คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 102
เนื่องจากตอนนี้คู่ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจนแล้วว่าเป็นการชิงกันระหว่างแคนดิเดตนายกฯจาก 2 พรรค คือพรรคเพื่อไทย กับ พรรคพลังประชารัฐ
ณ เวลานี้ กกต นับคะแนนไปแล้ว 95% จะชี้แจงเรื่องบัตรลงคะแนนที่เกินมาหลายเขตเลือกตั้งในวันที่ 29 มี.ค. ที่จะถึงนี้ และจะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พ.ค. 2562
ฝ่ายเพื่อไทยชูจำนวน ส.ส. ที่ได้มามากที่สุดควรได้สิทธิจัดตั้งรัฐบาล ส่วนพรรคพลังประชารัฐชูคะแนนรวมทั่วประเทศสูงสุดในการได้สิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล
จะมาลองคิดเล่นๆดูบ้างว่าในคะแนน 5% ที่เหลือนี้จะมีผลพลิกเกม พลิกผลคะแนนรวมทั้งสองระบบของพรรคคู่ชิงนี้ได้อย่างไร
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,409,952 คน ตัวเลขนี้น่าจะเท่าเดิมและเป็นตัวเลขสรุปตั้งแต่ก่อนนับคะแนนแล้ว ส่วนตัวเลขที่บัตรเสียในขณะนับคะแนน 95% มีจำนวน 1,998,573 และบัตรที่ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์จะลงคะแนนในขณะนับคะแนน 95% จำนวน 537,479 ใบ
สมมุติว่าตัวเลขบัตรเสียและโหวตโนยังคงแปรผันตรงตาม % ที่เพิ่มขึ้น
จำนวนบัตรเสียเมื่อนับครบ 100% แล้ว = 1,998,573*100/95 = 2,103,761 ใบ
บัตรที่ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์จะลงคะแนน เมื่อนับครบ 100% แล้ว = 537,479*100/95 = 565,767 ใบ
เราจะได้ สัมประสิทธิ์ในการคิดคำนวณหา ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ใหม่เป็น (35,409,952 - 2,103,761 - 565,767)/500 = 65,480.848
ในกรณีที่ทั้งสองพรรคมีคะแนนที่แปรผันตรงตาม % ที่เพิ่มขึ้น
พรรคเพื่อไทยจะได้คะแนนรวมเพิ่มขึ้นเมื่อนับครบ 100% = 7,423,361*100/95 = 7,814,064 คะแนน
นำมาคำนวณหา ส.ส. ที่พึงจะมีได้ = 7,814,064/65,480.848 = 119.334 หรือประมาณ 119 ที่นั่ง ยังน้อยกว่าจำนวน ส.ส. เขตที่ชนะไป ทำให้ไม่ได้ ส.ส. เพิ่มขึ้น
พรรคพลังประชารัฐจะได้คะแนนรวมเพิ่มขึ้นเมื่อนับครบ 100% = 7,939,937*100/95 = 8,357,828 คะแนน
นำมาคำนวณหา ส.ส. ที่พึงจะมีได้ = 8,357,828/65,480.848 = 127.638 หรือเบื้องต้น 127 คน เมื่อนำไปลบออกจาก ส.ส.แบ่งเขตที่ได้ไปแล้ว = 127 - 97 = 30 คน มากกว่าในขณะที่นับคะแนนที่ 95% อยู่ถึง 7 ที่นั่ง ทำให้จำนวนยอดรวม ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ ไล่จี้พรรคเพื่อไทยมาติดๆ
ตัวแปรสำคัญอีกตัวที่ทำให้พรรคพลังประชารัฐมีโอกาสแซงหน้าได้ใน 5% ที่เหลือนี้คือ พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครเพียง 250 เขต แต่พรรคพลังประชารัฐส่งผู้สมัครครบทั้ง 350 เขต
แล้วพรรคพลังประชารัฐจะต้องได้คะแนนเพิ่มขึ้นมาอีกเท่าไหร่ ถึงจะมีโอกาสแซงหน้าพรรคเพื่อไทยในผลยอดรวมของ ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ?
