วัดงามเมืองอุบล

มีโอกาสได้ไปอุบลราชธานี 4 ครั้ง เก็บโน่นนิดนี่หน่อย รวมรวมลงบันทึกในกระทู้นี้

สะพานข้ามกุดปลาขาว
กุด แปลว่าด้วน ... หนองน้ำที่ยาวเมื่อแล้งน้ำก็ขาดเป็นห้วง ๆ จึงเรียกว่ากุด







ข้ามแม่มูลมั่นยืน





วัดหนองบัว


พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์วัดหนองบัว
สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500
จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ






พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์องค์ปัจจุบัน





ได้สร้างขึ้นใหม่ครอบองค์พระธาตุเดิมไว้




วัดมหาวนาราม


ท้าวคำผงเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก
เมื่อสร้างเมืองอุบลราชธานีได้สร้างวัดประจำเมืองชื่อวัดหลวง
พระมหาเถระที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงเห็นว่าวัดอยู่กลางเมืองไม่เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรม
จึงไปตั้งสำนักสงฆ์อยู่ที่ป่าดงอู่ผึ้ง ... คือป่าที่มีผึ้งมาทำรังอยู่มากมาย ใกล้หนองตะพัง
เรียกว่าวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ ชาวบ้านเรียกวัดหนองตะพัง

ท้าวทิดพรหม เจ้าเมืองคนที่สองได้สร้างวิหารและยกขึ้นเป็นวัดประจำเจ้าเมืององค์ที่สอง





เจ้าอาวาสรูปแรกได้สร้างพระเจ้าใหญ่อินแปลง
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง
ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดอุบลราชธานี





ลักษณะศิลปะแบบลาว





อุโบสถ





วัดแจ้ง


อุโบสถสร้างเสร็จในราว พ.ศ. 2455
ได้รับการยกย่องว่ามีรูปทรงที่สวยงาม และมีงานจำหลักไม้ที่เป็นศิลปะท้องถิ่น
ภาพนี้ถ่ายเมื่อปลายปี 2560 ก่อนการบูรณะ





บันไดจระเข้ ศิลปะลาว





หน้าบัน คชสีห์หันเช้าหาช้างเอราวัณ เหนือช้างเอราวัณมีภาพประธานในกรอบวงกลม





ภาพค่อนข้างมืดเพราะใกล้ค่ำ ... สวยมาก





คันทวยรูปนาค





ฝังอยู่ในดิน ตรงกลางหลังโบสถ์





วัดทุ่งศรีเมือง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
พ.ศ. 2356 สมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์
ได้ตกลงกับเจ้าของที่ดินหลายคน ยกที่ดิน (ที่ทำนา) ให้กับทางราชการ
ให้ใช้จัดงานมหกรรมใหญ่ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานรัฐธรรมนูญ และเป็นทุ่งประดับเมือง จึงเรียกว่า ทุ่งศรีเมือง

ท่านเจ้าอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลคณาภิบาลสังฆปาโมกข์(สุ้ย) อดีตเจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี
ได้มานั่งปฏิบัติธรรมที่บริเวณทุ่งชายเมืองรู้สึกสงบร่มรื่น
จึงได้เชิญพระพุทธบาทที่จำลองมาจากวัดสระเกศ กรุงเทพฯ มาประดิษฐานไว้
และได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้น
ให้คนได้กราบไหว้ของพุทธบริษัทที่อุบลราชธานี ไม่ต้องเดินทางไปที่สระบุรี
มีญาคูช่างจากเวียงจันทน์เป็นช่างสำคัญ


... ทำไมจึงต้องพระพุทธบาทสระบุรี เพราะ เชื่อว่าเป็น 1 ใน 5 รอยพระพุทธบาทในพระไตรปิฏก ได้แก่ เขาสุวรรณมาลิก - ศรีลังกา สัจจพันธคีรี - สระบุรี ยอดเขาสุมนกูฏ - ศรีลังกาโยนะกะบุรี (โยนก) - พระพุทธบาทห้ารอย เชียงใหม่ ที่แม่น้ำชื่อนัมมะทา - อินเดีย ...


