รีวิวนี้เหมาะกับคนที่ไม่อยากลำบากมาก ไม่ได้ซื้อทัวร์ไทย เช่ารถพร้อมคนขับ โปรแกรมจัดเอง ไหว้พระพอประมาณ ไม่มีสวดมนต์ยิ่งใหญ่ ไม่มีทำวัตร ไม่มีพระนำ ไม่นอนวัด นอนโรงแรม แต่ก็กินง่ายอยู่ง่าย สำรวมกายใจพอ นี่เป็นการเที่ยวอินเดียครั้งแรกของดิฉันค่ะ
พิมพ์สด การจัดหน้า รายละเอียด อาจไม่เรียบร้อยนัก ค่าใช้จ่าย จะแทรกอยู่ระหว่างบรรทัดค่ะ
ระหว่างวันที่ 13-23 ก.พ.62 ที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปเที่ยวอินเดีย โดยนั่งแอร์เอเชีย ไปลงที่
โกลกาตา เป็นความผิดพลาดนิดหน่อย เพราะเครื่องออก 00.05 น. ทำให้ดิฉันจองพลาด ด้วยความเบลอ เพราะตอนแรกวางแผนว่าจะลางานวันที่ 14 ทำให้ต้องลางานตั้งแต่วันที่ 13 เลยได้ออกไปเที่ยวโกลกาตา 1 วันค่ะ
เที่ยว
สังเวชนียสถาน 8 วัน 7 คืน ค่ะ และก็เที่ยว
เดลี วันกลับ อีก 1 วันค่ะ
แผนการเดินทางคร่าวๆ ค่ะ
13 ก.พ. FD120 DMK-CCU 00.05-01.10
01.10 โกลกาตา - one day trip
14 ก.พ. 6E844 CCU-LKO 04.15-06.20
06.20 ลักนาว (Arrival) – สาวัตถี (Sravasti) by Road
15 ก.พ.
สาวัตถี – กบิลพัสดุ์ (Kapilavastu) – ลุมพินี (Lumbini, Nepal)
16 ก.พ.
ลุมพินี – กุสินารา (Kushinagar)
17 FEB
กุสินารา – ไวสาลี (Vaishali) – ปัตนะ (Patna)
18 FEB
ปัตนะ – นาลันทา (Nalanda) – ราชคฤห์ (Rajgir) – พุทธคยา (Bodhgaya)
19 FEB
พุทธคยา
20 FEB
พุทธคยา – พาราณสี (Varanasi)
21 FEB
พาราณสี – สารนาถ (Sarnath) – Departure at Varanasi Airport AI428 VNS-DEL 19.20-21.10
22 FEB
เดลี - one day trip
23 FEB TG332 DEL-BKK 03.30-09.00
1. วีซ่าอินเดีย กรอกข้อมูลในเว็บ ไม่ยาก ปรินท์ออกมา ถ่ายรูป 2x2 นิ้ว ใช้ 2 รูป, สำเนาหน้าพาสปอร์ต 2 ใบ , วีซ่าอินเดียเก่า ถ้ามี, สำเนาบัตรประชาชน [อื่นๆ จำไม่ได้] แต่ !