สมมุติว่าคะแนน X,XXX,XXX คือคะแนนรวมของพลังประชารัฐ ที่จะขึ้นมาตีเสมอพรรคเพื่อไทยในส่วนของยอดรวม ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ
X,XXX,XXX//65,480.848 = 137
X,XXX,XXX = 8,970,876 คะแนน
พรรคพลังประชารัฐต้องได้คะแนนเพิ่มเท่าไหร่จากเดิม ยอดรวม ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ จะได้เท่ากับพรรคเพื่อไทย?
คำตอบคือ 8,970,876 - 7,939,937 = 1,030,939 คะแนน
5% ที่เหลือของจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,409,952 คน = 35,409,952*5/100 = 1,770,498 คน
5% ที่เหลือนี้พรรคพลังประชารัฐถ้าได้คะแนนรวมจากทั่วประเทศเพิ่มขึ้นมาอีก 1,030,939 คะแนน จาก 1,770,498 คะแนน ยอดรวมจำนวน ส.ส. จะวิ่งมาทันพรรคเพื่อไทยทันที
เพราะฉะนั้นแล้ว พรรคเพื่อไทยยังประกาศได้เต็มที่ ไม่ได้เช่นกันว่าได้จำนวน ส.ส. รวมทั้ง 2 ระบบมากเป็นอันดับที่ 1 ครับ
สิ่งที่ประชาชนควรจับตานับจากนี้คือ การนับคะแนนใน 5% ที่เหลือนี้ เป็นตัวพลิกผันสำคัญในเกมจัดตั้งรัฐบาล อะไรก็เกิดขึ้นได้ และยังมีโอกาสที่พรรคพลังประชารัฐได้ทั้งคะแนนรวม และจำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับหนึ่ง
ณ เวลานี้ กกต นับคะแนนไปแล้ว 95% จะชี้แจงเรื่องบัตรลงคะแนนที่เกินมาหลายเขตเลือกตั้งในวันที่ 29 มี.ค. ที่จะถึงนี้ และจะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พ.ค. 2562
ฝ่ายเพื่อไทยชูจำนวน ส.ส. ที่ได้มามากที่สุดควรได้สิทธิจัดตั้งรัฐบาล ส่วนพรรคพลังประชารัฐชูคะแนนรวมทั่วประเทศสูงสุดในการได้สิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล
จะมาลองคิดเล่นๆดูบ้างว่าในคะแนน 5% ที่เหลือนี้จะมีผลพลิกเกม พลิกผลคะแนนรวมทั้งสองระบบของพรรคคู่ชิงนี้ได้อย่างไร
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,409,952 คน ตัวเลขนี้น่าจะเท่าเดิมและเป็นตัวเลขสรุปตั้งแต่ก่อนนับคะแนนแล้ว ส่วนตัวเลขที่บัตรเสียในขณะนับคะแนน 95% มีจำนวน 1,998,573 และบัตรที่ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์จะลงคะแนนในขณะนับคะแนน 95% จำนวน 537,479 ใบ
สมมุติว่าตัวเลขบัตรเสียและโหวตโนยังคงแปรผันตรงตาม % ที่เพิ่มขึ้น
จำนวนบัตรเสียเมื่อนับครบ 100% แล้ว = 1,998,573*100/95 = 2,103,761 ใบ
บัตรที่ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์จะลงคะแนน เมื่อนับครบ 100% แล้ว = 537,479*100/95 = 565,767 ใบ
เราจะได้ สัมประสิทธิ์ในการคิดคำนวณหา ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ใหม่เป็น (35,409,952 - 2,103,761 - 565,767)/500 = 65,480.848
ในกรณีที่ทั้งสองพรรคมีคะแนนที่แปรผันตรงตาม % ที่เพิ่มขึ้น
พรรคเพื่อไทยจะได้คะแนนรวมเพิ่มขึ้นเมื่อนับครบ 100% = 7,423,361*100/95 = 7,814,064 คะแนน
นำมาคำนวณหา ส.ส. ที่พึงจะมีได้ = 7,814,064/65,480.848 = 119.334 หรือประมาณ 119 ที่นั่ง ยังน้อยกว่าจำนวน ส.ส. เขตที่ชนะไป ทำให้ไม่ได้ ส.ส. เพิ่มขึ้น
พรรคพลังประชารัฐจะได้คะแนนรวมเพิ่มขึ้นเมื่อนับครบ 100% = 7,939,937*100/95 = 8,357,828 คะแนน
