ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง บทละครที่ตีแผ่หัวใจของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยได้อย่างสมจริง

  บทละครเมื่อคืนดีมากจริงๆ  คนเขียนบทเหมือนนั่งในหัวใจทั้งคนรักษาทั้งผู้ป่วย   ไม่ว่าจะเป็น  

ทองเอก   หมอยาแห่งท่าโฉลง   ซึ่งเป็นคนธรรมดาๆ   กลัวได้ เสียใจเป็น   ท้อแท้หมดกำลังใจ    แต่ก็ฮึดสู้ขึ้นใหม่  ด้วยกำลังใจรอบตัวและความเข้มแข็งที่อยู่ลึกๆข้างใน

มาริโอ้ เล่นบทนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ   ทั้งจิตวิญญาณความเป็นแพทย์และ  มนุษย์ธรรมดาๆที่มีอารมณ์ ความรู้สึก

ฉากสะเทือนใจในเรื่อง ที่เราประทับใจด้วยความรู้สึกสมจริง
เริ่มตั้งแต่ 

 เคสเด็กตาย  เด็กที่อาการเหมือนดีขึ้นแล้วตายในตอนเช้า    ทำให้ ทองเอก และชบา  เกิดความรู้สึกว่าต้องสู้กับโรค ต้องเอาชนะให้ได้

ต่อมา   ฉากที่คนไข้จับเท้าทองเอก  และถามว่า  ก็กินยาตามที่บอก  ฉันจะหายมั้ย    ทองเอกไม่ตอบ  เดินจากไปร้องไห้

นี่ก็เหตุการณ์ชีวิตจริงอีก   หมอต้องเจอคำถามแบบนี้จากคนไข้และหมอจะตอบอย่างไร   

ฉากต่อเนื่อง   ทองเอกและชบา   ฉากนี้ เราชอบมาก  ทองเอกซึ่งท้อแล้วเพราะรักษาคนไข้แล้วไม่หาย  นั่งร้องไห้  ชบาซึ่งบุคลิกร่าเริงก็ไปเชียร์อัพ  พระเอก   ให้ฮึ้บๆ  แล้วสู้ต่อ   ยิ้มให้แบบอ่อนหวาน   จนพระเอกดีขึ้น   แต่จากนั้น  ตัวเองร้องไห้เองด้วยความกลัว      แกร่งกว่าหมอ   คือ  เมียหมอ   และแกร่งที่สุด  คือ   เมียหมอที่เป็น  หมอ  (ชบาเป็นนักศึกษาแพทย์)     ละคร  แสดงให้เห็นถึง  การซัพพอร์ตที่สำคัญมาก จาก คู่ชีวิต   สามีหรือภรรยาของแพทย์   ต้องเข้าใจงาน และต้องเชียร์อัพได้   แน่นอน  คู่ครองเองก็แย่พอกัน  แต่ไม่มีใครปลอบ ต้องปลอบตัวเอง.

สิ่งที่กดดันที่สุด  คือ ชบาป่วย    แต่ทองเอกยังต้องดูแลผู้ป่วยอื่น  ไม่สามารถทำหน้าที่สามีได้เต็มที่     แถมตัวเองเป็นหมอ  รู้ดีอยู่แก่ใจว่า ภรรยา คงไม่รอด  แต่ก็ต้องให้กำลังใจภรรยาในฐานะสามี  ทั้งๆที่ตัวเองอยากร้องไห้  แต่ก็ต้องคุยเรื่องดีๆให้ฟัง  เพื่อให้ภรรยาที่กำลังป่วยมีกำลังใจที่ดี และมีความสุขที่สุดในช่วงเวลาที่มีอยู่

ในมุมของผู้ป่วย     ทำไมชบาถึงไม่กินยา   จริงๆคือ  ชบากินไปแล้ว   ทองเอกเอามาให้ซ้ำ  แต่ยานั้นขาดแคลน   ชบาจึงสละยาในส่วนนั้นให้คนไข้ไป    

ครั้งที่สองที่ไม่กินยา      ทองเอกรู้ว่าชบากำลังจะตาย  (เขารู้สึกในตอนนั้นแล้วว่า  เขารักษาไม่ได้)  ชบาเองก็รู้ตัว  ในความเป็นคนไข้และเมีย   คนไข้ อยากให้ ญาติ  คุยเรื่องอื่น  เอาอกเอาใจ นอกจากบังคับให้กินยา

ชบาเป็นตัวแทนของคนไข้   ที่ กำลังจะตาย   และเป็นคนเข้มแข็งเดิม    การที่คนไข้ดูเหมือนเข้มแข็ง ไม่ใช่ว่าไม่ต้องการกำลังใจ  เขาต้องการกำลังใจไม่ต่างจากคนไข้ที่ตีโพยตีพาย   ส่วนหนึ่ง  ไม่ต้องการให้คนที่รักต้องเป็นห่วงกังวลกับตนเอง   จึงต้องยิ้ม  ตลกกับญาติ ที่ไปร้องไห้ใส่     เราคิดว่า   ผู้ป่วยลักษณะนี้  คนดูแลใกล้ชิด  ต้องเข้มแข็งกว่า  และเปิดโอกาสให้   ตัวคนไข้ได้แสดงความรู้สึกหรือความต้องการออกมา

