สถาบันอาร์แอลจีเผยความคืบหน้าการจัดการความรู้เรื่อง “Executive Functions: ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ” ตั้งเป้าผลักดันปฏิรูปการศึกษาไทย
เมื่อบ่ายวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ได้จัดงานแถลงข่าวเผยถึงความคืบหน้าการจัดการความรู้เรื่อง “Executive Functions (EF): ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ” ซึ่งเป็นความรู้ที่วงการพัฒนาเด็กในต่างประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และในประเทศไทยมี รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ศูนย์วิจัยประสาท วิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ศึกษาวิจัยและรวบรวมงานวิจัยจากต่างประเทศ และสถาบันอาร์แอลจีนำมาจัดการความรู้และพัฒนาให้ความรู้ EF เป็นที่เข้าใจง่าย โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่และบุคลากรการศึกษา โดยเฉพาะปฐมวัยศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหวังว่า EF จะเป็นองค์ความรู้หนึ่งเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาของไทย
นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี เปิดเผยว่า EF เป็นกระบวนการทางความคิด (mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
สำหรับ Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ได้แก่
1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2. Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบได้
4. Focus/Attention การใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียด ความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7. Self-Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
นางสุภาวดี หาญเมธี กล่าวต่อไปว่า โลกในศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และซับซ้อนมาก เด็ก เยาวชน หรือ ผู้ใหญ่ หากทักษะ EF บกพร่อง ชีวิตอาจติดหล่ม อาจตกเป็นทาสของสิ่งเร้าทั้งหลาย อาทิ ยาเสพติด การพนัน แอลกอฮอล์ ฯลฯ ได้ง่ายกว่า แต่หากได้รับการฝึกฝนทักษะ EF มาดี บุคคลก็จะคิดวิเคราะห์เป็น มีหลักการวิธีคิด มีการไตร่ตรอง สามารถตัดสินใจได้เหมาะสม เป็นคนที่ทำงานเป็น รู้จักวางแผนก่อนลงมือทำ เป็นระบบ หากทำไปแล้วเกิดอุปสรรค ก็ลุกขึ้นสู้ต่อได้ รู้จักแก้ไข หรือคิดค้นหาทางออกใหม่ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ นอกจากนี้ยังสามารถจัดสัมพันธภาพได้ดี เพราะรู้จักควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมตนเอง จนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน หรือคนในครอบครัว EF จึงเป็นพื้นฐานของทักษะสำคัญที่ต้องมีในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
“ประเทศไทยกำลังจะปฏิรูปการศึกษา แต่เราไม่ได้พูดกันเลยว่า อะไรสำคัญที่สุดสำหรับเด็กไทย ดิฉันอยากทบทวนว่า ถ้าเป้าหมายที่ประเทศชาติต้องการคือ เด็กไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนเป็น มีความสุขเป็น หรือ “เก่ง ดี มีสุข” นั้น แต่ถ้าสมองของเขาไม่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะความสามารถที่จะคิดเป็น ที่จะทำเป็น ที่จะหาความสุขเป็น ตั้งแต่วัยที่ควรฝึกแล้ว เมื่อโตขึ้นสมองของเขาจะทำเป็นได้อย่างไร สมองส่วนหน้าถ้าขาดโอกาสหรือเสียหายไปตั้งแต่เล็กแล้ว โตขึ้นจะฟื้นไม่ได้ง่ายๆ ฉะนั้น ถ้าจะปฏิรูปการศึกษาเพื่อคุณภาพเด็กไทย ต้องพูดเรื่องการพัฒนาทักษะ EF อย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้น เราไม่มีวันได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้” นางสุภาวดีกล่าว
