ทำไมชนชั้นกลางในเมืองยุคนี้ไม่นิยมมีลูกกัน เพราะตามหลักชีววิทยา สิ่งมีชีวิต การไม่มีลูกคือความล้มเหลว?

เพราะสิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตอยู่ต่อได้ด้วยการสืบพันธุ์ มีลูก หน้าที่หลักของสิ่งมีชีวิตคือสิ่งนี้ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ สิ่งมีชีวิตทั้งหมด รวมทั้งคนจะหายไปนานแล้ว

แต่คนยุคใหม่นี้ ชนชั้นกลาง ที่มีเงิน มีงาน เรียนจบ ทำงาน แต่งหรือไม่แต่ง ไม่นิยมมีลูกกัน

แล้วอนาคตจะเป็นอย่างไร นี่คือภารกิจหลักของสิ่งมีชีวิต   เพราะตามหลักชีววิทยา สิ่งมีชีวิต   การไม่มีลูกคือความล้มเหลว?
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ก็ถูกตามหลักชีววิทยาแล้วนี่ เมื่อสภาพแวดล้อมไม่อำนวยหรือไม่เหมาะสม สิ่งมีชีวิตก็จะมีสัญชาติญาณว่าไม่ควรแพร่พันธ์ุเอาตอนนี้ รอเมื่อพร้อมกว่านี้หรือมีวิธีการที่ดีกว่านี้ การที่คนยุคนี้ไม่มีลูกหลาน ก็เพราะคิดว่ามัน "ไม่คุ้ม" แค่นั้นเอง

ปกติสัตว์หลายๆ ชนิดที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรในการดูแลบุตรมาก แต่มีโอกาสตายสูง (เช่น เต่าหรือยุง) ก็จะเน้นปริมาณเพื่อเอาตัวรอดมากกว่าคุณภาพ แต่มนุษย์มีสมองในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ มากกว่าสัญชาติญาณ เมื่อรู้ว่าต้องใช้ทรัพยากรในการเลี้ยงดูบุตรมาก (เวลา/แรงงาน/ค่าใช้จ่าย/คุณภาพชีวิต/ความเสี่ยงในอนาคต) ก็เลยเลือกว่าเน้นเรื่องการคัดกรองคุณภาพ มากกว่าไปเพิ่มแต่ปริมาณอย่างเดียว

นอกจากนี้ เอาไว้มนุษย์มี "แนวโน้มที่จะสูญพันธุ์" ก่อนเถอะ ตอนนั้นก็คิดว่าคงจะเลือกปริมาณมากกว่าคุณภาพเองล่ะ หรือไม่ต้องถึงจุดนั้น แค่ถ้าประชากรลดลงจนมนุษย์คิดได้ว่าควรจะมีการสร้างเพิ่ม รัฐบาลก็คงมีแรงจูงใจ/เงื่อนไขในการให้ทรัพยากร จนมนุษย์คิดว่า "คุ้มแล้ว" ที่จะขยายเผ่าพันธ์ุกันตามเหตุผลของมัน
ความคิดเห็นที่ 1
จขกท   จะออกเงินค่าเลี้ยงลูกให้ผมไหมละครับ    ขอเดือนละ 30,000  ขั้นต่ำ  ไม่ขอมาก    ถ้าให้ไม่ได้ก็อย่าพูดเลย


ดูข่าวหนุ่มอินเดียที่ฟ้องศาลหรือเปล่าที่  พ่อแม่ให้เขาเกิดมาโดยที่ไม่ขออนุญาตเขาก่อน    การมีชีวิตอยู่เป็นเรื่องลำบาก  เขาไม่เห็นคุณค่าในการเกิดมาต้องเผชิญชะตากรรมที่ยากลำบากแบบนี้เลย  จึงต้องฟ้องร้องพ่อแม่   
ผมก็เห็นด้วยกับความคิดเค้านะ      บางครอบครัวก็ลำบากอยู่แล้วดิ้นรน   ยังเผือกมีลูกให้มารับความลำบากดิ้นรนกันต่อไปอีก   
เด็ก ๆ  มันก็ไม่ได้อยากเกิดมาต้องเจอเวรกรรม  แบบนี้หรอก
เมืองไทย ฟ้องร้องศาล   ฟ้องพ่อแม่แบบที่อินเดียบ้างได้ไหม  
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่