มะลิลา : แห้งเหี่ยวลงไปตามกาลเวลา ไม่มีอะไรค้ำฟ้า สุดท้ายแล้วมันก็จะต้องเหี่ยวเฉา และก็จากไปตามสายน้ำ ที่ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป : การเดินทางเข้าไปในมหรสพทางจิตวิญญาณ
ผมคิดว่าหนังประเภทหนึ่งที่หาดูยากคือหนังที่ดูแล้วยกระดับจิตวิญญาณคนดูหรือทำให้คนดูมาครุ่นคิดเรื่องชีวิตของตัวเอง
สำหรับคนที่พิจารณาตัวเองว่า เป็นคนแทบจะไม่มีศาสนา ไม่เข้าร่วมในพิธีกรรมใดๆ ชื่นชมและมีความสุขในการครอบครองวัตถุและใช้ชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งความสะดวกสบายสมัยใหม่ แบบผม หนังอย่าง มะลิลา เป็นหนังที่ทำให้ผมตื้นตัน กลับมาพิจารณาทบทวนชีวิตของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยึดมั่น ถือมั่น
นี่เป็นหนังของคุณ อนุชา บุญยวรรธนะ เรื่องที่สองที่ผมมีโอกาสได้ดู เรื่องแรกคือ ตามสายน้ำ หนังสมัยที่เธอยังเป็นนักเรียน จำได้ว่าเป็นหนังที่มีตีมคล้ายๆ กัน คือการปล่อยวาง การหลุดพ้น
มะลิลายังสำรวจเรื่องเดียวกัน คือจิตใจของมนุษย์ การปล่อยวาง การอยู่กับความทุกข์ ปมในจิตใจ และจะมีทางไหนมั้ยที่เราจะพ้นทุกข์ หรือเราจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร แต่ด้วยเวลาเกือบสองทศวรรษ หนังของคุณอนุชา (และตัวผมที่น่าจะอายุไล่เลี่ยกัน และแก่ตัวขึ้นพร้อมๆ กัน ฮ่า) เติบโตขึ้น ลุ่มลึกขึ้น และเสกให้คนไกลศาสนาและการพิจารณาเข้าไปในจิตวิญาณแบบผมรู้สึกตื้นตัน และดีใจมากที่มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้
(หลังจากนี้จะเป็นการพูดถึงหนัง ซึ่งจะมีการ spoil ในเชิงเรื่องพอสมควรถ้าคิดว่าจะดู ปิดไปก่อนนะครับ หนังหาดูได้จาก True ID App ดูฟรีครับ ถ้าใช้ทรู ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับแต่หนังดี อยากแนะนำ)
มะลิลา แบ่งหนังออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ
ส่วนแรกเป็นเรื่องเล่าของคนสองคน ทั้งสองคนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความตาย เป็นผู้ใกล้ชิดกับความตายในคนละแง่มุม คนหนึ่งรู้ตัวว่าตนเองกำลังจะตาย อีกคนหนึ่งสูญเสียคนที่รักไปให้กับความตาย
หนังพาเราเข้าไปในโลกส่วนตัวของคนทั้งสอง เข้าไปสำรวจว่า พวกเขารู้สึกนึกคิดอย่างไร และแน่นอนว่า มันทำให้เราคิดว่า ถ้าเป็นเรา เราจะมี react ต่อสิ่งนั้น หรือสถานการณ์นั้นอย่างไร
หนังมีการใช้สัญลักษณ์ของบายศรี มาแทนการดำรงอยู่ของชีวิต ความยากลำบาก กว่าจะประกอบมันขึ้นมาได้ ให้มันมีความสวยงาม จัดแจงดังที่เราต้องการ และในขณะเดียวกัน ในขณะที่เราพยายามประกอบ ร้อยมาลัย ทีละดอกอยู่นั้น บายศรีก็กำลังแห้งเหี่ยวลงไปตามกาลเวลา ไม่มีอะไรยั่งยืน ค้ำฟ้า สุดท้ายแล้วมันก็จะต้องเหี่ยวเฉา และก็จากไป เราก็ต้องนำมันไปลอย ปล่อยให้มันไปกับตามสายน้ำ ที่ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมบายศรีได้อีกต่อไป