พวกตั๋ว พวกใบจองโรงแรม ไม่ใช้ให้วุ่นวายค่ะ! ไปทำวีซ่า ที่ตึก PS TOWER แถวอโศก ไปเช้าๆ เพราะมีพวกทัวร์มาทำวีซ่ากันมาก ได้คิวแรกๆ จะได้ไม่เสียเวลา บัตรจอดรถ แสตมป์ฟรีได้ เอารถไปจอดได้ค่ะ มีที่จอดมาก ค่าธรรมเนียมค่าวีซ่า 3000 กว่าบาท ของเรา 3 วัน ได้เล่มคืน ไวมาก
สาเหตุที่ ทำวีซ่าแบบยื่นเอง ไม่ทำ e-visa เพราะ
- เราจะได้วีซ่า multiple 1 ปี (เผื่อได้ไปอีก)
- คิวตม. ที่สนามบิน สั้นกว่า คนที่มี e-visa ซึ่งจะต้องต่อคิวอีกช่อง คนนิยม คิวจึงยาว
- เนื่องจากทริปนี้ เราต้องออกจากอินเดีย ทางบก เพื่อไปลุมพินี เราไม่สามารถใช้ e-visa ผ่านด่านนี้ได้ค่ะ ต้องวีซ่าแบบปรกติ
ปล. ตม. อินเดีย จะถามคำถามมาก มากี่วัน ไปไหนบ้าง นอนไหน , อย่าทำ boarding pass หาย อินเดีย ชอบตรวจตั๋ว เช็คตั๋ว ทุกหนแห่ง
ปล.2 เดี๋ยวนี้ แอร์เอเชีย มีบินลง คยา , แต่ตอนที่ดิฉันจองยังไม่มี ทำให้ดิฉันจองลงโกลกาตาก่อน แล้วค่อยวางแผนบินภายในไปจุดเริ่มต้น สังเวชนียสถานอื่นๆ เช่น คยา พาราณสี ปัตนะ หรือ ลักนาว (อย่างเช่นดิฉัน ดิฉันเที่ยว จากซ้ายมาขวา เป็นวงกลม ลงสนามบินลักนาวก่อน เปิด google map ประกอบเองนะคะ )
2. วีซ่า เนปาล ราคา 900 บาท จะปรินท์แบบฟอร์มจากบ้านแล้วกรอก ก็สะดวกดี หรือที่สถานทูต ก็มีใบให้กรอก เรียบง่าย 1 วันได้ ใช้รูปถ่าย 2x2 2 ใบ สำเนาพาสปอร์ต สถานทูตอยู่ซอยปรีดีพนมยงค์ (สุขุมวิท 71) ซอยแยก 21 เป็นซอยตัน จอดรถริมทางค่ะ
อากาศ เดือน กุมภา เช้า-ค่ำ เย็นสบายค่ะ แต่กลางวันร้อนค่ะ
ค่าใช้จ่าย ตั๋วเครื่องบิน 4 เที่ยวประมาณ 6000 บาท ,
ค่าเช่ารถ พร้อมคนขับ คันละ 15000 บาท/ 8 วัน หารกับเพื่อน 2 คน (7500 บาท) ,
ค่าโรงแรม 14000 บาท ตลอดทริป 9 คืน หารกับเพื่อน 2 คน (7000 บาท)
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าเที่ยวเองที่โกลกาตา และเดลี ค่ากิน เครื่องสำอางหิมาลายา รวมทำบุญ (เยอะมาก) และจิปาถะแล้ว คนละ 10000 บาท
รวมประมาณ 30000 บาท
เพื่อนเคยมาสังเวชนียสถานกับทัวร์พระนำ เพื่อนบอกว่า มาเอง ดีกว่า ยืดหยุ่นกว่า ถูกกว่า อาหารเลือกได้เอง เพื่อนเคยซื้อทัวร์มา 46000 ข้อเสีย คือ ต้องจัดการอะไรด้วยตัวเอง แค่นั้น อย่างอื่น น่าจะดีกว่า นะคะ
Kolkata
นั่งแอร์เอเชีย ได้ตั๋วราคา 2000 รวมกระเป๋า เพราะต้องพกอาหารแห้งและเสื้อกันหนาวไปด้วย ถึงสนามบิน ตี 1 .. ดิฉันไม่นอนสนามบินนะ โหดเกินไป อยากพักเอาแรง แล้วเดินเที่ยวตอนเช้า จึงหาโรงแรมในเมืองนอน ซึ่งโรงแรมที่ได้ ก็ไม่ได้ดีมาก แต่ราคาถูก 900 กว่าบาท ห่างจาก victoria monument เกือบ 2 กม. โชคดีอากาศเย็น เดินไหว ชื่อโรงแรม Hotel Diamond Suites ย่าน park circus ถ้าให้คะแนน 2 ดาวพอ ไม่แนะนำให้นอนนะ เพราะไม่ดีเท่าไหร่
แท๊กซี่ - ให้ใช้บริการ prepaid taxi จากสนามบินเท่านั้น ซึ่งอยู่ภายในอาคารผู้โดยสารขาเข้า Arrival hall อย่าออกไปข้างนอก ไม่งั้นจะเข้ามาไม่ได้ เดินตามป้าย บูธสีฟ้า มีคนต่อคิวอยู่ แต่เจ้าหน้าที่มีคนเดียว และทำงานค่อนข้างช้า จ่ายตังค์ไปราคา 370 รูปี ได้คูปองมาแล้ว ก็เดินออกไปข้างนอก หาจุดรวมพล prepaid taxi มีป้ายบอก และหาทะเบียนรถที่ตรงกับคูปอง คุยกับคนขับแท็กซี่ คนอินเดีย พูด basic english ได้ ..