ต่อมาได้พูนดินบริเวณลานหอพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน
แล้วสร้างเขื่อนกำแพงแก้วหอพระพุทธบาท สองชั้นขึ้นรอบๆ
โดยได้ขุดเอาดินมาจากด้านทิศเหนือ ... เกิดเป็นสระ
ได้สร้างหอไตรไว้กลางสระน้ำจึงเรียกว่า ... สระหอไตร


หอพระพุทธบาท





เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างอีสานพื้นบ้านกับเมืองหลวง
โครงสร้างช่วงบนแบบเมืองหลวง คือหลังคาทรงจั่วมีชั้นลด 2 ชั้น
ลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ คันทวยและซุ้มประตูหน้าต่าง
ส่วนลวดลายหน้าบันสาหร่ายรวงผึ้ง เป็นแบบอีสานผสมกับเมืองหลวง





โครงสร้างช่วงล่างเป็นเอกลักษณ์ของสิมอีสานเช่น ฐานเอวขัน เฉลียงด้านหน้า
กำแพงแก้ว สิงห์นั่งหันหน้าเข้าหาหอพระพุทธบาท ประจันหน้ากับจระเข้และนาค ... แปลกดี





บันไดนาคอยู่บนจระเข้ ... แปลกดี





ภายในหอพระพุทธบาท





จิตรกรรมฝาผนัง

ภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติบางตอน ภาพชาดก





มารผจญ พระแม่ธรณีบีบมวยผม





เวสสันดรชาดก





ถวายพระเพลิง





ภาพชาวบ้านถิ่นอีสาน ซึ่งแสดงให้เห็นสังคม วิถีชีวิต การแต่งกาย





การละเล่น ประเพณี







หอไตร





หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ศิลปะผสมระหว่าง 3 สกุลช่าง คือ ไทย ไทลื้อ และ ลาว คือ
หลังคาหลังคาฮ่างหงส์ไทลื้อ หลังคาปีกนกทั้งสี่ด้าน เรียกว่าหลังผัด ซ้อน 2 ชั้น
ชั้นบนสุดเป็นหลังคาทรงจั่วเรียกว่า หาน ซ้อนชั้น 3 ซด 2 ตับ
น่าจะเพราะเจ้าเมืองอุบลมีเชื่อสาย พระตา ซึ่งเป็นลูกเจ้าปางคำที่มีเชื่อสายเชียงรุ้งแสนหวี
ที่ได้อพยพหนีทัพฮ่อลงมาพึ่งพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์
และเป็นผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภู
ช่อฟ้า ใบระกาแบบไทย
ตัวอาคารเรือนฝาปะกนแบบไทย ขนาด 4 ห้อง






หน้าบัน ไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา





คันทวยแกะสลักเป็นเทวรูปพนมและนาค
ด้านล่างแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ






ผนังด้านในเขียนลายลงรักปิดทองแบบไทย
บานหน้าต่างและบานประตูทำด้วยไม้แผ่นเดียว






วัดหนองป่าพง





พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) ... ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด






เจดีย์บรรจุอัฐิพระอาจารย์ชา






วัดสุปัฏนาราม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ได้มีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
จึงทรงตั้งนิกายธรรมยุต ... ผู้ประกอบด้วยธรรม ... ขึ้นมา

เมื่อครั้งที่ทรงประทับที่วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส
มีพระจากอุบลชื่อ พนฺธุโล (ดี)ได้เข้าไปศึกษาพระธรรมและบวชใหม่ในธรรมยุตนิกาย
และได้นำหลาน ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ไปบวชในธรรมยุตนิกายด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระประสงค์จะวางรากฐานของธรรมยุตินิกายที่เมืองอุบล
จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลฯ คนที่ 3
สร้างวัดในนิกายธรรมยุต ที่ริมน้ำมูลซึ่งเป็นที่เงียบสงัด เหมาะที่จะบำเพ็ญศาสนกิจสะดวกในการออกบิณฑบาต ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2396
พระราชทานนามว่า วัดสุปัตน์ แปลว่าอาศรมของพระฤาษีชื่อดี
ภายหลังพระราชทานเปลี่ยนเป็นชื่อ วัดสุปัฏน์ แปลว่าท่าน้ำดี

อุโบสถในปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เสร็จในปี พ.ศ.2479






สำหรับวัดสุปัฏนาราม มีพิพืธภัณฑ์ที่น่าไปชมอย่างยิ่ง จะนำมาเล่าอีกครั้งภายหลัง





ปิดท้ายด้วยท่าน้ำดี ที่วัดสุปัฏนาราม

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่