7 วิธีดูหุ้น นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ - 2 ก.ย. 55
https://www.facebook.com/home.php#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
จากหมอสูติ-นรีเวช ก้าวสู่เส้นทาง “เซียนหุ้นวีไอ” ต้องการมีอิสระภาพทางการเงิน นายแพทย์ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ คุณหมอวัยกลางคนวัย 43 ปี เคยล้มเหลวจากการลงทุนเพราะยึดนโยบาย “...ไม่ขาย ไม่ขาดทุน” ทำให้ “ขาดทุน” จากวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้จนราคาหุ้นแทบเป็น "ศูนย์" จากนั้นก็หยุดเล่นหุ้นไปพักใหญ่ก่อนจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งในปี 2544 ด้วยแนวทาง Value Investor อย่างเต็มตัว ปัจจุบันคุณหมอเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นหลักเท่าไร “ไม่รู้” เพราะเจ้าตัวกอดความลับนี้ไม่ยอมเปิดเผย บอกเพียงว่าไม่แตกต่างอะไรจากคณะกรรมการสมาคมวีไอคนอื่นๆ...ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า "พอร์ตคงใหญ่ไม่ใช่เล่น"
หมอมุขเจ้าของชื่อล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ไทยวีไอ เปิดเผยกลยุทธ์การลงทุนส่วนตัวให้ฟังว่า หลักๆ จะเน้นดู 7 ข้อ คือ
1.หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) สูง 15-20% ขึ้นไป ROE จะบ่งบอกความสามารถของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น “ยิ่งสูง ยิ่งดี” แต่บางครั้งก็มีตัวหลอกเหมือนกัน หากบริษัทนั้นมีหนี้สินจำนวนมาก ฉะนั้นต้องดูดีๆ อย่ารีบเชื่อทันที!
ข้อ 2. หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) สูงกว่า 10% ข้อ 3.ต้องมี PEG ratio น้อยกว่า 1 เท่า คือการเทียบค่า P/E ratio กับการเจริญเติบโตของกำไรสุทธิ (Growth) หาโดยเอาค่า P/E ratio ตั้งหารด้วยเปอร์เซ็นต์การเจริญเติบโตนั้น บริษัทใดที่ราคาหุ้นต่ำจะน่าซื้อ ถ้าค่า PEG ratio เกิน 1 แสดงว่าราคาหุ้นสูงเกินไป
ข้อ 4.ต้องมีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ในระดับ 3.5-4% ขึ้นไป ถามว่าทำไมต้องเป็นตัวเลขนี้ เพราะเป็นตัวเลขที่มากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปกติจะอยู่ระดับ 3% ข้อ 5. หุ้นตัวนั้นต้องมีกระแสเงินสดสูงๆ ยิ่งไม่ต้องจ่ายหนี้ "ผมจะชอบมากเป็นพิเศษ"
ข้อ 6. ผู้บริหารต้องไว้ใจได้ (โปร่งใส) พูดแล้วทำได้จริง ซึ่งเราต้องไปคุยกับผู้บริหารบ่อยๆ ยิ่งเขาถือหุ้น 20-25% ผมยิ่งชอบเพราะมันจะบ่งบอกว่า เขาจะทุ่มเทในการทำงานมากขนาดไหน ข้อสุดท้าย จะดูปัจจัยทางกายภาพ ธุรกิจนี้มีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน โอกาสเติบโตของรายได้และกำไรเป็นอย่างไร สินค้าหรือธุรกิจหลักจะเติบโตไปตามชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และลูกค้านิยมชมชอบสินค้ามากหรือน้อยแค่ไหน ที่สำคัญจะดูว่าคู่แข่งของเขามีใครบ้าง หากจะมีคู่แข่งเกิดขึ้นใหม่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ได้ง่ายหรือยาก
