... ระยะเวลาที่ผ่านมานั้น สังเกตได้ว่ามีการตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับเรื่อง " โรคซึมเศร้า " เข้ามากันมาก
โดยเฉพาะในห้องสวนลุมพินี ซึ่งเป็นการถามสำหรับทั้งตนเอง หรือคนใกล้ตัว
ประเด็นที่รวบรวมได้มีตั้งแต่...
1. ความไม่แน่ใจว่าตนเอง หรือคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ จะสังเกตได้อย่างไร
2. เมื่อเป็นแล้ว จะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องปฏิบีติตัวอย่างไร
3. หากคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า จะมีวิธีแนะนำเขาได้อย่างไร
หรือจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถชักจูงให้ไปพบแพทย์ได้
... จขกท.จึงได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจาก...
https://www.hfocus.org/ มาเท่าที่จะทำได้
โดยเรียงลำดับบทความไว้ตามลำดับเวลาและปีพ.ศ.ของบทความ
เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป...
... หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ ก็สามารถแบ่งปันได้เต็มที่ครับ...
...อย่างไรก็ดี..การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรคนี้ เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยมากกว่าการอ่านบทความอย่างเดียว...
ซึ่งหากมีแพทย์ผู้เชียวชาญทางด้านนี้ได้ผ่านตากระทู้นี้ ก็ขอเชิญชวนให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจเพิ่มเติมตามสมควรครับ...
1. " พบคนไทยฆ่าตัวตายปีละ 4 พันคน เหตุหลักซึมเศร้า "
ที่มา :
https://www.hfocus.org/content/2016/12/13226
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ" พบคนไทยฆ่าตัวตายปีละ 4 พันคน เหตุหลักซึมเศร้า "
Fri, 2016-12-30 13:27 -- hfocus
สถิติปี 58 พบคนไทยฆ่าตัวตายปีละ 4 พันคน กว่า 3 พันเป็นเพศชายวัยทำงาน สาเหตุหลักจากโรคซึมเศร้าเรื้อรัง เข้าไม่ถึงการรักษา ขณะที่คนรอบข้างมองเป็นเพียงการเรียกร้องความสนใจ แนะดึงวัด ชุมชน ร่วมสร้างพื้นที่กลางแก้ปัญหา
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าในปี 2558 พบคนไทยฆ่าตัวตายทั้งสิ้น 4,205 ราย ในจำนวนนี้เป็นเพศชาย 3,366 คน เพศหญิง 839 คน โดยช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคืออายุระหว่าง 30-39 ปี ซึ่งนับเป็นช่วงวัยแห่งการสร้างเนื้อสร้างตัว โดยเฉพาะเพศชายที่ส่วนใหญ่รับบทหนักในฐานะหัวหน้าครอบครัว
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ในงานเสวนาเรื่อง “เหลียวหลัง...มองไปข้างหน้าต่อการรับมือปัญหาฆ่าตัวตาย” จัดขึ้นภายในลานสมัชชาสุขภาพ ส่วนหนึ่งของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมีหลายภาคส่วนให้ความสนใจเข้าร่วมหารือแลกเปลี่ยนหาทางออกในประเด็นดั<b>งกล่าว</b>
นางอรพิน ยอดกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวถึงสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตายว่า ส่วนใหญ่เกิดเกิดจากโรคซึมเศร้า ซึ่งเรื้อรังมาจากปัญหาความเครียดที่พ่วงมากับสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่รุมเร้า โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านมาจึงมักเห็นข่าวเกษตรกร ชาวนา ฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา ส่วนใหญ่จะใช้วิธีผูกคอตายรองลงมาคือรับประทานยาพาราเซตามอลจนเกินขนาด และดื่มสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
“เกษตรกรนับเป็นกลุ่มประชากรที่เปราะบางทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและความเจ็บป่วย โดยเฉพาะปัญหาความเจ็บป่วยทางจิต อย่างโรคซึมเศร้า ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรฆ่าตัวตายไปแล้วไม่ต่ำกว่า 10 คน เกิดขึ้นช่วงเดียวกับปัญหาราคาข้าวตกต่ำ” นางอรพินกล่าว