นำมาคำนวณหา ส.ส. ที่พึงจะมีได้ = 8,357,828/65,480.848 = 127.638 หรือเบื้องต้น 127 คน เมื่อนำไปลบออกจาก ส.ส.แบ่งเขตที่ได้ไปแล้ว = 127 - 97 = 30 คน มากกว่าในขณะที่นับคะแนนที่ 95% อยู่ถึง 7 ที่นั่ง ทำให้จำนวนยอดรวม ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ ไล่จี้พรรคเพื่อไทยมาติดๆ
ตัวแปรสำคัญอีกตัวที่ทำให้พรรคพลังประชารัฐมีโอกาสแซงหน้าได้ใน 5% ที่เหลือนี้คือ พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครเพียง 250 เขต แต่พรรคพลังประชารัฐส่งผู้สมัครครบทั้ง 350 เขต
แล้วพรรคพลังประชารัฐจะต้องได้คะแนนเพิ่มขึ้นมาอีกเท่าไหร่ ถึงจะมีโอกาสแซงหน้าพรรคเพื่อไทยในผลยอดรวมของ ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ?
สมมุติว่าคะแนน X,XXX,XXX คือคะแนนรวมของพลังประชารัฐ ที่จะขึ้นมาตีเสมอพรรคเพื่อไทยในส่วนของยอดรวม ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ
X,XXX,XXX//65,480.848 = 137
X,XXX,XXX = 8,970,876 คะแนน
พรรคพลังประชารัฐต้องได้คะแนนเพิ่มเท่าไหร่จากเดิม ยอดรวม ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ จะได้เท่ากับพรรคเพื่อไทย?
คำตอบคือ 8,970,876 - 7,939,937 = 1,030,939 คะแนน
5% ที่เหลือของจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,409,952 คน = 35,409,952*5/100 = 1,770,498 คน
5% ที่เหลือนี้พรรคพลังประชารัฐถ้าได้คะแนนรวมจากทั่วประเทศเพิ่มขึ้นมาอีก 1,030,939 คะแนน จาก 1,770,498 คะแนน ยอดรวมจำนวน ส.ส. จะวิ่งมาทันพรรคเพื่อไทยทันที
เพราะฉะนั้นแล้ว พรรคเพื่อไทยยังประกาศได้เต็มที่ ไม่ได้เช่นกันว่าได้จำนวน ส.ส. รวมทั้ง 2 ระบบมากเป็นอันดับที่ 1 ครับ
สิ่งที่ประชาชนควรจับตานับจากนี้คือ การนับคะแนนใน 5% ที่เหลือนี้ เป็นตัวพลิกผันสำคัญในเกมจัดตั้งรัฐบาล อะไรก็เกิดขึ้นได้ และยังมีโอกาสที่พรรคพลังประชารัฐได้ทั้งคะแนนรวม และจำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับหนึ่ง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 26 มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เสียก่อน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จึงเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มากกว่าครั้งก่อน 20 คน โดยแบ่งเป็นการเลือกตั้งผู้แทนตามเขตเล็กรวมกัน 375 เขต มีผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คน จำนวน 375 คน และเลือกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคโดยเอาประเทศไทยเป็นเขตเลือกตั้งได้ทั้งหมดอีก 125 คน พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 27 เกิดการบอยคอตเลือกตั้งจากพรรคประชาธิปัตย์และมีการปิดล้อมคูหาเลือกตั้งจากกลุ่มมวลชน กปปส. ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย
หลังจากนั้นก็เกิดรัฐประหารจาก คสช. พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน
ขอบพระคุณ สถาบันพระปกเกล้า, วิกิพิเดีย
2 พฤศจิกายน 2560
....................................
