เมื่อกี๊ขับรถ และมีเพลงกอด จาก Clash ดังขึ้นในวิทยุ ดิฉันหยุดฟัง แล้วก็ลองสังเกตตัวเอง ก็พบว่าร้องตามได้ทุกโน้ต รวมถึง Memory ในช่วงที่ได้ฟังเพลงนี้บ่อยๆก็ค่อยไหลมาสู่สมอง มันเป็นความรู้สึกที่ประหลาด เพราะเรามีความสุขมากที่ได้ฟังมัน
ซึ่งมาลองคิดดีดี ช่วงนั้นที่เพลงนี้ฮิต มันก็เมื่อ 17 ปีมาแล้ว ช่วงนั้นเรียนมหาวิทยาลัยนี่นา
พอมาคิดจริงๆด้วยเหตุผล ช่วงนั้นมันมีทั้งสุขและทุกข์นะ แล้วทำไมเวลาฟังเพลงยุคนั้นอีกครั้ง ทำไมรู้สึกมีแต่ความสุขล้วนๆ อันนี้ทำให้ดิฉันสงสัยตัวเองมาก
แล้วพอวิทยุเปลี่ยนเพลงเป็นเพลงที่ใหม่กว่าเดิม แต่ไม่ใช่เพลงใหม่ล่าสุดนะ เพียงแต่ไม่ใช่ช่วงที่เรียนหนังสือ เป็นเพลง ‘เหรอ’ จาก ซาซ่า ที่ช่วงนั้นทำงานแล้ว ซึ่งช่วงทำงานก็สนุกนี่หว่าตามความทรงจำ แล้วดิฉันชอบเพลงนี้มากกกก
แต่ทำใมมันไม่เต็มไปด้วยความสุขเหมือนเพลงตอนเรียนล่ะ ซึ่งขอบอกว่าดิฉันไม่ได้พูดลอยๆนะ เพราะลองกับเพลงในยุคเดียวกันอย่างเพลงของ pause ก็ได้เอฟเฟคเดียวกับ กอด ของ แคลช
แล้วลองเปิดเพลงที่ชอบมาก แต่เป็นช่วงทำงานแล้วอย่าง
Burn ของ แคทลียา อิงลิช ก็ได้ความสนุก ได้ความชอบ
แต่ไม่ใช่ความรู้สึก ความทรงจำ ที่สุข และ Deep เท่ากับเพลงในช่วงเรียน
นี่ทำให้ดิฉันถึงกับไปดู พ.ศ.ที่เพลงนี้ปล่อยครั้งแรก และเทียบอายุตัวเองกันเลยทีเดียวว่าเพลงที่ได้เอฟเฟคDeep เบอร์นั้น ดิฉันฟังมันตอนอายุเท่าไหร่ และก็ได้ผลมาว่า เพลงที่ทำให้รู้สึกขนาดนั้นได้ คือเพลงในช่วงก่อนอายุ 22 ปี หรือปีที่เรียนจบพอดี
และเพลงที่ฟังแล้วชอบหลังอายุ 22 ปี มันไม่ค่อยจะ deep แล้ว ......เพราะอะไร หึย น่าสนใจมากสำหรับดิฉัน ถึงกับไปค้นกันเลยทีเดียว
สิ่งได้มาก็คือ มนุษย์ฟังเพลง โดยการใช้สมอง (Cortex)รับรู้จังหวะ,คำร้อง,ทำนองของเพลง และถ้าสมองกับอารมณ์ได้ตกลงว่าชอบเพลงนี้ ร่างกายก็จะหลั่งสารที่ให้ความรู้สึกด้านบวกออกมา (เช่น Dopamine, Serotonine ฯลฯ อีกมายผสมกัน ซึ่งถ้าดิฉันเขียนไปทั้งหมด ก็จะกลายเป็นงานวิจัยไปค่ะ)
ทำให้เราEnjoy เพลงนั้นๆ
ซึ่งนั่นเป็นเพียงปฐมบทของเพลงกับความรู้สึกของเราเท่านั้น