นอกเหนือไปจากสัญลักษณ์เรื่องบายศรีแล้ว ผมชื่นชอบที่หนังพาเราไปให้เห็นคุณค่าของพิธีกรรม หรือสิ่งของที่เป็นตัวแทนของพิธีกรรม ในตัวบายศรีเอง มันไม่มีคุณค่าใดๆ ในเชิงวัตถุ แต่คุณค่าของมันคือมันเป็นภาพตัวแทนของการที่คนคนหนึ่งได้ใช้เวลาในชีวิตของพวกเขาในการใส่หัวใจ ประดิษฐ์ประดอย คัดสรรค์ ค่อยๆ ประกอบมันขึ้นมา เพราะฉะนั้นเวลาเราเห็นบายศรีมันไม่ใช่แค่การรวมกันของใบตองหรือดอกมะลิแต่มันคือจิต คือวิญญาณของคนที่ทำบายศรีให้เรา
หนังส่วนที่สองเป็นเหมือน Road Movie พาเราไปติดตามพระสายวัดป่าสองรูปที่ทำการธุดงค์ ฝึกตน เพื่อพิจารณาความเป็นไปของสังขาร ของชีวิต พาเราเข้าไปพิจารณาศพ ผมชอบหนังในส่วนนี้มาก จากการเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของคนสองคนในส่วนแรก ส่วนที่สองนี้พาเราเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของคนคนเดียว แทบจะเสมือนหนึ่งว่าเราออกเดิน ธุดงค์ ไปกับพระรูปนั้น เราได้รับรู้ในสิ่งที่ท่านรับรู้ เราได้คิด ได้รู้สึก ดังเช่นที่ท่านรู้สึก และเราได้เติบโตมหรือพิจารณาชีวิตไปพร้อมท่าน
ทั้งงานภาพและจังหวะของหนังที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ มีเวลาให้เราได้คิด เหมาะสมอย่างยิ่งในการให้เราพิจารณาเรื่องที่จริงจัง และตอบคำถามภายในของเรา
หนังมีการจัดจ้านในการใช้สัญลักษณ์และค่อนข้างมีความควบคุม (articulate) ทำให้ในบางขณะก็รู้สึกนั่งฟังเรื่องเล่าธรรมจากนักเล่าเรื่องหนึ่งคนที่แบ่งตัวเองเป็นหลายตัวละคร ไม่ยอมให้ตัวละคร มาเล่าเรื่องของตัวเอง และไม่ยอมให้คนดูตีความอื่นใดนอกเหนือไปจากการที่หนังต้องการให้พิจารณา
แต่สำหรับผมแล้ว นี่คือหนึ่งในหนังที่ชอบมากๆ และจะอยู่ในความทรงจำไปอีกนานแสนนานครับ ขอบคุณที่ทำหนังแบบนี้มาให้ดูกันครับ
Page :
https://www.facebook.com/maewnoonyoutuber/
มะลิลา : แห้งเหี่ยวลงไปตามกาลเวลา ไม่มีอะไรค้ำฟ้า สุดท้ายแล้วมันก็จะต้องเหี่ยวเฉา และก็จากไปตามสายน้ำ
ผมคิดว่าหนังประเภทหนึ่งที่หาดูยากคือหนังที่ดูแล้วยกระดับจิตวิญญาณคนดูหรือทำให้คนดูมาครุ่นคิดเรื่องชีวิตของตัวเอง
สำหรับคนที่พิจารณาตัวเองว่า เป็นคนแทบจะไม่มีศาสนา ไม่เข้าร่วมในพิธีกรรมใดๆ ชื่นชมและมีความสุขในการครอบครองวัตถุและใช้ชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งความสะดวกสบายสมัยใหม่ แบบผม หนังอย่าง มะลิลา เป็นหนังที่ทำให้ผมตื้นตัน กลับมาพิจารณาทบทวนชีวิตของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยึดมั่น ถือมั่น
นี่เป็นหนังของคุณ อนุชา บุญยวรรธนะ เรื่องที่สองที่ผมมีโอกาสได้ดู เรื่องแรกคือ ตามสายน้ำ หนังสมัยที่เธอยังเป็นนักเรียน จำได้ว่าเป็นหนังที่มีตีมคล้ายๆ กัน คือการปล่อยวาง การหลุดพ้น
มะลิลายังสำรวจเรื่องเดียวกัน คือจิตใจของมนุษย์ การปล่อยวาง การอยู่กับความทุกข์ ปมในจิตใจ และจะมีทางไหนมั้ยที่เราจะพ้นทุกข์ หรือเราจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร แต่ด้วยเวลาเกือบสองทศวรรษ หนังของคุณอนุชา (และตัวผมที่น่าจะอายุไล่เลี่ยกัน และแก่ตัวขึ้นพร้อมๆ กัน ฮ่า) เติบโตขึ้น ลุ่มลึกขึ้น และเสกให้คนไกลศาสนาและการพิจารณาเข้าไปในจิตวิญาณแบบผมรู้สึกตื้นตัน และดีใจมากที่มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้