กระนั้นก็ตามไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถรักษาชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นเอาไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นคนในครอบครัว เนื่องจากโดยปกติแล้วเมื่อคนกำลังจะตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเองมักจะส่งสัญาญบางอย่างให้คนรอบข้างเห็น เป็นการขอความช่วยเหลือ
เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย กินมากเกินไป คือ สัญญาณเตือนปลิดชีวิต
ข้อสังเกตแรกจากผู้เชี่ยวชาญอย่างนางอรพินแนะนำว่า สิ่งแรกที่สังเกตได้ง่ายคือ พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไม่ว่าจะกินมากหรือน้อยจนเกินพอดีก็ตาม หลายครั้งที่ครอบครัวไม่เอะใจและคิดไปว่าเป็นเพียงความเครียดธรรมดา หรือในบางกรณีที่ผู้ป่วยกรีดร้องขึ้นมา แล้วกลับมาอารมณ์ดีอย่างทันที กลับถูกครอบครัวมองว่าเป็นเรื่องของการเรียกร้องความสนใจ สุดท้ายได้รับการรักษา ขณะที่ครอบครัวกลับไม่เหลียวแล
“ใครจะรู้ว่าเพียงแค่คำพูดสั้นกระชับเรียบง่ายอย่าง ‘ให้ไปตายซะ’ จะกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายให้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย หลายครั้งที่ผู้ป่วยส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง แต่กลับถูกมองว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจจากคนในครอบครัว ซึ่งกว่าจะรู้ ผู้ป่วยก็ตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเองไปเสียแล้ว” อรพินกล่าว
สำหรับกรณีที่รู้ว่าคนในครอบครัวส่งสัญาณเตือนขอความช่วยเหลือ กระนั้นอุปสรรคในเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยในชนบทส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการรักษาทางจิตเวช หรือได้รับการบำบัด เนื่องจากสถานพยาบาลเฉพาะทางยังมีอยู่อย่างจำกัดเพียงในบางจังหวัด และส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่เมือง ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยได้ในยามไม่ถึงมือหมอ คือ การให้ชุมชนมีส่วนช่วยในการรักษา เพราะอย่างไรเสีย ท้ายที่สุดเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลก็ต้องกลับมาอยู่ร่วมกับชุมชน
แนะดึงชุมชน วัด สร้างพื้นที่กลางแลกเปลี่ยนปัญหา
พระปลัดมานับ ปภสฺสโรฺ เจ้าอาวาสวัดกลางวังน้ำเขียว ตั้งข้อสังเกตต่อปัญหาการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้นว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แต่เดิมที่หลายชุมชนมีวัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจยามเกิดปัญหาและไม่รู้จะหันหน้าเข้าหาใคร แต่ปัจจุบันพบว่า วัด เป็นเพียงแค่ศาสนสถานทางพิธีกรรมเท่านั้น ขณะที่พระธรรมคำสอนกับหลุดลอยไปจากจิตใจ ดังนั้นเมื่อไม่มีที่พึ่งทางใจ หลายคนจึงตัดสินใจหาทางออกด้วยการจบชีวิตตัวเอง
“จากเดิมที่วัดเคยเป็นที่พึ่งทางใจกลับกลายเป็นเพียงศาสถานธรรมดา ผลที่ตามมาคือเมื่อเกิดปัญหาชีวิตก็ไม่รู้จะหันหน้าไม่พึ่งใคร สุดท้ายลงเอยด้วยการฆ่าตัวตาย” พระปลัดมานับกล่าว
พระปลัดมานับเสนอทางออกด้วยการให้ชุมชนหันกลับไปใช้วัดเป็นศูนย์กลางทางจิตใจเช่นในอดีตที่ผ่านมา และที่สำคัญ วัด ยังเป็นแหล่งรวมของคนในชุมชนทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นโอกาสที่จะใช้สร้างพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยนปัญหาของแต่ละครอบครัวที่มีปัญหาคล้ายกันได้เข้ามาเจอกัน และร่วมแลกเปลี่ยนทางรักษาในที่สุด
2. " ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ "
ที่มา :
https://www.hfocus.org/content/2017/02/13432
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ" ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ "
Sat, 2017-02-11 13:55 -- hfocus
ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงหรือพิการซึ่งประสบความยากลำบากในการเข้ารับบริการสาธารณสุข บุคคลกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าผู้สูงอายุทั่วไป ภาวะซึมเศร้านั้นมีโอกาสพัฒนาไปเป็น “โรคซึมเศร้า”ได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การทำร้ายตนเอง ซึ่งผู้ดูแลจำต้องตระหนักถึงภาวะอันตรายดังกล่าว
หากจะทำความรู้จักกับภาวะซึมเศร้าอย่างเข้าใจนั้น จะพบว่าภาวะซึมเศร้าคือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง อาการหลักๆ คือผู้สูงอายุจะรู้สึกเบื่อหน่ายหรือเศร้าหรือทั้งสองอย่าง โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการกินการนอน เรี่ยวแรง สมาธิ รวมถึงความรู้สึกที่มีต่อตัวเองร่วมด้วย การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ถ้าเป็นไม่มากนักอาจเข้าข่าย “ภาวะซึมเศร้า” แต่หากมีอาการมากและกินระยะเวลานานก็สามารถพัฒนากลายเป็น “โรคซึมเศร้า” ซึ่งจะทำให้ไม่มีความสุขในชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ไม่ดีเหมือนเดิม และบางรายที่รู้สึกท้อแท้หรือหมดหวัง อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
สำหรับประเทศไทย จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในปี พ.ศ.2556 พบว่ามีผู้สูงอายุที่เข้าข่ายมีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 33 แต่ผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าจริงๆ มีประมาณร้อยละ 6 รายงานของ ศ.พญ.ณหทัย วงศ์ปการันย์ และคณะที่เสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2559 พบว่ามีผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าจำนวนร้อยละ 23 ของผู้สูงอายุที่รับการรักษาในโรงพยาบาล 4 แห่ง ซึ่งมีแผนกจิตเวช และรายงานวิจัยของ ศ.พญ.ณหทัย วงศ์ปการันย์ และคณะ ที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ยังพบว่ามีผู้สูงอายุไทยในบ้านพักคนชราที่เป็นโรคซึมเศร้ามากถึงร้อยละ 23
สำหรับอาการของภาวะซึมเศร้า จะสังเกตได้ว่ามีอาการเหล่านี้ ได้แก่
รู้สึกเบื่อหน่าย หมายถึง ผู้สูงอายุจะรู้สึกเบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่างๆ น้อยลงหรือหมดความสนใจ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต ไม่เบิกบานห่อเหี่ยว หดหู่ หรือเซ็ง
รู้สึกเศร้า หมายถึง ผู้สูงอายุจะเศร้าโศกเสียใจง่าย น้อยใจง่าย ร้องไห้ง่าย รวมถึงมักรู้สึกท้อใจ
พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลง ผู้สูงอายุจะนอนไม่หลับหลับๆ ตื่นๆ ตื่นเช้ากว่าปกติ หรืออาจนอนมากขึ้น หลับทั้งวันทั้งคืน นอนขี้เซา
พฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลง เบื่ออาหาร หรืออาจกินจุขึ้น ของที่เคยชอบกินกลับไม่อยากกิน หรือบางรายอาจอยากกินของที่ปกติไม่กิน เช่น ของหวานๆ
การเคลื่อนไหวของร่างกายเปลี่ยนแปลง หมายถึง ผู้สูงอายุอาจเคลื่อนไหวเชื่องช้าลงหรือเคลื่อนไหวมากขึ้น กระวนกระวาย
กำลังกายเปลี่ยนแปลง รู้สึกอ่อนเพลียง่าย กำลังวังชาลดน้อยถอยลง รู้สึกไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม ไม่ค่อยมีแรง บางรายอาจบ่นเกี่ยวกับอาการทางร่างกายหลายอย่างที่ตรวจไม่พบสาเหตุ หรือมีอาการมากกว่าอาการปกติของโรคนั้นๆ
ความรู้สึกต่อตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือรู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตนเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความสามารถเหมือนที่เคยเป็น ความภาคภูมิใจในตนเองลดลงอับจนหนหาง หมดหวังในชีวิต
สมาธิและความจำ บกพร่อง หลงลืมบ่อย โดยเฉพาะลืมเรื่องใหม่ๆ ใจลอย คิดไม่ค่อยออก มักลังเลหรือตัดสินใจผิดพลาด
