สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. เป็นสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ให้สามารถตรวจสภาพรถยนต์-รถจักรยานยนต์ก่อนเสียภาษีประจำปี เพื่อตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและอุปกรณ์ส่วนควบให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมใช้งาน มีปลอดภัยในการใช้รถรถใช้ถนน และลดมลภาวะต่างๆ อันเกิดจากรถ โดยรถจักรยานยนต์ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปี ขึ้นไปจะต้องผ่านการตรวจสภาพกับ ตรอ. ก่อน จึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ เมื่อนำรถเข้ารับการตรวจสภาพกับ ตรอ. ก็จะเจอกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการซึ่งต้องผ่านการสอบใบอนุญาตฯ จากกรมการขนส่งทางบกก่อนครับ
มาเริ่มขั้นการขอรับใบอนุญาตฯ กันเลยครับ
การสมัคร
สมัครฝึกอบรมและสำรองที่นั่งผ่านเว็บไซต์
http://vis-dlt.org/index.php?option=com_seminar&Itemid=48
โดยกดที่ "กดเลือกเพื่อสมัคร" หน้าเว็บจะให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ วุฒิการศึกษา ที่อยู่ปัจจุบัน เป็นต้น จากนั้นกด "จองที่" เพื่อส่งใบสมัคร
สามารถกดตรวจสอบรายชื่อและลำดับการสมัครได้จากปุ่มหมายเลขท้ายคำอธิบาย จากภาพแสดงให้เห็นว่ามีผู้สมัครรอฝึกอบรมจำนวน 609 คน จากนั้นรอการโทรติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งวันอบรม และให้ชำระเงินค่าลงทะเบียนจำนวน 1,200 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ
- ปริญญาตรี หรือสูงกว่า ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ยานยนต์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล งานยานยนต์
- ปวส. ช่างยนต์ เครื่องกล ยานยนต์
- ปวท. สาขาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องยนต์หรือช่างยนต์
- วุฒิการศึกษานอกจากที่กำหนด ต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้น 3 วิชา
2. ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์/เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ
- เหมือนผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถยนต์
- ปวช. ช่างยนต์ เครื่องกล ช่างกลเกษตร
- ม.ปลาย สายอาชีพ ช่างยนต์ ช่างเครื่องยนต์
3. เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์
- เหมือนผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถยนต์
- ม.ต้น หรือเทียบเท่าหรือสูงกว่า และศึกษาเพิ่ม 3 วิชา
กรณีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับคุณสมบัติของใบอนุญาตแต่ละประเภท สามารถเรียนเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้น ตรอ. 3 วิชา ด้านระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ และระบบเครื่องล่างรถยนต์ โดยสมัครเข้ารับการศึกษาในสถาบันอาชีวะที่ทำการเปิดสอนหลักสูตรดังกล่าว เช่น วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร วิทยาลัยเทคนิคบางแสน วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี เป็นต้น มีการเรียนการสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ ใช้ระยะเวลาเรียนประมาณ 3 เดือน