เพราะต่อจากนั้น เพลงๆนั้น ก็จะเดินทางเข้าสู่ความทรงจำของเรา โดยถ้ามีสิ่งกระตุ้นภายนอกอีก เช่น ฟังเพลงนี้ตอนอกหัก ฟังเพลงนี้ตอนไปทริปทะเลจบม.6กับเพื่อน โอ้โห พูดเลยค่ะ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ถ้าเพลงนี้ดังนี้ มันจะกรอความทรงจำกลับมา (ใช้คำว่ากรอ ดิฉันจะไม่แก้ แต่ปวดใจนิดหน่อย ฉันแก่มาก ฮือ) ซึ่งถ้าเป็นเพลงที่โดนมากๆ เราก็จะ Emotional ขึ้นมาเลยค่ะ
เอ้า เวลาผ่านมาตั้งนาน ทำไมยัง Emotional ล่ะ ถามเอง ตอบเองก็ได้ เพราะสมองเราบางครั้งก็เล่นตลกกับเรา โดยจะเลือกจำสิ่งที่เราต้องการให้เป็นค่ะ ซึ่งบางครั้งก็เราเองอาจเลือกเองที่จะรู้สึกช้ำชอกกับประสบการณ์แต่หนหลัง
ซึ่งไม่ใช่ Fact ที่เกิดในตอนนั้น จริงๆแล้วเราอาจจะเฉยๆกับมันก็ได้ แต่ว่าอยากช้ำใจเพราะมันได้emotionalดี
และด้วยการที่อยากรู้เพิ่มเติม
ดิฉันเลยไปถกต่อกับคุณหมอน้องชายดิฉันเอง เขาบอกว่า สิ่งที่สำคัญอีกข้อในการทำให้เพลงเก่าๆในช่วงวัยรุ่นมัน Deep เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่เต็มไปด้วยฮอร์โมน อารมณ์มาเต็ม และเรายังดีลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วยเหตุผลได้ไม่เต็มร้อย
เราเลยรับรู้เรื่องต่างๆในช่วงนั้นด้วยอารมณ์ และเราจะจำความรู้สึกได้มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ เช่น เราส่วนใหญ่อาจจะจำตอนที่ตกบันไดต่อหน้าธารกำนัลเมื่อวัยรุ่นว่ารู้สึกอายมากกก แต่จำไม่ไม่หมดหรอก บันไดขั้นไหน วันอะไร ฯลฯ (บางคนอาจจำได้ถ้าเลือกจำมัน)
และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ สิ่งแวดล้อม
เพราะความทรงจำในสมัยในสมองไม่ได้จำแค่ Fact และอารมณ์ความรู้สึก แต่จำสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งจะมีวัยไหนที่เราแวดล้อมไปด้วยคนที่อารมณ์ท่วมขั้นสุดอย่างวัยรุ่นสมัยเรียนล่ะ เราเลยEmotionalมากในวัยรุ่น
ส่วนอายุที่จะDeep ไปกับเรื่องต่างๆในชีวิตโดยเฉลี่ยก็คือ 13-22 ปี และช่วงอายุนี้จะฟอร์มรสนิยม, สไตล์,ความชอบและตัวตนของเราขึ้นมา
ซึ่งมันจะเปลี่ยนอีกครั้งตอนอายุ 33 ปี และหลังจากนั้นจะไม่เปลี่ยนอีกเลย (อันนี้อ้างจากงานวิจัยนะคะ น้องชายฉันฝากบอกมา)
ซึ่งมันก็ตอบคำถามดิฉันนะ เพราะเพลงดีดีเกิดขึ้นใหม่มากมาย แต่ทำไมเวลาเราแก่ขึ้นเรื่อยๆเรายังชอบเพลงสมัยวัยรุ่นอยู่ได้
การตลาดที่เน้น Nostalgia หรือการคิดถึงอดีตเลยขายได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นของสะสมวัยเด็ก,เพลง, คอนเสิร์ต
