พอดีผมไปอ่านพบบทความนี้มาจากอินเทอร์เน็ต เลยคัดบางส่วนมาให้อ่านกัน หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และตัวผู้เรียนเอง ส่วนจะแก้ปัญหานี้อย่างไร และใครต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ คงต้องละไว้ด้วยเครื่องหมาย Question Mark (?) ต่อไปก็แล้วกันครับ
เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนแล้ว
ไทยได้คะแนนในอันดับที่ 6 จาก 8 ประเทศในอาเซียนที่ทำการสำรวจ เรียงตามลำดับดังนี้คือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา และ กัมพูชา
ในขณะที่
สวีเดน มีคะแนนสูงสุดในบรรดาประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ส่วนประเทศที่คะแนนน้อยที่สุดก็คือ
ลิเบีย
ผลจากคะแนนสอบจะนำมาจัดหมวดหมู่เป็น 5 ระดับคือสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก คะแนนของไทยนั้นถูกจัดอยู่ในระดับ “ต่ำ” ซึ่งไทยคงอยู่ในระดับนี้ตั้งแต่ EF ออกรายงานฉบับแรกในปี 2554
EF คือใคร ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C
นอกจากนี้ EF ยังได้ให้ข้อมูลเปรียบเทียบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้หญิงว่า คะแนนของผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงมีเฉลี่ย 54.57 และผู้ชาย 52.63 จากผู้ทดสอบทั้งสิ้น 1.3 ล้านคนทั่วโลก โดยคะแนนระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันนี้ด้วย
การทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบแบบออนไลน์สำหรับคนทั่วไป โดยวัดผลจากทักษะการฟังและการอ่าน ซึ่ง EF ระบุว่า อาจส่งผลให้ภาพรวมคะแนนออกมามากกว่าปกติ เนื่องจากอาจไม่ได้เข้าถึงกลุ่มคนยากไร้หรือคนที่ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงมาจากภาษาไทยที่อ่อนแอ
ดร.เนตรปรียา ชุมไชโย หรือ “ครูเคท” ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาครูเคท กล่าวกับบีบีซีไทยว่า พัฒนาการภาษาอังกฤษที่ตกต่ำลงของคนรุ่นใหม่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยที่อ่อนแอ เนื่องจากภาษาจะเกี่ยวข้องโดยตรงต่อระบบการทำงานของสมอง
“เมื่อใช้ไทยอ่อนด้อย ความลึกซึ้งจะน้อย เมื่อใช้อังกฤษที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน ผู้เรียนจะรู้สึกว่ายากจังเลย” เธอกล่าว
อีกสองปัจจัยที่ “ครูเคท”เห็นก็คือ คนไทยไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ “กลัวพูดผิดแล้วอาย และยิ่งพอเห็นตัวอย่างของคนรุ่นก่อนที่ไม่กล้าพูด แล้วคนรุ่นใหม่ก็ไม่กล้าพูดเหมือนกัน” และความสามารถของครูสอนภาษาอังกฤษก็มีส่วน ปัจจุบันคนที่สอนภาษาอังกฤษเก่งที่สุดนั้น สอนอยู่มหาวิทยาลัย “ซึ่งที่จริงแล้ว ควรจะไปสอนเด็กประถมเพื่อสร้างพื้นฐานให้กับเด็กมากกว่า”
เน้นไวยากรณ์เป็นหลัก
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 ได้เสนอการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปในทางที่เน้นให้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หรือที่เรียกว่า communicative language teaching
“
แต่ในทางปฏิบัติ มันไม่เป็นไปตามนั้น เพราะครูคุ้นชินกับวิธีการสอนที่เน้นโครงสร้างหลักไวยากรณ์เป็นสำคัญ (grammar translation) ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้มาตลอด ไม่ว่าครูจะรุ่นใหม่หรือเก่าก็ตาม” ดร.มินตรา ภูริปัญญวานิช อาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
“
ระบบการเรียนการสอน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามุ่งเน้นเพื่อให้เด็กสอบผ่าน แปลว่าวิธีการสอนก็จะเหมือนการติว พอมันเน้นตรงนั้นเมื่อไร มันไม่ได้เน้นกระบวนการฝึกใช้ภาษา ต้องท่อง ต้องจำ”
ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้อ้างว่าให้สัมภาษณ์ว่า การเรียนภาษาอังกฤษของไทยที่เน้นที่ความถูกต้องและความจำมากกว่าการสื่อสาร ทำให้นักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เขายอมรับว่า แม้คนไทยจะเรียนภาษาอังกฤษเป็นเวลา 12 ปี ในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แต่เมื่อจบออกมาแล้ว ส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักในการแข่งขันระดับนานาชาติ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post
https://www.bangkokpost.com/news/general/1570042/thai-english-proficiency-drops
https://www.bangkokpost.com/learning/easier-stuff/275993/mission-impossible-getting-thai-students-to-speak-english
https://www.bangkokpost.com/learning/easy/769044/intensive-english-for-thai-teachers-can-it-work
ที่มา :
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_1784446
ทำไมคะแนนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงย่ำแย่มาติดกัน 8 ปีแล้ว
เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนแล้ว ไทยได้คะแนนในอันดับที่ 6 จาก 8 ประเทศในอาเซียนที่ทำการสำรวจ เรียงตามลำดับดังนี้คือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา และ กัมพูชา
ในขณะที่ สวีเดน มีคะแนนสูงสุดในบรรดาประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ส่วนประเทศที่คะแนนน้อยที่สุดก็คือ ลิเบีย
ผลจากคะแนนสอบจะนำมาจัดหมวดหมู่เป็น 5 ระดับคือสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก คะแนนของไทยนั้นถูกจัดอยู่ในระดับ “ต่ำ” ซึ่งไทยคงอยู่ในระดับนี้ตั้งแต่ EF ออกรายงานฉบับแรกในปี 2554
EF คือใคร ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นอกจากนี้ EF ยังได้ให้ข้อมูลเปรียบเทียบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้หญิงว่า คะแนนของผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงมีเฉลี่ย 54.57 และผู้ชาย 52.63 จากผู้ทดสอบทั้งสิ้น 1.3 ล้านคนทั่วโลก โดยคะแนนระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันนี้ด้วย
การทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบแบบออนไลน์สำหรับคนทั่วไป โดยวัดผลจากทักษะการฟังและการอ่าน ซึ่ง EF ระบุว่า อาจส่งผลให้ภาพรวมคะแนนออกมามากกว่าปกติ เนื่องจากอาจไม่ได้เข้าถึงกลุ่มคนยากไร้หรือคนที่ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงมาจากภาษาไทยที่อ่อนแอ
ดร.เนตรปรียา ชุมไชโย หรือ “ครูเคท” ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาครูเคท กล่าวกับบีบีซีไทยว่า พัฒนาการภาษาอังกฤษที่ตกต่ำลงของคนรุ่นใหม่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยที่อ่อนแอ เนื่องจากภาษาจะเกี่ยวข้องโดยตรงต่อระบบการทำงานของสมอง
“เมื่อใช้ไทยอ่อนด้อย ความลึกซึ้งจะน้อย เมื่อใช้อังกฤษที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน ผู้เรียนจะรู้สึกว่ายากจังเลย” เธอกล่าว
อีกสองปัจจัยที่ “ครูเคท”เห็นก็คือ คนไทยไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ “กลัวพูดผิดแล้วอาย และยิ่งพอเห็นตัวอย่างของคนรุ่นก่อนที่ไม่กล้าพูด แล้วคนรุ่นใหม่ก็ไม่กล้าพูดเหมือนกัน” และความสามารถของครูสอนภาษาอังกฤษก็มีส่วน ปัจจุบันคนที่สอนภาษาอังกฤษเก่งที่สุดนั้น สอนอยู่มหาวิทยาลัย “ซึ่งที่จริงแล้ว ควรจะไปสอนเด็กประถมเพื่อสร้างพื้นฐานให้กับเด็กมากกว่า”
เน้นไวยากรณ์เป็นหลัก
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 ได้เสนอการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปในทางที่เน้นให้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หรือที่เรียกว่า communicative language teaching
“แต่ในทางปฏิบัติ มันไม่เป็นไปตามนั้น เพราะครูคุ้นชินกับวิธีการสอนที่เน้นโครงสร้างหลักไวยากรณ์เป็นสำคัญ (grammar translation) ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้มาตลอด ไม่ว่าครูจะรุ่นใหม่หรือเก่าก็ตาม” ดร.มินตรา ภูริปัญญวานิช อาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
“ระบบการเรียนการสอน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามุ่งเน้นเพื่อให้เด็กสอบผ่าน แปลว่าวิธีการสอนก็จะเหมือนการติว พอมันเน้นตรงนั้นเมื่อไร มันไม่ได้เน้นกระบวนการฝึกใช้ภาษา ต้องท่อง ต้องจำ”
ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้อ้างว่าให้สัมภาษณ์ว่า การเรียนภาษาอังกฤษของไทยที่เน้นที่ความถูกต้องและความจำมากกว่าการสื่อสาร ทำให้นักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เขายอมรับว่า แม้คนไทยจะเรียนภาษาอังกฤษเป็นเวลา 12 ปี ในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แต่เมื่อจบออกมาแล้ว ส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักในการแข่งขันระดับนานาชาติ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post
https://www.bangkokpost.com/news/general/1570042/thai-english-proficiency-drops
https://www.bangkokpost.com/learning/easier-stuff/275993/mission-impossible-getting-thai-students-to-speak-english
https://www.bangkokpost.com/learning/easy/769044/intensive-english-for-thai-teachers-can-it-work
ที่มา : https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_1784446