เอกสารประกอบการสมัคร (ยื่นในวันลงทะเบียน)
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ใบ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
4. สำเนาวุฒิการศึกษา ทั้งวุฒิการศึกษาพื้นฐานและวุฒิการศึกษาระยะสั้น อย่างละ 1 ชุด (พร้อมตัวจริง)
5. เอกสาร หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ และนามสกุล ในกรณีที่มีการแจ้งเปลี่ยน 1 ใบ
สถานที่ฝึกอบรม
ศูนย์ทดสอบยานยนต์ ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
https://goo.gl/maps/iK3kE62PZKq
ตัวอาคารอบรมอยู่ลึกจากถนน แนะนำควรนำรถส่วนตัวมา หากไม่ได้นำรถมาสามารถอาศัยติดรถเพื่อนๆ ร่วมอบรมออกไปหาแท็กซี่ขึ้นหน้าตลาดหรือถนนลำลูกกาได้ เพราะด้านหน้าที่ฝึกอบรมแท็กซี่ผ่านน้อย 30 นาที -1 ชั่วโมงจะมีหลงวิ่งผ่านมาสักคัน
การฝึกอบรมและทดสอบ
จะใช้เวลา 5 วัน ตามแผนการฝึกอบรมดังตาราง (แผนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ในระหว่าง 5 วันนี้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ทะมัดทะแมงเหมาะสำหรับการเดิน ลุกและนั่ง
วันที่ 1 วันจันทร์
- ลงทะเบียนอบรม
เริ่มตั้งแต่ 07.00-09.00 น. เริ่มตรวจเอกสารกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า ที่ชั้น 3 ใครมาก่อนขึ้นไปได้เลยครับ เขียนใบคำร้องขอมีบัตรและเตรียมเอกสารประกอบการสมัครให้พร้อม เอกสารต่างๆ ที่ถ่ายมาเซ็นรับรองสำเนาทั้งหมดให้เรียบร้อย หลังตรวจเอกสารเรียบร้อยซื้อหนังสือประกอบการอบรม ราคา 500 บาท พร้อมสมุดและปากกา
ปล. หนังสือประกอบการอบรม ปัจจุบันใช้เล่มสีเขียว หากใครมีญาติหรือคนรู้จักที่เคยมาอบรมแล้วใช้หนังสือเล่มสีม่วงก็ยังสามารถใช้ประกอบการอบรมได้ เนื้อหาในเล่มจะแตกต่างกันราว 50-100 หน้า ซึ่งเพิ่มประกาศใหม่จนถึงปัจจุบันเข้าไป
- วันแรกฟังบรรยายทั้งวันหัวข้อต่างๆ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ, การรายงานผลตรวจสภาพ, ข้อกำหนดการใช้ NGV-LPG เป็นเชื้อเพลิง
- ช่วงพักเที่ยง สามารถออกไปหาอาหารข้างนอกทานได้ที่ตลาด ส่วนใครที่ไม่สะดวกหรือไม่อยากออกไปไหนสามารถฝากแม่บ้านที่จัดของว่างช่วงเบรคซื้อข้าวได้ เนื่องจากระแวกนี้หาร้านขายอาหารยาก
วันที่ 2 วันอังคาร
จัดลำดับการนั่งฟังบรรยายใหม่โดยเรียงตามพยัญชนะ (ตำแหน่งนั่งสอบ)
- ครึ่งวันเช้า ฟังบรรยายหัวข้อหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจ และวินิจฉัยผล ว่าด้วยการขนส่งทางบกและว่าด้วยรถยนต์
- ครึ่งวันบ่าย แบ่งกลุ่มปฎิบัติศึกษาการตรวจสภาพรถ โดยการตรวจพินิจ และดูวิดีโอการตรวจสภาพรถ
วันที่ 3 วันพุธ
- ฟังบรรยายทั้งวัน หัวข้อ ข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวรถ อุปกรณ์และส่วนควบ, เกณฑ์การใช้เครื่องตรวจสภาพรถและวินิจฉัยผล, จริยธรรมและการบริการ
