สงครามเพโลพอนนีเซียนหรือ สงครามเพโลพอนนีสเป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์กับสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนที่นำโดยสปาร์ตา
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
https://arrecaballo.es/edad-antigua/los-griegos/batalla-de-leuctra-371-ac/attachment/batalla-de-leuctra-371-ac-1/
กว่าจะมาเป็นสุดยอดนักรบสปาร์ตัน
หากผู้ใดชื่นชอบในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำสงคราม ต้องไม่พลาดหนังเรื่อง “300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก” ซึ่งเข้าฉายในช่วงปี 2006 ภาพยนตร์เรื่องนี้เน้นอิงเหตุการณ์ในสมัยกรีกโบราณ ก่อนจะมาเป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเด่นของเรื่องนี้ ไม่พ้นความน่าเกรงขาม ความฮึกเหิม และความดุดันของเหล่านักรบชาวสปาร์ตาจำนวน 300 นาย ที่สามารถเอาชนะกองทัพชาวเปอร์เซียจำนวนหลายแสนคนได้ จากเนื้อเรื่องจะเห็นว่า ชายที่สามารถเข้าร่วมทำศึกสงครามได้นั้น จะต้องถูกคัดเลือกและเข้าฝึกฝนตั้งแต่เยาว์วัย พบเจอบททดสอบเพื่อเป็นประตูสู่หนทางแห่งนักรบในภายภาคหน้า และที่สำคัญยังมีความลับเกี่ยวกับกองทัพชาวสปาร์ตาที่ไม่ได้เปิดเผยให้ผู้คนได้รับรู้ เพราะฉากเหล่านี้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากภาพยนตร์เท่านั้น ยังมีเรื่องน่าสนใจอีกมากมาย ที่พร้อมให้ผู้อ่านได้ร่วมศึกษาเรื่องราวอันน่าทึ่งไปด้วยกัน
ศพของหญิงสาวที่เสียชีวิตจากการคลอดบุตร จะถูกบรรจุในหีบศพเหมือนกับชายที่เสียชีวิตจากสนามรบ เพราะชาวกรีกมีความเชื่อที่ว่า บุตรที่คลอดออกมาจะต้องเป็นเด็กที่มีความแข็งแรงอย่างมาก
ย้อนกลับไปสมัยกรีกโบราณยุคริเริ่ม ช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตกาล
เผ่าพันธุ์ในยุคนั้นสืบเชื้อสายมาจาก 4 เชื้อสายหลัก คือ ชาวอาคีเอียน ชาวอีโอเลียน ชาวดอเรียน และชาวไอโอเนียน ชนเผ่าแรกที่เข้ามาปักหลักสร้างถิ่นฐานอยู่บริเวณช่วงปลายคาบสมุทรกรีก คือ ชาวอาคีเอียน ต่อมาชนเผ่าชาวอีโอเลียนได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณกรีกตอนกลาง จนเวลาล่วงเลยมาสักระยะ ชาวดอเรียนและไอโอเนียนก็เข้ามารุกรานเพื่อยึดครองพื้นที่ เป็นเหตุให้ชาวอาคีเอียน และอีโอเลียนผู้อยู่อาศัยเดิมต้องอพยพหลบหนีไป เมื่อการเข้าครอบครองดินแดนประสบผลสำเร็จ นักประวัติศาสตร์จึงถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสำริด และเข้าสู่ยุคเหล็กอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่หนังสือประวัติศาสตร์ได้ระบุข้อมูลว่าเป็น “ยุคมืด” เหตุเพราะมีชนเผ่ากลุ่มหนึ่งที่ถูกเรียกว่าเป็น “คนเถื่อน” ได้เข้ามามีอิทธิพล และช่ำชองในเรื่องสงครามเป็นหลัก แต่กลับไม่สันทัดในด้านศิลปวิทยาการอื่นๆ เลย จึงทำให้ยุคนี้พัฒนาไปอย่างเชื่องช้า และเป็นที่มาของชื่อ กรีกยุคมืด โดยเริ่มต้นขึ้นประมาณ 1,300 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาในช่วงราวๆ 800 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นดินกรีกก็หลุดพ้นจากยุคมืด และกลับมามีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง โดยช่วงเวลานี้ได้เกิดการแบ่งรัฐออกเป็นหลายส่วน เช่น สปาร์ตา เอเธนส์ อาร์โกส และธีบิส และเมื่อเมืองเหล่านี้เริ่มมีอำนาจ ความต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งอิทธิพลที่เหนือกว่าจึงอุบัติขึ้น ส่งผลให้เกิดสงคราม และรบราฆ่าฟันกันเองอย่างต่อเนื่อง
แผนที่แสดงที่ตั้งของรัฐต่างๆ ซึ่งทรงอิทธิพลในสมัยกรีกโบราณ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
https://me.me/i/cor-ancient-greece-thrace-illy-ria-abdera-donla-black-nasos-12325014
สงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย นับเป็นหนึ่งในศึกที่รุนแรงต่อประวัติศาสตร์โลก
สงครามระหว่างกรีกและเปอร์เซีย เกิดขึ้นครั้งแรกช่วง 492 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ทรงส่งกองกำลังทหารบุกเข้าโจมตีกรีกทางน่านน้ำ แต่เหล่าทหารกลับประสบปัญหาจากพายุใหญ่จนเรือรบอับปาง ทำให้การรุกรานในครั้งนั้นเป็นอันต้องยกเลิก ต่อมากษัตริย์ดาริอุสยังคงไม่ยอมแพ้ พระองค์ทรงส่งราชทูตไปตามรัฐต่างๆ ในกรีกเพื่อให้ยอมจำนน แต่กรุงเอเธนส์กับสปาร์ตาไม่ยอมศิโรราบให้กับเปอร์เซียเสียที พระองค์จึงตัดสินพระทัยและส่งกองกำลังทหารจำนวนกว่า 2 แสนคนเพื่อเข้าโจมตีกรีกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อชาวกรีกรู้ข่าวคราว พวกเขาจึงรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ และเตรียมตัวสำหรับศึกในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าชาวกรีกจะมีจำนวนทหารที่น้อยกว่า แต่ยุทธวิธีนั้นหลักแหลมกว่าฝ่ายตรงข้ามอยู่มาก ส่งผลให้ศึกในครั้งนี้ กรีกเป็นฝ่ายเอาชนะเปอร์เซียได้
หลังจากสูญเสียชัยชนะไปถึง 2 ครั้ง กษัตริย์เซอร์ซิส อันเป็นประมุขแห่งอาณาจักรเปอร์เซียพระองค์ต่อมา ต้องการโจมตีดินแดนของชาวกรีกอีกครั้ง ท่านได้ทำการวางแผนและสะสมทรัพย์สมบัติเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อลงทุนซื้ออาวุธ สร้างเรือรบพร้อมรวบรวมกำลังทหารให้มีจำนวนมากที่สุด โดยกษัตริย์ได้ทำการส่งกองทัพเข้ารุกรานทั้งทางบก และทางน้ำ ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะพอดีกับที่ชาวกรีกให้ความสำคัญกับยุทธภูมิทางเรือ กองทัพนักรบสปาร์ตันที่นำทัพโดย ‘เลโอนิดาส’ กษัตริย์แห่งกรุงสปาร์ตา พร้อมกำลังทหารเพียง 300 นายเท่านั้น เข้าต่อสู้กับกองพลทหารของเปอร์เซียที่มีจำนวนราวๆ หลายแสนคน โดยศึกในครั้งนี้ใช้เวลานานถึง 3 วันกว่าจะสิ้นสุด กษัตริย์เซอร์ซิสจึงสามารถโอบล้อมกรุงเอเธนส์ได้เพียงแค่ส่วนเดียว แต่สุดท้ายแล้วเปอร์เซียก็ยังคงพ่ายแพ้ต่อชาวสปาร์ตาอยู่วันยังค่ำ สมรภูมิในครั้งนี้จึงเป็นที่มาของตำนาน 300 ดั่งที่เล่าขานกันมาหลายศตวรรษ
กษัตริย์เลโอนิดาส พร้อมนักรบสปาร์ตันจำนวน 300 นาย ดักรอทัพเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเธอร์โมไพลี
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
https://www.thoughtco.com/king-leonidas-of-sparta-battle-thermopylae-112481
ในยุคของสปาร์ตาที่รุ่งโรจน์สุดขีดนั้น กรีกแทบไม่ต้องการกำแพงล้อมรอบเมืองหรือเครื่องป้องกันอื่นเลย เพราะประชาชนคิดว่าขอแค่มีเหล่านักรบสปาร์ตันก็เพียงพอต่อการขับไล่ผู้รุกรานได้แล้ว ชาวกรีกจึงมักพูดกันว่า “นักรบสปาร์ตันหนึ่งคนมีค่าเท่ากับนักรบเผ่าอื่นๆ หลายคนรวมกัน”
หญิงสาวชาวสปาร์ตามีสิทธิ์เทียบเท่าเพศชาย สามารถนุ่งผ้า เปลือยอกเหมือนกับบุรุษในช่วงเวลาซ้อมกีฬา และชาวสปาร์ตาเชื่อว่า หากหมั่นเล่นกีฬาอยู่บ่อยครั้ง จะส่งผลให้ร่างกายมีความแข็งแรงและพร้อมมีบุตรได้
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
https://www.historyly.com/greek-history/surprising-facts-about-spartans/
หากอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ นี่คือสิ่งที่คุณต้องพบเจอ
1.กระบวนการคัดเลือกแต่เยาว์วัย เด็กแรกเกิดทุกคนเมื่อคลอดออกมาจากท้องแม่แล้ว จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนคัดเลือกโดยผู้อาวุโสชาวสปาร์ตาในทันที หากเด็กคนใดมีร่างกายไม่แข็งแรง หรือไม่สมประกอบ ทารกเหล่านี้จะถูกทิ้งให้อดอาหารและเสียชีวิตไปในที่สุด เพราะชาวสปาร์ตาเชื่อว่าคนที่เหมาะสมนั้นต้องมีสุขภาพดีเป็นอันดับแรก
2.ห่างไกลจากพ่อแม่ แม้อายุเพียง 7 ขวบ เด็กชายชาวสปาร์ตาเมื่อมีอายุครบ 7 ปี ต้องถูกส่งตัวเพื่อไปฝึกฝนวิชาต่างๆ ในโรงฝึก ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของผู้คุม ชาวสปาร์ตายึดมั่นในความเชื่อที่ว่า การฝึกซ้อมตั้งแต่เนิ่น สามารถช่วยสร้างทหารให้กล้าแกร่งและพร้อมออกรบได้หากถึงเวลาเหมาะสม
3.ไร้อาหารและเสื้อผ้าปกคลุมกาย เด็กทุกคนที่เข้ารับการฝึกฝน จะไม่ได้รับอาหารมากพอเพื่อประทังชีวิต พวกเขาได้ทานอาหารแค่น้อยนิด หรือบางครั้งต้องอดอาหารเป็นเวลาหลายวัน และสวมใส่ได้แค่กางเกงตัวเดียว ไม่มีแม้เสื้อหรือรองเท้าใดๆ ซึ่งความทรหดเหล่านี้จะทำให้พวกเขาปรับตัวได้กับทุกสถานที่ในทุกสภาพอากาศ
4.อย่าให้ความหิวโหยทำให้เราโรยรา ในอดีตกาล ชาวสปาร์ตาจะมีเทศกาลประจำปีเกิดขึ้น โดยให้เหล่าเด็กชายซึ่งต่างอ่อนล้าเพราะความหิว วิ่งไปแย่งเนยแข็งที่ตั้งอยู่บนแท่นบูชาเทพเจ้าอาทีมิสให้ได้จำนวนมากที่สุด ทุกคนจึงต้องต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร ถึงแม้จะต้องแลกกับความเจ็บปวด และบางคนอาจถึงขั้นถูกเฆี่ยนจนเสียชีวิตในช่วงระหว่างพิธีกรรมนั้น
5.ควบคุมร่างกายด้วยจังหวะการรำ เด็กๆ ชาวสปาร์ตา ไม่ว่าเป็นชายหรือหญิง จะได้รับการศึกษาให้ฝึกอ่าน เขียน และเต้นรำ ซึ่งเป็นหลักสูตรให้พวกเขาสามารถควบคุมจังหวะได้อย่างสวยงามยามใช้อาวุธ และถือเป็นสิ่งที่ชายทุกคนควรฝึกฝนอย่างหนัก เพราะไม่เพียงมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้กำลังอย่างเดียว ส่วนของท่วงท่าก็มีความสำคัญเช่นกัน
6.ไหวพริบนั้นสำคัญไฉน ในทุกๆ วัน เมื่อผู้เข้ารับการฝึกทุกคนทานอาหารค่ำเสร็จเรียบร้อย ผู้ช่วยครูฝึกจะเรียกทุกคนมารวมตัวกัน และถามคำถามทั่วไปเพื่อทดสอบปฏิภาณไหวพริบ ซึ่งคำตอบนั้นต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนด้วย แต่ถ้าหากใครตอบคำถามแบบไร้ความเฉลียวฉลาด ผู้นั้นจะถูกลงโทษโดยโดนกัดที่นิ้วหัวแม่มือ
7.หล่อหลอมวิชาเป็นเวลา 13 ปี การฝึกฝนต่างๆ ที่ทั้งเข้มงวด ทรหด และสาหัส มีระยะเวลารวมทั้งสิ้น 13 ปี หากคนใดสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ จึงถือว่าผ่านบททดสอบ และจะถูกคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนักรบสปาร์ตันได้อย่างเต็มตัว
8.หีบศพบรรจุผู้ตายจากสนามรบเท่านั้น การสละชีพเพื่อชาติบ้านเมือง ถือว่าเป็นภาระหน้าที่อันสมบูรณ์ในฐานะของนักรบสปาร์ตัน และร่างของชายที่เสียชีวิตในสงครามเท่านั้นจะได้ถูกบรรจุในหีบศพอย่างสมเกียรติ
ภาพนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาลี นามว่า Luigi Mussini รูปนี้บ่งบอกถึงการศึกษาที่เด็กชายชาวสปาร์ตาได้รับ ซึ่งชายหนุ่มที่นั่งอยู่บนพื้นกำลังสอนถึงปฏิกิริยาหลังดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเด็กชายได้เห็น
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
https://www.histclo.com/chron/ancient/gre/ed/ge-spar.html
(แอนิเมชั่นแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวสปาร์ตา)
กองทัพชาวสปาร์ตาในประวัติศาสตร์ และจากภาพยนตร์มีความแตกต่างกันหรือไม่?
นักวิจารณ์หนังจากต่างประเทศหลายต่อหลายคน ต่างแสดงความเห็นว่า ‘300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก’ เป็นภาพยนตร์ที่อิงประวัติศาสตร์ในช่วง 480 ปีก่อนคริสตกาลได้อย่างสมจริง ทั้งในเรื่องบทบาทของตัวละคร สถานการณ์ หรือแม้แต่บรรยากาศในช่วงสงครามของยุคสมัยนั้น ซึ่งถือว่าผู้กำกับเก็บรายละเอียดและศึกษาเรื่องราวมาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบางส่วนที่ถูกสร้างเสริมเติมแต่งลงไปในเนื้อหาของภาพยนตร์อยู่บ้าง เพื่อให้หนังเรื่องนี้ไม่ดูน่าเบื่อหรือเน้นในเชิงประวัติศาสตร์มากจนเกินไป และเหตุการณ์เหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้กำกับเพิ่มเข้าไป เพื่อสร้างสีสันให้กับหนังเรื่องนี้
1.รูปร่างของกษัตริย์เซอร์ซิสที่มีความสูงถึง 200 เซนติเมตร และสวมใส่เครื่องประดับอยู่ตามร่างกายมากมายจากในภาพยนตร์นั้น ตรงข้ามกับความเป็นจริงในประวัติศาสตร์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งบันทึกได้ระบุไว้ว่า กษัตริย์เซอร์ซิสมีความสูงตามระดับมาตรฐานของชายทั่วไปและได้รับการศึกษาที่ดี และเป็นโอรสของกษัตริย์ ดาริอุสที่ 1
2.กษัตริย์เลโอนิดาสเสียชีวิตในวันสุดท้ายของการทำศึกสงคราม ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ที่พระองค์เสียชีวิตในสนามรบตั้งแต่วันที่ 2 โดยชาวเปอร์เซียนำศพของเขากลับไปที่เมืองด้วย และ 40 ปีต่อมา ร่างของเขาจึงได้กลับคืนสู่รัฐสปาร์ตา เพื่อทำพิธีตามวัฒนธรรม ซึ่งศพของเขาถูกบรรจุในหีบศพอย่างสมเกียรติ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับชาวกรีกต่อไป
3.อีฟิอัลทิส ผู้เป็นไส้ศึกให้กับชาวเปอร์เซียที่มีรูปร่างเหมือนกับสัตว์ประหลาด แท้จริงแล้วเขาเป็นเพียงคนธรรมดา แต่บันทึกในประวัติศาสตร์กลับไม่มีข้อมูลอันชัดเจนเกี่ยวกับชายนิรนามผู้นี้เลย มีเพียงบางส่วนที่กล่าวว่าเขาคือสายสืบให้กับฝ่ายเปอร์เซียเพียงน้อยนิดเท่านั้น
เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวกรีกในยุคสมัยอดีตกาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และการสูญเสีย แต่หากลองมองอีกแง่มุมหนึ่ง ความกล้าแกร่งของนักรบสปาร์ตันนั้นก็ให้ข้อคิดกับชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความหวงหวงแหนแผ่นดินเกิดประดุจดั่งชีวิต ศักดิ์ศรีของชาวสปาร์ตาที่พร้อมสู้ศึกเคียงบ่าเคียงไไหล่กันจนวินาทีสุดท้าย
กว่าจะมาเป็นสุดยอดนักรบสปาร์ตัน
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://arrecaballo.es/edad-antigua/los-griegos/batalla-de-leuctra-371-ac/attachment/batalla-de-leuctra-371-ac-1/
กว่าจะมาเป็นสุดยอดนักรบสปาร์ตัน
หากผู้ใดชื่นชอบในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำสงคราม ต้องไม่พลาดหนังเรื่อง “300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก” ซึ่งเข้าฉายในช่วงปี 2006 ภาพยนตร์เรื่องนี้เน้นอิงเหตุการณ์ในสมัยกรีกโบราณ ก่อนจะมาเป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเด่นของเรื่องนี้ ไม่พ้นความน่าเกรงขาม ความฮึกเหิม และความดุดันของเหล่านักรบชาวสปาร์ตาจำนวน 300 นาย ที่สามารถเอาชนะกองทัพชาวเปอร์เซียจำนวนหลายแสนคนได้ จากเนื้อเรื่องจะเห็นว่า ชายที่สามารถเข้าร่วมทำศึกสงครามได้นั้น จะต้องถูกคัดเลือกและเข้าฝึกฝนตั้งแต่เยาว์วัย พบเจอบททดสอบเพื่อเป็นประตูสู่หนทางแห่งนักรบในภายภาคหน้า และที่สำคัญยังมีความลับเกี่ยวกับกองทัพชาวสปาร์ตาที่ไม่ได้เปิดเผยให้ผู้คนได้รับรู้ เพราะฉากเหล่านี้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากภาพยนตร์เท่านั้น ยังมีเรื่องน่าสนใจอีกมากมาย ที่พร้อมให้ผู้อ่านได้ร่วมศึกษาเรื่องราวอันน่าทึ่งไปด้วยกัน
ศพของหญิงสาวที่เสียชีวิตจากการคลอดบุตร จะถูกบรรจุในหีบศพเหมือนกับชายที่เสียชีวิตจากสนามรบ เพราะชาวกรีกมีความเชื่อที่ว่า บุตรที่คลอดออกมาจะต้องเป็นเด็กที่มีความแข็งแรงอย่างมาก
ย้อนกลับไปสมัยกรีกโบราณยุคริเริ่ม ช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตกาล เผ่าพันธุ์ในยุคนั้นสืบเชื้อสายมาจาก 4 เชื้อสายหลัก คือ ชาวอาคีเอียน ชาวอีโอเลียน ชาวดอเรียน และชาวไอโอเนียน ชนเผ่าแรกที่เข้ามาปักหลักสร้างถิ่นฐานอยู่บริเวณช่วงปลายคาบสมุทรกรีก คือ ชาวอาคีเอียน ต่อมาชนเผ่าชาวอีโอเลียนได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณกรีกตอนกลาง จนเวลาล่วงเลยมาสักระยะ ชาวดอเรียนและไอโอเนียนก็เข้ามารุกรานเพื่อยึดครองพื้นที่ เป็นเหตุให้ชาวอาคีเอียน และอีโอเลียนผู้อยู่อาศัยเดิมต้องอพยพหลบหนีไป เมื่อการเข้าครอบครองดินแดนประสบผลสำเร็จ นักประวัติศาสตร์จึงถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสำริด และเข้าสู่ยุคเหล็กอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่หนังสือประวัติศาสตร์ได้ระบุข้อมูลว่าเป็น “ยุคมืด” เหตุเพราะมีชนเผ่ากลุ่มหนึ่งที่ถูกเรียกว่าเป็น “คนเถื่อน” ได้เข้ามามีอิทธิพล และช่ำชองในเรื่องสงครามเป็นหลัก