ทำร้ายตัวเอง ผู้สูงอายุบางรายที่มีอาการมากๆ อาจรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป บางรายจะคิดหรือพูดถึงความตายบ่อยๆ นึกอยากตาย และอาจวางแผนทำร้ายร่างกาย เช่นเตรียมสะสมยาจำนวนมากๆ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ จากนั้นอาจลงมือทำร้ายตัวเองด้วยวิธีต่างๆ เช่น กินยาเกินขนาด กินยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า แขวนคอ หรือใช้อาวุธทำร้ายตนเอง ผู้สูงอายุบางรายอาจไม่ยอมกินยาประจำตัวเพื่อปล่อยให้อาการทรุดลงจนเสียชีวิต
ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะซึมเศร้านับว่าเปิดประตูไปสู่โรคภัยอื่น อาทิเช่น โรคสมองเสื่อมตามหลังภาวะซึมเศร้า กล่าวคือ ผู้สูงอายุรายใดที่อยู่ในภาวะซึมเศร้านานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ และหลังจากผ่านไปเพียง 1-2 ปี บางรายก็เริ่มมีอาการของโรคสมาธิความจำเสื่อมในระยะเริ่มแรก และต่อมาอาจยิ่งรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ รวมถึงอาการโรคจิตเข้าแทรกซ้อน กว่าร้อยละ 25 ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้ามากๆ อาจมีอาการของโรคจิตเข้าแทรกซ้อน เช่น หวาดระแวงว่าภรรยาหรือสามีนอกใจ กลัวคนมาทำร้ายหรือขโมยของ หูแว่ว เห็นภาพหลอน โทษตัวเองเกินความจริง หรือรู้สึกผิดมากๆ
ด้วยเหตุที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ยิ่งทำให้ภาวะซึมเศร้าเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงวัย ด้วยเหตุนี้ ผู้ใกล้ชิดหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุจึงควรมีทักษะและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง อันได้แก่ การประเมินลักษณะอาการ การค้นหาและคัดกรอง การดูแลเบื้องต้นหรือการดูแลควบคู่กับแผนการรักษาของแพทย์ การประเมินภาวะแทรกซ้อน และการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ทั้งนี้จำเป็นต้องใส่ใจและเห็นความสำคัญของปัญหาในผู้สูงอายุเพื่อการดูแลป้องกันอย่างใกล้ชิด
เก็บความจาก
ศ.พญ.ณหทัย วงศ์ปการันย์ และคณะ. คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), 2559.
" โรคซึมเศร้า "...รวมบทความสำหรับผู้ที่สนใจ
โดยเฉพาะในห้องสวนลุมพินี ซึ่งเป็นการถามสำหรับทั้งตนเอง หรือคนใกล้ตัว
ประเด็นที่รวบรวมได้มีตั้งแต่...
1. ความไม่แน่ใจว่าตนเอง หรือคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ จะสังเกตได้อย่างไร
2. เมื่อเป็นแล้ว จะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องปฏิบีติตัวอย่างไร
3. หากคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า จะมีวิธีแนะนำเขาได้อย่างไร
หรือจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถชักจูงให้ไปพบแพทย์ได้
... จขกท.จึงได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจาก... https://www.hfocus.org/ มาเท่าที่จะทำได้
โดยเรียงลำดับบทความไว้ตามลำดับเวลาและปีพ.ศ.ของบทความ
เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป...
... หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ ก็สามารถแบ่งปันได้เต็มที่ครับ...
...อย่างไรก็ดี..การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรคนี้ เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยมากกว่าการอ่านบทความอย่างเดียว...
ซึ่งหากมีแพทย์ผู้เชียวชาญทางด้านนี้ได้ผ่านตากระทู้นี้ ก็ขอเชิญชวนให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจเพิ่มเติมตามสมควรครับ...
1. " พบคนไทยฆ่าตัวตายปีละ 4 พันคน เหตุหลักซึมเศร้า "
ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2016/12/13226
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. " ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ "
ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2017/02/13432
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้