- ช่วงเย็นหลังจบบรรยาย สอบปรนัย ข้อสอบกากบาทจำนวน 50 ข้อ มีเวลา 1 ชั่วโมง ข้อสอบยากมากกกก ถ้าตั้งใจฟังบรรยาย ไม่แอบนั่งหลับ และกลับไปทบทวนเนื้อหาในแต่ละวันก็จะผ่านแบบหวุดหวิดเหมือนกันครับ ฮ่าๆๆ ในระหว่างสอบหาความรู้รอบตัวไม่ได้แน่นอนเพราะข้อสอบมีหลายชุด กติกาการสอบที่รัดกุมและเคี่ยวมาก
- ผลสอบจะประกาศช่วงค่ำๆ ผ่าน Line ผลปรากฎว่าสอบผ่านราว 10 คนนิดๆ จากผู้เข้าอบรม 90 กว่าคน โดยเกณฑ์การสอบผ่าน ผู้ควบคุมต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 80% (40 ข้อ) และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพไม่น้อยกว่า 75% (38 ข้อ) และมีสิทธิ์สอบแก้ตัวได้ 2 ครั้ง ในค่ำคืนนี้ใครไม่ผ่านก็จะตั้งกลุ่มติวกันแบ่งตามชุดข้อสอบที่ได้ ใครได้ชุดไหนคนที่สอบผ่านก็จะมาช่วยติวให้เพื่อนๆ ใครจำคำถามข้อไหนได้ก็จะช่วยกันหาคำตอบ สามัคคีร่วมมือร่วมใจกันมากๆ เลยครับ
วันที่ 4 วันพฤหัสฯ
ช่วงเช้าก่อนแบ่งกลุ่มเรียนปฎิบัติก็จะมาจับกลุ่มติวกันและช่วยกันหาคำตอบต่อจากเมื่อคืน ต่างคนต่างที่มา บางคนมาคนเดียว บางคนเรียนหลักสูตรระยะสั้น 3 วิชาด้วยกันมา จะเห็นว่ามีทั้ง น้อง พี่ ลุง ป้า น้า อา หลายวัยหลายรุ่น ต่างช่วยกันครับ ถึงไม่รู้จักกันแต่ก็ช่วยเหลือกันอยากให้ทุกคนสอบแก้ตัวผ่าน
- แบ่งกลุ่มเรียนปฏิบัติ เรียนรู้การใช้และฝึกใช้เครื่องตรวจสภาพรถ มี 4 ฐาน วนกันตลอดทั้งวันเช้า-บ่าย ลองใช้ลองฝึกกันดูนะครับสำหรับใครที่ไม่เคยผ่านงานด้าน ตรอ. มาก่อน เพราะมีสอบปฏิบัติ เครื่องมือ 4 ฐาน ที่เรียนฝึกการใช้งาน ได้แก่
1. เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
2. เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
3. เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ
4. เครื่องวัดควันดำ
ตกเย็นหลังเรียนปฎิบัติเสร็จ ขึ้นสอบแก้ตัวปรนัยครั้งที่ 1 โดยใช้เกณฑ์เดิมและข้อสอบชุดเดิมในการสอบ ผลสอบประกาศช่วงค่ำๆ ผ่าน Line เช่นเดิม รอบนี้คนผ่านเยอะมาก คนที่สอบผ่านแล้ว ก็จะมีรายชื่อจับคู่ออกมาเพื่อเตรียมการสอบปฏิบัติในวันพรุ่งนี้ ระหว่างนี้ใน Line จะสอบถามหาคู่ของตัวเองว่าเป็นใคร ให้ทักหาโทรหากันตลาดแตกมากครับ ฮ่าๆๆ
แต่ก็ยังมีบางส่วนที่สอบไม่ผ่าน โดยจะมีการสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ในช่วงเช้าวันศุกร์ หากสอบแก้ตัวรอบนี้ไม่ผ่าน กลับบ้านครับ รอลงทะเบียนอบรมใหม่ได้เลย คนที่สอบแก้ตัวไม่ผ่านในรอบแรกก็จะหวั่นๆ หน่อยครับมาเกินครึ่งทางแล้ว บางคนมาไกล บางคนลางานมา หากสอบไม่ผ่านจะต้องกลับบ้านมือเปล่า แต่คนที่สอบผ่านแล้วก็ยังคงช่วยติวให้เพื่อนๆ ที่ยังสอบไม่ผ่าน รอบนี้น้ำกำลังใจมาเต็มครับสำหรับคนที่ยังไม่ผ่านก็ยังคงติวกันต่อไป และต้องอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบอัตนัยในวันพรุ่งนี้ด้วย
วันที่ 5 วันศุกร์
วันสุดท้ายของการอบรมและทดสอบ
