อนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่ใช่รวยทางภายนอก แต่คือ ทรัพย์ในตน

[๗๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย
ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดพ่อมหาจำเริญ พ่อ
จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาท
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้ว
จงกราบเท้าท่านพระสารีบุตรตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระ-
*สารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และเรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะ
แล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถ-
*บิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๗๒๑] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ต่อนั้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่
อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
จึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทน
ทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมา
อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความ
อนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์
ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนุ่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์
เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่
เขาแต่งตั้งไว้ ฯ
[๗๒๒] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า
ดูกรคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏ
ความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ ฯ
อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว
ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่
ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
[๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อม
ของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผมจึงทน
ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏ
ความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
[๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะกระ
ผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน
ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมี
ความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
[๗๒๕] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของ
กระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอันคมคว้าน
ท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก
กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
[๗๒๖] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผมเหลือ
ประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะป้องกันตัว
ต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้นกระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไป
ไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่
สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
[๗๒๗] สา. ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่าง
นี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสต
จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัยฆานะ
จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัยชิวหา
จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกาย
จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโน
จักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๒๘] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียงจัก
ไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่น
จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรสจัก
ไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่อาศัย
โผฏฐัพพะจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัย
ธรรมารมณ์จักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๒๙] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่
อาศัยโสตวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ และวิญญาณที่
อาศัยฆานวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ และวิญญาณที่
อาศัยชิวหาวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย
กายวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย
มโนวิญญาณจักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๐] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา
จักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย
โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย
ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย
ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย
กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย
มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๑] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา
จักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส
จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสและวิญญาณ
ที่อาศัยเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส และ
วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส และ
วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่กายสัมผัส และ
วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส และ
วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๒] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอาโปธาตุ และวิญญาณที่อาศัย
อาโปธาตุจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ และวิญญาณที่อาศัย
เตโชธาตุจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวาโยธาตุ และวิญญาณที่อาศัย
วาโยธาตุจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ และวิญญาณที่อาศัย
อากาสธาตุจักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๓] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา
จักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา และวิญญาณที่อาศัย
เวทนาจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา และวิญญาณที่อาศัย
สัญญาจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร และวิญญาณที่อาศัย
สังขารจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย
วิญญาณจักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๔] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา
จักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณัญจายตนฌาน และวิญญาณ
ที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากิญจัญญายตนฌาน และวิญญาณ
ที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และ
วิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๕] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา
จักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัย
โลกหน้าจักไม่มีแก่เรา
ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๖] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
อารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วย
ใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นจักไม่มีแก่
เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ
[๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวแล้วอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดี
ร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้
ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ ฯ
อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่
ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับ
ธรรมีกถาเห็นปานนี้ ฯ
อา. ดูกรคฤหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว
แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต ฯ
อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จง
แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตา
น้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ ฯ
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิก
คฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ
[๗๓๘] ต่อนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเมื่อท่านพระสารีบุตรและท่าน
พระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน ก็ได้ทำกาลกิริยาเข้าถึงชั้นดุสิตแล ครั้งนั้น ล่วง
ปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีรัศมีงามส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ยืน ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาเหล่านี้ว่า
พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อัน
พระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑
วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร
หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็ง
เห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะ
บริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อม
บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง
ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ
อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ต่อนั้น
อนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยจึงถวายอภิวาทพระผู้มี
พระ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่