tips.. ระวังคนมารุม ช่วยหิ้วกระเป๋า ช่วยเหลือ ... พวกนี้จะมาหลอกเอาทิปจากเรา ให้พูดว่า
เน = แปลว่า ไม่ ค่ะ หลายๆ ครั้งค่ะ
ระหว่างเดินทางใช้ google map ช่วย กันหลง, การขับรถของคนอินเดย สุดๆ แล้ว ไฟแดงไม่สน ย้อนศร ฯลฯ แม้ในเมือง ไหนจะวัว กระบือ มอไซค์ จักรยาน เกวียน คนเดินทาง ไหนจะเสียงแตร โอ้แม่เจ้า!!!
ภาพบรรยากาศ เมืองโกลกาตา ยามเช้าค่ะ
โกลกาตา เป็นเมืองหลวงเก่า ค่อนข้างแออัด ไปเที่ยวอินเดีย
อย่าลืมเอาแมสก์ไป เพราะฝุ่นมาก และกลิ่นไม่ค่อยดี
ผู้คนไม่เคารพกฎจราจร จะข้ามถนนตรงไหนก็ข้าม ต้องระวังดีๆ และระวังมูลสัตว์ให้ดีๆ มีวัวเดินปะปนกับเรา ผู้ชายยืนฉี่ มีให้เห็น กลิ่นฉี่โชยเป็นระยะๆ ค่ะ
Victoria Memorial ค่าเข้าชมด้านนอก 10 รูปี สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวทั้งหลัง จากรัฐราชาสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ในปีเดียวกับที่มีการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม) หลังคาทำเป็นทรงโดมขนาดมหึมา Prince of Wales เสด็จมาทำพิธีเปิดในปี ค.ศ. 1921 ภายในตกแต่งด้วยภาพเขียน และรูปปั้นของบุคคลสำคัญ และจัดแสดงประวัติศาสตร์ยุควิกตอเรียน ประวัติศาสตร์ของเบงกอล และข้าวของของผู้สำเร็จราชการที่ประจำเมืองกัลกัตต้า
St. Paul’s Cathedral อยู่ตรงข้ามกับ Victoria Memorial ชมฟรี เป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิกัน สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1839 โดย บิชอป แดเนียล วิลสัน และเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1847 สร้างในสไตล์โกธิค มีจุดเด่นที่กระจกสีและภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียก หรือ เฟรสโก (Fresco) ในรูปแบบยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาฟลอเรนต์ (Florentine Renaissance)
จากนั้นนั่งรถไฟใต้ดิน ราคาถูกมากแค่ 5 รูปี ไปลงสถานีที่ใกล้สะพาน Howrah ค่ะ ซื้อตั๋วกับเจ้าหน้าที่ที่ช่องขายตั๋วได้ค่ะ
ภาพสถานีรถไฟใต้ดินค่ะ รถไฟใต้ดินที่นี่ รวมทั้งสนามบิน สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ต้องตรวจกระเป๋า เอ็กซเรย์ก่อนเข้า มาอินเดีย โดนลูบตัวจนเพลินเลยค่ะ
ใต้สะพานเป็นตลาดดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย หรืออาจจะทั้งเอเชีย แต่ละวันมีดอกดาวเรืองขายกันกว่าสิบล้านดอก สุดยอดแห่งความวุ่นวาย
จากนั้นดิฉันเดินข้ามสะพาน howrah เป็นสะพานเหล็กขนาดใหญ่ ข้ามแม่น้ำ ฮูกลี ค่ะ