“ผมไม่นิยมดูเส้นเทคนิคและไม่เคยนำมาประยุกต์ใช้ เพราะไม่เข้าใจในหลักการ ส่วนใหญ่จะดูเพียงราคา ณ ปัจจุบัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ประเมินไว้ว่ามันมีส่วนลด (Margin of Safety) เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ เช่น ถ้ามีส่วนลด 40-50% จากมูลค่าที่คิดไว้ก็พอใจที่จะซื้อแล้ว”
เซียนหุ้นคุณพ่อลูกสอง กล่าวต่อว่า ในพอร์ตมีหุ้นที่สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ประมาณ 4-5 เท่า อยู่ใน 3 กลุ่มหลักๆ คือ 1.กลุ่มโมเดิร์นเทรด (ไม่บอกชื่อหุ้น) ตัวนี้ชอบมากที่สุด เพราะเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดค่อนข้างมาก มีอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์สูง ที่สำคัญการขยายสาขาส่วนใหญ่จะใช้โมเดลเดิมๆ ใช้เงินลงทุนไม่มากสามารถทำซ้ำๆ ได้ตลอดเวลา
ข้อดีของหุ้นโมเดิร์นเทรดตัวที่ลงทุนเขายังสามารถขยายสาขาได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามจังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา และหาดใหญ่ รวมถึงหัวเมืองรองๆ เช่น ราชบุรี และนครปฐม เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ไปเปิดสาขาใหม่ พวกโมเดิร์นเทรดเล็กๆ ก็จะตามไปเปิดด้วย
รองลงมา คือ กลุ่มที่จะได้ผลประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เช่น กลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย เพราะเขาจะมีอำนาจการต่อรองกับผู้บริโภคสูง และมีแนวโน้มจะเติบโตไปตามวิถีชีวิตของประชาชน
“จุดเด่นของหุ้นสื่อสารตัวนี้ (ที่ลงทุน) คือเขาจะมีกระแสเงินสดเยอะ ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อยี่ห้อสูงไม่ค่อยเปลี่ยนค่าย รวมถึงได้เปรียบในความใหญ่ ที่สำคัญสเปกทางการเงินของเขาตรงใจผมทุกอย่าง (หัวเราะ)"
กลุ่มที่สาม คือ หุ้นเทิร์นอะราวด์ กลุ่มนี้เคยสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก โดยมักจะเข้าไปซื้อในช่วงที่ไม่มีนักลงทุนรายใดสนใจ หลังพบว่าธุรกิจนั้นเกิดความผิดพลาดเพียงชั่วคราวหากศึกษาแล้วพบว่าอนาคตเขากำลังจะดีขึ้นจะเข้าไปซื้อไว้ จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า นพ.ประมุข เคยเข้าไปลงทุนในหุ้นเทิร์นอะราวด์ อาทิ หุ้นทาพาโก้, ไดเมท (สยาม), พรีบิลท์ และ ซิงเกอร์ประเทศไทย เป็นต้น
“นอกจากนี้ผมก็ชอบลงทุนหุ้นปันผลที่ให้ผลตอบแทน 7-10% เพราะมันจะทำให้พอร์ตของผมมั่งคงมากขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนของผมอยู่ในรูปเงินสด หุ้นกู้ และสินทรัพย์อื่นๆ 10-20% ที่เหลือ 80% จะลงทุนในหุ้น โดยจะเน้นลงทุนหุ้นเติบโต 80% อีก 10-20% จะลงทุนหุ้นปันผล"
หมอมุข เล่าต่อว่า ตอนนี้มีหุ้นอยู่ในพอร์ต 8 ตัว ปกติจะถือลงทุนไม่เกิน 10 ตัว มากกว่านี้จะดูไม่ทัน หลังจากที่ซื้อหุ้นตัวไหนแล้วก็จะถือไปจนกว่าราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ถ้าราคาหุ้นขึ้นมาถึงราคาที่เหมาะสมแล้วแต่ยังหาตัวใหม่ที่ดีกว่าไม่ได้ ก็จะยังไม่ขาย บางตัวเคยถือนาน 2-3 ปี ระยะสั้นที่สุด 8 เดือน
"ตั้งแต่ผมเปลี่ยนมาลงทุนแนว VI "ผมไม่เคยขาดทุน" เพราะราคาที่ซื้อจะพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ไม่ค่อยไล่ราคา..ผมรอได้ ไม่อยากติดบนรถไฟนานๆ (หัวเราะ) อีกอย่างราคาที่ซื้อคิดแล้วไม่แพงเกินไป และทุกครั้งที่ซื้อหุ้นตัวไหนผมจะจดไว้เสมอว่า ซื้อเมื่อไร ซื้อเพราะอะไร ราคาเป้าหมายเท่าไร และจะขายเมื่อไร”