ซึ่งใน 15 ปีข้างหน้า เพลงเบบี้ชาร์ค ,เพลงของเดอะทอยส์, วี วีโอเล็ต ก็จะไปอยู่ในช่วง Throw Back
คิดแล้ว เอ้อ เราแก่ว่ะ
โห่
ไปละ บาย
ทำไมเพลงตอนวัยรุ่นมันฝังหัวฝังใจฝังอารมณ์หนักหนา
ซึ่งมาลองคิดดีดี ช่วงนั้นที่เพลงนี้ฮิต มันก็เมื่อ 17 ปีมาแล้ว ช่วงนั้นเรียนมหาวิทยาลัยนี่นา
พอมาคิดจริงๆด้วยเหตุผล ช่วงนั้นมันมีทั้งสุขและทุกข์นะ แล้วทำไมเวลาฟังเพลงยุคนั้นอีกครั้ง ทำไมรู้สึกมีแต่ความสุขล้วนๆ อันนี้ทำให้ดิฉันสงสัยตัวเองมาก
แล้วพอวิทยุเปลี่ยนเพลงเป็นเพลงที่ใหม่กว่าเดิม แต่ไม่ใช่เพลงใหม่ล่าสุดนะ เพียงแต่ไม่ใช่ช่วงที่เรียนหนังสือ เป็นเพลง ‘เหรอ’ จาก ซาซ่า ที่ช่วงนั้นทำงานแล้ว ซึ่งช่วงทำงานก็สนุกนี่หว่าตามความทรงจำ แล้วดิฉันชอบเพลงนี้มากกกก
แต่ทำใมมันไม่เต็มไปด้วยความสุขเหมือนเพลงตอนเรียนล่ะ ซึ่งขอบอกว่าดิฉันไม่ได้พูดลอยๆนะ เพราะลองกับเพลงในยุคเดียวกันอย่างเพลงของ pause ก็ได้เอฟเฟคเดียวกับ กอด ของ แคลช
แล้วลองเปิดเพลงที่ชอบมาก แต่เป็นช่วงทำงานแล้วอย่าง
Burn ของ แคทลียา อิงลิช ก็ได้ความสนุก ได้ความชอบ
แต่ไม่ใช่ความรู้สึก ความทรงจำ ที่สุข และ Deep เท่ากับเพลงในช่วงเรียน
นี่ทำให้ดิฉันถึงกับไปดู พ.ศ.ที่เพลงนี้ปล่อยครั้งแรก และเทียบอายุตัวเองกันเลยทีเดียวว่าเพลงที่ได้เอฟเฟคDeep เบอร์นั้น ดิฉันฟังมันตอนอายุเท่าไหร่ และก็ได้ผลมาว่า เพลงที่ทำให้รู้สึกขนาดนั้นได้ คือเพลงในช่วงก่อนอายุ 22 ปี หรือปีที่เรียนจบพอดี
และเพลงที่ฟังแล้วชอบหลังอายุ 22 ปี มันไม่ค่อยจะ deep แล้ว ......เพราะอะไร หึย น่าสนใจมากสำหรับดิฉัน ถึงกับไปค้นกันเลยทีเดียว
สิ่งได้มาก็คือ มนุษย์ฟังเพลง โดยการใช้สมอง (Cortex)รับรู้จังหวะ,คำร้อง,ทำนองของเพลง และถ้าสมองกับอารมณ์ได้ตกลงว่าชอบเพลงนี้ ร่างกายก็จะหลั่งสารที่ให้ความรู้สึกด้านบวกออกมา (เช่น Dopamine, Serotonine ฯลฯ อีกมายผสมกัน ซึ่งถ้าดิฉันเขียนไปทั้งหมด ก็จะกลายเป็นงานวิจัยไปค่ะ)
ทำให้เราEnjoy เพลงนั้นๆ
ซึ่งนั่นเป็นเพียงปฐมบทของเพลงกับความรู้สึกของเราเท่านั้น
เพราะต่อจากนั้น เพลงๆนั้น ก็จะเดินทางเข้าสู่ความทรงจำของเรา โดยถ้ามีสิ่งกระตุ้นภายนอกอีก เช่น ฟังเพลงนี้ตอนอกหัก ฟังเพลงนี้ตอนไปทริปทะเลจบม.6กับเพื่อน โอ้โห พูดเลยค่ะ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ถ้าเพลงนี้ดังนี้ มันจะกรอความทรงจำกลับมา (ใช้คำว่ากรอ ดิฉันจะไม่แก้ แต่ปวดใจนิดหน่อย ฉันแก่มาก ฮือ) ซึ่งถ้าเป็นเพลงที่โดนมากๆ เราก็จะ Emotional ขึ้นมาเลยค่ะ