นับจากนี้ เราจะมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองในปัจจุบันร่วมกันค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 27 เกิดการบอยคอตเลือกตั้งจากพรรคประชาธิปัตย์และมีการปิดล้อมคูหาเลือกตั้งจากกลุ่มมวลชน กปปส. ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย
หลังจากนั้นก็เกิดรัฐประหารจาก คสช. พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน
ขอบพระคุณ สถาบันพระปกเกล้า, วิกิพิเดีย
2 พฤศจิกายน 2560
....................................
นับจากนี้ เราจะมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองในปัจจุบันร่วมกันค่ะ
ความคิดเห็นที่ 1
ระหว่างนี้ จขกท. ขอนำเสนอผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาของประเทศไทยค่ะ
เพื่อเราจะได้รู้ถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา
ขอบคุณข้อมูลจากกระทู้ https://ppantip.com/topic/37048080 โดยพี่โอ้ (The Mario)
ห้องเพลงคนรากหญ้า *พักยกการเมือง* มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม..มีแต่เสียง 2/11/2017 "ย้อนรอยเลือกตั้งไทย"
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 19 ของประเทศไทยและเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 ในปีเดียวกัน คือครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรคสามัคคีธรรม หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ นายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม จึงเป็นพรรคที่มาคล้ายกับ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้นักการเมืองบางคนในสังกัด พรรคสามัคคีธรรม ยังเคยสังกัดใน พรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทย อีกด้วย
และก็มาถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในเวลาที่ห่างกันประมาณ 6 เดือนเท่านั้นเอง ที่มีการเลือกตั้งกระชั้นชิดเช่นนี้ ก็เพราะภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้ว พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาล ก็ได้เกิดการประท้วงจากนักการเมือง ประชาชนและนิสิตนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จนในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลเข้ามาดูแลเหตุการณ์และยุบสภา เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ ให้สภาผู้แทนราษฎรที่จะได้ผู้แทนราษฎรชุดใหม่เข้ามาเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังเป็นการแบ่งเขตที่แต่ละเขตมีผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรมี 360 คน เท่ากับการเลือกตั้งครั้งก่อน ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งจึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 ของประเทศไทยที่เกิดขึ้น เพราะนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำได้ตัดสินใจยุบสภาภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและก่อนที่จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปที่ดินเกี่ยวกับ สปก. 4-01 การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทย ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เกิดขึ้นจากการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 อันเนื่องมาจากการถูกเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจากพรรคฝ่ายค้านอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังเกิดกระแสที่ประชาชนไม่พอใจภาพพจน์ของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลเกิดความสั่นคลอน จนเป็นเหตุให้มีการประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 ได้ส่งผลให้พรรคความหวังใหม่ เป็นพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงสูงสุด จนได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ พรรคชาติพัฒนา พรรคประชากรไทย พรรคมวลชน พรรคเสรีธรรม และพรรคกิจสังคม รวมเป็นจำนวนพรรครัฐบาลจำนวน 6 พรรคการเมือง โดยพรรครัฐบาลมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งเท่ากับ 221 เสียง ต่อพรรคฝ่ายค้านที่มีคะแนนเสียงเพียง 172 เสียง จำนวน 5 พรรคการเมือง อันประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคพลังธรรม และพรรคไท
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 เป็นการเลือกตังทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ภายหลังหลังจากที่รัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย ได้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แล้วเสร็จ จึงได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 แล้วกำหนดให้มีการเลือกทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544
ในฐานะที่การเลือกตั้งครั้งที่ 22 นี้ เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ส่งผลให้กฎกติกาทางการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของระบบการเลือกตั้ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งครั้งก่อน อาทิ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (Party lists) จำนวน 100 คน และสมาชิกมาจากระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (One man one vote) จำนวน 400 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครมากเป็นประวัติการณ์ถึง 43 พรรค
ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ได้ถูกประกาศออกอย่างเป็นทางการแล้วพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นและเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 23 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น เพราะอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อ พ.ศ. 2544 ครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เป็น 44,572,101 คน และมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจริง 32,341,330 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 72.56 นับว่ามากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น
เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 24 2 เมษายน 2549 พรรคร่วมฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยึดอำนาจการปกครองจาก คมช. จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 25 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 1 ภายใต้กฏกติกาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พรรคพลังประชาชนชนะ ส่งผลให้นายสมัคร สนุทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2551 อันเนื่องมาจากพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 233 ที่นั่ง และเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับ พรรคชาติไทย 34 ที่นั่ง พรรคเพื่อแผ่นดิน 24 ที่นั่ง พรรคมัชฌิมาธิปไตย 11 ที่นั่ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 ที่นั่ง และพรรคประชาราช 5 ที่นั่ง รวมคะแนนเสียงพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น 316 ที่นั่ง ต่อ พรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว คือ พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 164 ที่นั่ง
(ยังมีต่อ)
เพื่อเราจะได้รู้ถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา
ขอบคุณข้อมูลจากกระทู้ https://ppantip.com/topic/37048080 โดยพี่โอ้ (The Mario)
ห้องเพลงคนรากหญ้า *พักยกการเมือง* มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม..มีแต่เสียง 2/11/2017 "ย้อนรอยเลือกตั้งไทย"
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 19 ของประเทศไทยและเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 ในปีเดียวกัน คือครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรคสามัคคีธรรม หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ นายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม จึงเป็นพรรคที่มาคล้ายกับ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้นักการเมืองบางคนในสังกัด พรรคสามัคคีธรรม ยังเคยสังกัดใน พรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทย อีกด้วย
และก็มาถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในเวลาที่ห่างกันประมาณ 6 เดือนเท่านั้นเอง ที่มีการเลือกตั้งกระชั้นชิดเช่นนี้ ก็เพราะภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้ว พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาล ก็ได้เกิดการประท้วงจากนักการเมือง ประชาชนและนิสิตนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จนในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลเข้ามาดูแลเหตุการณ์และยุบสภา เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ ให้สภาผู้แทนราษฎรที่จะได้ผู้แทนราษฎรชุดใหม่เข้ามาเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังเป็นการแบ่งเขตที่แต่ละเขตมีผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรมี 360 คน เท่ากับการเลือกตั้งครั้งก่อน ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งจึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 ของประเทศไทยที่เกิดขึ้น เพราะนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำได้ตัดสินใจยุบสภาภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและก่อนที่จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปที่ดินเกี่ยวกับ สปก. 4-01 การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทย ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เกิดขึ้นจากการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 อันเนื่องมาจากการถูกเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจากพรรคฝ่ายค้านอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังเกิดกระแสที่ประชาชนไม่พอใจภาพพจน์ของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลเกิดความสั่นคลอน จนเป็นเหตุให้มีการประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 ได้ส่งผลให้พรรคความหวังใหม่ เป็นพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงสูงสุด จนได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ พรรคชาติพัฒนา พรรคประชากรไทย พรรคมวลชน พรรคเสรีธรรม และพรรคกิจสังคม รวมเป็นจำนวนพรรครัฐบาลจำนวน 6 พรรคการเมือง โดยพรรครัฐบาลมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งเท่ากับ 221 เสียง ต่อพรรคฝ่ายค้านที่มีคะแนนเสียงเพียง 172 เสียง จำนวน 5 พรรคการเมือง อันประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคพลังธรรม และพรรคไท