- คนที่ยังสอบปรนัยไม่ผ่าน ต้องสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ให้ผ่านก่อนในช่วงเช้า จึงจะมีสิทธิ์สอบปฏิบัติและสอบอัตนัยในช่วงบ่าย หากสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ในช่วงเช้าไม่ผ่าน ให้กลับบ้าน ลงทะเบียนอบรมและทดสอบใหม่
- คนที่สอบปรนัยผ่านแล้ว จะเข้าสอบปฏิบัติทีละ 4 คู่ โดยการจับฉลากว่าจะได้สอบในฐานใดจาก 4 ฐานที่ได้เรียนฝึกการใช้เครื่องมือในวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา การจับฉลากจะจับ 2 ครั้ง ครั้งแรกจับเพื่อสอบปฎิบัติ ส่วนจับครั้งที่สองเพื่อสอบอัตนัย เป็นข้อสอบเขียนบรรยายเกี่ยวกับเครื่องมือ วิธีใช้ ขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์ แบบเจาะจงชนิดอุปกรณ์เดียว จาก 1 ใน 4 ฐาน และวิธีการตรวจการสภาพรถโดยการตรวจพินิจ พร้อมทั้งเกณฑ์การวินิจฉัย ของส่วนควบต่างๆ เช่น ศูนย์ล้อหน้า ระบบบังคับเลี้ยวและพวงมาลัย ระบบรองรับน้ำหนัก กระจก เป็นต้น ซึ่งการสอบปฎิบัติและสอบเขียนบรรยายจะทำต่อเนื่องกัน มีเวลา 20 นาที ในแต่ละการสอบ การสอบเขียนบรรยายจะใช้เกณฑ์เดียวกันกับสอบกากบาท คือ 80% และ 75%
รูปสอบปฏิบัติและข้อเขียน
- ในระหว่างนี้คนที่สอบปฏิบัติผ่านก็จะคอยให้กำลังใจเพื่อนที่กำลังสอบปฏิบัติอยู่ หรือหากใครที่รู้ตัวว่าสอบเขียนบรรยายไม่ค่อยได้ก็จะอ่านหนังสือรอเพื่อเตรียมสอบแก้ตัวใหม่ในข้อสอบชุดเดิมช่วงเย็น
- สำหรับคนที่สอบปฏิบัติไม่ผ่าน จะต้องสอบแก้ตัวเดี่ยวเป็นรายบุคคลในช่วงบ่ายหลังจากคู่สุดท้ายของการสอบปฏิบัติสอบครบทุกคู่แล้ว หลังจากที่สอบแก้ตัวเดี่ยวรายบุคคลหมดแล้วก็จะขึ้นห้องอบรมชั้น 3 เพื่อฟังผลการสอบอัตนัย
- การประกาศผลสอบอัตนัย หากใครที่สอบผ่านให้ลงไปรับใบอนุญาตฯ ที่ชั้น 2 ส่วนคนที่สอบไม่ผ่านให้อยู่ในห้องอบรมก่อนเพื่อสอบแก้ตัวครั้งที่ 1 และรอฟังผล หากสอบผ่านรับใบอนุญาตฯ
- หากสอบแก้ตัวครั้งที่ 1 ไม่ผ่านให้กลับมาสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ หากยังคงสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน ให้ลงทะเบียนอบรมและทดสอบใหม่
การเลื่อนสถานะ
เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ/รถจักรยานยนต์ ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี แนบบัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือรับรองการทำงาน เพื่อเข้ารับการอบรมทดสอบเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ/รถจักรยานยนต์
การต่ออายุใบอนุญาตฯ
ยื่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยว่า 30 วัน แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี หากขาดเกิน 1 ปี อบรมและทดสอบใหม่
จบไปเป็นที่เรียบร้อยครับสำหรับขั้นตอนการสอบใบอนุญาตฯ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับใครที่กำลังจะขอรับใบอนุญาตฯ สุดท้ายขอขอบคุณรูปภาพจากกลุ่ม Line ที่อาจารย์และเพื่อนๆ อบรมฯ รุ่นที่ 7/2562 ได้แบ่งปันลงในกลุ่มมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ^^
