สบส.ตรวจสอบ รพ.เอกชนย่านรามอินทรา หลังผู้ป่วยร้องคิดค่ารักษาท้องเสียแพงเกินจริง
3 มี.ค. 2562
สบส.เร่งตรวจสอบ รพ.เอกชน ย่านรามอินทรา หลังผู้ป่วยร้องคิดค่ารักษาท้องเสียแพงถึง 3 หมื่นบาท เช็กติดป้ายราคาหรือไม่ คิดค่ารักษาเกินป้ายหรือไม่ หมอวินิจฉัยโรคตามวิชาชีพหรือไม่
จากกรณีข่าวผู้ป่วยรายหนึ่งร้องเรียนผ่านสื่อว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการถูก รพ.เอกชน ย่านรามอินทรา เรียกเก็บค่ารักษาอาการท้องเสียแพงเกินจริงกว่า 30,000 บาท นั้น
วันนี้ (3 มี.ค.) นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ตนได้สั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และกองกฎหมาย ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง
รพ.เอกชนที่ถูกร้องเรียน โดยตรวจสอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.โรงพยาบาลมีการแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆ และสิทธิของผู้ป่วยให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ และจัดให้มีจุดสอบถามอัตราค่าบริการหรือไม่ 2.โรงพยาบาลเก็บค่ารักษาเกินกว่าที่แสดงหรือไม่ และ 3.แพทย์ผู้ให้บริการ มีการวินิจฉัยโรคเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่าย
"หากตรวจพบว่าสถานพยาบาลไม่ติดป้ายแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆและสิทธิของผู้ป่วย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากเรียกเก็บค่ารักษาเกินอัตราที่แสดง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส. กล่าวว่า ปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาลนั้น บ่อยครั้งเกิดเพราะขาดการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับตัวผู้ป่วยหรือญาติ ดังนั้น จึงฝากถึงผู้ประกอบกิจการ และผู้ดำเนินการสถานพยาบาลเอกชนทุกท่านขอให้มีการกำชับกับเจ้าหน้าที่ว่า ทุกครั้งก่อนจะทำการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วย หรือญาติจะต้องสื่อสารทำความเข้าใจในอัตราค่ารักษาพยาบาลให้ชัดเจน มีการชี้แจงรายละเอียดอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้ง เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถตรวจสอบหลักฐานการรักษาพยาบาลในกรณีที่มีข้อสงสัยในอัตราค่ารักษาพยาบาล หรือบริการอื่นๆ เชื่อว่าจะช่วยลดความเข้าใจผิด หรือข้อเคลือบแคลงต่ออัตราค่ารักษาพยาบาลได้
ทั้งนี้ หากพบเห็นสถานพยาบาลเอกชนแห่งใดในเขตกรุงเทพฯ ไม่จัดแสดงค่าบริการให้ชัดเจน หรือเรียกเก็บค่ารักษาเกินอัตราที่แสดง สามารถแจ้งได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กรม สบส.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2193-7000 ต่อ 18618 ในวันและเวลาราชการ กรม สบส.จะเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
https://mgronline.com/qol/detail/9620000021535
สบส.ตรวจสอบ รพ.เอกชนย่านรามอินทรา หลังผู้ป่วยร้องคิดค่ารักษาท้องเสียแพงเกินจริง
3 มี.ค. 2562
สบส.เร่งตรวจสอบ รพ.เอกชน ย่านรามอินทรา หลังผู้ป่วยร้องคิดค่ารักษาท้องเสียแพงถึง 3 หมื่นบาท เช็กติดป้ายราคาหรือไม่ คิดค่ารักษาเกินป้ายหรือไม่ หมอวินิจฉัยโรคตามวิชาชีพหรือไม่
จากกรณีข่าวผู้ป่วยรายหนึ่งร้องเรียนผ่านสื่อว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการถูก รพ.เอกชน ย่านรามอินทรา เรียกเก็บค่ารักษาอาการท้องเสียแพงเกินจริงกว่า 30,000 บาท นั้น
วันนี้ (3 มี.ค.) นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ตนได้สั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และกองกฎหมาย ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง
รพ.เอกชนที่ถูกร้องเรียน โดยตรวจสอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.โรงพยาบาลมีการแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆ และสิทธิของผู้ป่วยให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ และจัดให้มีจุดสอบถามอัตราค่าบริการหรือไม่ 2.โรงพยาบาลเก็บค่ารักษาเกินกว่าที่แสดงหรือไม่ และ 3.แพทย์ผู้ให้บริการ มีการวินิจฉัยโรคเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่าย
"หากตรวจพบว่าสถานพยาบาลไม่ติดป้ายแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆและสิทธิของผู้ป่วย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากเรียกเก็บค่ารักษาเกินอัตราที่แสดง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส. กล่าวว่า ปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาลนั้น บ่อยครั้งเกิดเพราะขาดการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับตัวผู้ป่วยหรือญาติ ดังนั้น จึงฝากถึงผู้ประกอบกิจการ และผู้ดำเนินการสถานพยาบาลเอกชนทุกท่านขอให้มีการกำชับกับเจ้าหน้าที่ว่า ทุกครั้งก่อนจะทำการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วย หรือญาติจะต้องสื่อสารทำความเข้าใจในอัตราค่ารักษาพยาบาลให้ชัดเจน มีการชี้แจงรายละเอียดอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้ง เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถตรวจสอบหลักฐานการรักษาพยาบาลในกรณีที่มีข้อสงสัยในอัตราค่ารักษาพยาบาล หรือบริการอื่นๆ เชื่อว่าจะช่วยลดความเข้าใจผิด หรือข้อเคลือบแคลงต่ออัตราค่ารักษาพยาบาลได้
ทั้งนี้ หากพบเห็นสถานพยาบาลเอกชนแห่งใดในเขตกรุงเทพฯ ไม่จัดแสดงค่าบริการให้ชัดเจน หรือเรียกเก็บค่ารักษาเกินอัตราที่แสดง สามารถแจ้งได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กรม สบส.หมายเลขโทรศัพท์ 0-2193-7000 ต่อ 18618 ในวันและเวลาราชการ กรม สบส.จะเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
https://mgronline.com/qol/detail/9620000021535