เพราะอย่างนี้? อยากหรือไม่อยาก จะรับหรือไม่รับ ก็ต้องรับ ต้องได้ ช้าหรือเร็วเท่านั้น

ด้วยบทที่นำมาสวดหลังสวดมน์ไหว้พระทำวัตรเย็น  ในแต่ละคืน ก็ได้มานั่งอ่านพิจารณาทบทวน ในบทนี้คือ  
อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐะ   มี ข้อที่พึงพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ

ชะราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต - เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ 
พยาธิธัมโมมหิ พยาธิง อะนะตีโต - เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไปไม่ได้ 
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต - เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ 
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว - เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท - เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม 
กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ - มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระโณ - มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย 
ยัง กัมมัง กะริสสามิ - เราทำกรรมใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา – ดีหรือชั่วก็ตาม
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ - เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง – เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้ แล

**** ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่มีสิทธิ์จะ  "แก้กรรม" ใดๆ หรือ ขออุทธณ์ ฏีกา เหมือนศาลทางโลก  ตามที่มีผู้ยกบ่อยๆ ใช่ไหมครับ ***** 
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ตัวอย่าง การปฎิบัติจริง การรับผลของกรรม  ( อ่านเข้าใจได้โดยตรง / ไม่ต้องพึ่งการตีความใดใด )

" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

อุทาน นันทวรรคที่ ๓
๑. กรรมสูตร
             [๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนั่ง
คู้บัลลังก์ตั้งกายตรงอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค อดกลั้นทุกขเวทนาอันกล้า
เผ็ดร้อนซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรมเก่า มีสติสัมปชัญญะ ไม่พรั่นพรึงอยู่
พระผู้มี-
*พระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงอยู่ในที่ไม่ไกล
อดกลั้นทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรมเก่า มีสติสัมปชัญญะ
ไม่พรั่นพรึงอยู่ ฯ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
                          ภิกษุละกรรมทั้งหมดได้แล้ว กำจัดกรรมเป็นดังธุลีที่ตนทำ
ไว้แล้วในก่อนไม่มีการยึดถือว่าของเรา ดำรงมั่น คงที่

                          ประโยชน์ที่จะกล่าวกะชน (ว่าท่านจงทำยาเพื่อเรา) ย่อมไม่มี ฯ "

ตรงกับ สัพพาสวสังวรสูตร / อาสวะที่พึงละได้โดยพิจารณาโดยแยบคายแล้ว " อดกลั้น " ( ไม่เร่งเร้าให้เกิดความคับแค้น )
( เห็น สังวร เสพ อดกลั้น เว้น บรรเทา อบรมเจริญ คือ 7 กลุ่มที่ต้องกระทำเพื่อละอาสวะ / ศึกษาละเอียดได้ในสัพพาสวสังวรสูตร )

เจริญในธรรม ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่