'ศรี'ทนไม่ได้!ร้องกกต.สอบ'ธนาธร'การจูงใจ หลอกลวง แอบอ้าง กรณีโอนทรัพย์สินให้ trust ดูแล จี้ถอนสิทธิ์20ปี
19 มี.ค.62- ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยว่ากรณีที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวโอนทรัพย์สินไปให้กองทุน หรือ trust เป็นผู้ดูแล โดยแอบอ้างว่า เป็นนักการเมืองคนแรกที่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครมาบังคับ
ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นอย่างที่นายธนาธรได้นำเสนอ เพราะกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ การที่กฎหมายกำหนกว่าต้องโอนหุ้นให้กองทุนดูแล มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 และมีนักการเมือง 14-15 คนแล้ว ที่โอนหุ้นให้กองทุนดูแล ไม่ใช่นายธนาธร เป็นคนแรก และที่นายธนาธรทำ เพราะกฎหมายบังคับ ไม่ได้สมัครใจ ไม่ได้เป็นการสร้างบรรทัดฐานคนรุ่นใหม่ เพราะตามรัฐธรรมนูญปี 2560 หมวด 9 มาตรา 187 ที่กำหนดว่ารัฐมนตรี จะต้องไม่มีหุ้นส่วน หรือถือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนของบริษัท และต้องไม่เป็นลูกจ้างของผู้ใด และหากประสงจะได้รับประโยชน์ ก็ให้แจ้งต่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ทราบ และโอนหุ้นให้แก่นิติบุคคล ซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
“การที่คุณธนาธร ออกมาแถลงอวดอ้าง ความดีในเรื่องดังกล่าว เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 73 อนุ 5 ในเรื่องการจูงใจ หลอกลวง ให้เข้าใจ ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง เป็นการสร้างประเด็น เพื่อให้เกิดความนิยมในตัวคุณธนาธร มีเจตนาสร้างภาพลักษณ์ของตนเอง ให้ดูดีกว่านักการเมืองคนอื่นๆ เพื่อหวังผลทางการเมือง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ล่วงรู้ความจริงอาจหลงผิดไปเชื่อถ้อยแถลงของนายธนาธร โดยฐานความผิดตามมาตรา 73 ต้องจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับ 20,000 – 200,000 บาท และให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี” นายศรีสุวรรณ กล่าว.
https://www.thaipost.net/main/detail/31703
จบเห่!'ธีระชัย' ลากไส้'ธนาธร'Blind Trustใช้กับธุรกิจครอบครัวไม่ได้ กลายเป็นเกราะปกปิดเอื้อผลประโยชน์ทับซ้อน
19 มี.ค.62- ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเป็นประธานกลุ่ม ก.ล.ต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala “กรณีนายธนาธรโอนทรัพย์สินของตน 5,000 ล้านบาทเข้ากอง Blind Trust”ว่า
ขออธิบายเพิ่ม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ ว่าทำไมโครงสร้างนี้ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาประโยชน์ทับซ้อนได้จริง กรณีเป็นธุรกิจครอบครัว กรณีนักการเมืองที่โอนหุ้นในชื่อของตนเองในกิจการครอบครัว เช่น ประธานาธิบดีทรัมป์โอนหุ้นใน บริษัททรัมป์ ที่เดิมอยู่ในชื่อของตน เข้าไปในกอง Blind Trust นั้น ถึงแม้ว่า กติกากำหนดว่า ผู้บริหารกอง Blind Trust จะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องการลงทุนทรัพย์สินส่วนนี้แทนทรัมป์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติ ในฐานะผู้ถือหุ้น วันเดียวที่เขาจะมีอำนาจ ก็คือวันประชุมผู้ถือหุ้น คือจะออกเสียงอะไร ก็ไม่ต้องไปถามทรัมป์ ส่วนวันอื่น ไม่มีอำนาจอะไรเลย เขาอาจจะมีอำนาจมากขึ้น ถ้าหากผู้ถือหุ้นอื่นในครอบครัวเลือกให้เขาเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทแทนทรัมป์ แต่ก็ไม่มีกติกาใดที่บังคับเรื่องนี้ นอกจากนี้ ต่อให้เข้าไปเป็นกรรมการ ก็จะมีเพียงเสียงเดียวในคณะกรรมการเท่านั้น ส่วนในทางทฤษฎี ที่เขามีสิทธิที่จะขายหุ้นในบริษัททรัมป์ออกไป และเอาเงินที่ได้ไปลงทุนอื่นแทนนั้น ในทางปฏิบัติ ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น ดังนั้น กรณีที่ทรัพย์สินของนักการเมือง เป็นหุ้นในกิจการครอบครัว นอกจากไม่สามารถป้องกันประโยชน์ทับซ้อนได้จริงแล้ว ยังจะมีปัญหาอีกด้วย เนื่องจากมีภาพภายนอก เสมือนว่ามีเกราะป้องกัน นักการเมืองจึงอาจจะแอบส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้กิจการครอบครัวรู้ข้อมูลภายในก่อน และปรับตัวได้ก่อนคู่แข่ง รวมทั้งนักการเมืองอาจจะออกนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่กิจการครอบครัว โดยทำทีว่าตนเองไม่รู้ว่านโยบายจะมีผลออกมาเช่นนั้น ดังนั้น ในกรณีกิจการครอบครัว ป.ป.ช. จึงต้องคิดอ่าน กำหนดข้อบังคับให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกิจที่ละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะการทำธุรกรรมกับภาครัฐ และที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของรัฐ เพื่อให้สื่อมวลชนและภาคประชาชนติดตามป้องปรามประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง.
https://www.thaipost.net/main/detail/31705
คิดว่าฉลาด แต่ก็มีคนรู้ทันค่ะ
ต้องการอะไรกันแน่ค่ะ ...?
🔥🔥🔥มาลาริน/'ศรี'ทนไม่ได้!ร้องกกต.สอบ'ธนาธร'การจูงใจ หลอกลวง แอบอ้าง กรณีโอนทรัพย์สินให้ trust โดนผู้รู้ทันแฉหมดเปลือก
19 มี.ค.62- ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยว่ากรณีที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวโอนทรัพย์สินไปให้กองทุน หรือ trust เป็นผู้ดูแล โดยแอบอ้างว่า เป็นนักการเมืองคนแรกที่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครมาบังคับ
ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นอย่างที่นายธนาธรได้นำเสนอ เพราะกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ การที่กฎหมายกำหนกว่าต้องโอนหุ้นให้กองทุนดูแล มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 และมีนักการเมือง 14-15 คนแล้ว ที่โอนหุ้นให้กองทุนดูแล ไม่ใช่นายธนาธร เป็นคนแรก และที่นายธนาธรทำ เพราะกฎหมายบังคับ ไม่ได้สมัครใจ ไม่ได้เป็นการสร้างบรรทัดฐานคนรุ่นใหม่ เพราะตามรัฐธรรมนูญปี 2560 หมวด 9 มาตรา 187 ที่กำหนดว่ารัฐมนตรี จะต้องไม่มีหุ้นส่วน หรือถือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนของบริษัท และต้องไม่เป็นลูกจ้างของผู้ใด และหากประสงจะได้รับประโยชน์ ก็ให้แจ้งต่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ทราบ และโอนหุ้นให้แก่นิติบุคคล ซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
“การที่คุณธนาธร ออกมาแถลงอวดอ้าง ความดีในเรื่องดังกล่าว เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 73 อนุ 5 ในเรื่องการจูงใจ หลอกลวง ให้เข้าใจ ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง เป็นการสร้างประเด็น เพื่อให้เกิดความนิยมในตัวคุณธนาธร มีเจตนาสร้างภาพลักษณ์ของตนเอง ให้ดูดีกว่านักการเมืองคนอื่นๆ เพื่อหวังผลทางการเมือง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ล่วงรู้ความจริงอาจหลงผิดไปเชื่อถ้อยแถลงของนายธนาธร โดยฐานความผิดตามมาตรา 73 ต้องจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับ 20,000 – 200,000 บาท และให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี” นายศรีสุวรรณ กล่าว.