นพ.ประมุข บอกว่า เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงเป้าหมาย ก็จะย้อนกลับไปดูว่าหุ้นตัวนั้นขึ้นเพราะเหตุผลนี้(ที่จดไว้)หรือไม่ ถ้าขึ้นมาเร็วเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบของนักลงทุน แต่ราคายังไม่ถึงเป้าหมายก็อาจจะขายออกไปก่อน แล้วอาจกลับมาซื้อใหม่ถ้าราคาลดลง ตรงกันข้ามหากราคาหุ้นขึ้นเพราะจะมีข่าวดีที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนก็จะถือต่อไป การลงทุนจะถือคติว่า “การเป็นนักลงทุนแนว VI ไม่จำเป็นต้องซื้อจุดต่ำสุด ขายจุดสุงสุดเสมอไป”
คุณหมอ อธิบายยุทธวิธีการซื้อหุ้นของตัวเองให้ฟังว่า หากมั่นใจ 100% จะเข้าซื้อหุ้นตัวนั้น 30% ของพอร์ต (ไม่เกินนี้) วิธีการซื้อจะไม่ซื้อครั้งเดียว 30% แต่จะแบ่งซื้อเป็น 5-10 ไม้ ไม้ละ 10-20% มีทั้งเคาะซื้อทันที และตั้งรอ (ช่อง Bid) เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและเพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าซื้อทีเดียวบางครั้งความคิดเราอาจยังไม่ตกผลึกพอ แม้จะทำการบ้านมาดีแค่ไหนก็มีโอกาสพลาดได้
"บางคนใจร้อนไม่ยอมรอ..อาจพลาดได้ เวลาซื้อหุ้นกรุณาใจเย็นๆ จงให้ความสำคัญกับการรักษาเงินต้นก่อนเสมอ ทุกครั้งที่ผมลงทุนถ้ามีความมั่นใจ 100% มักจะได้กำไร 3-4 เท่า แต่หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นเพียง 50% ผมจะซื้อเพียง 10% ของพอร์ต เน้นซื้อแบบตั้งรับ (ตั้งรอ) ไม่ซื้อทันที โดยจะถอยไป 2-3 ช่องราคา บางครั้งก็ไม่ซื้อเลย ขอดูเรื่อยๆ ขอต่อรองราคา ผมจะไม่รู้สึกเสียดายถ้าตกรถไฟ เพราะถ้าเราไม่เข้าใจธุรกิจ..อย่าซื้อ!!”
จากสถิติการลงทุนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คุณหมอได้รับผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจมาก ในปี 2553 ได้กำไร 100% ปี 2554 ทำกำไรได้ประมาณ 75% น้อยกว่าปี 2553 เพราะราคาหุ้นหลายตัวขึ้นมาสูงแล้ว และหาหุ้นดีๆ ได้ยากขึ้น รวมถึงมูลค่าพอร์ตเริ่มใหญ่ขึ้น ส่วนในปี 2555 ตอนต้นปีตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ 40-50% แต่มาถึง ณ วันนี้ กำไรเกินมามากแล้ว เจ้าตัวบอกถ้าเฉลี่ยแต่ละปีได้กำไร 20% ก็ถือว่า “หรู” มากแล้ว
ส่วนคำถามประจำ..คุณหมอมีพอร์ตลงทุนเท่าไร? ความลับนี้เจ้าตัวไม่ยอมเปิดเผยโดยบอกเพียงว่า ทุกวันนี้ได้พบกับ “อิสระภาพทางการเงิน” แล้ว (อยู่ได้โดยให้เงินทำงานให้) คุณหมอบอกว่า กำลังค้นหา "หุ้นที่โลกลืม" ที่มีแนวโน้มจะเติบโตสูงในอนาคต ถ้าใครค้นพบหุ้นลักษณะนี้จะให้ผลตอบแทนที่สูงมาก บางครั้งได้กำไร 3-4 เด้ง ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง นั่นเป็นเพราะไม่มีใครสนใจ
"ผมเคยซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เขาเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้น เพราะงบการเงินเขาตรงสเปกผมทุกอย่าง โดยเฉพาะในแง่ของกระแสเงินสด เขามีเยอะมาก ตอนนั้นมีคนบอกผมว่า ประเมินหุ้นตัวนี้ยากนะ แต่หลังจากผมหาข้อมูลจนครบถ้วนก็ซื้อเลยเพราะเชื่อว่าหุ้นตัวนี้ไปได้ไกลแน่นอน สุดท้ายก็เป็นจริง"