ในโอกาสเดียวกัน นางสุภาวดีให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “จะปฏิรูปการศึกษาไทย ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ไม่ใช่ให้เรียนกันแบบ จดแล้วท่อง ท่องแล้วจำ จำแล้วสอบ สอบแล้วลืม อย่างที่เป็นอยู่ เด็กอนุบาลต้องไม่บังคับเร่งเรียนเขียนอ่าน แต่เรียนรู้แบบ Active Learning โดยการเล่น โดยการได้ลงมือทำ เป็นต้น ส่วนวัยประถม-มัธยม ก็จะต้องเน้นที่การได้ลงมือทำงานกลุ่ม ได้เรียนรู้ผ่านการทำโครงการ ไม่ว่าจะเป็น Problem Based Learning หรือ Project Based Learning เพื่อให้กระบวนการเหล่านี้เสริมทักษะการคิด การทำงานให้กับเด็ก ไม่ใช่เน้นการท่องจำตัวความรู้มากมายอย่างที่เราทำกันอยู่ จนศักยภาพสมองส่วนหน้าของเด็กเสียหายไปมากแล้ว”
ทั้งนี้ นางสุภาวดีชี้แจงว่า การนำ EF ไปใช้ ไม่ใช่เป็นการไปเพิ่มบทเรียน ทฤษฎีใหม่ หรือภาระใหม่ให้กับพ่อแม่หรือครู ไม่ต้องมีอุปกรณ์แพงๆ แต่พ่อแม่หรือครูต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจหลักการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้ชัดเจน แล้วสังเกตว่าลูกของเรามีจุดแข็ง EF ในด้านใด มีจุดอ่อนด้านใด แล้วก็ฝึกฝนเสริมสร้างในด้านนั้น โดยพัฒนาผ่านประสบการณ์ในชีวิตจริงที่หลากหลาย ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
“สถาบันอาร์แอลจีจะขยายโอกาสการเรียนรู้ให้แก่พ่อแม่ ครูอนุบาล และครูระดับต่างๆ หรือผู้ทำงานด้านเด็กและครอบครัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้าใจ EF และมีเทคนิคสร้างการเรียนรู้ โดยผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในเครือของกลุ่มบริษัทอาร์แอลจี ร่วมมือกับพันธมิตรสื่อและองค์กรต่างๆ รวมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ถ้าผู้ใหญ่และสังคมเข้าใจ เด็กๆก็จะได้รับโอกาสพัฒนาทักษะสมอง EF อย่างแท้จริงเป็นพลเมืองคุณภาพ ของครอบครัว และประเทศชาติในระยะยาวต่อไป” นางสุภาวดีกล่าว
สำหรับเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Executive Functions (EF) สามารถติดตามได้ที่ www.rakluke.com และนิตยสารรักลูก เร็วๆ นี้ค่ะ
ที่มา
http://www.rakluke.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-ef-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B8%A7.html
เด็กๆ ตอนนี้มีเเค่ IQ ไม่พอเเล้วนะคะ มารู้จัก EF ทักษะที่สำคัญกว่า IQ กัน
เมื่อบ่ายวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ได้จัดงานแถลงข่าวเผยถึงความคืบหน้าการจัดการความรู้เรื่อง “Executive Functions (EF): ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ” ซึ่งเป็นความรู้ที่วงการพัฒนาเด็กในต่างประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และในประเทศไทยมี รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ศูนย์วิจัยประสาท วิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ศึกษาวิจัยและรวบรวมงานวิจัยจากต่างประเทศ และสถาบันอาร์แอลจีนำมาจัดการความรู้และพัฒนาให้ความรู้ EF เป็นที่เข้าใจง่าย โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่และบุคลากรการศึกษา โดยเฉพาะปฐมวัยศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหวังว่า EF จะเป็นองค์ความรู้หนึ่งเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาของไทย
นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี เปิดเผยว่า EF เป็นกระบวนการทางความคิด (mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
สำหรับ Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ได้แก่
1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2. Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบได้
4. Focus/Attention การใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียด ความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7. Self-Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
