ในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชันใครปรับตัวไม่ทันย่อมล้าหลังอ่อนแอและพ่ายแพ้ แต่ถ้ารู้จักปรับตัวก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ก็จะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่งที่ส่งเสริมสนับสนุนคนในสังคมให้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีปรับตัวทันกระแสโลก
วันเสาร์สบายๆวันนี้ผมขอคุยถึง “แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์” อีกครั้ง เป็นแอปพลิเคชันที่เอไอเอสจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมงานสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน สร้างเครือข่ายออนไลน์ในกลุ่ม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อช่วยในการจัดการดูแลสุขภาพประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น
การใช้แอปพลิเคชันนี้จะทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยวิกฤติ เวลาแค่เพียงไม่กี่วินาที หมายถึงโอกาสรอดชีวิต นอกจากนี้แอปฯดังกล่าวยังช่วยให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ อสม.เพื่อนำไปเผยแพร่แก่ชาวบ้านอีกทอดหนึ่ง ให้รู้จักวิธีรับมือป้องกันโรคระบาด รู้จักดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี รวมถึงช่วยให้การบริหารจัดการระหว่าง รพ.สต.กับเครือข่าย อสม.ทำได้สะดวกมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แน่นอนในช่วงแรกๆที่เริ่มใช้แอปฯนี้ย่อมติดขัดขลุกขลักบ้าง เพราะอสม.ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยลุงป้าน้าอาที่อยู่ในชนบท ต้องใช้เวลาเรียนรู้ปรับตัวให้เกิดความคุ้นเคย เอไอเอสจึงได้ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการประกวดการใช้แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ เพื่อให้ รพ.สต.และ อสม.ฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญในการใช้แอปฯ ซึ่งโครงการนี้จัดมา 2 ครั้ง 2 ปีแล้ว
สัปดาห์ก่อนมีการประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลแก่ รพ.สต.และเครือข่าย อสม.ที่ชนะการประกวดครั้งที่ 2 มีทั้งหมด 93 รางวัล ผมขอเอ่ยถึงเฉพาะหน่วยบริการสุขภาพที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ 10 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านคลองม่วง จ.กระบี่ รพ.สต.ไทรงาม จ.นครปฐม รพ.สต.ขนาย จ.นครราชสีมา รพ.สต.โตนด จ.นครราชสีมา รพ.สต.มะค่า จ.นครราชสีมา รพ.สต.บางทอง จ.พังงา รพ.สต.บ้านปากคลอง จ.พัทลุง รพ.สต.ชมพู จ.พิษณุโลก รพ.สต.บ้านวังประจัน จ.สตูล และ รพ.สต.กุดบง จ.หนองคาย
คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่า หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และเครือข่าย อสม.เป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพได้ หวังว่าแอปฯ อสม.ออนไลน์จะเป็นนวัตกรรมสำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนและ อสม.ในการขับเคลื่อนงานสาธารณสุขเชิงรุก
คุณสมชัยกล่าวด้วยว่า เอไอเอสจะพัฒนาแอปฯ อสม.ออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เร็วๆนี้จะเปิดให้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สามารถใช้งานแอปฯ อสม. ออนไลน์ได้ด้วย จะได้เชื่อมต่อข้อมูลตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับประชาชน
ขณะที่ นพ.กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข ระบุว่า การยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนเป็นการวางรากฐานสำคัญให้กับคนไทยทุกคน ช่องทางการนำข่าวสารและความรู้ต่างๆจากหน่วยงานภาครัฐไปสู่ประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แอปฯ อสม. ออนไลน์ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทำให้ อสม.สามารถเข้าถึง องค์ความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทั้งยังเกิดการบูรณาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืน
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ ยิ่งถ้ารัฐบาลขับเคลื่อนอย่างจริงจังตามที่ประกาศนโยบายไว้ ผมเชื่อว่าภาคเอกชนพร้อมร่วมให้การสนับสนุนเต็มที่ครับ.
