บทความตามใจฉัน “Game of Consoles: 10NES Chip” Part 3

บทความตามใจฉัน “Game of Consoles: 10NES Chip” Part 3

Part1>>https://ppantip.com/topic/38622705
Part2>> https://ppantip.com/topic/38643981  

หลังจากที่ฟ้อง Tengen แล้วหมากต่อไปของ Nintendo คือไล่บี้ต่อนอกศาลโดยการติดต่อไปยังร้านค้าปลีกต่าง ๆ
และขู่ว่าหากทางร้านวางจำหน่ายตลับเกมของ Tengen จะลดหรืองดการส่งสินค้าให้กับร้าน ในขณะนั้นสินค้าของ Nintendo ขายดีมากสร้างรายได้แก่ร้านค้าปลีกอย่างมหาศาล ในบางร้านนั้นยอดขายสินค้าของ Nintendo สูงถึง 50% ของยอดขายทั้งร้านเลยทีเดียวและนั้นทำให้ร้านค้าปลีกหลายแห่งซึ่งรวมถือร้านชื่อดังอย่างเข่น Toy R us หรือ Wal-mart ยอมตาม Nintendo แต่นั้นก็ไม่ได้ช่วยให้เกมของ Tengen ขายได้น้อยลงแต่อย่างใด ยอดขายเกมของ Tengen เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก  

  

ขณะเดียวกันเมื่อเรื่องรู้ถึงสาธารณะชนว่ากำลังจะมีมวยมันวันอาทิตย์ระหว่างค่ายเกมสองค่าย เหล่าผู้ชมก็เริ่มเลือกข้างเชียร์ ผู้บริโภค (ผู้ซื้อและเล่นเกม) ส่วนใหญ่เชียร์ Tengen ด้วยเหตุผลที่ “น่าสนใจ” คอมลัมนิส์คนหนึ่งได้ให้ความเห็นไว้ สรุปได้ว่า พวกเค้า(ผู้ซื้อและเล่นเกม)ไม่ต้องการให้บริษัทเครื่องเกมคอนโซลมามีอำนาจตัดสินใจเหนือผู้เล่นว่าเกมไหนที่ผู้เล่นควรจะได้เล่นและคาดหวังว่าประเภทและแนวทางของเกมส์จะมีความหลากหลายมากกว่านี้ ถ้า Tengen ชนะ  

   

การต่อสู้คดีในชั้นศาลนั้นสู้กันถึงชั้นอุทธรณ์ โดยการสอบคดีมุ่งเป้าไปที่ความเป็นมาของ Rabbit Chip ว่า Tengen ละเมิดสิทธิ์บัตรของ Nintendo เพื่อสร้าง Chip ตัวนี้รึไม่ สรุปความได้ดังนี้   ในศาลชั้นต้น Tengen อ้างว่าได้สร้าง Rabbit Chip โดยการวิศวกรรมย้อนกลับ 10NES Chip ด้วยตัวเอง สำเนา Source code ของ 10NES ที่ได้มานั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้าง Rabbit Chip ได้แต่อย่างไร จุดเปลี่ยนของคดีที่สำคัญคือการตรวจสอบพยานหลักฐานโดยเฉพาะ Source Code ของ Ribbit Chip     


Source Code ของ 10NES นั้นถูกจดสิทธิ์บัตรไว้เมื่อปี 1985 แต่ Source Code ที่ใช้ใน 10NES ณ ขณะนั้นเป็น Version ปี 1987 ที่ได้ถูกอัพเดทโดยตัดถอนคำสั่งบรรทัดที่ไม่จำเป็นออก คำถามที่เกิดขึ้นคือ เมื่อ Tengen กล่าวอ้างว่าพัฒนา Chip เองโดยไม่ได้ใช้ข้อมูลจากสิทธิ์บัตร Source Code ของ 10NES แล้วทำไม Source Code ของ Rabbit Chip นั้นนอกจากจะเหมือนแล้วยังมีชุดคำสั่งที่ไม่ได้ใช้งานเหมือนกับที่ Source Code ของ 10NES ปี 1985 มีอยู่ด้วย อีกทั้งฟังชั่นการทำงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการล็อกการทำงานของเครื่องเกม Rabbit กลับมีเหมือนกับที่ 10NES มี   


ศาลลงความเห็นว่า Tengen ผิดจริงจึงมีคำสั่งให้ Tengen ยุติการผลิตและจำหน่ายรวมถึงให้เรียกคืนตลับเกม NES ของตนเองในตลาดทุกตลับกลับคืนทั้งหมด   Tengen ยื่นอุทธรณ์และร้องต่อศาลให้ระงับคำสั่งศาลออกไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลเห็นพ้องและระงับคำสั่ง ทำให้ Tengen ยังคงผลิตและจำหน่ายตลับเกมได้ต่อไปจนกว่าคดีจะสิ้นสุด  

   

ในชั้นอุทธรณ์ Tengen อ้างเพิ่มเติมว่า 10NES Chip เป็นระบบเพื่อป้องกันเกมละเมิดลิขสิทธิ์แต่ Nintendo กลับนำมาใช้ในการควบคุมบังคับใช้ระเบียบของตนเองกับบริษัทเกมต่าง ๆ ถือเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ และ การสร้าง Rabbit Chip ได้นั้นมาจากการวิศวกรรมย้อนกลับ 10NES Chip ดังนั้น Rabbit Chip จึงเป็นการใช้งานที่ชอบธรรม (Fair Used) ไม่ใช่เป็นการละเมิดสิทธิบัตรของ Nintendo  

เรามาดูกันก่อนว่าการใช้งานที่ชอบธรรม (Fair Used) คืออะไร การใช้โดยเป็นธรรม หรือ การใช้โดยชอบธรรม (Fair use) เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่สำคัญประการหนึ่ง ที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลทั่วไปมีสิทธิพิเศษที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หากการใช้นั้นเป็นการใช้ที่เป็นธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของเจ้าของลิขสิทธิ์ และการรักษาประโยชน์ของสาธารณชนในอันที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ https://dict.longdo.com/search/Fair%20use%20(Copyright)  

  

ศาลเห็นว่าข้อกล่าวอ้างการใช้ 10NES ผิดวัตถุประสงค์นั้นไม่เกี่ยวข้องเพราะ Nintendo เองมีสิทธิ์ที่จะใช้ 10NES ไปใช้อย่างไรก็ได้ และ Rabbit Chip ไม่เข้าข่ายการใช้งานที่ชอบธรรม (Fair Used) เพราะจากข้อมูลการสอบสวนในศาลชั้นต้นเห็นได้ชัดเจนว่า Tengen สร้าง Rabbit Chip ได้เพราะใช้ข้อมูล Source Code ของ 10NES ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย จึงเห็นพ้องตามคำตัดสินของศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ Tengen หยุดการผลิต, ห้ามจำหน่ายและเรียกคืนตลับเกม NES ของตัวเองในตลาดทุกตลับกลับคืนทั้งหมด  

เป็นอันสิ้นสุดการต่อสู้ระหว่าง Tengen กับ Nintendo ที่ยาวนานกินเวลาร่วม 4 ปี  

     

To be continue in Part 4 End Aftermath  

ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่