นั่งรถสามล้อ หรือ ตุ๊กตุ๊ก หรือ auto rickshaw แล้วแต่จะเรียกชื่อค่ะ เพื่อไป Belur Math ราคาต่อรองได้ 100 รูปีค่ะ ไกลพอสมควรค่ะ 10 กว่ากิโล
Belur Math เป็นวัดฮินดูขนาดใหญ่ ริมแม่น้ำค่ะ มีหลายอาคารเป็น complex ไม่เสียค่าเข้าชมค่ะ
จากนั้นเดินไปท่าเรือใกล้เคียง เพื่อนั่งเรือข้ามแม่น้ำ ราคาแค่ 11 รูปีค่ะ เพื่อไปวัดเจ้าแม่กาลี (Dakshineswar Kali Temple) วัดฮินดูที่ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำฮูกลี (Hooghly River) วัดที่เป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในเมืองกัลกัตต้าโดยวัดถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1855 โดยรานี ราชโมนี สตรีม่ายที่ร่ำรวยและมีศรัทธาในศาสนา
ดิฉันไม่ได้เข้าวัดนี้นะคะ เพราะต้องถอดรองเท้าและอากาศร้อนมาก และดิฉันไม่ได้นับถือค่ะ
จากนั้น ดิฉันกะจะไป new market ค่ะ หาสามล้อไป ไม่มีใครไปคงเพราะไกลมาก จำเป็นต้องเรียกแท๊กซี่ ที่ไม่เปิดแอร์ ได้ราคา 400 รูปี แพงจัง แต่จำใจค่ะ
tips -การเรียกรถรับจ้างที่อินเดีย ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม ต้องตกลงราคาให้แน่นอน และต้องมั่นใจตัวเองก่อนว่ามีแบงค์ย่อยค่ะ ไม่งั้น จะเจอหักคอ ไม่ทอนตังค์ หรือคิดตังค์เกินได้ เวลาลงจากรถแล้ว ให้เงินให้พอดี ถ้าเขาเรียกเพิ่ม ไม่ต้องสนใจ เดินปัดก้นไปเลยค่ะ
อย่างแท๊กซี่ที่ดิฉันนั่ง พอจะลงจากรถ ขอทิปดิฉันอีก 50 รูปี ดิฉันไม่ให้ค่ะ ตกลงกันที่ 400 ก็ 400 สิ
ที่ new market เป็นตลาดขายของสารพัด ค่อนข้างเวียนหัวค่ะ ตอนนั้นหิวแล้วด้วยค่ะ จะมีพวกนายหน้า scammer มาทักดิฉันมากมายค่ะ ห้ามชะล่าใจเด็ดขาด
tips - พวกเขาจะเริ่มต้นด้วยการทักทาย เช่น พูดภาษาอังกฤษได้ไหม มาจากประเทศไหน จีน ญี่ปุ่น ไทย ... whatever... ทำเป็นไม่สนใจหรือไม่เข้าใจไปค่ะ ถ้าคุณบอกว่ามาจากเมืองไทย คุณจะโดนตามติดค่ะ เพราะคนไทยชอบช๊อปปิ้งและใจดี พวกเขาจะลากคุณไปที่ร้านที่จะหลอกลวงคุณ อย่าตามไปเด็ดขาด ดิฉันกลัวมากค่ะ ที่นี่ ทำให้ดิฉันไม่อยากเดินเลยค่ะ อดถ่ายรูปด้วย เพราะกลัว รีบเดิน , เลยเดินไปที่ Park street ค่อนข้างศิวิไลซ์กว่าค่ะ หิวแล้วไปกินข้าว ร้านดัง peter cat ค่ะ ราคาค่อนข้างสูง
Butter nan and chicken butter masala - แป้งนาน (โรตี) กินกับแกงกะหรี่ (มาซาล่า) ไก่
Chelo kebab (เชโล เคบับ)
เมนูแนะนำในร้าน Peter cat จานใหญ่มาก ในจานจะมี ไก่เสียบไม้ เนื้อแพะ ไข่ดาว และเนยที่โปะอยู่บนข้าว
