่าจะทำให้เสียงสะกดจาก calculare กลายเป็น calculate
แล้วการเติม suffix -or ลงไปข้างหลังคำว่า calculate นั้นเรียกว่าการทำให้เป็น agent noun เพื่อบ่งบอกว่าคำนามในรูปสำเร็จนั้นมีความสามารถกระทำการดังเช่นคำกริยาที่นำมาเข้ากระบวนการได้บอกเป็นนัยไว้ ในที่นี้คือ คำนวณ เมื่อเติม -or ไว้ข้างหลัง จะกลายเป็น agent noun ที่หมายถึง เครื่องที่สามารถคำนวณได้ > เครื่องคำนวณ
อธิบายคร่าว ๆ เช่นนี้ก็คงพอเข้าใจได้ว่าภาษามันไม่ได้มั่วไม่ได้เพี้ยนมาอย่างที่ว่ามาในบทความ มันมีกระบวนการทางภาษาอยู่ มีที่มาที่ไปของมัน
แสดงความคิดเห็น
ย้อนตำนาน “เครื่องคิดเลข” ของใช้แห่งประวัติศาสตร์มนุษย์ คุณล่ะมีใช้หรือยัง!?
25/03/2019
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เครื่องคิดเลข” คืออุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก ในชีวิตประจำวัน
แต่เคยสงสัยกันไหมว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร? วันนี้เรามีคำตอบให้กับผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบไปด้วยกัน…
เดิมทีผู้คนในสมัยก่อนจะนับเลขด้วยนิ้วหรือใช้อุปกรณ์อย่างก้อนหินหรือเมล็ดพืชช่วยนับ จนกลายมาเป็นการนับโดยการเขียนบนกระดานที่ชาวโรมันเรียกว่า ‘calculii’ ที่เพี้ยนมาเป็นคำว่า ‘calculate’ ที่แปลว่าคำนวนในปัจจุบัน
ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น ‘ลูกคิด’ เครื่องคิดเลขยุคโบราณที่สร้างขึ้นโดยไม้และลูกประคำ ที่นิยมใช้ในหมู่พ่อค้า ชาวประมง และชาวไร่ เพื่อใช้ในการนับผลผลิต
ลูกคิดจีนที่หลายคนน่าจะเคยเห็นผ่านตา เชื่อกันว่าชาวจีนรู้จักลูกคิดมาจากชาวโรมันในปี คศ. 190
จากนั้น ในปี 1617 John Napier นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ได้คิดค้น Napier’s Bonesหรือตารางลอการิทึม ขึ้นมา ใช้สำหรับการคูณ การหาร
ในปี 1618 William Oughtred ได้คิดค้น ‘สไลด์รูล’ ที่สามารถคูณ หาร และถอดรากที่สองได้ ซึ่งกลายมาเป็นที่นิยมในหมู่วิศวกรและสถาปนิก
ในปี 1642 Blaise Pascal นักปรัชญาและนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้สร้าง ‘เครื่องคิดเลขเครื่องกล’ เครื่องแรกของโลกขึ้นมาชื่อว่า ‘Pascaline’ สามารถใช้บวกและลบได้ เครื่องนี้ถูกใช้คำนวนภาษีในประเทศฝรั่งเศสถึงปี 1799
.
