ในบทความนี้ผมจะอธิบาย
ยุคสมัยของดนตรีตะวันตก ตังแต่ศรรตวรรษ ที่14-15 ~ จนถึงปัจจุบัน ข้อมูลอาจมีตกหล่นไปบ้างเล็กน้อยต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วย
Rockson90
1. ยุคกลาง (Middle Ages)
ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.ศ. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4 เพลงร้องพบได้ทั่วไป และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี
2. ยุคเรเนสซองค์ (Renaissance Period)
เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.ศ. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes) ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales) การประสานเสียงเกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ด ลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะ และไม่มีอัตราจังหวะ ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย ยังมีน้อยไม่ค่อยพบ ลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกัน ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี เริ่มมีการผสมวงเล็กๆ เกิดขึ้น นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน-เดอส์ เพรซ์ ปาเลสตรินา และเบิร์ด
(จอสสกิน เดอะ เพลส)
(ปาเลสตรินา)
3. ยุคบาโรค (Baroque Period)
เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ. 1600-1750) การสอดประสาน เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลง การใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย เป็นลักษณะของความดัง-ค่อย มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ ดังขึ้นหรือค่อยๆลง (Crescendo, diminuendo)ไม่มีลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก (Fortissimo, pianisso) บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น บทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grosso) นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี คอเรลลี วิวัลดี บาค ฮันเดล
(โยฮัน เซบัสเตียน บาค)
(ยอห์น เฟรดริก แฮนเดิล)
4. ยุคคลาสสิค (Classical period)
เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1750-1825) การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้ การสอดประสานพบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสาน การใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ เป็นหลักในการประพันธ์เพลง ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผน บริสุทธิ์ มีการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน ไม่มีการแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น การบรรเลงโดยใช้วงและการเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว( Concerto)เป็นลักษณะที่นิยมในยุคนี้ บทเพลลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับ เพลงเดี่ยว(Sonata) ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมาก บทเพลงร้องมีลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้น เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ กลุค ไฮเดิน โมทซาร์ท และเบโธเฟน
(ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท)
(ลุดวิค ฟาน เบโธเฟน)
5. ยุคโรแมนติด(Romantic period)
เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว ค.ศ. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้ คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก ฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียด โดยการพัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก หลักการใช้บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์ ยังเป็นสิ่งสำคัญ แต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้นหลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้ บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากมีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรี มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมาก วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุคคลาสสิค บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไป เพลงซศิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิก ยังคงเป็นรูปแบบที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆ เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก เช่น เบโธเฟน ชูเบิร์ต โชแปง ลิสซท์ เมนเดลซอน เบร์ลิโอส ชูมานน์ แวร์ดี บราหมส์ ไชคอฟสี ริมสกี-คอร์สคอฟ รัคมานินอฟ ปุกซินี วากเนอร์ กรีก ริชาร์ด สเตราห์ มาห์เลอร์ และซิเบลุส เป็นต้น
(เฟรเดริก โชแปง)
(ฟรันซ์ ลิสท์)
(ริชารด์ วากเนอร์)
(ฟรันทซ์ ชูเบริต์)
(โรเบิร์ต ชูมานด์)
6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1890 – 1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ ใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับ คลุมเครือไม่กระจ่างชัด เนื่องมาจากการประสานเสียงโดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ เสียงไม่หนักแน่น ดังเช่น เพลงในยุคโรแมนติก การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ในยุคก่อนๆ สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆ ไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม รูปแบบของเลงเป็นรูปแบบง่าย มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ เดอบูสซี ราเวล และเดลิอุส
(โคลด เดอบุชชี)
(มอริส ราเวล)
7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period)
ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ และนำเอาหลักการเก่าๆ มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน เช่น หลักการเคาเตอร์พอยต์ (Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน มีการใช้ประสานเสียงโดย การใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลักในการแต่งทำนองหรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง(Twelve-tone scale)ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance) วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบเชมเบอร์มิวสิก ไม่นิยมวงออร์เคสตรา มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์ ทำให้เกิดเสียงดนตรีซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น ในขณะที่แนวคิดแบบโรแมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน เรียกว่า นีโอโรแมนติก (Neo-Romantic) กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20 นี้มีหลากหลายมาก สามารถพบสิ่งต่างๆตั้งแต่ยุค ต่างๆมาที่ผ่านมา แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ สตราวินสกี โชนเบิร์ก บาร์ตอก เบอร์ก ไอฟส์ คอปแลนด์ ชอสตาโกวิช โปโกเฟียฟ ฮินเดมิธ เคจ เป็นต้น
(อิกอร์ สตาวินสกี)
(ดมิทรี ชอทตาโกวิซ)
8. ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 20 (THE TWENTIETH CENTURY ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน)
หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น
จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20
ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง
ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง
ลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20
ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ
ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทขรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียงความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง
🎼🎶ยุคสมัยของดนตรีตะวันตก
1. ยุคกลาง (Middle Ages)
ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.ศ. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4 เพลงร้องพบได้ทั่วไป และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี
2. ยุคเรเนสซองค์ (Renaissance Period)
เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.ศ. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes) ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales) การประสานเสียงเกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ด ลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะ และไม่มีอัตราจังหวะ ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย ยังมีน้อยไม่ค่อยพบ ลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกัน ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี เริ่มมีการผสมวงเล็กๆ เกิดขึ้น นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน-เดอส์ เพรซ์ ปาเลสตรินา และเบิร์ด
(จอสสกิน เดอะ เพลส)
(ปาเลสตรินา)
3. ยุคบาโรค (Baroque Period)
เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ. 1600-1750) การสอดประสาน เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลง การใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย เป็นลักษณะของความดัง-ค่อย มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ ดังขึ้นหรือค่อยๆลง (Crescendo, diminuendo)ไม่มีลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก (Fortissimo, pianisso) บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น บทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grosso) นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี คอเรลลี วิวัลดี บาค ฮันเดล
(โยฮัน เซบัสเตียน บาค)
(ยอห์น เฟรดริก แฮนเดิล)
4. ยุคคลาสสิค (Classical period)
เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1750-1825) การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้ การสอดประสานพบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสาน การใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ เป็นหลักในการประพันธ์เพลง ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผน บริสุทธิ์ มีการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน ไม่มีการแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น การบรรเลงโดยใช้วงและการเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว( Concerto)เป็นลักษณะที่นิยมในยุคนี้ บทเพลลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับ เพลงเดี่ยว(Sonata) ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมาก บทเพลงร้องมีลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้น เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ กลุค ไฮเดิน โมทซาร์ท และเบโธเฟน
(ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท)
(ลุดวิค ฟาน เบโธเฟน)
5. ยุคโรแมนติด(Romantic period)
เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว ค.ศ. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้ คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก ฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียด โดยการพัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก หลักการใช้บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์ ยังเป็นสิ่งสำคัญ แต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้นหลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้ บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากมีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรี มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมาก วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุคคลาสสิค บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไป เพลงซศิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิก ยังคงเป็นรูปแบบที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆ เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก เช่น เบโธเฟน ชูเบิร์ต โชแปง ลิสซท์ เมนเดลซอน เบร์ลิโอส ชูมานน์ แวร์ดี บราหมส์ ไชคอฟสี ริมสกี-คอร์สคอฟ รัคมานินอฟ ปุกซินี วากเนอร์ กรีก ริชาร์ด สเตราห์ มาห์เลอร์ และซิเบลุส เป็นต้น
(เฟรเดริก โชแปง)
(ฟรันซ์ ลิสท์)
(ริชารด์ วากเนอร์)
(ฟรันทซ์ ชูเบริต์)
(โรเบิร์ต ชูมานด์)
6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1890 – 1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ ใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับ คลุมเครือไม่กระจ่างชัด เนื่องมาจากการประสานเสียงโดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ เสียงไม่หนักแน่น ดังเช่น เพลงในยุคโรแมนติก การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ในยุคก่อนๆ สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆ ไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม รูปแบบของเลงเป็นรูปแบบง่าย มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ เดอบูสซี ราเวล และเดลิอุส
(โคลด เดอบุชชี)
(มอริส ราเวล)
7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period)
ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ และนำเอาหลักการเก่าๆ มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน เช่น หลักการเคาเตอร์พอยต์ (Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน มีการใช้ประสานเสียงโดย การใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลักในการแต่งทำนองหรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง(Twelve-tone scale)ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance) วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบเชมเบอร์มิวสิก ไม่นิยมวงออร์เคสตรา มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์ ทำให้เกิดเสียงดนตรีซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น ในขณะที่แนวคิดแบบโรแมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน เรียกว่า นีโอโรแมนติก (Neo-Romantic) กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20 นี้มีหลากหลายมาก สามารถพบสิ่งต่างๆตั้งแต่ยุค ต่างๆมาที่ผ่านมา แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ สตราวินสกี โชนเบิร์ก บาร์ตอก เบอร์ก ไอฟส์ คอปแลนด์ ชอสตาโกวิช โปโกเฟียฟ ฮินเดมิธ เคจ เป็นต้น
(อิกอร์ สตาวินสกี)
(ดมิทรี ชอทตาโกวิซ)
8. ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 20 (THE TWENTIETH CENTURY ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน)
หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น
จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20
ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง
ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง
ลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20
ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ
ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทขรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียงความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง