เพราะนักวิจารณ์วรรณกรรมเป็นนักอ่านตัวยง นักวิจารณ์เป็นคนที่อ่านหนังสือเยอะมาก ดังนั้นนักวิจารณ์จึงรู้ว่าหนังสือเล่มไหนน่าอ่าน เรื่องใดเขียนได้ดี เรื่องใดน่าสนใจ ผมขอพาทุกท่านไปฟังทัศนะและความคิดเห็นของนักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง 3 ท่าน ที่จะมาบอกให้นักเขียนทุกท่านทราบว่าเรื่องดีควรจะเขียนอย่างไร?
สำหรับรายละเอียดและองค์ความรู้ที่ผมนำมาเสนอในวันนี้ เป็นเพียงบางส่วนจากเวทีเสวนา “สุนทรียะในสายตานักวิจารณ์ เขียนอย่างไรจึงจะเป็นเรื่องน่าอ่าน” กิจกรรมส่วนหนึ่งในโครงการอบรมการเขียนงานวรรณกรรม “คิดเขียนเป็นเรื่อง ฝันเฟื่องเป็นเล่ม” ที่จัดโดยอาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ร่วมกับอาจารย์ ดร.เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ (ดร.เพชร เท่-เหนือ-ไทย) จากสถาบันปัญญ์สุข และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (ศสร.) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2562 ที่ห้องประชุมชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
โดยบนเวทีเสวนาในวันนั้นมีผู้ร่วมท่านวิทยากรผู้เสวนาดังนี้
1. อาจารย์อรพินทร์ คำสอน นักวิจัยและนักวิจารณ์วรรณกรรม ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาวรรณคดี ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ. ปัตตานี)
2. อาจารย์ ดร.พรธาดา สุวัธนวนิช อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย และเป็นสุดยอดแฟนพันธ์แท้นวนิยายไทย
3. อาจารย์จรูญพร ปรปักษ์ประลัย นักเขียน นักวิจารณ์อิสระ นักวิจารณ์วรรณกรรม นักเขียนบทภาพยนตร์และคอลัมนิสต์
พิธีกรนำการเสวนาโดย อาจารย์พินิจ นิลรัตน์ กวีนักเขียนและอุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
(หมายเหตุ ... สำหรับรายละเอียดจากงานเสวนาในครั้งนี้ ผมเก็บประเด็นการพูดคุยบนเวทีมาเพียงบางส่วน โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ โดยนำมาเขียนเรียบเรียงขึ้นใหม่ ผมไม่ได้เก็บทุกคำพูดของท่านวิทยากรบนเวที , ไม่ได้เก็บทุกประเด็นในการอภิปราย ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดส่วนใดหรือข้อมูลใดที่คลาดเคลื่อนหรือผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูดไว้ ผมก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
อาจารย์พินิจ ถามท่านวิทยากรทุกท่านว่า เขียนอย่างไร? ถึงจะเป็นเรื่องน่าอ่านในสายตาของนักวิจารณ์ เพราะถือว่านักวิจารณ์เป็นนักอ่านตัวยง
อาจารย์ ดร.พรธาดา สุวัธนวนิช
-ก่อนอื่นขอสวัสดีเหล่านักวรรณกรรมทุกท่าน จริงๆ แล้วขอบอกว่าประสบการณ์สนุกกว่าหลักการเยอะ แต่ในวันนี้เตรียมเรื่องหลักการมาแล้วก็จะขอพูดมาที่ได้เตรียมมาก่อน
-วรรณกรรมคือเรื่องเล่า มนุษย์อยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเรื่องเล่า เพราะมนุษย์อยู่ในสังคมถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ต้องเล่าให้ใครฟัง พอมีอีกคนหนึ่งเราก็อยากจะเล่าให้เขาฟัง ยิ่งมีสังคมก็ยิ่งมีเรื่องเล่า แล้วเราก็อยากฟังเรื่องที่คนอื่นเล่าด้วยเช่นกัน
-ลักษณะของเรื่องเล่าหรือฟิกชั่น (Fiction) มันออกมาได้หลายรูปแบบ มันจึงมีคนที่อยากเล่าและคนที่อยากฟัง ในฐานะคนที่อยากฟัง ต้องถามว่าเราอยากฟังเรื่องเล่าแบบไหน? คือในยุคที่ยังไม่มีตัวอักษรเรื่องเล่าคือการฟัง แต่พอมาถึงยุคที่มนุษย์ประดิษฐ์ตัวอักษรได้แล้วก็กลายมาเป็นการอ่านแทน
-ถ้าเรื่องเล่าเป็นเรื่องความขัดแย้งของคนในสังคมที่เกิดขึ้นหรือเป็นเรื่องของมนุษย์ คนอ่านหรือคนฟังจะอยากฟังอยากเห็นตัวละครมีชีวิต คำว่า “มีชีวิต” หมายความว่า ถ้าเป็นวรรณคดี เราจะรู้สึกว่านางวันทองมาอยู่ตรงหน้าเรา , ขุนแผนมาอยู่ตรงหน้าเรา , นางวันทองกับนางลาวทองกำลังจะตบกันต่อหน้าเราแล้ว ฯลฯ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากความเป็นจริง
-เรื่องเล่าไม่ว่าจะเป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้น เราอ่านแล้วจะรู้สึกว่าตัวละครตัวนี้เป็นมนุษย์ ตัวละครคือคนที่เขาคิด , เขารัก , เขาโศก , เขาเศร้า เขามีอะไรต่างๆ เหมือนกับเรา
-ข้อสำคัญมันไม่มีนวนิยายสนุกเรื่องไหนที่พูดถึงแต่เรื่องความสุข ไม่มีเรื่องสั้นเรื่องไหนที่พูดถึงแต่สิ่งที่ดีงาม ความทุกข์ทำให้เราเห็นอะไรหลายๆ อย่าง ความทุกข์ทำให้เราได้เห็นและได้คิดแบบคนอื่น ซึ่งเราอาจจะไม่เคยมีความทุกข์แบบนั้นแต่เราเข้าใจมัน คือเข้าใจเลยว่าตัวละครมันทุกข์ได้อย่างไร
-การล่วงรู้ความทุกข์ของคนอื่น(ตัวละคร) แอบรู้ความทุกข์ของเขายังไม่พอ เรายังแอบยิ้มไปกับเขาเวลาที่เขาแก้ทุกข์นั้นได้ หรือว่ามีความสุขอยู่ท่ามกลางความทุกข์นั้น บางครั้งเราหัวเราะเราร้องไห้ไปพร้อมกับตัวละครเหล่านั้น ทั้งๆ ที่ตัวละครไม่ใช่คนจริงๆ แต่คนเขียนหรือคนเล่าเรื่องเป็นผู้สร้างตัวละครนั้นขึ้นมา
-ทั้งหมดที่พูดมานี้คืออำนาจของวรรณกรรม อยู่ที่ฝีมือของคนเล่าว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งที่อยู่ในจินตนาการของคนเล่าไปร่วมหรือสัมผัสจินตนาการของคนฟังหรือคนอ่านได้ แล้วคนอ่านเขาคิดเห็นหรือเขาอาจจะได้อะไรงอกเงยขึ้นมาจากสิ่งที่คนเขียนหรือคนเล่าได้บอกไว้ด้วยซ้ำ
-อย่างไรก็ตาม พยายามจะบอกกับทุกคน(นักเขียน)ว่า ในเมื่อวรรณกรรมมันบอกเราอย่างหนึ่งในเวลาที่เราอ่านว่า ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้หนีความทุกข์พ้น ดังนั้นเราต้องอยู่กับความทุกข์ให้ได้ เมื่อเราอ่านนวนิยายหรือเรื่องสั้นแล้วเราได้อะไรจากตรงนั้นบ้าง? เช่นเรารู้ว่าตัวละครอยู่กับความุกข์อย่างไร? หรือเขาผ่านมันมาได้อย่างไร? หรือเขาไม่ผ่านมันเพราะสาเหตุใด?
-บางครั้งเวลาเรามองความทุกข์(ของตัวละคร)เหล่านั้นแล้ว มันจะย้อนกลับมาทำให้เราเข้าใจมนุษย์โดยรวมมากขึ้น บางครั้งทำให้เข้าใจตัวเราด้วย และเมื่อเรามีประสบการณ์ซึ่งอาจจะตามหลังตัวละครเหล่านั้นเรารู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร? เรารู้ว่าสิ่งที่ตัวละครทำเราจะไม่ทำตาม ฯลฯ เหล่านี้คือแนวทางที่ทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจได้
-ดังนั้นเราจึงบอกได้ว่า เรื่องเล่าหรือเรื่องแต่งเหล่านี้มันสร้างภาพอะไรบางอย่าง อย่างที่อาจารย์เจตนา นาควัชระ ได้บอกไว้ว่า “ทำให้มนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้” ทำให้เราเห็นชีวิตที่อยู่ในเรื่องเล่ามันกระโดดโลดเต้นออกมาเหมือนมีชีวิตจริงๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นแบบนั้น
-อยากให้คนเขียนพาเรา(คนอ่าน)ไปให้ถึงจุดๆ นั้นให้ได้ ซึ่งฟังดูแล้วยิ่งใหญ่มาก แต่เชื่ออย่างยิ่งว่าถ้าคนเขียนเขียนอย่างจริงใจและเก่ง คนอ่านก็จะเห็นตามทุกอย่างที่คนเขียนเขียน ดังนั้นจึงขอสรุปได้ว่า สิ่งที่จะทำให้เรื่องเล่าสนุก มันต้องพัฒนาวิธีการเล่า บางครั้งเล่าอย่างเดิมมันไม่สนุกก็ต้องเปลี่ยนวิธีเล่าใหม่ ซึ่งในความเป็นจริงนักเขียนจะสนุกเองกับวิธีเล่าเหล่านั้น
-ถามว่านวนิยายกับเรื่องสั้นมันต่างกันอย่างไร? นวนิยายเรื่องมันยาวมันมีประเด็นเยอะ มันจึงทำให้เราจมกับชีวิตของตัวละครที่โลดแล่นมากกว่า ทำให้เราเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายมากกว่า เรา(คนอ่าน)เอาใจช่วยหรือเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ได้ยาวนานกว่าเราอ่านเรื่องสั้น นวนิยายทำให้เราพัดพาอารมณ์ไปได้มากกว่า
-แต่เรื่องสั้นก็มีข้อดีบางอย่างคือ มันทำให้เราเห็นความคิดบางอย่างที่ผู้เขียนสื่อมันได้อย่างคมขึ้น ตัวความคิดนั้นมันคมกว่านวนิยายและชัดเจนขึ้นมากกว่า เรื่องสั้นหลายๆ เรื่องผู้เขียนจะทิ้งช่องว่างให้ผู้อ่านให้คิดอะไรได้มากกว่านวนิยาย คือเรื่องสั้นบางเรื่องจะบอกอะไรเพียงบางอย่างแล้วให้เราคิดต่อเอง แต่นวนิยายบางเรื่องก็บอกอะไรเราหมดจนชัดเจนเลย ดังนั้นคนที่ชอบเขียนเรื่องสั้นก็จะเป็นแบบนี้คือว่าจะไม่พยายามเล่าอะไรทั้งหมด แต่จะทิ้งอะไรบางอย่างให้คนอ่านกลับไปคิดต่ออย่างเสรี
-ส่วนกวีนิพนธ์มันเป็นสิ่งที่บอกว่า คุณ(คนเขียน)กำลังรู้สึกเกิดอารมณ์สะเทือนใจอะไรบางอย่าง แล้วคุณกำลังจะส่งผ่านอารมณ์สะเทือนใจนั้นไปให้คนอ่าน ดังนั้นการเขียนกวีนิพนธ์จึงยากกว่าทั้งเวลาเขียนและเวลาอ่าน อย่างเช่นเราต้องการจะเขียนบอกให้คนอ่านรู้สึกว่ามีจิตสำนึกที่ดี ซึ่งใครๆ ก็พูดได้แต่จะเขียนอย่างไรให้คนอ่านรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วนะ ถึงเวลาที่เรา(คนอ่าน)จะต้องทำสิ่งนี้ ถึงเวลาแล้วนะที่เราต้องปฏิเสธสิ่งนี้
