ทำไมภาพยนต์ประวัติศาสตร์ของไทยมักอยู่ในกรอบเดิมๆ

ย้ำนะครับ ภาพยนต์ ไม่ใช่ละคร

เท่าที่เราเห็นกันจนชินตาคือ ภาพของพระมหากษัตริย์นักรบ รวมถึงเหล่าทหารหาญที่สละชีพเพื่อบ้านเมือง
ซึ่งเสริมสร้างค่านิยมความรักชาติให้คนไทยได้ดีทีเดียว...
- แต่ทำไมถึงต้องจำกัดศัตรูสำคัญอยู่แค่ "พม่า" หรือไม่ก็ชาติเพื่อนบ้าน  
- ไมไม่ลองเปลี่ยนเป็น "ญวน" (อานามสยามยุทธ สงครามนี้ก็เรื้องรังเช่นกัน)
- ไม่ลองเปลี่ยนเป็นชาติตะวันตกบ้างล่ะครับ
  (อย่าง ร.ศ.๑๑๒ , ยุทธนาวีที่เกาะช้าง เป็นสงครามยุคใกล้ ที่เปลี่ยนจากการต่อสู้ด้วยดาบหรือบนบก มาอยู่บนท้องทะเล)

แต่ก็ยังคงอยู่ในอีหรอบของ"สงคราม" ไมไม่ลองเปลี่ยแนวเป็นผู้ที่ทำเพื่อชาติบ้านเมืองให้รุ่งเรืองในด้าน"เศรษฐกิจ"
- อย่างสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (๑ ในมหาราชชาติไทย) ที่แฝงด้วยเรื่องราวมากมาย
  การต้องฝ่าฟันกับการเข้ามาของชาติตะวันตกในยุคแรก การที่ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยใช้การทูตแทนดาบ

หรือถ้ากลัวว่าทำหนังที่เน้นเนื้อหาสาระมากไปจะไม่ค่อยเป็นที่นิยม ไมไม่ลองทำหนังที่ออกแนวผจญภัยโดยอิงประวัติศาสตร์ดูล่ะ
- การเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลล่องเรือจากสยามสู่ฝรั่งเศส ของคณะทูตอยุธยา ซึ่งกินเวลานานแรมปี ถ้าทำคงแนวๆหนังเรื่อง๘๐วันรอบโลก

ปล.เสนอแนวคิดด้วยมุมมองส่วนตัวนะครับ คิดเห็นประการใดช่วยแนะนำทีนะครับ ^^
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 36
เอาจริงนะ เพราะชาติไทยยังมีสถาบันกษัตริย์
เลยเล่นอะไรได้ยากเพราะจะไปพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์
อย่าง เกาหลี จะเห็นหนังกู้ชาติหลายเรื่องเลย หรือหนังชีวิตรักของพวกเชื้อพระวงศ์บางทีตลกบางทีฉาวมาก เพราะเขาสามารถเล่นได้แล้ว เนื่องจากสถาบันกษัติรย์เขาล่มไปแล้ว

จีน - จะเล่นถึงฮ่องเต้สมัยก่อนยังไงก็ได้ บางเรื่องสื่อว่าเก่ง บางเรื่องสื่อว่าชั่ว หูเบา มั่วกาม อย่าง curse of golden flower นี่แสดงความเละเทะของสถาบันครอบครัวในวังมาก ก็เล่นได้เพราะสถาบันกษัตริย์เขาไม่มี

ญี่ปุ่น - ยังมีกษัตริย์(จักรพรรดิ) ก็จะเห็นว่าหนังที่เล่นกับสถาบันกษัตริย์เขาก็ไม่มีเหมือนหันเพราะแตะไม่ได้ (ไม่มีใครอยากแตะ)แต่ประวัติศาสตร์ที่เขานำมาเล่นจะเป็นพวกซามูไร / โชกุน กองทหารเก่งๆของโชกุน ความเก่งหรือความโง่ของโชกุนมากกว่า

ปล. ที่พูดนี่ไม่ได้บอกว่าสถาบันกษัตริย์ดีหรือไม่ดี แต่แค่คิดว่า ที่บทหนัง/ละคร/การ์ตูน ไทยเราไม่เล่นเรื่องนี้เพราะเรายังมีสถาบันกษัตริย์
และต้องยอมรับว่าประเทศเรากราบไหว้บุคคล

ประเทศเดียวที่ยังมีกษัตริย์อยู่แล้วโดนเอามาล้อ/เล่าถึงในหนังในละคร เห็นจะมีแต่อังกฤษล่ะมั้ง เป็นชาติเดียว(เท่าที่เรารู้จัก) ที่คนแซวสถาบันกษัตริย์กันฮาเฮสุดๆ (แต่ก็น่ารักดี) ขณะที่ชาติอื่นจะเกรงใจสถาบันกันหน่อย
ความคิดเห็นที่ 4
อยากเห็นแนว Anti-Hero ครับ

.. ส่วนตัวชอบดูประวัติศาสตร์จีนยุดก่อตั้งราชวงศ์
ยุคจิ๋นซี หลี่ซื่อหมิง จูหยวนจาง เล่าปัง มีด้านมืดด้านสว่าง
แต่ของไทยคงยากอ่ะ ^^
ความคิดเห็นที่ 10
ภาพยนตร์ไทยที่นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มีสักกี่เรื่องครับ
ถ้าไม่นับรวมหนัตำนานฯของท่านมุ้ยที่มีหกภาค ผกก.ท่านอื่นๆก็ไม่เห็นจะทำหนังประวัติศาสตร์
สามสี่ปี หรือห้าหกปี จะมีหนังประวัติศาสตร์สักเรื่องหนึ่ง
แล้วคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์อยู่แล้ว หนังแนวนี้ก็ไม่ใช่หนังเกาะตลาด ต้นทุนก็สูง ผมถามจริงๆนะ พี่มากพระโขนงลงทุนไม่ถึงสิบล้าน ฟันได้เป็นพันล้าน ... ตำนานฯลงทุนเจ็ดร้อยล้าน ทำมาสิบสองปีแล้ว ผลสรุปคือเท่าทุน (ขาดทุนด้วยซ้ำ) อย่างนี้ยังจะมีใครกล้าทำหนังประวัติศาสตร์ครับ
สิ่งเดียวที่ดึงดูดให้คนเข้าไปดูหนังประวัติศาสตร์ได้ (ยกเว้นตั๋วฟรีกับการเกณฑ์นักเรียน) คือ ฉากแอ็คชั่น สงคราม ... คงไม่มีใคร (ที่ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ) อยากเข้าไปนั่งดูหนังโบราณที่มีแต่ฉากคุยกันทั้งเรื่อง
ถ้าไปทำหนังประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ เมืองนอกยังมีน้อยเลยครับ ถ้าไทยทำ เจ๊งชัวร์
ส่วนภาพยนตร์ผจญภัยอิงประวัติศาสตร์ คุณคิดว่าผู้บริโภคจะเลือกอะไร ระหว่าง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" กับ "ตำนานโกษาธิบดีปาน"

คนเขียนบทภาพยนตร์ จะเขียนยังไงก็ได้ แนวไหนก็ได้ตามใจตัวเอง แต่ข้อจำกัดมันอยู่ตอนทำหนังนี่แหละครับ

การที่ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทยอยู่แต่กรอบเดิมๆคือ "รบพม่า" ไม่ใช่ว่าผู้สร้างภาพยนตร์ไม่มีความคิดออกจากกรอบเดิม แต่เป็นเพราะกระแสผู้บริโภคที่ไม่เอื้ออำนวยเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้น ถ้าอยากจะดูหนังดีๆ ต้องเริ่มที่กระแสนิยมหลักครับ