(หลังจากนี้จะเป็นการพูดถึงหนัง ซึ่งจะมีการ spoil ในเชิงเรื่องพอสมควรถ้าคิดว่าจะดู ปิดไปก่อนนะครับ หนังหาดูได้จาก True ID App ดูฟรีครับ ถ้าใช้ทรู ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับแต่หนังดี อยากแนะนำ)
มะลิลา แบ่งหนังออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ
ส่วนแรกเป็นเรื่องเล่าของคนสองคน ทั้งสองคนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความตาย เป็นผู้ใกล้ชิดกับความตายในคนละแง่มุม คนหนึ่งรู้ตัวว่าตนเองกำลังจะตาย อีกคนหนึ่งสูญเสียคนที่รักไปให้กับความตาย
หนังพาเราเข้าไปในโลกส่วนตัวของคนทั้งสอง เข้าไปสำรวจว่า พวกเขารู้สึกนึกคิดอย่างไร และแน่นอนว่า มันทำให้เราคิดว่า ถ้าเป็นเรา เราจะมี react ต่อสิ่งนั้น หรือสถานการณ์นั้นอย่างไร
หนังมีการใช้สัญลักษณ์ของบายศรี มาแทนการดำรงอยู่ของชีวิต ความยากลำบาก กว่าจะประกอบมันขึ้นมาได้ ให้มันมีความสวยงาม จัดแจงดังที่เราต้องการ และในขณะเดียวกัน ในขณะที่เราพยายามประกอบ ร้อยมาลัย ทีละดอกอยู่นั้น บายศรีก็กำลังแห้งเหี่ยวลงไปตามกาลเวลา ไม่มีอะไรยั่งยืน ค้ำฟ้า สุดท้ายแล้วมันก็จะต้องเหี่ยวเฉา และก็จากไป เราก็ต้องนำมันไปลอย ปล่อยให้มันไปกับตามสายน้ำ ที่ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมบายศรีได้อีกต่อไป
นอกเหนือไปจากสัญลักษณ์เรื่องบายศรีแล้ว ผมชื่นชอบที่หนังพาเราไปให้เห็นคุณค่าของพิธีกรรม หรือสิ่งของที่เป็นตัวแทนของพิธีกรรม ในตัวบายศรีเอง มันไม่มีคุณค่าใดๆ ในเชิงวัตถุ แต่คุณค่าของมันคือมันเป็นภาพตัวแทนของการที่คนคนหนึ่งได้ใช้เวลาในชีวิตของพวกเขาในการใส่หัวใจ ประดิษฐ์ประดอย คัดสรรค์ ค่อยๆ ประกอบมันขึ้นมา เพราะฉะนั้นเวลาเราเห็นบายศรีมันไม่ใช่แค่การรวมกันของใบตองหรือดอกมะลิแต่มันคือจิต คือวิญญาณของคนที่ทำบายศรีให้เรา
หนังส่วนที่สองเป็นเหมือน Road Movie พาเราไปติดตามพระสายวัดป่าสองรูปที่ทำการธุดงค์ ฝึกตน เพื่อพิจารณาความเป็นไปของสังขาร ของชีวิต พาเราเข้าไปพิจารณาศพ ผมชอบหนังในส่วนนี้มาก จากการเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของคนสองคนในส่วนแรก ส่วนที่สองนี้พาเราเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของคนคนเดียว แทบจะเสมือนหนึ่งว่าเราออกเดิน ธุดงค์ ไปกับพระรูปนั้น เราได้รับรู้ในสิ่งที่ท่านรับรู้ เราได้คิด ได้รู้สึก ดังเช่นที่ท่านรู้สึก และเราได้เติบโตมหรือพิจารณาชีวิตไปพร้อมท่าน
ทั้งงานภาพและจังหวะของหนังที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ มีเวลาให้เราได้คิด เหมาะสมอย่างยิ่งในการให้เราพิจารณาเรื่องที่จริงจัง และตอบคำถามภายในของเรา
หนังมีการจัดจ้านในการใช้สัญลักษณ์และค่อนข้างมีความควบคุม (articulate) ทำให้ในบางขณะก็รู้สึกนั่งฟังเรื่องเล่าธรรมจากนักเล่าเรื่องหนึ่งคนที่แบ่งตัวเองเป็นหลายตัวละคร ไม่ยอมให้ตัวละคร มาเล่าเรื่องของตัวเอง และไม่ยอมให้คนดูตีความอื่นใดนอกเหนือไปจากการที่หนังต้องการให้พิจารณา
แต่สำหรับผมแล้ว นี่คือหนึ่งในหนังที่ชอบมากๆ และจะอยู่ในความทรงจำไปอีกนานแสนนานครับ ขอบคุณที่ทำหนังแบบนี้มาให้ดูกันครับ
Page : https://www.facebook.com/maewnoonyoutuber/