-ดังนั้นการเขียนกวีนิพนธ์คนเขียนต้องมีอารมณ์สะเทือนใจก่อน แล้วเอาอารมณ์สะเทือนใจนั้นมาสร้างเป็นจินตนาการแล้วหากลวิธีที่ทำให้คนอ่านรู้สึก เพราะว่าเวลาที่เราอ่านกวีนิพนธ์ เราอ่านจบแล้วแต่ว่าสาส์นมันยังอยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ากวีนิพนธ์อาศัยพลังทางอารมณ์ซึ่งส่งผ่านพลังทางความคิดไปสู่ผู้อ่าน
-ส่วนที่เป็นวิชาการหลักการพูดจบแล้ว ต่อไปเป็นจากประสบการณ์ คือทุกอย่างมันต้องเริ่มต้นจากคนเขียนอยากเล่า แล้วคนเขียนก็ถ่ายทอดประสบการณ์ในจินตนาการด้วยพลังของภาษา ด้วยพลังของเรื่องเล่า หลังจากนั้นมันจะนำไปสู่ผู้อ่าน แล้วผู้อ่านจะจูนเราติดไหม? แล้วจะรับสาส์นเราได้ไหม? แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ ด้วยความรู้สึกที่มันมีเหมือนกัน มันสามารถทำให้เราเข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกันได้
-คนอ่านกับคนเขียนจึงได้สัมผัสกันได้ เจอกันได้ด้วยจากงานวรรณกรรม ดังนั้นอย่าไปคาดหวังว่า “วรรณกรรมของผมจะตามหาคนอ่านเอง” ซึ่งมันตามหากันไม่ได้ แต่มันเป็นโวหารที่บอกว่า “ถ้าคุณเขียนดีก็จะมีคนอ่านเองไม่ต้องไปกังวลเลย”
สุนทรียะในสายตานักวิจารณ์ ... เขียนอย่างไรจึงจะเป็นเรื่องน่าอ่าน?
เพราะนักวิจารณ์วรรณกรรมเป็นนักอ่านตัวยง นักวิจารณ์เป็นคนที่อ่านหนังสือเยอะมาก ดังนั้นนักวิจารณ์จึงรู้ว่าหนังสือเล่มไหนน่าอ่าน เรื่องใดเขียนได้ดี เรื่องใดน่าสนใจ ผมขอพาทุกท่านไปฟังทัศนะและความคิดเห็นของนักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง 3 ท่าน ที่จะมาบอกให้นักเขียนทุกท่านทราบว่าเรื่องดีควรจะเขียนอย่างไร?
สำหรับรายละเอียดและองค์ความรู้ที่ผมนำมาเสนอในวันนี้ เป็นเพียงบางส่วนจากเวทีเสวนา “สุนทรียะในสายตานักวิจารณ์ เขียนอย่างไรจึงจะเป็นเรื่องน่าอ่าน” กิจกรรมส่วนหนึ่งในโครงการอบรมการเขียนงานวรรณกรรม “คิดเขียนเป็นเรื่อง ฝันเฟื่องเป็นเล่ม” ที่จัดโดยอาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ร่วมกับอาจารย์ ดร.เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ (ดร.เพชร เท่-เหนือ-ไทย) จากสถาบันปัญญ์สุข และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (ศสร.) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2562 ที่ห้องประชุมชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
โดยบนเวทีเสวนาในวันนั้นมีผู้ร่วมท่านวิทยากรผู้เสวนาดังนี้
1. อาจารย์อรพินทร์ คำสอน นักวิจัยและนักวิจารณ์วรรณกรรม ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาวรรณคดี ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ. ปัตตานี)