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 เป็นการเลือกตังทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ภายหลังหลังจากที่รัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย ได้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แล้วเสร็จ จึงได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 แล้วกำหนดให้มีการเลือกทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544
ในฐานะที่การเลือกตั้งครั้งที่ 22 นี้ เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ส่งผลให้กฎกติกาทางการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของระบบการเลือกตั้ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งครั้งก่อน อาทิ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (Party lists) จำนวน 100 คน และสมาชิกมาจากระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (One man one vote) จำนวน 400 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครมากเป็นประวัติการณ์ถึง 43 พรรค
ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ได้ถูกประกาศออกอย่างเป็นทางการแล้วพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นและเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 23 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น เพราะอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อ พ.ศ. 2544 ครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เป็น 44,572,101 คน และมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจริง 32,341,330 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 72.56 นับว่ามากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น
เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 24 2 เมษายน 2549 พรรคร่วมฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยึดอำนาจการปกครองจาก คมช. จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 25 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 1 ภายใต้กฏกติกาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พรรคพลังประชาชนชนะ ส่งผลให้นายสมัคร สนุทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2551 อันเนื่องมาจากพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 233 ที่นั่ง และเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับ พรรคชาติไทย 34 ที่นั่ง พรรคเพื่อแผ่นดิน 24 ที่นั่ง พรรคมัชฌิมาธิปไตย 11 ที่นั่ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 ที่นั่ง และพรรคประชาราช 5 ที่นั่ง รวมคะแนนเสียงพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น 316 ที่นั่ง ต่อ พรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว คือ พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 164 ที่นั่ง
(ยังมีต่อ)
แสดงความคิดเห็น
** รายงานผล เกาะติดสถานการณ์เลือกตั้ง 62 : เชิญเพื่อนๆ ร่วมติดตามผลไปด้วยกันค่ะ ** (ชุนเทียน)
หลังจากไม่ได้เลือกตั้งมาประมาณ 8 ปี วันนี้ วันที่ 24 มีนาคม 2562 คงเป็นวันที่หลายคนรอคอย
เวลา 17:00 น. เมื่อปิดหีบเลือกตั้งทั่วประเทศแล้ว ก็ได้ทำการนับคะแนน
โดย กกต.กำหนดว่าจะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการได้ในเวลา 21.00 น.
ส่วนผลอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะประกาศได้ในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้
การเลือกตั้งครั้งนี้มีสถิติที่น่าสนใจหลายประการ เช่น
พรรคการเมืองมากที่สุด
วันสุดท้ายของการเปิดรับสมัคร ส.ส. คือวันที่ 8 ก.พ. 2562 มีถึง 81 พรรคการเมือง
แต่สุดท้ายเหลือพรรคที่ได้ลงสนามจริง 80 พรรค เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.)
ผู้สมัคร ส.ส. เยอะที่สุด
การเลือกตั้งครั้งนี้มียอดผู้สมัคร ส.ส. มากเป็นประวัติการณ์ รวมทั้ง 2 ระบบ "ทะลุหมื่น" เลยทีเดียว
มี 6 พรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบเขตครบ 350 คน คือ
พรรคประชาธิปัตย์, พรรคภูมิใจไทย, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคอนาคตใหม่, พรรครวมพลังประชาติไทย และพรรคพลังประชารัฐ
มี 4 พรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเต็มบัญชี 150 คน คือ
พรรคประชาธิปัตย์, พรรคภูมิใจไทย, พรรคเพื่อชาติ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-46902175
เราจะมาร่วมลุ้นผลและดูกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะสร้างสถิติใดขึ้นมาอีก
ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมติดตามการนับคะแนนและผลการเลือกตั้ง
ใครอยู่แถวไหนจะช่วยรายงานสถานการณ์ หรือแบ่งปันข้อมูล ข่าวสาร จากสื่อต่างๆ
จขกท.ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งและขอบคุณมากนะคะ
(ชุนเทียน)