https://www.thaipost.net/main/detail/31703
จบเห่!'ธีระชัย' ลากไส้'ธนาธร'Blind Trustใช้กับธุรกิจครอบครัวไม่ได้ กลายเป็นเกราะปกปิดเอื้อผลประโยชน์ทับซ้อน
19 มี.ค.62- ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเป็นประธานกลุ่ม ก.ล.ต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala “กรณีนายธนาธรโอนทรัพย์สินของตน 5,000 ล้านบาทเข้ากอง Blind Trust”ว่า
ขออธิบายเพิ่ม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ ว่าทำไมโครงสร้างนี้ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาประโยชน์ทับซ้อนได้จริง กรณีเป็นธุรกิจครอบครัว กรณีนักการเมืองที่โอนหุ้นในชื่อของตนเองในกิจการครอบครัว เช่น ประธานาธิบดีทรัมป์โอนหุ้นใน บริษัททรัมป์ ที่เดิมอยู่ในชื่อของตน เข้าไปในกอง Blind Trust นั้น ถึงแม้ว่า กติกากำหนดว่า ผู้บริหารกอง Blind Trust จะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องการลงทุนทรัพย์สินส่วนนี้แทนทรัมป์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติ ในฐานะผู้ถือหุ้น วันเดียวที่เขาจะมีอำนาจ ก็คือวันประชุมผู้ถือหุ้น คือจะออกเสียงอะไร ก็ไม่ต้องไปถามทรัมป์ ส่วนวันอื่น ไม่มีอำนาจอะไรเลย เขาอาจจะมีอำนาจมากขึ้น ถ้าหากผู้ถือหุ้นอื่นในครอบครัวเลือกให้เขาเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทแทนทรัมป์ แต่ก็ไม่มีกติกาใดที่บังคับเรื่องนี้ นอกจากนี้ ต่อให้เข้าไปเป็นกรรมการ ก็จะมีเพียงเสียงเดียวในคณะกรรมการเท่านั้น ส่วนในทางทฤษฎี ที่เขามีสิทธิที่จะขายหุ้นในบริษัททรัมป์ออกไป และเอาเงินที่ได้ไปลงทุนอื่นแทนนั้น ในทางปฏิบัติ ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น ดังนั้น กรณีที่ทรัพย์สินของนักการเมือง เป็นหุ้นในกิจการครอบครัว นอกจากไม่สามารถป้องกันประโยชน์ทับซ้อนได้จริงแล้ว ยังจะมีปัญหาอีกด้วย เนื่องจากมีภาพภายนอก เสมือนว่ามีเกราะป้องกัน นักการเมืองจึงอาจจะแอบส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้กิจการครอบครัวรู้ข้อมูลภายในก่อน และปรับตัวได้ก่อนคู่แข่ง รวมทั้งนักการเมืองอาจจะออกนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่กิจการครอบครัว โดยทำทีว่าตนเองไม่รู้ว่านโยบายจะมีผลออกมาเช่นนั้น ดังนั้น ในกรณีกิจการครอบครัว ป.ป.ช. จึงต้องคิดอ่าน กำหนดข้อบังคับให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกิจที่ละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะการทำธุรกรรมกับภาครัฐ และที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของรัฐ เพื่อให้สื่อมวลชนและภาคประชาชนติดตามป้องปรามประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง.
https://www.thaipost.net/main/detail/31705
คิดว่าฉลาด แต่ก็มีคนรู้ทันค่ะ