2. อาจารย์ ดร.พรธาดา สุวัธนวนิช อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย และเป็นสุดยอดแฟนพันธ์แท้นวนิยายไทย
3. อาจารย์จรูญพร ปรปักษ์ประลัย นักเขียน นักวิจารณ์อิสระ นักวิจารณ์วรรณกรรม นักเขียนบทภาพยนตร์และคอลัมนิสต์
พิธีกรนำการเสวนาโดย อาจารย์พินิจ นิลรัตน์ กวีนักเขียนและอุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
(หมายเหตุ ... สำหรับรายละเอียดจากงานเสวนาในครั้งนี้ ผมเก็บประเด็นการพูดคุยบนเวทีมาเพียงบางส่วน โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ โดยนำมาเขียนเรียบเรียงขึ้นใหม่ ผมไม่ได้เก็บทุกคำพูดของท่านวิทยากรบนเวที , ไม่ได้เก็บทุกประเด็นในการอภิปราย ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดส่วนใดหรือข้อมูลใดที่คลาดเคลื่อนหรือผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูดไว้ ผมก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
อาจารย์พินิจ ถามท่านวิทยากรทุกท่านว่า เขียนอย่างไร? ถึงจะเป็นเรื่องน่าอ่านในสายตาของนักวิจารณ์ เพราะถือว่านักวิจารณ์เป็นนักอ่านตัวยง
อาจารย์ ดร.พรธาดา สุวัธนวนิช
-ก่อนอื่นขอสวัสดีเหล่านักวรรณกรรมทุกท่าน จริงๆ แล้วขอบอกว่าประสบการณ์สนุกกว่าหลักการเยอะ แต่ในวันนี้เตรียมเรื่องหลักการมาแล้วก็จะขอพูดมาที่ได้เตรียมมาก่อน
-วรรณกรรมคือเรื่องเล่า มนุษย์อยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเรื่องเล่า เพราะมนุษย์อยู่ในสังคมถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ต้องเล่าให้ใครฟัง พอมีอีกคนหนึ่งเราก็อยากจะเล่าให้เขาฟัง ยิ่งมีสังคมก็ยิ่งมีเรื่องเล่า แล้วเราก็อยากฟังเรื่องที่คนอื่นเล่าด้วยเช่นกัน
-ลักษณะของเรื่องเล่าหรือฟิกชั่น (Fiction) มันออกมาได้หลายรูปแบบ มันจึงมีคนที่อยากเล่าและคนที่อยากฟัง ในฐานะคนที่อยากฟัง ต้องถามว่าเราอยากฟังเรื่องเล่าแบบไหน? คือในยุคที่ยังไม่มีตัวอักษรเรื่องเล่าคือการฟัง แต่พอมาถึงยุคที่มนุษย์ประดิษฐ์ตัวอักษรได้แล้วก็กลายมาเป็นการอ่านแทน
-ถ้าเรื่องเล่าเป็นเรื่องความขัดแย้งของคนในสังคมที่เกิดขึ้นหรือเป็นเรื่องของมนุษย์ คนอ่านหรือคนฟังจะอยากฟังอยากเห็นตัวละครมีชีวิต คำว่า “มีชีวิต” หมายความว่า ถ้าเป็นวรรณคดี เราจะรู้สึกว่านางวันทองมาอยู่ตรงหน้าเรา , ขุนแผนมาอยู่ตรงหน้าเรา , นางวันทองกับนางลาวทองกำลังจะตบกันต่อหน้าเราแล้ว ฯลฯ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากความเป็นจริง
-เรื่องเล่าไม่ว่าจะเป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้น เราอ่านแล้วจะรู้สึกว่าตัวละครตัวนี้เป็นมนุษย์ ตัวละครคือคนที่เขาคิด , เขารัก , เขาโศก , เขาเศร้า เขามีอะไรต่างๆ เหมือนกับเรา
