By เหมียวศรัทธา -
02/03/2019
ในช่วงยุคกลางของยุโรปคนเรามีความเชื่อว่าการที่จะทำให้คนผิดพ้นจากบาปที่ด้วยเองทำได้นั้น จะต้องมีการชดใช้ผ่านความทรมาน หรือความเจ็บปวดเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแลกที่ในสมัยนั้นคนเราจะมีเครื่องทรมานอยู่เป็นจำนวนมาก
แต่ในบางครั้งโทษที่คนเรากระทำก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ยิ่งใหญ่มากจนต้องลงโทษด้วยเครื่องทรมานใหญ่โตเช่นกัน เพราะการกระทำอย่างการนินทาว่าร้ายคนนิดๆ หน่อยๆ นั้นจะถูกลงโทษด้วยการนาบด้วยเหล็กร้อนมันก็อาจจะดูเกินไปหน่อย
นี่คือจุดที่อุปกรณ์ลงโทษอย่าง “Scold’s bridle” เข้ามามีบทบาทในสังคม เพราะนี่คืออุปกรณ์หน้ากากเหล็กที่ออกมาแบบให้ใช้งานกับผู้หญิง (โดยเฉพาะเหล่าภรรยา) ที่มีนิสัยขี้นินทา จู้จี้ ชอบหาเรื่องเพื่อนบ้าน หรือขี้โกหก โดยมีผู้ลงทัณฑ์เป็นสามีของเธอเอง (ตามภาษาสังคมสมัยก่อนที่ผู้ชายเป็นใหญ่)
.
อุปกรณ์ชิ้นนี้อาจจะมีรูปร่างแตกต่างกันไปอยู่บ้าง แต่มักมีจุดร่วมอยู่ที่ทำจากเหล็กมีหน้าตาแปลกประหลาด และมักมีส่วนปากเป็นหนามแหลมคม หรือเหล็กที่กดลงบนปากและลิ้น ซึ่งออกแบบมาไม่ให้ผู้ใช้สามารถขยับปากหรือพูดออกมาได้นั่นเอง
หากจะว่ากันตามตรงแล้ว เครื่องมือชิ้นนี้เน้นไปที่การทำให้คนทำผิดอับอายมากกว่าที่จะทำให้ร่างกายบาดเจ็บ อ้างอิงจากรูปแบบอุปกรณ์และภาพการใช้งานในสมัยก่อนที่มักเป็นการใช้งานต่อหน้าสาธารณชน
.
ถึงอย่างนั้นก็ตามหากโทษของผู้ทำความผิดหนักมากๆ พวกเธอก็อาจจะโดนกล่าวหาว่าเป็นแม่มด และถูกทำร้ายร่างกายในระหว่างใส่อุปกรณ์ชิ้นนี้ด้วย
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของการใช้งาน Scold’s Bridle นั้น ถูกบันทึกไว้ในสกอตแลนด์เมื่อปี 1567 และแม้ว่าจะบอกว่าใช้กับผู้หญิงเป็นหลักก็ตาม แต่บางครั้งเครื่องมือชิ้นนี้ก็ถูกใช้กับผู้ชายเช่นกัน
นับว่าโชคดีมากที่ในตอนที่เหล่าผู้แสวงบุญเดินทางไปทวีปอเมริกาในศตวรรษที่ 17 พวกเข้าไม่ได้นำเอาเครื่องมืออย่าง Scold’s Bridle ไปด้วย และภายในยุโรปเองเครื่องมือเหล่านี้ก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมไปตามกาลเวลา ทิ้งไว้เพียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ชมกันก็เท่านั้น
ที่มา vintag และ thevintagenews
CatDumb
ย้อนรอย “Scold’s Bridle” อุปกรณ์ลงโทษผู้หญิงปากไม่ดี แห่งศตวรรษที่ 16
02/03/2019
ในช่วงยุคกลางของยุโรปคนเรามีความเชื่อว่าการที่จะทำให้คนผิดพ้นจากบาปที่ด้วยเองทำได้นั้น จะต้องมีการชดใช้ผ่านความทรมาน หรือความเจ็บปวดเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแลกที่ในสมัยนั้นคนเราจะมีเครื่องทรมานอยู่เป็นจำนวนมาก
แต่ในบางครั้งโทษที่คนเรากระทำก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ยิ่งใหญ่มากจนต้องลงโทษด้วยเครื่องทรมานใหญ่โตเช่นกัน เพราะการกระทำอย่างการนินทาว่าร้ายคนนิดๆ หน่อยๆ นั้นจะถูกลงโทษด้วยการนาบด้วยเหล็กร้อนมันก็อาจจะดูเกินไปหน่อย
นี่คือจุดที่อุปกรณ์ลงโทษอย่าง “Scold’s bridle” เข้ามามีบทบาทในสังคม เพราะนี่คืออุปกรณ์หน้ากากเหล็กที่ออกมาแบบให้ใช้งานกับผู้หญิง (โดยเฉพาะเหล่าภรรยา) ที่มีนิสัยขี้นินทา จู้จี้ ชอบหาเรื่องเพื่อนบ้าน หรือขี้โกหก โดยมีผู้ลงทัณฑ์เป็นสามีของเธอเอง (ตามภาษาสังคมสมัยก่อนที่ผู้ชายเป็นใหญ่)
.
อุปกรณ์ชิ้นนี้อาจจะมีรูปร่างแตกต่างกันไปอยู่บ้าง แต่มักมีจุดร่วมอยู่ที่ทำจากเหล็กมีหน้าตาแปลกประหลาด และมักมีส่วนปากเป็นหนามแหลมคม หรือเหล็กที่กดลงบนปากและลิ้น ซึ่งออกแบบมาไม่ให้ผู้ใช้สามารถขยับปากหรือพูดออกมาได้นั่นเอง
หากจะว่ากันตามตรงแล้ว เครื่องมือชิ้นนี้เน้นไปที่การทำให้คนทำผิดอับอายมากกว่าที่จะทำให้ร่างกายบาดเจ็บ อ้างอิงจากรูปแบบอุปกรณ์และภาพการใช้งานในสมัยก่อนที่มักเป็นการใช้งานต่อหน้าสาธารณชน
.
ถึงอย่างนั้นก็ตามหากโทษของผู้ทำความผิดหนักมากๆ พวกเธอก็อาจจะโดนกล่าวหาว่าเป็นแม่มด และถูกทำร้ายร่างกายในระหว่างใส่อุปกรณ์ชิ้นนี้ด้วย
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของการใช้งาน Scold’s Bridle นั้น ถูกบันทึกไว้ในสกอตแลนด์เมื่อปี 1567 และแม้ว่าจะบอกว่าใช้กับผู้หญิงเป็นหลักก็ตาม แต่บางครั้งเครื่องมือชิ้นนี้ก็ถูกใช้กับผู้ชายเช่นกัน
นับว่าโชคดีมากที่ในตอนที่เหล่าผู้แสวงบุญเดินทางไปทวีปอเมริกาในศตวรรษที่ 17 พวกเข้าไม่ได้นำเอาเครื่องมืออย่าง Scold’s Bridle ไปด้วย และภายในยุโรปเองเครื่องมือเหล่านี้ก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมไปตามกาลเวลา ทิ้งไว้เพียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ชมกันก็เท่านั้น
ที่มา vintag และ thevintagenews