แต่กลับไม่สันทัดในด้านศิลปวิทยาการอื่นๆ เลย จึงทำให้ยุคนี้พัฒนาไปอย่างเชื่องช้า และเป็นที่มาของชื่อ กรีกยุคมืด โดยเริ่มต้นขึ้นประมาณ 1,300 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาในช่วงราวๆ 800 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นดินกรีกก็หลุดพ้นจากยุคมืด และกลับมามีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง โดยช่วงเวลานี้ได้เกิดการแบ่งรัฐออกเป็นหลายส่วน เช่น สปาร์ตา เอเธนส์ อาร์โกส และธีบิส และเมื่อเมืองเหล่านี้เริ่มมีอำนาจ ความต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งอิทธิพลที่เหนือกว่าจึงอุบัติขึ้น ส่งผลให้เกิดสงคราม และรบราฆ่าฟันกันเองอย่างต่อเนื่อง
แผนที่แสดงที่ตั้งของรัฐต่างๆ ซึ่งทรงอิทธิพลในสมัยกรีกโบราณ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://me.me/i/cor-ancient-greece-thrace-illy-ria-abdera-donla-black-nasos-12325014
สงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย นับเป็นหนึ่งในศึกที่รุนแรงต่อประวัติศาสตร์โลก
สงครามระหว่างกรีกและเปอร์เซีย เกิดขึ้นครั้งแรกช่วง 492 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ทรงส่งกองกำลังทหารบุกเข้าโจมตีกรีกทางน่านน้ำ แต่เหล่าทหารกลับประสบปัญหาจากพายุใหญ่จนเรือรบอับปาง ทำให้การรุกรานในครั้งนั้นเป็นอันต้องยกเลิก ต่อมากษัตริย์ดาริอุสยังคงไม่ยอมแพ้ พระองค์ทรงส่งราชทูตไปตามรัฐต่างๆ ในกรีกเพื่อให้ยอมจำนน แต่กรุงเอเธนส์กับสปาร์ตาไม่ยอมศิโรราบให้กับเปอร์เซียเสียที พระองค์จึงตัดสินพระทัยและส่งกองกำลังทหารจำนวนกว่า 2 แสนคนเพื่อเข้าโจมตีกรีกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อชาวกรีกรู้ข่าวคราว พวกเขาจึงรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ และเตรียมตัวสำหรับศึกในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าชาวกรีกจะมีจำนวนทหารที่น้อยกว่า แต่ยุทธวิธีนั้นหลักแหลมกว่าฝ่ายตรงข้ามอยู่มาก ส่งผลให้ศึกในครั้งนี้ กรีกเป็นฝ่ายเอาชนะเปอร์เซียได้
หลังจากสูญเสียชัยชนะไปถึง 2 ครั้ง กษัตริย์เซอร์ซิส อันเป็นประมุขแห่งอาณาจักรเปอร์เซียพระองค์ต่อมา ต้องการโจมตีดินแดนของชาวกรีกอีกครั้ง ท่านได้ทำการวางแผนและสะสมทรัพย์สมบัติเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อลงทุนซื้ออาวุธ สร้างเรือรบพร้อมรวบรวมกำลังทหารให้มีจำนวนมากที่สุด โดยกษัตริย์ได้ทำการส่งกองทัพเข้ารุกรานทั้งทางบก และทางน้ำ ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะพอดีกับที่ชาวกรีกให้ความสำคัญกับยุทธภูมิทางเรือ กองทัพนักรบสปาร์ตันที่นำทัพโดย ‘เลโอนิดาส’ กษัตริย์แห่งกรุงสปาร์ตา พร้อมกำลังทหารเพียง 300 นายเท่านั้น เข้าต่อสู้กับกองพลทหารของเปอร์เซียที่มีจำนวนราวๆ หลายแสนคน โดยศึกในครั้งนี้ใช้เวลานานถึง 3 วันกว่าจะสิ้นสุด กษัตริย์เซอร์ซิสจึงสามารถโอบล้อมกรุงเอเธนส์ได้เพียงแค่ส่วนเดียว แต่สุดท้ายแล้วเปอร์เซียก็ยังคงพ่ายแพ้ต่อชาวสปาร์ตาอยู่วันยังค่ำ สมรภูมิในครั้งนี้จึงเป็นที่มาของตำนาน 300 ดั่งที่เล่าขานกันมาหลายศตวรรษ