ทานเสร็จ 900 กว่ารูปีค่ะ แล้วก็ลองนั่ง rickshaw คือ รถถีบและมีที่นั่งข้างหลัง กลับไปโรงแรม ประมาณ 2 กม. ค่ะ ต่อรองได้ราคา 100 รูปีค่ะ สงสารลุง
[CR] [CR] รีวิว อินเดีย เน้น สังเวชนียสถาน แถม โกลกาตา และ เดลี [ไม่ลำบากมาก เพราะเช่ารถ ไม่เน้นไหว้พระ ไม่นอนวัด]
พิมพ์สด การจัดหน้า รายละเอียด อาจไม่เรียบร้อยนัก ค่าใช้จ่าย จะแทรกอยู่ระหว่างบรรทัดค่ะ
ระหว่างวันที่ 13-23 ก.พ.62 ที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปเที่ยวอินเดีย โดยนั่งแอร์เอเชีย ไปลงที่โกลกาตา เป็นความผิดพลาดนิดหน่อย เพราะเครื่องออก 00.05 น. ทำให้ดิฉันจองพลาด ด้วยความเบลอ เพราะตอนแรกวางแผนว่าจะลางานวันที่ 14 ทำให้ต้องลางานตั้งแต่วันที่ 13 เลยได้ออกไปเที่ยวโกลกาตา 1 วันค่ะ
เที่ยวสังเวชนียสถาน 8 วัน 7 คืน ค่ะ และก็เที่ยวเดลี วันกลับ อีก 1 วันค่ะ
แผนการเดินทางคร่าวๆ ค่ะ
13 ก.พ. FD120 DMK-CCU 00.05-01.10
01.10 โกลกาตา - one day trip
14 ก.พ. 6E844 CCU-LKO 04.15-06.20
06.20 ลักนาว (Arrival) – สาวัตถี (Sravasti) by Road
15 ก.พ.
สาวัตถี – กบิลพัสดุ์ (Kapilavastu) – ลุมพินี (Lumbini, Nepal)
16 ก.พ.
ลุมพินี – กุสินารา (Kushinagar)
17 FEB
กุสินารา – ไวสาลี (Vaishali) – ปัตนะ (Patna)
18 FEB
ปัตนะ – นาลันทา (Nalanda) – ราชคฤห์ (Rajgir) – พุทธคยา (Bodhgaya)
19 FEB
พุทธคยา
20 FEB
พุทธคยา – พาราณสี (Varanasi)
21 FEB
พาราณสี – สารนาถ (Sarnath) – Departure at Varanasi Airport AI428 VNS-DEL 19.20-21.10
22 FEB
เดลี - one day trip
23 FEB TG332 DEL-BKK 03.30-09.00
1. วีซ่าอินเดีย กรอกข้อมูลในเว็บ ไม่ยาก ปรินท์ออกมา ถ่ายรูป 2x2 นิ้ว ใช้ 2 รูป, สำเนาหน้าพาสปอร์ต 2 ใบ , วีซ่าอินเดียเก่า ถ้ามี, สำเนาบัตรประชาชน [อื่นๆ จำไม่ได้] แต่ !พวกตั๋ว พวกใบจองโรงแรม ไม่ใช้ให้วุ่นวายค่ะ! ไปทำวีซ่า ที่ตึก PS TOWER แถวอโศก ไปเช้าๆ เพราะมีพวกทัวร์มาทำวีซ่ากันมาก ได้คิวแรกๆ จะได้ไม่เสียเวลา บัตรจอดรถ แสตมป์ฟรีได้ เอารถไปจอดได้ค่ะ มีที่จอดมาก ค่าธรรมเนียมค่าวีซ่า 3000 กว่าบาท ของเรา 3 วัน ได้เล่มคืน ไวมาก
สาเหตุที่ ทำวีซ่าแบบยื่นเอง ไม่ทำ e-visa เพราะ
- เราจะได้วีซ่า multiple 1 ปี (เผื่อได้ไปอีก)
- คิวตม. ที่สนามบิน สั้นกว่า คนที่มี e-visa ซึ่งจะต้องต่อคิวอีกช่อง คนนิยม คิวจึงยาว
- เนื่องจากทริปนี้ เราต้องออกจากอินเดีย ทางบก เพื่อไปลุมพินี เราไม่สามารถใช้ e-visa ผ่านด่านนี้ได้ค่ะ ต้องวีซ่าแบบปรกติ
ปล. ตม. อินเดีย จะถามคำถามมาก มากี่วัน ไปไหนบ้าง นอนไหน , อย่าทำ boarding pass หาย อินเดีย ชอบตรวจตั๋ว เช็คตั๋ว ทุกหนแห่ง
ปล.2 เดี๋ยวนี้ แอร์เอเชีย มีบินลง คยา , แต่ตอนที่ดิฉันจองยังไม่มี ทำให้ดิฉันจองลงโกลกาตาก่อน แล้วค่อยวางแผนบินภายในไปจุดเริ่มต้น สังเวชนียสถานอื่นๆ เช่น คยา พาราณสี ปัตนะ หรือ ลักนาว (อย่างเช่นดิฉัน ดิฉันเที่ยว จากซ้ายมาขวา เป็นวงกลม ลงสนามบินลักนาวก่อน เปิด google map ประกอบเองนะคะ )
2. วีซ่า เนปาล ราคา 900 บาท จะปรินท์แบบฟอร์มจากบ้านแล้วกรอก ก็สะดวกดี หรือที่สถานทูต ก็มีใบให้กรอก เรียบง่าย 1 วันได้ ใช้รูปถ่าย 2x2 2 ใบ สำเนาพาสปอร์ต สถานทูตอยู่ซอยปรีดีพนมยงค์ (สุขุมวิท 71) ซอยแยก 21 เป็นซอยตัน จอดรถริมทางค่ะ
อากาศ เดือน กุมภา เช้า-ค่ำ เย็นสบายค่ะ แต่กลางวันร้อนค่ะ
ค่าใช้จ่าย ตั๋วเครื่องบิน 4 เที่ยวประมาณ 6000 บาท ,
ค่าเช่ารถ พร้อมคนขับ คันละ 15000 บาท/ 8 วัน หารกับเพื่อน 2 คน (7500 บาท) ,
ค่าโรงแรม 14000 บาท ตลอดทริป 9 คืน หารกับเพื่อน 2 คน (7000 บาท)
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าเที่ยวเองที่โกลกาตา และเดลี ค่ากิน เครื่องสำอางหิมาลายา รวมทำบุญ (เยอะมาก) และจิปาถะแล้ว คนละ 10000 บาท
รวมประมาณ 30000 บาท
เพื่อนเคยมาสังเวชนียสถานกับทัวร์พระนำ เพื่อนบอกว่า มาเอง ดีกว่า ยืดหยุ่นกว่า ถูกกว่า อาหารเลือกได้เอง เพื่อนเคยซื้อทัวร์มา 46000 ข้อเสีย คือ ต้องจัดการอะไรด้วยตัวเอง แค่นั้น อย่างอื่น น่าจะดีกว่า นะคะ
Kolkata
นั่งแอร์เอเชีย ได้ตั๋วราคา 2000 รวมกระเป๋า เพราะต้องพกอาหารแห้งและเสื้อกันหนาวไปด้วย ถึงสนามบิน ตี 1 .. ดิฉันไม่นอนสนามบินนะ โหดเกินไป อยากพักเอาแรง แล้วเดินเที่ยวตอนเช้า จึงหาโรงแรมในเมืองนอน ซึ่งโรงแรมที่ได้ ก็ไม่ได้ดีมาก แต่ราคาถูก 900 กว่าบาท ห่างจาก victoria monument เกือบ 2 กม. โชคดีอากาศเย็น เดินไหว ชื่อโรงแรม Hotel Diamond Suites ย่าน park circus ถ้าให้คะแนน 2 ดาวพอ ไม่แนะนำให้นอนนะ เพราะไม่ดีเท่าไหร่
แท๊กซี่ - ให้ใช้บริการ prepaid taxi จากสนามบินเท่านั้น ซึ่งอยู่ภายในอาคารผู้โดยสารขาเข้า Arrival hall อย่าออกไปข้างนอก ไม่งั้นจะเข้ามาไม่ได้ เดินตามป้าย บูธสีฟ้า มีคนต่อคิวอยู่ แต่เจ้าหน้าที่มีคนเดียว และทำงานค่อนข้างช้า จ่ายตังค์ไปราคา 370 รูปี ได้คูปองมาแล้ว ก็เดินออกไปข้างนอก หาจุดรวมพล prepaid taxi มีป้ายบอก และหาทะเบียนรถที่ตรงกับคูปอง คุยกับคนขับแท็กซี่ คนอินเดีย พูด basic english ได้ ..