-ข้อสำคัญมันไม่มีนวนิยายสนุกเรื่องไหนที่พูดถึงแต่เรื่องความสุข ไม่มีเรื่องสั้นเรื่องไหนที่พูดถึงแต่สิ่งที่ดีงาม ความทุกข์ทำให้เราเห็นอะไรหลายๆ อย่าง ความทุกข์ทำให้เราได้เห็นและได้คิดแบบคนอื่น ซึ่งเราอาจจะไม่เคยมีความทุกข์แบบนั้นแต่เราเข้าใจมัน คือเข้าใจเลยว่าตัวละครมันทุกข์ได้อย่างไร
-การล่วงรู้ความทุกข์ของคนอื่น(ตัวละคร) แอบรู้ความทุกข์ของเขายังไม่พอ เรายังแอบยิ้มไปกับเขาเวลาที่เขาแก้ทุกข์นั้นได้ หรือว่ามีความสุขอยู่ท่ามกลางความทุกข์นั้น บางครั้งเราหัวเราะเราร้องไห้ไปพร้อมกับตัวละครเหล่านั้น ทั้งๆ ที่ตัวละครไม่ใช่คนจริงๆ แต่คนเขียนหรือคนเล่าเรื่องเป็นผู้สร้างตัวละครนั้นขึ้นมา
-ทั้งหมดที่พูดมานี้คืออำนาจของวรรณกรรม อยู่ที่ฝีมือของคนเล่าว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งที่อยู่ในจินตนาการของคนเล่าไปร่วมหรือสัมผัสจินตนาการของคนฟังหรือคนอ่านได้ แล้วคนอ่านเขาคิดเห็นหรือเขาอาจจะได้อะไรงอกเงยขึ้นมาจากสิ่งที่คนเขียนหรือคนเล่าได้บอกไว้ด้วยซ้ำ
-อย่างไรก็ตาม พยายามจะบอกกับทุกคน(นักเขียน)ว่า ในเมื่อวรรณกรรมมันบอกเราอย่างหนึ่งในเวลาที่เราอ่านว่า ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้หนีความทุกข์พ้น ดังนั้นเราต้องอยู่กับความทุกข์ให้ได้ เมื่อเราอ่านนวนิยายหรือเรื่องสั้นแล้วเราได้อะไรจากตรงนั้นบ้าง? เช่นเรารู้ว่าตัวละครอยู่กับความุกข์อย่างไร? หรือเขาผ่านมันมาได้อย่างไร? หรือเขาไม่ผ่านมันเพราะสาเหตุใด?
-บางครั้งเวลาเรามองความทุกข์(ของตัวละคร)เหล่านั้นแล้ว มันจะย้อนกลับมาทำให้เราเข้าใจมนุษย์โดยรวมมากขึ้น บางครั้งทำให้เข้าใจตัวเราด้วย และเมื่อเรามีประสบการณ์ซึ่งอาจจะตามหลังตัวละครเหล่านั้นเรารู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร? เรารู้ว่าสิ่งที่ตัวละครทำเราจะไม่ทำตาม ฯลฯ เหล่านี้คือแนวทางที่ทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจได้
-ดังนั้นเราจึงบอกได้ว่า เรื่องเล่าหรือเรื่องแต่งเหล่านี้มันสร้างภาพอะไรบางอย่าง อย่างที่อาจารย์เจตนา นาควัชระ ได้บอกไว้ว่า “ทำให้มนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้” ทำให้เราเห็นชีวิตที่อยู่ในเรื่องเล่ามันกระโดดโลดเต้นออกมาเหมือนมีชีวิตจริงๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นแบบนั้น
-อยากให้คนเขียนพาเรา(คนอ่าน)ไปให้ถึงจุดๆ นั้นให้ได้ ซึ่งฟังดูแล้วยิ่งใหญ่มาก แต่เชื่ออย่างยิ่งว่าถ้าคนเขียนเขียนอย่างจริงใจและเก่ง คนอ่านก็จะเห็นตามทุกอย่างที่คนเขียนเขียน ดังนั้นจึงขอสรุปได้ว่า สิ่งที่จะทำให้เรื่องเล่าสนุก มันต้องพัฒนาวิธีการเล่า บางครั้งเล่าอย่างเดิมมันไม่สนุกก็ต้องเปลี่ยนวิธีเล่าใหม่ ซึ่งในความเป็นจริงนักเขียนจะสนุกเองกับวิธีเล่าเหล่านั้น