กษัตริย์เลโอนิดาส พร้อมนักรบสปาร์ตันจำนวน 300 นาย ดักรอทัพเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเธอร์โมไพลี
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://www.thoughtco.com/king-leonidas-of-sparta-battle-thermopylae-112481
ในยุคของสปาร์ตาที่รุ่งโรจน์สุดขีดนั้น กรีกแทบไม่ต้องการกำแพงล้อมรอบเมืองหรือเครื่องป้องกันอื่นเลย เพราะประชาชนคิดว่าขอแค่มีเหล่านักรบสปาร์ตันก็เพียงพอต่อการขับไล่ผู้รุกรานได้แล้ว ชาวกรีกจึงมักพูดกันว่า “นักรบสปาร์ตันหนึ่งคนมีค่าเท่ากับนักรบเผ่าอื่นๆ หลายคนรวมกัน”
หญิงสาวชาวสปาร์ตามีสิทธิ์เทียบเท่าเพศชาย สามารถนุ่งผ้า เปลือยอกเหมือนกับบุรุษในช่วงเวลาซ้อมกีฬา และชาวสปาร์ตาเชื่อว่า หากหมั่นเล่นกีฬาอยู่บ่อยครั้ง จะส่งผลให้ร่างกายมีความแข็งแรงและพร้อมมีบุตรได้
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://www.historyly.com/greek-history/surprising-facts-about-spartans/
หากอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ นี่คือสิ่งที่คุณต้องพบเจอ
1.กระบวนการคัดเลือกแต่เยาว์วัย เด็กแรกเกิดทุกคนเมื่อคลอดออกมาจากท้องแม่แล้ว จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนคัดเลือกโดยผู้อาวุโสชาวสปาร์ตาในทันที หากเด็กคนใดมีร่างกายไม่แข็งแรง หรือไม่สมประกอบ ทารกเหล่านี้จะถูกทิ้งให้อดอาหารและเสียชีวิตไปในที่สุด เพราะชาวสปาร์ตาเชื่อว่าคนที่เหมาะสมนั้นต้องมีสุขภาพดีเป็นอันดับแรก
2.ห่างไกลจากพ่อแม่ แม้อายุเพียง 7 ขวบ เด็กชายชาวสปาร์ตาเมื่อมีอายุครบ 7 ปี ต้องถูกส่งตัวเพื่อไปฝึกฝนวิชาต่างๆ ในโรงฝึก ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของผู้คุม ชาวสปาร์ตายึดมั่นในความเชื่อที่ว่า การฝึกซ้อมตั้งแต่เนิ่น สามารถช่วยสร้างทหารให้กล้าแกร่งและพร้อมออกรบได้หากถึงเวลาเหมาะสม
3.ไร้อาหารและเสื้อผ้าปกคลุมกาย เด็กทุกคนที่เข้ารับการฝึกฝน จะไม่ได้รับอาหารมากพอเพื่อประทังชีวิต พวกเขาได้ทานอาหารแค่น้อยนิด หรือบางครั้งต้องอดอาหารเป็นเวลาหลายวัน และสวมใส่ได้แค่กางเกงตัวเดียว ไม่มีแม้เสื้อหรือรองเท้าใดๆ ซึ่งความทรหดเหล่านี้จะทำให้พวกเขาปรับตัวได้กับทุกสถานที่ในทุกสภาพอากาศ
4.อย่าให้ความหิวโหยทำให้เราโรยรา ในอดีตกาล ชาวสปาร์ตาจะมีเทศกาลประจำปีเกิดขึ้น โดยให้เหล่าเด็กชายซึ่งต่างอ่อนล้าเพราะความหิว วิ่งไปแย่งเนยแข็งที่ตั้งอยู่บนแท่นบูชาเทพเจ้าอาทีมิสให้ได้จำนวนมากที่สุด ทุกคนจึงต้องต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร ถึงแม้จะต้องแลกกับความเจ็บปวด และบางคนอาจถึงขั้นถูกเฆี่ยนจนเสียชีวิตในช่วงระหว่างพิธีกรรมนั้น
5.ควบคุมร่างกายด้วยจังหวะการรำ เด็กๆ ชาวสปาร์ตา ไม่ว่าเป็นชายหรือหญิง จะได้รับการศึกษาให้ฝึกอ่าน เขียน และเต้นรำ ซึ่งเป็นหลักสูตรให้พวกเขาสามารถควบคุมจังหวะได้อย่างสวยงามยามใช้อาวุธ และถือเป็นสิ่งที่ชายทุกคนควรฝึกฝนอย่างหนัก เพราะไม่เพียงมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้กำลังอย่างเดียว ส่วนของท่วงท่าก็มีความสำคัญเช่นกัน