ขั้นตอบการสอบใบอนุญาต ผู้ตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. เป็นสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ให้สามารถตรวจสภาพรถยนต์-รถจักรยานยนต์ก่อนเสียภาษีประจำปี เพื่อตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและอุปกรณ์ส่วนควบให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมใช้งาน มีปลอดภัยในการใช้รถรถใช้ถนน และลดมลภาวะต่างๆ อันเกิดจากรถ โดยรถจักรยานยนต์ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปี ขึ้นไปจะต้องผ่านการตรวจสภาพกับ ตรอ. ก่อน จึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ เมื่อนำรถเข้ารับการตรวจสภาพกับ ตรอ. ก็จะเจอกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการซึ่งต้องผ่านการสอบใบอนุญาตฯ จากกรมการขนส่งทางบกก่อนครับ
มาเริ่มขั้นการขอรับใบอนุญาตฯ กันเลยครับ
การสมัคร
สมัครฝึกอบรมและสำรองที่นั่งผ่านเว็บไซต์
http://vis-dlt.org/index.php?option=com_seminar&Itemid=48
โดยกดที่ "กดเลือกเพื่อสมัคร" หน้าเว็บจะให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ วุฒิการศึกษา ที่อยู่ปัจจุบัน เป็นต้น จากนั้นกด "จองที่" เพื่อส่งใบสมัคร
สามารถกดตรวจสอบรายชื่อและลำดับการสมัครได้จากปุ่มหมายเลขท้ายคำอธิบาย จากภาพแสดงให้เห็นว่ามีผู้สมัครรอฝึกอบรมจำนวน 609 คน จากนั้นรอการโทรติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งวันอบรม และให้ชำระเงินค่าลงทะเบียนจำนวน 1,200 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ
- ปริญญาตรี หรือสูงกว่า ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ยานยนต์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล งานยานยนต์
- ปวส. ช่างยนต์ เครื่องกล ยานยนต์
- ปวท. สาขาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องยนต์หรือช่างยนต์
- วุฒิการศึกษานอกจากที่กำหนด ต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้น 3 วิชา
2. ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์/เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ
- เหมือนผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถยนต์
- ปวช. ช่างยนต์ เครื่องกล ช่างกลเกษตร
- ม.ปลาย สายอาชีพ ช่างยนต์ ช่างเครื่องยนต์
3. เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์
- เหมือนผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถยนต์
- ม.ต้น หรือเทียบเท่าหรือสูงกว่า และศึกษาเพิ่ม 3 วิชา
กรณีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับคุณสมบัติของใบอนุญาตแต่ละประเภท สามารถเรียนเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้น ตรอ. 3 วิชา ด้านระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ และระบบเครื่องล่างรถยนต์ โดยสมัครเข้ารับการศึกษาในสถาบันอาชีวะที่ทำการเปิดสอนหลักสูตรดังกล่าว เช่น วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร วิทยาลัยเทคนิคบางแสน วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี เป็นต้น มีการเรียนการสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ ใช้ระยะเวลาเรียนประมาณ 3 เดือน
