ไบโอไทย ชำแหละเอกสารและข้อเสนอของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวานนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2562) เอกสารข้อเสนอนี้เป็นเหตุผลสำคัญ ทำให้คณะกรรมการมีมติไม่แบนพาราควอต สารพิษร้ายแรงที่มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกล้วนยกเลิกการใช้แล้ว
เราพบ 6 ประเด็นอัปยศ ในเอกสารและข้อเสนอดังกล่าวดังนี้
1. อ้างว่าหลังกรมวิชาการเกษตรใช้มาตรการควบคุมพาราควอต พบสถิติการใช้ลดลงในปี 2561 ซึ่งเป็นการบิดเบือน เพราะที่จริงแล้วบริษัทสารพิษได้นำเข้าสารดังกล่าวมากกักตุนเพิ่มขึ้นมหาศาลจากเดิมที่นำเข้า 31,525,596 กิโลกรัมในปี 2559 เพิ่มขึ้นถึง 44,501,340 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นมากถึง 41.2%) ในปี 2560 หลังจากกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้มีการแบน การลดลงของตัวเลขการนำเข้าจึงเป็นตัวเลขหลอกลวงเพื่อโน้มน้าวให้เชื่อว่ามีการลดการใช้ลงแล้วตามมาตรการของกรมฯ
2. อ้างว่าจะมีการอนุญาตให้มีการใช้ในพืช 6 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และไม้ผลที่ขึ้นทะเบียน ซึ่งที่จริงแล้วนี่ไม่ใช่จำกัดการใช้แต่เป็นการขยายการใช้ให้เพิ่มขึ้น เพราะก่อนหน้ามีข้อเสนอแบน กรมวิชาการเกษตรอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนการใช้ในพืช 5 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ไม่รวมไม้ผล
3.อ้างว่ายังไม่มีทางออกในการควบคุมศัตรูพืชทดแทนและต้องใช้เวลาอีก 2 ปีในการหาสารและวิธีการทดแทน
3.1 จริงๆแล้วกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้มีการแบนตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 และมีเวลามากกว่า 2 ปีให้กระทรวงเกษตรหาทางออกแต่กลับไม่มีการดำเนินการใดๆเลย อ้างเหตุผลต่างๆมายืดเวลาให้มีการใช้ต่อไปอีก 2 ปี รวมเวลาเป็น 4 ปีกว่า
3.2 รายงานของกรมวิชาการเกษตรที่เสนอขัดแย้งกับข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ที่มีนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร เป็นประธาน ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานในกรมวิชาการเกษตรเอง เช่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ยืนยันว่าสามารถมีวิธีการทดแทนได้ เช่น การใช้เครื่องจักรกลเป็นต้น แต่รายงานชิ้นนี้กลับไม่ถูกกล่าวถึงเลย
4. กระทรวงเกษตรฯอ้างว่ามีข้อมูลจาก "นักวิชาการบางกลุ่ม" ยืนยันว่าถ้ามีการใช้พาราควอตอย่างถูกต้องจะปลอดภัย คำกล่าวอ้างนี้เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ เพราะเท่ากับเป็นการ "ตบหน้า" กระทรวงสาธารณสุขรวมทั้งองค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น แพทยสภา สภาเภสัชกรรมเป็นต้น แล้วกลับไปเชื่อถือ "นักวิชาการบางกลุ่ม" แทน ไบโอไทยพบว่า "นักวิชาการบางกลุ่ม" ที่ว่าอาจมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทสารพิษ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
5. อ้างว่าระหว่าง 2 ปีนี้ จะมีการศึกษาเรื่องผลกระทบโดยให้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ ทั้งๆที่
5.1 กระทรวงเกษตรฯไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำไมไม่ใช้ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และทำไมต้องไปทดลองใหม่ทั้งๆที่มีงานวิจัยเป็นจำนวนมากแล้ว จากเหตุผลที่ 50 กว่าประเทศทั่วโลกที่แบน
5.2 ประชาชนอาจไม่ทราบว่าผู้อำนวยการสวก. ที่จะรับผิดชอบงานศึกษาดังกล่าว คืออดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนที่แล้ว ซึ่งเป็นผู้อนุมัติต่อทะเบียนพาราควอตให้กับบริษัทซินเจนทา สวนทางกับข้อเรียกร้องของกระทรวงสาธารณสุข
6. อ้างว่าจะมีการพิจารณาว่าจะแบนหรือไม่แบนใหม่หลังจากผ่านพ้นไป 2 ปีข้างหน้า ข้อเสนอนี้คือเล่ห์เหลี่ยมของกระทรวงเกษตรฯที่ยื้อการแบนออกไปนั่นเอง หลังจากที่ปล่อยข่าวว่าจะแบนภายใน 3 ปี แต่จะกลายเป็นว่าหลังจากผ่านพ้นไป 2 ปีก็จะไม่หลักประกันใดๆว่าจะแบนสารพิษร้ายแรงนี้