tips.. ระวังคนมารุม ช่วยหิ้วกระเป๋า ช่วยเหลือ ... พวกนี้จะมาหลอกเอาทิปจากเรา ให้พูดว่า เน = แปลว่า ไม่ ค่ะ หลายๆ ครั้งค่ะ
ระหว่างเดินทางใช้ google map ช่วย กันหลง, การขับรถของคนอินเดย สุดๆ แล้ว ไฟแดงไม่สน ย้อนศร ฯลฯ แม้ในเมือง ไหนจะวัว กระบือ มอไซค์ จักรยาน เกวียน คนเดินทาง ไหนจะเสียงแตร โอ้แม่เจ้า!!!
ภาพบรรยากาศ เมืองโกลกาตา ยามเช้าค่ะ
โกลกาตา เป็นเมืองหลวงเก่า ค่อนข้างแออัด ไปเที่ยวอินเดีย อย่าลืมเอาแมสก์ไป เพราะฝุ่นมาก และกลิ่นไม่ค่อยดี
ผู้คนไม่เคารพกฎจราจร จะข้ามถนนตรงไหนก็ข้าม ต้องระวังดีๆ และระวังมูลสัตว์ให้ดีๆ มีวัวเดินปะปนกับเรา ผู้ชายยืนฉี่ มีให้เห็น กลิ่นฉี่โชยเป็นระยะๆ ค่ะ
Victoria Memorial ค่าเข้าชมด้านนอก 10 รูปี สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวทั้งหลัง จากรัฐราชาสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ในปีเดียวกับที่มีการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม) หลังคาทำเป็นทรงโดมขนาดมหึมา Prince of Wales เสด็จมาทำพิธีเปิดในปี ค.ศ. 1921 ภายในตกแต่งด้วยภาพเขียน และรูปปั้นของบุคคลสำคัญ และจัดแสดงประวัติศาสตร์ยุควิกตอเรียน ประวัติศาสตร์ของเบงกอล และข้าวของของผู้สำเร็จราชการที่ประจำเมืองกัลกัตต้า
St. Paul’s Cathedral อยู่ตรงข้ามกับ Victoria Memorial ชมฟรี เป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิกัน สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1839 โดย บิชอป แดเนียล วิลสัน และเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1847 สร้างในสไตล์โกธิค มีจุดเด่นที่กระจกสีและภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียก หรือ เฟรสโก (Fresco) ในรูปแบบยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาฟลอเรนต์ (Florentine Renaissance)
จากนั้นนั่งรถไฟใต้ดิน ราคาถูกมากแค่ 5 รูปี ไปลงสถานีที่ใกล้สะพาน Howrah ค่ะ ซื้อตั๋วกับเจ้าหน้าที่ที่ช่องขายตั๋วได้ค่ะ
ภาพสถานีรถไฟใต้ดินค่ะ รถไฟใต้ดินที่นี่ รวมทั้งสนามบิน สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ต้องตรวจกระเป๋า เอ็กซเรย์ก่อนเข้า มาอินเดีย โดนลูบตัวจนเพลินเลยค่ะ
ใต้สะพานเป็นตลาดดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย หรืออาจจะทั้งเอเชีย แต่ละวันมีดอกดาวเรืองขายกันกว่าสิบล้านดอก สุดยอดแห่งความวุ่นวาย
จากนั้นดิฉันเดินข้ามสะพาน howrah เป็นสะพานเหล็กขนาดใหญ่ ข้ามแม่น้ำ ฮูกลี ค่ะ
นั่งรถสามล้อ หรือ ตุ๊กตุ๊ก หรือ auto rickshaw แล้วแต่จะเรียกชื่อค่ะ เพื่อไป Belur Math ราคาต่อรองได้ 100 รูปีค่ะ ไกลพอสมควรค่ะ 10 กว่ากิโล