เอกสารประกอบการสมัคร (ยื่นในวันลงทะเบียน)
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ใบ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
4. สำเนาวุฒิการศึกษา ทั้งวุฒิการศึกษาพื้นฐานและวุฒิการศึกษาระยะสั้น อย่างละ 1 ชุด (พร้อมตัวจริง)
5. เอกสาร หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ และนามสกุล ในกรณีที่มีการแจ้งเปลี่ยน 1 ใบ
สถานที่ฝึกอบรม
ศูนย์ทดสอบยานยนต์ ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
https://goo.gl/maps/iK3kE62PZKq
ตัวอาคารอบรมอยู่ลึกจากถนน แนะนำควรนำรถส่วนตัวมา หากไม่ได้นำรถมาสามารถอาศัยติดรถเพื่อนๆ ร่วมอบรมออกไปหาแท็กซี่ขึ้นหน้าตลาดหรือถนนลำลูกกาได้ เพราะด้านหน้าที่ฝึกอบรมแท็กซี่ผ่านน้อย 30 นาที -1 ชั่วโมงจะมีหลงวิ่งผ่านมาสักคัน
การฝึกอบรมและทดสอบ
จะใช้เวลา 5 วัน ตามแผนการฝึกอบรมดังตาราง (แผนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ในระหว่าง 5 วันนี้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ทะมัดทะแมงเหมาะสำหรับการเดิน ลุกและนั่ง
วันที่ 1 วันจันทร์
- ลงทะเบียนอบรม
เริ่มตั้งแต่ 07.00-09.00 น. เริ่มตรวจเอกสารกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า ที่ชั้น 3 ใครมาก่อนขึ้นไปได้เลยครับ เขียนใบคำร้องขอมีบัตรและเตรียมเอกสารประกอบการสมัครให้พร้อม เอกสารต่างๆ ที่ถ่ายมาเซ็นรับรองสำเนาทั้งหมดให้เรียบร้อย หลังตรวจเอกสารเรียบร้อยซื้อหนังสือประกอบการอบรม ราคา 500 บาท พร้อมสมุดและปากกา
ปล. หนังสือประกอบการอบรม ปัจจุบันใช้เล่มสีเขียว หากใครมีญาติหรือคนรู้จักที่เคยมาอบรมแล้วใช้หนังสือเล่มสีม่วงก็ยังสามารถใช้ประกอบการอบรมได้ เนื้อหาในเล่มจะแตกต่างกันราว 50-100 หน้า ซึ่งเพิ่มประกาศใหม่จนถึงปัจจุบันเข้าไป
- วันแรกฟังบรรยายทั้งวันหัวข้อต่างๆ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ, การรายงานผลตรวจสภาพ, ข้อกำหนดการใช้ NGV-LPG เป็นเชื้อเพลิง
- ช่วงพักเที่ยง สามารถออกไปหาอาหารข้างนอกทานได้ที่ตลาด ส่วนใครที่ไม่สะดวกหรือไม่อยากออกไปไหนสามารถฝากแม่บ้านที่จัดของว่างช่วงเบรคซื้อข้าวได้ เนื่องจากระแวกนี้หาร้านขายอาหารยาก
วันที่ 2 วันอังคาร
จัดลำดับการนั่งฟังบรรยายใหม่โดยเรียงตามพยัญชนะ (ตำแหน่งนั่งสอบ)
- ครึ่งวันเช้า ฟังบรรยายหัวข้อหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจ และวินิจฉัยผล ว่าด้วยการขนส่งทางบกและว่าด้วยรถยนต์
- ครึ่งวันบ่าย แบ่งกลุ่มปฎิบัติศึกษาการตรวจสภาพรถ โดยการตรวจพินิจ และดูวิดีโอการตรวจสภาพรถ
วันที่ 3 วันพุธ
- ฟังบรรยายทั้งวัน หัวข้อ ข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวรถ อุปกรณ์และส่วนควบ, เกณฑ์การใช้เครื่องตรวจสภาพรถและวินิจฉัยผล, จริยธรรมและการบริการ