นางสุภาวดี หาญเมธี กล่าวต่อไปว่า โลกในศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และซับซ้อนมาก เด็ก เยาวชน หรือ ผู้ใหญ่ หากทักษะ EF บกพร่อง ชีวิตอาจติดหล่ม อาจตกเป็นทาสของสิ่งเร้าทั้งหลาย อาทิ ยาเสพติด การพนัน แอลกอฮอล์ ฯลฯ ได้ง่ายกว่า แต่หากได้รับการฝึกฝนทักษะ EF มาดี บุคคลก็จะคิดวิเคราะห์เป็น มีหลักการวิธีคิด มีการไตร่ตรอง สามารถตัดสินใจได้เหมาะสม เป็นคนที่ทำงานเป็น รู้จักวางแผนก่อนลงมือทำ เป็นระบบ หากทำไปแล้วเกิดอุปสรรค ก็ลุกขึ้นสู้ต่อได้ รู้จักแก้ไข หรือคิดค้นหาทางออกใหม่ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ นอกจากนี้ยังสามารถจัดสัมพันธภาพได้ดี เพราะรู้จักควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมตนเอง จนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน หรือคนในครอบครัว EF จึงเป็นพื้นฐานของทักษะสำคัญที่ต้องมีในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
“ประเทศไทยกำลังจะปฏิรูปการศึกษา แต่เราไม่ได้พูดกันเลยว่า อะไรสำคัญที่สุดสำหรับเด็กไทย ดิฉันอยากทบทวนว่า ถ้าเป้าหมายที่ประเทศชาติต้องการคือ เด็กไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนเป็น มีความสุขเป็น หรือ “เก่ง ดี มีสุข” นั้น แต่ถ้าสมองของเขาไม่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะความสามารถที่จะคิดเป็น ที่จะทำเป็น ที่จะหาความสุขเป็น ตั้งแต่วัยที่ควรฝึกแล้ว เมื่อโตขึ้นสมองของเขาจะทำเป็นได้อย่างไร สมองส่วนหน้าถ้าขาดโอกาสหรือเสียหายไปตั้งแต่เล็กแล้ว โตขึ้นจะฟื้นไม่ได้ง่ายๆ ฉะนั้น ถ้าจะปฏิรูปการศึกษาเพื่อคุณภาพเด็กไทย ต้องพูดเรื่องการพัฒนาทักษะ EF อย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้น เราไม่มีวันได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้” นางสุภาวดีกล่าว
ในโอกาสเดียวกัน นางสุภาวดีให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “จะปฏิรูปการศึกษาไทย ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ไม่ใช่ให้เรียนกันแบบ จดแล้วท่อง ท่องแล้วจำ จำแล้วสอบ สอบแล้วลืม อย่างที่เป็นอยู่ เด็กอนุบาลต้องไม่บังคับเร่งเรียนเขียนอ่าน แต่เรียนรู้แบบ Active Learning โดยการเล่น โดยการได้ลงมือทำ เป็นต้น ส่วนวัยประถม-มัธยม ก็จะต้องเน้นที่การได้ลงมือทำงานกลุ่ม ได้เรียนรู้ผ่านการทำโครงการ ไม่ว่าจะเป็น Problem Based Learning หรือ Project Based Learning เพื่อให้กระบวนการเหล่านี้เสริมทักษะการคิด การทำงานให้กับเด็ก ไม่ใช่เน้นการท่องจำตัวความรู้มากมายอย่างที่เราทำกันอยู่ จนศักยภาพสมองส่วนหน้าของเด็กเสียหายไปมากแล้ว”
ทั้งนี้ นางสุภาวดีชี้แจงว่า การนำ EF ไปใช้ ไม่ใช่เป็นการไปเพิ่มบทเรียน ทฤษฎีใหม่ หรือภาระใหม่ให้กับพ่อแม่หรือครู ไม่ต้องมีอุปกรณ์แพงๆ แต่พ่อแม่หรือครูต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจหลักการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้ชัดเจน แล้วสังเกตว่าลูกของเรามีจุดแข็ง EF ในด้านใด มีจุดอ่อนด้านใด แล้วก็ฝึกฝนเสริมสร้างในด้านนั้น โดยพัฒนาผ่านประสบการณ์ในชีวิตจริงที่หลากหลาย ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
“สถาบันอาร์แอลจีจะขยายโอกาสการเรียนรู้ให้แก่พ่อแม่ ครูอนุบาล และครูระดับต่างๆ หรือผู้ทำงานด้านเด็กและครอบครัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้าใจ EF และมีเทคนิคสร้างการเรียนรู้ โดยผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในเครือของกลุ่มบริษัทอาร์แอลจี ร่วมมือกับพันธมิตรสื่อและองค์กรต่างๆ รวมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ถ้าผู้ใหญ่และสังคมเข้าใจ เด็กๆก็จะได้รับโอกาสพัฒนาทักษะสมอง EF อย่างแท้จริงเป็นพลเมืองคุณภาพ ของครอบครัว และประเทศชาติในระยะยาวต่อไป” นางสุภาวดีกล่าว
สำหรับเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Executive Functions (EF) สามารถติดตามได้ที่ www.rakluke.com และนิตยสารรักลูก เร็วๆ นี้ค่ะ
ที่มา http://www.rakluke.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-ef-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B8%A7.html