-ถามว่านวนิยายกับเรื่องสั้นมันต่างกันอย่างไร? นวนิยายเรื่องมันยาวมันมีประเด็นเยอะ มันจึงทำให้เราจมกับชีวิตของตัวละครที่โลดแล่นมากกว่า ทำให้เราเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายมากกว่า เรา(คนอ่าน)เอาใจช่วยหรือเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ได้ยาวนานกว่าเราอ่านเรื่องสั้น นวนิยายทำให้เราพัดพาอารมณ์ไปได้มากกว่า
-แต่เรื่องสั้นก็มีข้อดีบางอย่างคือ มันทำให้เราเห็นความคิดบางอย่างที่ผู้เขียนสื่อมันได้อย่างคมขึ้น ตัวความคิดนั้นมันคมกว่านวนิยายและชัดเจนขึ้นมากกว่า เรื่องสั้นหลายๆ เรื่องผู้เขียนจะทิ้งช่องว่างให้ผู้อ่านให้คิดอะไรได้มากกว่านวนิยาย คือเรื่องสั้นบางเรื่องจะบอกอะไรเพียงบางอย่างแล้วให้เราคิดต่อเอง แต่นวนิยายบางเรื่องก็บอกอะไรเราหมดจนชัดเจนเลย ดังนั้นคนที่ชอบเขียนเรื่องสั้นก็จะเป็นแบบนี้คือว่าจะไม่พยายามเล่าอะไรทั้งหมด แต่จะทิ้งอะไรบางอย่างให้คนอ่านกลับไปคิดต่ออย่างเสรี
-ส่วนกวีนิพนธ์มันเป็นสิ่งที่บอกว่า คุณ(คนเขียน)กำลังรู้สึกเกิดอารมณ์สะเทือนใจอะไรบางอย่าง แล้วคุณกำลังจะส่งผ่านอารมณ์สะเทือนใจนั้นไปให้คนอ่าน ดังนั้นการเขียนกวีนิพนธ์จึงยากกว่าทั้งเวลาเขียนและเวลาอ่าน อย่างเช่นเราต้องการจะเขียนบอกให้คนอ่านรู้สึกว่ามีจิตสำนึกที่ดี ซึ่งใครๆ ก็พูดได้แต่จะเขียนอย่างไรให้คนอ่านรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วนะ ถึงเวลาที่เรา(คนอ่าน)จะต้องทำสิ่งนี้ ถึงเวลาแล้วนะที่เราต้องปฏิเสธสิ่งนี้
-ดังนั้นการเขียนกวีนิพนธ์คนเขียนต้องมีอารมณ์สะเทือนใจก่อน แล้วเอาอารมณ์สะเทือนใจนั้นมาสร้างเป็นจินตนาการแล้วหากลวิธีที่ทำให้คนอ่านรู้สึก เพราะว่าเวลาที่เราอ่านกวีนิพนธ์ เราอ่านจบแล้วแต่ว่าสาส์นมันยังอยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ากวีนิพนธ์อาศัยพลังทางอารมณ์ซึ่งส่งผ่านพลังทางความคิดไปสู่ผู้อ่าน
-ส่วนที่เป็นวิชาการหลักการพูดจบแล้ว ต่อไปเป็นจากประสบการณ์ คือทุกอย่างมันต้องเริ่มต้นจากคนเขียนอยากเล่า แล้วคนเขียนก็ถ่ายทอดประสบการณ์ในจินตนาการด้วยพลังของภาษา ด้วยพลังของเรื่องเล่า หลังจากนั้นมันจะนำไปสู่ผู้อ่าน แล้วผู้อ่านจะจูนเราติดไหม? แล้วจะรับสาส์นเราได้ไหม? แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ ด้วยความรู้สึกที่มันมีเหมือนกัน มันสามารถทำให้เราเข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกันได้
-คนอ่านกับคนเขียนจึงได้สัมผัสกันได้ เจอกันได้ด้วยจากงานวรรณกรรม ดังนั้นอย่าไปคาดหวังว่า “วรรณกรรมของผมจะตามหาคนอ่านเอง” ซึ่งมันตามหากันไม่ได้ แต่มันเป็นโวหารที่บอกว่า “ถ้าคุณเขียนดีก็จะมีคนอ่านเองไม่ต้องไปกังวลเลย”