ในปี 1679 Leibniz Wheels มีแนวคิดทำให้ Pascaline พัฒนาขึ้นให้สามารถคูณและหารได้ แต่มันก็ทำงานผิดพลาด กระทั่งในปี 1820 Charles Xavier Thomas นำแนวคิดของ Leibniz มาต่อยอดให้เป็นจริง ในชื่อว่า ‘Arithmometer’
นวัตกรรมเครื่องคิดเลขเครื่องกลถูกขยายไปทั่วโลกหลังจากความสำเร็จของ Arithmometer ในปี 1877 George Grant นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องกลของตัวเองขึ้นมาด้วยเช่นกัน
ในปี 1886 William Seward ได้สร้างเครื่องคิดเลขที่มีปุ่มกดขึ้นมา ภายใต้แบรนด์ ‘Burroughs’ ใช้เพื่อคำนวนเงินสกุลสเตอร์ลิงและกลายเป็นที่นิยมอย่างมาก
ถัดมาไม่นาน ปี 1887 Door. E. Felt ได้จดสิทธิบัตรในสหรัฐฯเพื่อขายเครื่อง ‘Comptometer’ เครื่องคิดเลขแบบปุ่มกดเต็มรูปแบบ และเป็นแรงบันดาลใจให้เครื่องคิดเลขในยุคหลัง
จากนั้นในช่วงท้ายของยุค 1940 เครื่องคิดเลขเครื่องกลที่สามารถพกพาได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเป็นครั้งแรก ในชื่อ ‘Curta’ โดย Curt Herzstark นักคิดค้นชาวออสเตรีย
หลังหมดยุคเครื่องคิดเลขเครื่องกล การมาของเครื่องคิดเลขไฟฟ้าก็เข้ามาแทนที่ โดยเริ่มในช่วงท้ายของยุค 1930 เพราะสงครามทำให้กองทัพต้องการเครื่องที่คำนวณตรีโกณมิติออกมาได้รวดเร็วและแม่นยำ
และเครื่องคิดเลขไฟฟ้าเครื่องแรกก็กำเนิดขึ้นมาในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ‘Colossus’ เพื่อตอบสนองความต้องการของกองทัพ
ต่อมา มนุษย์สามารถคิดค้นหลอดสุญญากาศในขนาดเล็กลงขึ้นมาได้ ทำให้เครื่องคิดเลขไฟฟ้าถูกพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น
ANITA เป็นบริษัทแรกที่สร้างเครื่องคิดเลขไฟฟ้าแบบตั้งโต๊ะขึ้นมาได้เป็นครั้งแรกในปี 1961 และกลายเป็นเจ้าตลาด ก่อนที่ภายหลังจะมีคู่แข่งขึ้นมามากมาย
เครื่องคิดเลขได้พัฒนาแบบก้าวกระโดดอีกครั้งเมื่อ ‘ไมโครชิพ’ ได้ถูกคิดค้นขึ้นมา ทำให้เกิดเครื่องคิดเลขดิจิตัลขึ้นมา แต่ในทีแรกมันยังต้องเสียบปลั๊กเพื่อรับพลังงาน
ไมโครชิพทำให้เครื่องคิดเลขมีขนาดเล็กลง
จากนั้นเครื่องคิดเลขก็เริ่มเล็กลงเรื่อยๆ ในช่วงต้นยุค 1970 บริษัท Busicom ได้ผลิตเครื่องคิดเลขดิจิตัลแบบใหม่ขึ้นมา ในขนาดที่เล็กลง ใช้หน้าจอ LED และทดแทนการเสียบปลั๊กด้วยการใส่ถ่าน
เครื่องคิดเลขถูกพัฒนาเปลี่ยนมาใส่ถ่านแทนการเสียบปลั๊ก
หลังจากนั้นเครื่องคิดเลขก็ถูกย่อลงให้เล็กลงเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นแบบที่เราเห็นกันในทุกวันนี้
และในภายหลัง โทรศัพท์มือถือได้ถูกคิดค้นขึ้นมา ‘โปรแกรมเครื่องคิดเลข’ ก็ถูกใส่เข้ามาในมือถือแทบจะทุกรุ่น ตั้งแต่ยุค Nokia มาจนถึงยุคสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน
ซึ่งมันก็สามารถใช้ทดแทนเครื่องคิดเลขได้อย่างไร้ที่ติ หากใช้เพียงแค่ฟังก์ชันพื้นฐานอย่างบวก ลบ คูณ และหาร
เครื่องคิดเลขในปัจจุบันและสมาร์ทโฟน
ที่มา: interesting engineering
CatDumb