ชบาดีขึ้น และหายด้วยเหตุผลที่เมคเซนส์ทั้งปวง      เป็นคนไข้ที่ร่างกายแข็งแรงมาก่อน   เริ่มรักษาเร็ว   กำลังใจดีมากซึ่งได้จากคนรอบข้าง  เจ้าตัวสุขภาพจิตดี   มีสามีที่รัก  มีเพื่อนและพี่น้องที่ดี   ชบาแยกจากผู้ป่วยคนอื่น  ไม่รับเชื้อเพิ่ม   จิตใจไม่หดหู่จากการที่เห็นคนอื่นตายไป  (เราว่ามีผลอยู่บ้าง)   ยาที่ทองเอกคิดขึ้นมา  คงถูกโรคสักขนาน     อยากให้ละครเฉลยตรงนี้    เพื่อให้ละครในพาร์ทการรักษาสมบูรณ์

คหสต. จขกท.
คนเขียนบทละคร จิตใจโหดร้ายพอควร   ปกติเราจะเคยดูหนังที่ตัวเอก เจอ ภาวะวิกฤต  ต้องไปทำมิชชั่นอะไรสักอย่างเพื่อภรรยาที่กำลังจะตาย    แบบนั้นยังให้คนลุ้นไปได้   เรื่องจะไม่เศร้ามาก  ออกแนวตื่นเต้น   แต่จะโอเว่อร์เล็กๆ

ถ้าเขียนให้เป็นละครแบบ  ละค้อน ละคร  หรือหนัง   ทองเอกต้องไปตามหาบัวหิมะที่เขาคุนลุ้น    เพื่อรักษาเมียที่กำลังจะตายและชาวบ้านที่ป่วย    หรือ   ทองเอกต้องสู้กับโรค  จน ทีมหมอจากวังมาถึง  แล้วเอาตำรับยาวิสัมพญา  มาช่วยชาวบ้านและภรรยา

แต่   ไม่ค่ะ    คนเขียนบท  เขียนบทละคร เหมือ เอาชีวิตจริงมาเขียน    ชีวิตจริง คือ  ไม่มีใครมาช่วย    อตหิ อตโนนาโถ  ใช้มสมุนไพรรักษา    ซึ่ง   สมุนไพรก็ใช้ได้  แต่ออกฤทธิ์ช้า    คนไข้ที่อาหารหนัก  หรือร่างกายไม่แข็งแรง  ก็ตายไปก่อน     จะเขียนให้เว่อร์ก็ไม่เขียน    จขกท.  แอบไปสะสมพลังคอสมิคมาแล้ว
ดูไปนี่คิดว่านางเอกตายแน่   (คิดแบบทองเอกนั่นแหละ )   ทองเอกก็คิดว่าชบาไม่รอดเหมือนกัน

ถ้าชบาตายจริงๆ   จะระเบิดไอจีผู้จัดทิ้งด้วยพลังกัปตันมาร์เวลเสียเลย     

ทั้งนี้ทั้งนั้น   ด้วยความเป็นละคร   ชบาจึงหาย  ทองเอกจึงไม่ตาย

ชีวิตจริง   ทองเอกตายคนแรกเลย  เพราะติดโรคจากคนไข้  ชบาตายตามเพราะติดโรคจากทองเอก หรือติดทั้งคู่

ดูละครแล้ว    เข้าใจทั้งคนรักษา ทั้งผู้ป่วย   เป็นหมอ   ทะเลาะกับโรค   ไม่ทะเลาะกับคน    เป็นคนไข้  ต้องมีกำลังใจที่ดี  เป็นญาติ  ก็ช่วยประคับประคองจิตใจให้กำลังใจผู้ป่วย  ถ้าต่างฝ่ายเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน   ก็จะเกิดความสัมพันธ์ที่ดี  ประโยชน์ทั้งหมดก็เกิดกับคนไข้นั่นเอง

ปล.   ถึง ตัวละคร อิผ่อง ตัวละครที่เรารำคาญมาก   รู้อยู่แก่ใจว่าท้อง   และก็แพ้ท้อง   ก็ยังจะไปเรือนทองเอกซึ่งล้นไปด้วยคนไข้โรคระบาด    อ้างว่าฉันไม่สบาย   ฉันกลัวจะติดโรค   ไม่เข้าใจว่านางอมอะไรถึงไม่บอกผัวกับแม่ผัวว่าท้อง
ผ่อง  ก็เป็นตัวละครที่สะท้อนถึงคนไข้ที่มีจริงๆ   แบบประเภทที่ไปห้องฉุกเฉินด้วยอาการที่ไม่ฉุกเฉิน     ในขณะที่กำลังมีอุบัติเหตุหมู่       แน่นอนว่า ผ่องเป็นคนดี   และเขาก็มีสิทธิ์ที่จะไปตรวจรักษา
แต่ดิฉันอยากเบิร์ดกะโหลกนาง   จุดนี้ขอโทษแฟนๆแม่ผ่องเล็กน้อย

บทละครตอนนี้รายละเอียดเยอะมาก   ชื่นชมคนเขียนบทจริงๆ  นานๆจะมีมาสักที    ไม่ใช่แค่แสดงถึงการทำงาน   แต่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของทั้งสองฝ่าย   โดยที่ไม่ได้อวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง     ชื่นชมในความเรียล   
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่