- ช่วงเย็นหลังจบบรรยาย สอบปรนัย ข้อสอบกากบาทจำนวน 50 ข้อ มีเวลา 1 ชั่วโมง ข้อสอบยากมากกกก ถ้าตั้งใจฟังบรรยาย ไม่แอบนั่งหลับ และกลับไปทบทวนเนื้อหาในแต่ละวันก็จะผ่านแบบหวุดหวิดเหมือนกันครับ ฮ่าๆๆ ในระหว่างสอบหาความรู้รอบตัวไม่ได้แน่นอนเพราะข้อสอบมีหลายชุด กติกาการสอบที่รัดกุมและเคี่ยวมาก
- ผลสอบจะประกาศช่วงค่ำๆ ผ่าน Line ผลปรากฎว่าสอบผ่านราว 10 คนนิดๆ จากผู้เข้าอบรม 90 กว่าคน โดยเกณฑ์การสอบผ่าน ผู้ควบคุมต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 80% (40 ข้อ) และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพไม่น้อยกว่า 75% (38 ข้อ) และมีสิทธิ์สอบแก้ตัวได้ 2 ครั้ง ในค่ำคืนนี้ใครไม่ผ่านก็จะตั้งกลุ่มติวกันแบ่งตามชุดข้อสอบที่ได้ ใครได้ชุดไหนคนที่สอบผ่านก็จะมาช่วยติวให้เพื่อนๆ ใครจำคำถามข้อไหนได้ก็จะช่วยกันหาคำตอบ สามัคคีร่วมมือร่วมใจกันมากๆ เลยครับ
วันที่ 4 วันพฤหัสฯ
ช่วงเช้าก่อนแบ่งกลุ่มเรียนปฎิบัติก็จะมาจับกลุ่มติวกันและช่วยกันหาคำตอบต่อจากเมื่อคืน ต่างคนต่างที่มา บางคนมาคนเดียว บางคนเรียนหลักสูตรระยะสั้น 3 วิชาด้วยกันมา จะเห็นว่ามีทั้ง น้อง พี่ ลุง ป้า น้า อา หลายวัยหลายรุ่น ต่างช่วยกันครับ ถึงไม่รู้จักกันแต่ก็ช่วยเหลือกันอยากให้ทุกคนสอบแก้ตัวผ่าน
- แบ่งกลุ่มเรียนปฏิบัติ เรียนรู้การใช้และฝึกใช้เครื่องตรวจสภาพรถ มี 4 ฐาน วนกันตลอดทั้งวันเช้า-บ่าย ลองใช้ลองฝึกกันดูนะครับสำหรับใครที่ไม่เคยผ่านงานด้าน ตรอ. มาก่อน เพราะมีสอบปฏิบัติ เครื่องมือ 4 ฐาน ที่เรียนฝึกการใช้งาน ได้แก่
1. เครื่องทดสอบโคมไฟหน้า
2. เครื่องวัดระดับเสียงและเครื่องวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์
3. เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ
4. เครื่องวัดควันดำ
ตกเย็นหลังเรียนปฎิบัติเสร็จ ขึ้นสอบแก้ตัวปรนัยครั้งที่ 1 โดยใช้เกณฑ์เดิมและข้อสอบชุดเดิมในการสอบ ผลสอบประกาศช่วงค่ำๆ ผ่าน Line เช่นเดิม รอบนี้คนผ่านเยอะมาก คนที่สอบผ่านแล้ว ก็จะมีรายชื่อจับคู่ออกมาเพื่อเตรียมการสอบปฏิบัติในวันพรุ่งนี้ ระหว่างนี้ใน Line จะสอบถามหาคู่ของตัวเองว่าเป็นใคร ให้ทักหาโทรหากันตลาดแตกมากครับ ฮ่าๆๆ
แต่ก็ยังมีบางส่วนที่สอบไม่ผ่าน โดยจะมีการสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ในช่วงเช้าวันศุกร์ หากสอบแก้ตัวรอบนี้ไม่ผ่าน กลับบ้านครับ รอลงทะเบียนอบรมใหม่ได้เลย คนที่สอบแก้ตัวไม่ผ่านในรอบแรกก็จะหวั่นๆ หน่อยครับมาเกินครึ่งทางแล้ว บางคนมาไกล บางคนลางานมา หากสอบไม่ผ่านจะต้องกลับบ้านมือเปล่า แต่คนที่สอบผ่านแล้วก็ยังคงช่วยติวให้เพื่อนๆ ที่ยังสอบไม่ผ่าน รอบนี้น้ำกำลังใจมาเต็มครับสำหรับคนที่ยังไม่ผ่านก็ยังคงติวกันต่อไป และต้องอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบอัตนัยในวันพรุ่งนี้ด้วย
วันที่ 5 วันศุกร์
วันสุดท้ายของการอบรมและทดสอบ