Belur Math เป็นวัดฮินดูขนาดใหญ่ ริมแม่น้ำค่ะ มีหลายอาคารเป็น complex ไม่เสียค่าเข้าชมค่ะ
จากนั้นเดินไปท่าเรือใกล้เคียง เพื่อนั่งเรือข้ามแม่น้ำ ราคาแค่ 11 รูปีค่ะ เพื่อไปวัดเจ้าแม่กาลี (Dakshineswar Kali Temple) วัดฮินดูที่ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำฮูกลี (Hooghly River) วัดที่เป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในเมืองกัลกัตต้าโดยวัดถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1855 โดยรานี ราชโมนี สตรีม่ายที่ร่ำรวยและมีศรัทธาในศาสนา
ดิฉันไม่ได้เข้าวัดนี้นะคะ เพราะต้องถอดรองเท้าและอากาศร้อนมาก และดิฉันไม่ได้นับถือค่ะ
จากนั้น ดิฉันกะจะไป new market ค่ะ หาสามล้อไป ไม่มีใครไปคงเพราะไกลมาก จำเป็นต้องเรียกแท๊กซี่ ที่ไม่เปิดแอร์ ได้ราคา 400 รูปี แพงจัง แต่จำใจค่ะ
tips -การเรียกรถรับจ้างที่อินเดีย ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม ต้องตกลงราคาให้แน่นอน และต้องมั่นใจตัวเองก่อนว่ามีแบงค์ย่อยค่ะ ไม่งั้น จะเจอหักคอ ไม่ทอนตังค์ หรือคิดตังค์เกินได้ เวลาลงจากรถแล้ว ให้เงินให้พอดี ถ้าเขาเรียกเพิ่ม ไม่ต้องสนใจ เดินปัดก้นไปเลยค่ะ
อย่างแท๊กซี่ที่ดิฉันนั่ง พอจะลงจากรถ ขอทิปดิฉันอีก 50 รูปี ดิฉันไม่ให้ค่ะ ตกลงกันที่ 400 ก็ 400 สิ
ที่ new market เป็นตลาดขายของสารพัด ค่อนข้างเวียนหัวค่ะ ตอนนั้นหิวแล้วด้วยค่ะ จะมีพวกนายหน้า scammer มาทักดิฉันมากมายค่ะ ห้ามชะล่าใจเด็ดขาด
tips - พวกเขาจะเริ่มต้นด้วยการทักทาย เช่น พูดภาษาอังกฤษได้ไหม มาจากประเทศไหน จีน ญี่ปุ่น ไทย ... whatever... ทำเป็นไม่สนใจหรือไม่เข้าใจไปค่ะ ถ้าคุณบอกว่ามาจากเมืองไทย คุณจะโดนตามติดค่ะ เพราะคนไทยชอบช๊อปปิ้งและใจดี พวกเขาจะลากคุณไปที่ร้านที่จะหลอกลวงคุณ อย่าตามไปเด็ดขาด ดิฉันกลัวมากค่ะ ที่นี่ ทำให้ดิฉันไม่อยากเดินเลยค่ะ อดถ่ายรูปด้วย เพราะกลัว รีบเดิน , เลยเดินไปที่ Park street ค่อนข้างศิวิไลซ์กว่าค่ะ หิวแล้วไปกินข้าว ร้านดัง peter cat ค่ะ ราคาค่อนข้างสูง
Butter nan and chicken butter masala - แป้งนาน (โรตี) กินกับแกงกะหรี่ (มาซาล่า) ไก่
Chelo kebab (เชโล เคบับ)
เมนูแนะนำในร้าน Peter cat จานใหญ่มาก ในจานจะมี ไก่เสียบไม้ เนื้อแพะ ไข่ดาว และเนยที่โปะอยู่บนข้าว
ทานเสร็จ 900 กว่ารูปีค่ะ แล้วก็ลองนั่ง rickshaw คือ รถถีบและมีที่นั่งข้างหลัง กลับไปโรงแรม ประมาณ 2 กม. ค่ะ ต่อรองได้ราคา 100 รูปีค่ะ สงสารลุง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้