ปล. รายชื่อภาพยนตร์ไทยทำเงินช่วงห้าหกปีมานี้ ถ้าไม่ใช่หนังผี ก็เป็นหนังตลก (ไม่นับรวมหนังท่านมุ้ย) เพราะอะไร???
เพราะ ภาพยนตร์แอ็คชั่น ไทยก็ทำสู้ต่างชาติไม่ได้ เทคนิคและต้นทุนยังไม่ถึง นอกจากจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวของนักแสดงล้วนๆ (มันจะมีสักกี่คนที่ทำได้เหมือนโทนี่จากับชูพงศ์) ภาพยนตร์ไซไฟยิ่งไม่ต้องพูดถึง
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ต้องใช้ต้นทุนสูงไม่ต่างจากการสร้างของต่างชาติมากนัก แต่ผู้บริโภคมีแค่60กว่าล้านคน ต่างกับหนังฮอลลิวู้ดที่ส่งออกทั่วโลก ผู้บริโภคหลักร้อยล้านพันล้าน (อย่าลลืมว่าภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทยแทบจะส่งออกไม่ได้เลย เพราะอะไร...คิดกลับกัน คุณเคยชมภาพยนตร์ประวัติศาสตร์แอฟริกาที่สร้างโดยชาวแอฟริกาแท้ๆมั้ย)
ฉะนั้น สร้างภาพยนตร์ต้นทุนต่ำที่ได้กำไรสูงอย่างแนวตลกและสยองขวัญ ความเสี่ยงน้อยกว่าหนังประวัติศาสตร์แบบคนละโลกเลยครับ
ความคิดเห็นที่ 17
สิ่งที่คนไทยเราแตะต้องไม่ได้ประการหนึ่งคือ "ประวัติศาสตร์" ครับ
เพราะถ้าทำเพี้ยนไปจากความรู้ที่คนไทยรู้ จะมีกลุ่มคนจากหลายๆแหล่งมารุมวิพากษ์วิจารณ์
(ขนาดเรื่อง "Anna and The King" ยังโดนห้ามฉาย เพราะทำเพี้ยนไปจากสิ่งที่เรารู้)
ดังนั้นเรื่องราวที่ใครซักคนจะหยิบยกขึ้นมาสร้างภาพยนตร์จึงต้องเป็นเรื่องที่หาข้อมูลอ้างอิงได้
และเรื่องราวการรบกันกับพม่ามันเป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุด หาข้อมูลอ้างอิงได้ง่ายที่สุด
จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นภาพยนตร์หรือละครมากมายที่พูดถึงการรบของเรากับพม่า
นอกนั้นก็เป็นเรื่องของการรบกันเองระหว่าง 2 อาณาจักร ซึ่งในสมัยนั้นเรายังเป็นชุมชนคนละกลุ่ม
แต่เมื่อมาถึงสมัยนี้ เราถูกรวบเป็นประเทศเดียวกันไปแล้ว ก็เลยสุ่มเสี่ยงจะเกิดความขัดแย้งในประเทศ
หรือไม่ก็เป็นแนวไม่ได้น่าสนใจขนาดนำมาสร้างเป็นหนัง สร้างไปจะกลายเป็นสารคดีเปล่าๆ
หรืออีกอย่างนึงก็คือเป็นเรื่องที่อาจจะกระทบต่อครอบครัวที่หลงเหลืออยู่ในยุคปัจจุบัน แบบนี้ก็เสี่ยงที่จะทำ

เอาจริงๆผมอยากดูหนังแบบซีรี่ย์เรื่อง "เจาะเวลาหาจิ๋นซี" คือใช้วิธีการส่งคนจากยุคปัจจุบันเข้าไป
แล้วเกิดวีรกรรมอะไรร่วมกับคนในสมัยนั้น แล้วสุดท้ายก็ขัดแย้งกันจนไม่มีการบันทึกลงในประวัติศาสตร์
เพราะการทำแบบนี้มันทำให้ดูเป็นแฟนตาซีหน่อยๆ เราสามารถเพิ่มเติมอะไรต่างๆลงไปได้บ้าง
ซึ่งที่ผ่านมาผมก็เคยดู "อตีตา" "สียามา" หรือแม้แต่ "ทวิภพ" ก็น่าจะเข้าข่าย
หรือเป็นแบบ "เจ้ากรรมนายเวร" หรือ "คู่กรรม" ก็โอเค คือเป็นคนสมัยนั้นแหละ แต่สร้างตัวละครขึ้นใหม่
ซึ่งผมว่าผมชอบดูหนังแนวอิงประวัติศาสตร์แบบนี้มากกว่าเดินเรื่องตามประวัติศาสตร์เป๊ะๆซะอีก
เพราะพอเป็นหนังประวัติศาสตร์เพียวๆ ผมว่ามันน่าเบื่อ ถ้าจะดูก็เหมือนแค่อยากดูโปรดักชั่นอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
ความคิดเห็นที่ 3
อย่าไปคิดมากกับภาพยนตร์ประวัติศาสตร์เลย ... ขนาดละคร ยุคปัจจุบันที่มีมุมให้นำเสนอมากมาย ละครไทยยังทำได้แต่แนวเดิมๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่