- คนที่ยังสอบปรนัยไม่ผ่าน ต้องสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ให้ผ่านก่อนในช่วงเช้า จึงจะมีสิทธิ์สอบปฏิบัติและสอบอัตนัยในช่วงบ่าย หากสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ในช่วงเช้าไม่ผ่าน ให้กลับบ้าน ลงทะเบียนอบรมและทดสอบใหม่
- คนที่สอบปรนัยผ่านแล้ว จะเข้าสอบปฏิบัติทีละ 4 คู่ โดยการจับฉลากว่าจะได้สอบในฐานใดจาก 4 ฐานที่ได้เรียนฝึกการใช้เครื่องมือในวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา การจับฉลากจะจับ 2 ครั้ง ครั้งแรกจับเพื่อสอบปฎิบัติ ส่วนจับครั้งที่สองเพื่อสอบอัตนัย เป็นข้อสอบเขียนบรรยายเกี่ยวกับเครื่องมือ วิธีใช้ ขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์ แบบเจาะจงชนิดอุปกรณ์เดียว จาก 1 ใน 4 ฐาน และวิธีการตรวจการสภาพรถโดยการตรวจพินิจ พร้อมทั้งเกณฑ์การวินิจฉัย ของส่วนควบต่างๆ เช่น ศูนย์ล้อหน้า ระบบบังคับเลี้ยวและพวงมาลัย ระบบรองรับน้ำหนัก กระจก เป็นต้น ซึ่งการสอบปฎิบัติและสอบเขียนบรรยายจะทำต่อเนื่องกัน มีเวลา 20 นาที ในแต่ละการสอบ การสอบเขียนบรรยายจะใช้เกณฑ์เดียวกันกับสอบกากบาท คือ 80% และ 75%
รูปสอบปฏิบัติและข้อเขียน
- ในระหว่างนี้คนที่สอบปฏิบัติผ่านก็จะคอยให้กำลังใจเพื่อนที่กำลังสอบปฏิบัติอยู่ หรือหากใครที่รู้ตัวว่าสอบเขียนบรรยายไม่ค่อยได้ก็จะอ่านหนังสือรอเพื่อเตรียมสอบแก้ตัวใหม่ในข้อสอบชุดเดิมช่วงเย็น
- สำหรับคนที่สอบปฏิบัติไม่ผ่าน จะต้องสอบแก้ตัวเดี่ยวเป็นรายบุคคลในช่วงบ่ายหลังจากคู่สุดท้ายของการสอบปฏิบัติสอบครบทุกคู่แล้ว หลังจากที่สอบแก้ตัวเดี่ยวรายบุคคลหมดแล้วก็จะขึ้นห้องอบรมชั้น 3 เพื่อฟังผลการสอบอัตนัย
- การประกาศผลสอบอัตนัย หากใครที่สอบผ่านให้ลงไปรับใบอนุญาตฯ ที่ชั้น 2 ส่วนคนที่สอบไม่ผ่านให้อยู่ในห้องอบรมก่อนเพื่อสอบแก้ตัวครั้งที่ 1 และรอฟังผล หากสอบผ่านรับใบอนุญาตฯ
- หากสอบแก้ตัวครั้งที่ 1 ไม่ผ่านให้กลับมาสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ หากยังคงสอบแก้ตัวครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน ให้ลงทะเบียนอบรมและทดสอบใหม่
การเลื่อนสถานะ
เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ/รถจักรยานยนต์ ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี แนบบัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือรับรองการทำงาน เพื่อเข้ารับการอบรมทดสอบเป็นผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ/รถจักรยานยนต์
การต่ออายุใบอนุญาตฯ
ยื่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยว่า 30 วัน แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี หากขาดเกิน 1 ปี อบรมและทดสอบใหม่
จบไปเป็นที่เรียบร้อยครับสำหรับขั้นตอนการสอบใบอนุญาตฯ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับใครที่กำลังจะขอรับใบอนุญาตฯ สุดท้ายขอขอบคุณรูปภาพจากกลุ่ม Line ที่อาจารย์และเพื่อนๆ อบรมฯ รุ่นที่ 7/2562 ได้แบ่งปันลงในกลุ่มมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ^^