วันนี้เอาเรื่อง มูลค่าหุ้น มาฝากเพื่อนๆฮะ

กระทู้คำถาม
มูลค่าหุ้น (Intrinsic Value)
1. มูลค่าหุ้นในเชิงเปรียบเทียบ (Relative Valua) เป็นการเปรียบเทียบราคาที่นักลงทุนจ่ายให้หุ้นตัวหนึ่งเทียบกับหุ้นตัวอื่นโดยใช้อัตราส่วนเทียบกับราคาหุ้น (Price)
Price / Earning = ราคาหุ้น / กำไรต่อหุ้น
Price / Sale = ราคาหุ้น / ยอดขายต่อหุ้น
Price / Book Value = ราคาหุ้น / มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
2. ข้อดีของการใช้ P/E, P/S หรือ P/B คือง่ายในการคำนวณและนำไปใช้ และช่วยให้เราประมาณมูลค่าหุ้นได้อย่างรวดเร็ว
3. ตัวอย่างเช่น หุ้นกลุ่มอาหาร ในอเมริกาซื้อขายกันเฉลี่ยที่ P/E = 25 ในขณะที่หุ้น A มีการซื้อขายกันที่ P/E = 18 ถือว่าหุ้น A มีราคาถูกเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
4. อย่างไรก็ตามอัตราส่วน P/E ไม่สามารถบอกได้ว่าบริษัทสามารถสร้างเงินสด และผลตอบแทนจากเงินลงทุนได้ดีเพียงใด
5. ตัวอย่างเช่น มีบริษัท 2 แห่งมี PE ที่ 15 กับ 20
-บริษัทที่มี PE = 20 อาจเป็นบริษัทที่ต้องใช้เงินลงทุนน้อยกว่า และเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า และสามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินลงทุนมากกว่า
6. มูลค่าหุ้น Absolute Value เป็นวิธีวัดมูลค่าบริษัทจากกระแสเงินสด มูลค่าปัจจุบัน และส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow) ว่าบริษัทควรมีมูลค่าเท่าไหร่
“บริษัทมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่จะทำได้ในอนาคตทั้งหมด”
7. บริษัทสร้างมูลค่าโดยการลงทุนและสร้างกำไรจากเงินลงทุน กำไรบางส่วนนำไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน บางส่วนนำกลับมาใช้เป็นเงินลงทุนในธุรกิจ ส่วนที่เหลือเป็นเงินสดอิสระ (Free Cash Flow)
8. “เงินสดอิสระเป็นเงินที่เราสามารถนำออกมาใช้โดยไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท” เงินจำนวนนี้สามารถนำมาจ่ายปันผล ซื้อหุ้นคืน หรือเก็บเงินไว้ลงทุนในธุรกิจ
9. กระแสเงินสดอิสระสร้างมูลค่าให้บริษัท
- มูลค่าปัจจุบันคำนวณโดยปรับมูลค่าเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่าในปัจจุบัน
- เพราะเงินที่เราคิดว่าจะได้รับในอนาคตมีมูลค่าน้อยกว่าเงินที่จ่ายให้เราเลยวันนี้
10. ทำไมเงินสดอิสระที่เราหาได้ในอนาคตถึงมีมูลค่าน้อยกว่าเงินสดที่เรามีอยู่?
- เงินที่เราได้รับในวันนี้สามารถนำไปลงทุนและสร้างผลตอบแทนได้ อย่างน้อยสามารถนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล
- มีโอกาสที่เราจะไม่ได้เงินจำนวนนี้ในอนาคต เพราะฉะนั้นเราต้องได้รับการชดเชยความเสี่ยงนี้ (Risk Premium)
11. เราสามารถใช้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล บวกความเสี่ยง เป็นส่วนลดเงินสดในอนาคต (Discount Rate)
12. หรือใช้ต้นทุนทางการเงิน (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้) รวมความเสี่ยงของบริษัท (WACC) เป็นส่วนลดเงินสดในอนาคต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่