สำหรับหุ้นที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยเลย นพ.ประมุข กล่าวว่า หุ้นที่มีการฟ้องร้องทางกฎหมายมีคดียาวเป็นหางว่าว รวมถึงหุ้นที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และหุ้นที่มีปัญหาด้านศีลธรรม ยิ่งเป็นหุ้นที่มีผู้บริหารไม่โปร่งใสออกแนวสีเทาๆ "ผมไม่ซื้อเลย"
"ผมไม่ค่อยชอบพวกหุ้นโรงงานที่มีการลงทุนเยอะๆ และหุ้นวัฎจักร เช่น คอมมูนิตี้ น้ำมัน และเหล็ก เพราะคาดการณ์ลำบาก ต้องติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา แต่หากเป็นธุรกิจที่มีวัฎจักรยาวๆ เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่า ก็ยังพอลงทุนได้"
แม้ชีวิตจะพบกับอิสระภาพทางการเงินแล้ว แต่คุณหมอและภรรยาจะยังยึดอาชีพ "หมอรักษาคนไข้" ต่อไป แต่อาจลดเวลาการทำงานลงบ้างตามอายุ ทุกวันนี้คุณหมอจะสอนลูกทั้ง 2 คน (ผู้หญิงคนโตอายุ 14 ปี และลูกชายอายุ 8 ปี) เกี่ยวกับการลงทุนโดยคนโตเริ่มซึมซับบางแล้ว ส่วนลูกๆจะเลือกเดินทางไหนทั้งสองหมอให้อิสระเต็มที
สุดท้าย นพ.ประมุข ฝากบอกนักลงทุนมือใหม่ว่า นักลงทุนที่ดีควรจะเป็น “นักสำรวจ” ที่ดีด้วย ต้องหมั่นไปดูสินค้าที่เราเป็นเจ้าของ เช่น ไปเยี่ยมชมเคาน์เตอร์ หรือไปดูสินค้าตามห้าง และไปถามว่าเขาขายดีหรือไม่ เราจะได้กลับมาประเมินอนาคตของหุ้นตัวนั้นได้ถูก
"หนทางนี้จะนำท่านไปสู่คำว่า "อิสระภาพทางการเงิน" ได้หรือไม่..อยู่ที่ตัวของท่านเองแล้ว” คุณหมอกล่าวปิดท้าย
moneymartthai.com
7 วิธีดูหุ้น นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ - 2 ก.ย. 55
https://www.facebook.com/home.php#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
จากหมอสูติ-นรีเวช ก้าวสู่เส้นทาง “เซียนหุ้นวีไอ” ต้องการมีอิสระภาพทางการเงิน นายแพทย์ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ คุณหมอวัยกลางคนวัย 43 ปี เคยล้มเหลวจากการลงทุนเพราะยึดนโยบาย “...ไม่ขาย ไม่ขาดทุน” ทำให้ “ขาดทุน” จากวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้จนราคาหุ้นแทบเป็น "ศูนย์" จากนั้นก็หยุดเล่นหุ้นไปพักใหญ่ก่อนจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งในปี 2544 ด้วยแนวทาง Value Investor อย่างเต็มตัว ปัจจุบันคุณหมอเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นหลักเท่าไร “ไม่รู้” เพราะเจ้าตัวกอดความลับนี้ไม่ยอมเปิดเผย บอกเพียงว่าไม่แตกต่างอะไรจากคณะกรรมการสมาคมวีไอคนอื่นๆ...ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า "พอร์ตคงใหญ่ไม่ใช่เล่น"
หมอมุขเจ้าของชื่อล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ไทยวีไอ เปิดเผยกลยุทธ์การลงทุนส่วนตัวให้ฟังว่า หลักๆ จะเน้นดู 7 ข้อ คือ
1.หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) สูง 15-20% ขึ้นไป ROE จะบ่งบอกความสามารถของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น “ยิ่งสูง ยิ่งดี” แต่บางครั้งก็มีตัวหลอกเหมือนกัน หากบริษัทนั้นมีหนี้สินจำนวนมาก ฉะนั้นต้องดูดีๆ อย่ารีบเชื่อทันที!