ลมกรด
ขอบคุณข่าวจาก
https://www.thairath.co.th/content/1491371
แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ ยกระดับสาธารณสุขฐานราก
ในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชันใครปรับตัวไม่ทันย่อมล้าหลังอ่อนแอและพ่ายแพ้ แต่ถ้ารู้จักปรับตัวก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ก็จะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่งที่ส่งเสริมสนับสนุนคนในสังคมให้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีปรับตัวทันกระแสโลก
วันเสาร์สบายๆวันนี้ผมขอคุยถึง “แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์” อีกครั้ง เป็นแอปพลิเคชันที่เอไอเอสจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมงานสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน สร้างเครือข่ายออนไลน์ในกลุ่ม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อช่วยในการจัดการดูแลสุขภาพประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น
การใช้แอปพลิเคชันนี้จะทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยวิกฤติ เวลาแค่เพียงไม่กี่วินาที หมายถึงโอกาสรอดชีวิต นอกจากนี้แอปฯดังกล่าวยังช่วยให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ อสม.เพื่อนำไปเผยแพร่แก่ชาวบ้านอีกทอดหนึ่ง ให้รู้จักวิธีรับมือป้องกันโรคระบาด รู้จักดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี รวมถึงช่วยให้การบริหารจัดการระหว่าง รพ.สต.กับเครือข่าย อสม.ทำได้สะดวกมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แน่นอนในช่วงแรกๆที่เริ่มใช้แอปฯนี้ย่อมติดขัดขลุกขลักบ้าง เพราะอสม.ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยลุงป้าน้าอาที่อยู่ในชนบท ต้องใช้เวลาเรียนรู้ปรับตัวให้เกิดความคุ้นเคย เอไอเอสจึงได้ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการประกวดการใช้แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ เพื่อให้ รพ.สต.และ อสม.ฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญในการใช้แอปฯ ซึ่งโครงการนี้จัดมา 2 ครั้ง 2 ปีแล้ว
สัปดาห์ก่อนมีการประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลแก่ รพ.สต.และเครือข่าย อสม.ที่ชนะการประกวดครั้งที่ 2 มีทั้งหมด 93 รางวัล ผมขอเอ่ยถึงเฉพาะหน่วยบริการสุขภาพที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ 10 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านคลองม่วง จ.กระบี่ รพ.สต.ไทรงาม จ.นครปฐม รพ.สต.ขนาย จ.นครราชสีมา รพ.สต.โตนด จ.นครราชสีมา รพ.สต.มะค่า จ.นครราชสีมา รพ.สต.บางทอง จ.พังงา รพ.สต.บ้านปากคลอง จ.พัทลุง รพ.สต.ชมพู จ.พิษณุโลก รพ.สต.บ้านวังประจัน จ.สตูล และ รพ.สต.กุดบง จ.หนองคาย
คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่า หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และเครือข่าย อสม.เป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพได้ หวังว่าแอปฯ อสม.ออนไลน์จะเป็นนวัตกรรมสำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนและ อสม.ในการขับเคลื่อนงานสาธารณสุขเชิงรุก
คุณสมชัยกล่าวด้วยว่า เอไอเอสจะพัฒนาแอปฯ อสม.ออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เร็วๆนี้จะเปิดให้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สามารถใช้งานแอปฯ อสม. ออนไลน์ได้ด้วย จะได้เชื่อมต่อข้อมูลตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับประชาชน
ขณะที่ นพ.กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข ระบุว่า การยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนเป็นการวางรากฐานสำคัญให้กับคนไทยทุกคน ช่องทางการนำข่าวสารและความรู้ต่างๆจากหน่วยงานภาครัฐไปสู่ประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แอปฯ อสม. ออนไลน์ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทำให้ อสม.สามารถเข้าถึง องค์ความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทั้งยังเกิดการบูรณาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืน
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ ยิ่งถ้ารัฐบาลขับเคลื่อนอย่างจริงจังตามที่ประกาศนโยบายไว้ ผมเชื่อว่าภาคเอกชนพร้อมร่วมให้การสนับสนุนเต็มที่ครับ.
ลมกรด
ขอบคุณข่าวจาก https://www.thairath.co.th/content/1491371