เอ้า เวลาผ่านมาตั้งนาน ทำไมยัง Emotional ล่ะ ถามเอง ตอบเองก็ได้ เพราะสมองเราบางครั้งก็เล่นตลกกับเรา โดยจะเลือกจำสิ่งที่เราต้องการให้เป็นค่ะ ซึ่งบางครั้งก็เราเองอาจเลือกเองที่จะรู้สึกช้ำชอกกับประสบการณ์แต่หนหลัง
ซึ่งไม่ใช่ Fact ที่เกิดในตอนนั้น จริงๆแล้วเราอาจจะเฉยๆกับมันก็ได้ แต่ว่าอยากช้ำใจเพราะมันได้emotionalดี
และด้วยการที่อยากรู้เพิ่มเติม
ดิฉันเลยไปถกต่อกับคุณหมอน้องชายดิฉันเอง เขาบอกว่า สิ่งที่สำคัญอีกข้อในการทำให้เพลงเก่าๆในช่วงวัยรุ่นมัน Deep เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่เต็มไปด้วยฮอร์โมน อารมณ์มาเต็ม และเรายังดีลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วยเหตุผลได้ไม่เต็มร้อย
เราเลยรับรู้เรื่องต่างๆในช่วงนั้นด้วยอารมณ์ และเราจะจำความรู้สึกได้มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ เช่น เราส่วนใหญ่อาจจะจำตอนที่ตกบันไดต่อหน้าธารกำนัลเมื่อวัยรุ่นว่ารู้สึกอายมากกก แต่จำไม่ไม่หมดหรอก บันไดขั้นไหน วันอะไร ฯลฯ (บางคนอาจจำได้ถ้าเลือกจำมัน)
และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ สิ่งแวดล้อม
เพราะความทรงจำในสมัยในสมองไม่ได้จำแค่ Fact และอารมณ์ความรู้สึก แต่จำสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งจะมีวัยไหนที่เราแวดล้อมไปด้วยคนที่อารมณ์ท่วมขั้นสุดอย่างวัยรุ่นสมัยเรียนล่ะ เราเลยEmotionalมากในวัยรุ่น
ส่วนอายุที่จะDeep ไปกับเรื่องต่างๆในชีวิตโดยเฉลี่ยก็คือ 13-22 ปี และช่วงอายุนี้จะฟอร์มรสนิยม, สไตล์,ความชอบและตัวตนของเราขึ้นมา
ซึ่งมันจะเปลี่ยนอีกครั้งตอนอายุ 33 ปี และหลังจากนั้นจะไม่เปลี่ยนอีกเลย (อันนี้อ้างจากงานวิจัยนะคะ น้องชายฉันฝากบอกมา)
ซึ่งมันก็ตอบคำถามดิฉันนะ เพราะเพลงดีดีเกิดขึ้นใหม่มากมาย แต่ทำไมเวลาเราแก่ขึ้นเรื่อยๆเรายังชอบเพลงสมัยวัยรุ่นอยู่ได้
การตลาดที่เน้น Nostalgia หรือการคิดถึงอดีตเลยขายได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นของสะสมวัยเด็ก,เพลง, คอนเสิร์ต
ซึ่งใน 15 ปีข้างหน้า เพลงเบบี้ชาร์ค ,เพลงของเดอะทอยส์, วี วีโอเล็ต ก็จะไปอยู่ในช่วง Throw Back
คิดแล้ว เอ้อ เราแก่ว่ะ
โห่
ไปละ บาย