ข้อ 2. หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) สูงกว่า 10% ข้อ 3.ต้องมี PEG ratio น้อยกว่า 1 เท่า คือการเทียบค่า P/E ratio กับการเจริญเติบโตของกำไรสุทธิ (Growth) หาโดยเอาค่า P/E ratio ตั้งหารด้วยเปอร์เซ็นต์การเจริญเติบโตนั้น บริษัทใดที่ราคาหุ้นต่ำจะน่าซื้อ ถ้าค่า PEG ratio เกิน 1 แสดงว่าราคาหุ้นสูงเกินไป
ข้อ 4.ต้องมีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ในระดับ 3.5-4% ขึ้นไป ถามว่าทำไมต้องเป็นตัวเลขนี้ เพราะเป็นตัวเลขที่มากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปกติจะอยู่ระดับ 3% ข้อ 5. หุ้นตัวนั้นต้องมีกระแสเงินสดสูงๆ ยิ่งไม่ต้องจ่ายหนี้ "ผมจะชอบมากเป็นพิเศษ"
ข้อ 6. ผู้บริหารต้องไว้ใจได้ (โปร่งใส) พูดแล้วทำได้จริง ซึ่งเราต้องไปคุยกับผู้บริหารบ่อยๆ ยิ่งเขาถือหุ้น 20-25% ผมยิ่งชอบเพราะมันจะบ่งบอกว่า เขาจะทุ่มเทในการทำงานมากขนาดไหน ข้อสุดท้าย จะดูปัจจัยทางกายภาพ ธุรกิจนี้มีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน โอกาสเติบโตของรายได้และกำไรเป็นอย่างไร สินค้าหรือธุรกิจหลักจะเติบโตไปตามชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และลูกค้านิยมชมชอบสินค้ามากหรือน้อยแค่ไหน ที่สำคัญจะดูว่าคู่แข่งของเขามีใครบ้าง หากจะมีคู่แข่งเกิดขึ้นใหม่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ได้ง่ายหรือยาก
“ผมไม่นิยมดูเส้นเทคนิคและไม่เคยนำมาประยุกต์ใช้ เพราะไม่เข้าใจในหลักการ ส่วนใหญ่จะดูเพียงราคา ณ ปัจจุบัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ประเมินไว้ว่ามันมีส่วนลด (Margin of Safety) เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ เช่น ถ้ามีส่วนลด 40-50% จากมูลค่าที่คิดไว้ก็พอใจที่จะซื้อแล้ว”
เซียนหุ้นคุณพ่อลูกสอง กล่าวต่อว่า ในพอร์ตมีหุ้นที่สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ประมาณ 4-5 เท่า อยู่ใน 3 กลุ่มหลักๆ คือ 1.กลุ่มโมเดิร์นเทรด (ไม่บอกชื่อหุ้น) ตัวนี้ชอบมากที่สุด เพราะเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดค่อนข้างมาก มีอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์สูง ที่สำคัญการขยายสาขาส่วนใหญ่จะใช้โมเดลเดิมๆ ใช้เงินลงทุนไม่มากสามารถทำซ้ำๆ ได้ตลอดเวลา
ข้อดีของหุ้นโมเดิร์นเทรดตัวที่ลงทุนเขายังสามารถขยายสาขาได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามจังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา และหาดใหญ่ รวมถึงหัวเมืองรองๆ เช่น ราชบุรี และนครปฐม เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ไปเปิดสาขาใหม่ พวกโมเดิร์นเทรดเล็กๆ ก็จะตามไปเปิดด้วย
รองลงมา คือ กลุ่มที่จะได้ผลประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เช่น กลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย เพราะเขาจะมีอำนาจการต่อรองกับผู้บริโภคสูง และมีแนวโน้มจะเติบโตไปตามวิถีชีวิตของประชาชน
“จุดเด่นของหุ้นสื่อสารตัวนี้ (ที่ลงทุน) คือเขาจะมีกระแสเงินสดเยอะ ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อยี่ห้อสูงไม่ค่อยเปลี่ยนค่าย รวมถึงได้เปรียบในความใหญ่ ที่สำคัญสเปกทางการเงินของเขาตรงใจผมทุกอย่าง (หัวเราะ)"