นี่คือเอกสารอัปยศ ดูถูกหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และดูถูกประชาชนทั่วประเทศ โดยแท้
6 ประเด็น อัปยศ ไม่แบนพาราคอต
เราพบ 6 ประเด็นอัปยศ ในเอกสารและข้อเสนอดังกล่าวดังนี้
1. อ้างว่าหลังกรมวิชาการเกษตรใช้มาตรการควบคุมพาราควอต พบสถิติการใช้ลดลงในปี 2561 ซึ่งเป็นการบิดเบือน เพราะที่จริงแล้วบริษัทสารพิษได้นำเข้าสารดังกล่าวมากกักตุนเพิ่มขึ้นมหาศาลจากเดิมที่นำเข้า 31,525,596 กิโลกรัมในปี 2559 เพิ่มขึ้นถึง 44,501,340 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นมากถึง 41.2%) ในปี 2560 หลังจากกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้มีการแบน การลดลงของตัวเลขการนำเข้าจึงเป็นตัวเลขหลอกลวงเพื่อโน้มน้าวให้เชื่อว่ามีการลดการใช้ลงแล้วตามมาตรการของกรมฯ
2. อ้างว่าจะมีการอนุญาตให้มีการใช้ในพืช 6 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และไม้ผลที่ขึ้นทะเบียน ซึ่งที่จริงแล้วนี่ไม่ใช่จำกัดการใช้แต่เป็นการขยายการใช้ให้เพิ่มขึ้น เพราะก่อนหน้ามีข้อเสนอแบน กรมวิชาการเกษตรอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนการใช้ในพืช 5 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ไม่รวมไม้ผล
3.อ้างว่ายังไม่มีทางออกในการควบคุมศัตรูพืชทดแทนและต้องใช้เวลาอีก 2 ปีในการหาสารและวิธีการทดแทน
3.1 จริงๆแล้วกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้มีการแบนตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 และมีเวลามากกว่า 2 ปีให้กระทรวงเกษตรหาทางออกแต่กลับไม่มีการดำเนินการใดๆเลย อ้างเหตุผลต่างๆมายืดเวลาให้มีการใช้ต่อไปอีก 2 ปี รวมเวลาเป็น 4 ปีกว่า
3.2 รายงานของกรมวิชาการเกษตรที่เสนอขัดแย้งกับข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ที่มีนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร เป็นประธาน ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานในกรมวิชาการเกษตรเอง เช่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ยืนยันว่าสามารถมีวิธีการทดแทนได้ เช่น การใช้เครื่องจักรกลเป็นต้น แต่รายงานชิ้นนี้กลับไม่ถูกกล่าวถึงเลย
4. กระทรวงเกษตรฯอ้างว่ามีข้อมูลจาก "นักวิชาการบางกลุ่ม" ยืนยันว่าถ้ามีการใช้พาราควอตอย่างถูกต้องจะปลอดภัย คำกล่าวอ้างนี้เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ เพราะเท่ากับเป็นการ "ตบหน้า" กระทรวงสาธารณสุขรวมทั้งองค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น แพทยสภา สภาเภสัชกรรมเป็นต้น แล้วกลับไปเชื่อถือ "นักวิชาการบางกลุ่ม" แทน ไบโอไทยพบว่า "นักวิชาการบางกลุ่ม" ที่ว่าอาจมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทสารพิษ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
5. อ้างว่าระหว่าง 2 ปีนี้ จะมีการศึกษาเรื่องผลกระทบโดยให้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ ทั้งๆที่
5.1 กระทรวงเกษตรฯไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำไมไม่ใช้ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และทำไมต้องไปทดลองใหม่ทั้งๆที่มีงานวิจัยเป็นจำนวนมากแล้ว จากเหตุผลที่ 50 กว่าประเทศทั่วโลกที่แบน
5.2 ประชาชนอาจไม่ทราบว่าผู้อำนวยการสวก. ที่จะรับผิดชอบงานศึกษาดังกล่าว คืออดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนที่แล้ว ซึ่งเป็นผู้อนุมัติต่อทะเบียนพาราควอตให้กับบริษัทซินเจนทา สวนทางกับข้อเรียกร้องของกระทรวงสาธารณสุข
6. อ้างว่าจะมีการพิจารณาว่าจะแบนหรือไม่แบนใหม่หลังจากผ่านพ้นไป 2 ปีข้างหน้า ข้อเสนอนี้คือเล่ห์เหลี่ยมของกระทรวงเกษตรฯที่ยื้อการแบนออกไปนั่นเอง หลังจากที่ปล่อยข่าวว่าจะแบนภายใน 3 ปี แต่จะกลายเป็นว่าหลังจากผ่านพ้นไป 2 ปีก็จะไม่หลักประกันใดๆว่าจะแบนสารพิษร้ายแรงนี้
นี่คือเอกสารอัปยศ ดูถูกหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และดูถูกประชาชนทั่วประเทศ โดยแท้