6.ไหวพริบนั้นสำคัญไฉน ในทุกๆ วัน เมื่อผู้เข้ารับการฝึกทุกคนทานอาหารค่ำเสร็จเรียบร้อย ผู้ช่วยครูฝึกจะเรียกทุกคนมารวมตัวกัน และถามคำถามทั่วไปเพื่อทดสอบปฏิภาณไหวพริบ ซึ่งคำตอบนั้นต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนด้วย แต่ถ้าหากใครตอบคำถามแบบไร้ความเฉลียวฉลาด ผู้นั้นจะถูกลงโทษโดยโดนกัดที่นิ้วหัวแม่มือ
7.หล่อหลอมวิชาเป็นเวลา 13 ปี การฝึกฝนต่างๆ ที่ทั้งเข้มงวด ทรหด และสาหัส มีระยะเวลารวมทั้งสิ้น 13 ปี หากคนใดสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ จึงถือว่าผ่านบททดสอบ และจะถูกคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนักรบสปาร์ตันได้อย่างเต็มตัว
8.หีบศพบรรจุผู้ตายจากสนามรบเท่านั้น การสละชีพเพื่อชาติบ้านเมือง ถือว่าเป็นภาระหน้าที่อันสมบูรณ์ในฐานะของนักรบสปาร์ตัน และร่างของชายที่เสียชีวิตในสงครามเท่านั้นจะได้ถูกบรรจุในหีบศพอย่างสมเกียรติ
ภาพนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาลี นามว่า Luigi Mussini รูปนี้บ่งบอกถึงการศึกษาที่เด็กชายชาวสปาร์ตาได้รับ ซึ่งชายหนุ่มที่นั่งอยู่บนพื้นกำลังสอนถึงปฏิกิริยาหลังดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเด็กชายได้เห็น
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://www.histclo.com/chron/ancient/gre/ed/ge-spar.html
(แอนิเมชั่นแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวสปาร์ตา)
1.รูปร่างของกษัตริย์เซอร์ซิสที่มีความสูงถึง 200 เซนติเมตร และสวมใส่เครื่องประดับอยู่ตามร่างกายมากมายจากในภาพยนตร์นั้น ตรงข้ามกับความเป็นจริงในประวัติศาสตร์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งบันทึกได้ระบุไว้ว่า กษัตริย์เซอร์ซิสมีความสูงตามระดับมาตรฐานของชายทั่วไปและได้รับการศึกษาที่ดี และเป็นโอรสของกษัตริย์ ดาริอุสที่ 1
2.กษัตริย์เลโอนิดาสเสียชีวิตในวันสุดท้ายของการทำศึกสงคราม ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ที่พระองค์เสียชีวิตในสนามรบตั้งแต่วันที่ 2 โดยชาวเปอร์เซียนำศพของเขากลับไปที่เมืองด้วย และ 40 ปีต่อมา ร่างของเขาจึงได้กลับคืนสู่รัฐสปาร์ตา เพื่อทำพิธีตามวัฒนธรรม ซึ่งศพของเขาถูกบรรจุในหีบศพอย่างสมเกียรติ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับชาวกรีกต่อไป
3.อีฟิอัลทิส ผู้เป็นไส้ศึกให้กับชาวเปอร์เซียที่มีรูปร่างเหมือนกับสัตว์ประหลาด แท้จริงแล้วเขาเป็นเพียงคนธรรมดา แต่บันทึกในประวัติศาสตร์กลับไม่มีข้อมูลอันชัดเจนเกี่ยวกับชายนิรนามผู้นี้เลย มีเพียงบางส่วนที่กล่าวว่าเขาคือสายสืบให้กับฝ่ายเปอร์เซียเพียงน้อยนิดเท่านั้น
เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวกรีกในยุคสมัยอดีตกาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และการสูญเสีย แต่หากลองมองอีกแง่มุมหนึ่ง ความกล้าแกร่งของนักรบสปาร์ตันนั้นก็ให้ข้อคิดกับชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความหวงหวงแหนแผ่นดินเกิดประดุจดั่งชีวิต ศักดิ์ศรีของชาวสปาร์ตาที่พร้อมสู้ศึกเคียงบ่าเคียงไไหล่กันจนวินาทีสุดท้าย