กลุ่มที่สาม คือ หุ้นเทิร์นอะราวด์ กลุ่มนี้เคยสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก โดยมักจะเข้าไปซื้อในช่วงที่ไม่มีนักลงทุนรายใดสนใจ หลังพบว่าธุรกิจนั้นเกิดความผิดพลาดเพียงชั่วคราวหากศึกษาแล้วพบว่าอนาคตเขากำลังจะดีขึ้นจะเข้าไปซื้อไว้ จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า นพ.ประมุข เคยเข้าไปลงทุนในหุ้นเทิร์นอะราวด์ อาทิ หุ้นทาพาโก้, ไดเมท (สยาม), พรีบิลท์ และ ซิงเกอร์ประเทศไทย เป็นต้น
“นอกจากนี้ผมก็ชอบลงทุนหุ้นปันผลที่ให้ผลตอบแทน 7-10% เพราะมันจะทำให้พอร์ตของผมมั่งคงมากขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนของผมอยู่ในรูปเงินสด หุ้นกู้ และสินทรัพย์อื่นๆ 10-20% ที่เหลือ 80% จะลงทุนในหุ้น โดยจะเน้นลงทุนหุ้นเติบโต 80% อีก 10-20% จะลงทุนหุ้นปันผล"
หมอมุข เล่าต่อว่า ตอนนี้มีหุ้นอยู่ในพอร์ต 8 ตัว ปกติจะถือลงทุนไม่เกิน 10 ตัว มากกว่านี้จะดูไม่ทัน หลังจากที่ซื้อหุ้นตัวไหนแล้วก็จะถือไปจนกว่าราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ถ้าราคาหุ้นขึ้นมาถึงราคาที่เหมาะสมแล้วแต่ยังหาตัวใหม่ที่ดีกว่าไม่ได้ ก็จะยังไม่ขาย บางตัวเคยถือนาน 2-3 ปี ระยะสั้นที่สุด 8 เดือน
"ตั้งแต่ผมเปลี่ยนมาลงทุนแนว VI "ผมไม่เคยขาดทุน" เพราะราคาที่ซื้อจะพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ไม่ค่อยไล่ราคา..ผมรอได้ ไม่อยากติดบนรถไฟนานๆ (หัวเราะ) อีกอย่างราคาที่ซื้อคิดแล้วไม่แพงเกินไป และทุกครั้งที่ซื้อหุ้นตัวไหนผมจะจดไว้เสมอว่า ซื้อเมื่อไร ซื้อเพราะอะไร ราคาเป้าหมายเท่าไร และจะขายเมื่อไร”
นพ.ประมุข บอกว่า เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงเป้าหมาย ก็จะย้อนกลับไปดูว่าหุ้นตัวนั้นขึ้นเพราะเหตุผลนี้(ที่จดไว้)หรือไม่ ถ้าขึ้นมาเร็วเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบของนักลงทุน แต่ราคายังไม่ถึงเป้าหมายก็อาจจะขายออกไปก่อน แล้วอาจกลับมาซื้อใหม่ถ้าราคาลดลง ตรงกันข้ามหากราคาหุ้นขึ้นเพราะจะมีข่าวดีที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนก็จะถือต่อไป การลงทุนจะถือคติว่า “การเป็นนักลงทุนแนว VI ไม่จำเป็นต้องซื้อจุดต่ำสุด ขายจุดสุงสุดเสมอไป”
คุณหมอ อธิบายยุทธวิธีการซื้อหุ้นของตัวเองให้ฟังว่า หากมั่นใจ 100% จะเข้าซื้อหุ้นตัวนั้น 30% ของพอร์ต (ไม่เกินนี้) วิธีการซื้อจะไม่ซื้อครั้งเดียว 30% แต่จะแบ่งซื้อเป็น 5-10 ไม้ ไม้ละ 10-20% มีทั้งเคาะซื้อทันที และตั้งรอ (ช่อง Bid) เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและเพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าซื้อทีเดียวบางครั้งความคิดเราอาจยังไม่ตกผลึกพอ แม้จะทำการบ้านมาดีแค่ไหนก็มีโอกาสพลาดได้
"บางคนใจร้อนไม่ยอมรอ..อาจพลาดได้ เวลาซื้อหุ้นกรุณาใจเย็นๆ จงให้ความสำคัญกับการรักษาเงินต้นก่อนเสมอ ทุกครั้งที่ผมลงทุนถ้ามีความมั่นใจ 100% มักจะได้กำไร 3-4 เท่า แต่หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นเพียง 50% ผมจะซื้อเพียง 10% ของพอร์ต เน้นซื้อแบบตั้งรับ (ตั้งรอ) ไม่ซื้อทันที โดยจะถอยไป 2-3 ช่องราคา บางครั้งก็ไม่ซื้อเลย ขอดูเรื่อยๆ ขอต่อรองราคา ผมจะไม่รู้สึกเสียดายถ้าตกรถไฟ เพราะถ้าเราไม่เข้าใจธุรกิจ..อย่าซื้อ!!”
จากสถิติการลงทุนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คุณหมอได้รับผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจมาก ในปี 2553 ได้กำไร 100% ปี 2554 ทำกำไรได้ประมาณ 75% น้อยกว่าปี 2553 เพราะราคาหุ้นหลายตัวขึ้นมาสูงแล้ว และหาหุ้นดีๆ ได้ยากขึ้น รวมถึงมูลค่าพอร์ตเริ่มใหญ่ขึ้น ส่วนในปี 2555 ตอนต้นปีตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ 40-50% แต่มาถึง ณ วันนี้ กำไรเกินมามากแล้ว เจ้าตัวบอกถ้าเฉลี่ยแต่ละปีได้กำไร 20% ก็ถือว่า “หรู” มากแล้ว
ส่วนคำถามประจำ..คุณหมอมีพอร์ตลงทุนเท่าไร? ความลับนี้เจ้าตัวไม่ยอมเปิดเผยโดยบอกเพียงว่า ทุกวันนี้ได้พบกับ “อิสระภาพทางการเงิน” แล้ว (อยู่ได้โดยให้เงินทำงานให้) คุณหมอบอกว่า กำลังค้นหา "หุ้นที่โลกลืม" ที่มีแนวโน้มจะเติบโตสูงในอนาคต ถ้าใครค้นพบหุ้นลักษณะนี้จะให้ผลตอบแทนที่สูงมาก บางครั้งได้กำไร 3-4 เด้ง ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง นั่นเป็นเพราะไม่มีใครสนใจ
"ผมเคยซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เขาเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้น เพราะงบการเงินเขาตรงสเปกผมทุกอย่าง โดยเฉพาะในแง่ของกระแสเงินสด เขามีเยอะมาก ตอนนั้นมีคนบอกผมว่า ประเมินหุ้นตัวนี้ยากนะ แต่หลังจากผมหาข้อมูลจนครบถ้วนก็ซื้อเลยเพราะเชื่อว่าหุ้นตัวนี้ไปได้ไกลแน่นอน สุดท้ายก็เป็นจริง"
สำหรับหุ้นที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยเลย นพ.ประมุข กล่าวว่า หุ้นที่มีการฟ้องร้องทางกฎหมายมีคดียาวเป็นหางว่าว รวมถึงหุ้นที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และหุ้นที่มีปัญหาด้านศีลธรรม ยิ่งเป็นหุ้นที่มีผู้บริหารไม่โปร่งใสออกแนวสีเทาๆ "ผมไม่ซื้อเลย"
"ผมไม่ค่อยชอบพวกหุ้นโรงงานที่มีการลงทุนเยอะๆ และหุ้นวัฎจักร เช่น คอมมูนิตี้ น้ำมัน และเหล็ก เพราะคาดการณ์ลำบาก ต้องติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา แต่หากเป็นธุรกิจที่มีวัฎจักรยาวๆ เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่า ก็ยังพอลงทุนได้"
แม้ชีวิตจะพบกับอิสระภาพทางการเงินแล้ว แต่คุณหมอและภรรยาจะยังยึดอาชีพ "หมอรักษาคนไข้" ต่อไป แต่อาจลดเวลาการทำงานลงบ้างตามอายุ ทุกวันนี้คุณหมอจะสอนลูกทั้ง 2 คน (ผู้หญิงคนโตอายุ 14 ปี และลูกชายอายุ 8 ปี) เกี่ยวกับการลงทุนโดยคนโตเริ่มซึมซับบางแล้ว ส่วนลูกๆจะเลือกเดินทางไหนทั้งสองหมอให้อิสระเต็มที
สุดท้าย นพ.ประมุข ฝากบอกนักลงทุนมือใหม่ว่า นักลงทุนที่ดีควรจะเป็น “นักสำรวจ” ที่ดีด้วย ต้องหมั่นไปดูสินค้าที่เราเป็นเจ้าของ เช่น ไปเยี่ยมชมเคาน์เตอร์ หรือไปดูสินค้าตามห้าง และไปถามว่าเขาขายดีหรือไม่ เราจะได้กลับมาประเมินอนาคตของหุ้นตัวนั้นได้ถูก
"หนทางนี้จะนำท่านไปสู่คำว่า "อิสระภาพทางการเงิน" ได้หรือไม่..อยู่ที่ตัวของท่านเองแล้ว” คุณหมอกล่าวปิดท้าย
moneymartthai.com