Part 1:
https://ppantip.com/topic/38507968
This is a Toy.
กลยุทธที่ Nintendo จะนำมาใช้ในการขายเครื่องเกม Console ในประเทศที่เข็ดขยาดเครื่องเกม Console ก็คือ
การนำเสนอว่า NES ไม่ใช่เครื่องเกม Console แต่เป็น Entertainment System
เป็น “ของเล่น” แบบหนึ่ง
และเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ซื้อและร้านค้าปลีกจะมอง NES ว่าเป็นของเล่น Nintendo จึงใช้วิธี
ขาย R.O.B. (Robotic Operating Buddy) ควบเป็นแพ๊กเกตอีกทีให้แน่ใจ
R.O.B. คือหุ่นยนต์ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่จะทำงานโดยตอบสนองต่อสัญญาณภาพที่
แสดงออกมาจากจอทีวีให้ทำงานช่วยผู้เล่นเกม เช่น ขนย้ายไจโรเพื่อเปิดทางให้ตัวละครในเกม เป็นต้น
และสิ่งนี้ทำให้ร้านค้าปลีกมอง NES ว่าเป็นของเล่นได้สำเร็จ ถ้าร้านค้ามองว่าเป็นของเล่น ลูกค้าก็ย่อมคิดไม่ต่างกัน
ที่น่าขันคือ R.O.B. หรือ Famicom Robot (ชื่อในญี่ปุ่น) นั้นเป็นสิ่งที่ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในญี่ปุ่น
ช่วงที่ NES ถูกวางขายพร้อม R.O.B. ในอเมริกา Famicom Robot ในได้ประสบความล้มเลวอย่างสิ้นเชิงไปแล้วด้วยซ้ำ
Nintendo อเมริกาเองตอนที่ได้รับตัวอย่าง R.O.B. มาทดสอบก็รู้เลยว่ามันไปไม่รอดแน่ Nintendo อเมริกาถึงกับต้อง
ติดต่อ Nintendo ญี่ปุ่นเพื่อขอให้ทบทวนแผนใหม่เพราะเห็นว่ามันไม่เวิร์คแน่ ๆ แต่ ประธานของ Nintendo ญี่ปุ่น
ในขณะนั้นตอบกลับไปว่าให้ดำเนินการตามแผนเดิมต่อไป
Nintendo ญี่ปุ่นมองว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนอเมริกันไม่ชอบเกมคอมพิวเตอร์แล้วเพราะตลาดเกมอาเขตที่อเมริกา
ก็ยังไปได้ดีอยู่ แต่ปัญหาคือคนอเมริกันไม่คิดว่าจะมีเกมดี ๆ อยู่บนเครื่อง Console อีกแล้วจึงพลอยปฏิเสธเครื่อง Console ไปด้วย
แต่ Nintendo ญี่ปุ่น เชื่อมั่นในโปรดักส์ของตนเองมากและเชื่อว่าขอเพียงคนอเมริกันได้ลองเล่นเกมของ NES สักครั้ง
ก็จะเปลี่ยนความคิดได้จึงทำทุกวิถีทางที่จะให้มีคนซื้อ NES ให้ได้มากที่สุดและรอหวังผลจากการตลาดแบบปากต่อปาก
และเพื่อการนั้น R.O.B. คือสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ร้านค้าปลีกยอมสั่งซื้อ NES, ยอมวางขาย NES และทำให้เด็ก ๆ สนใจจนขอพ่อแม่ให้ซื้อให้ได้สำเร็จ บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า R.O.B. เป็นดุจดัง “ม้าไม้โทรจัน” แห่งศตวรรษที่ 20 เลยทีเดียว
ในส่วนของการทำตลาดนั้น เนื่องจากอเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่มากจึงมีความเสี่ยงสูงในการทำการตลาด
ทั่วประเทศในคราวเดียว Nintendo ตัดสินใจที่จะทดลองตลาดโดยวางขายที่ในเมือง ๆ เดียวก่อน โดยเมืองที่เลือกมาก็คือ New York
เพราะมองว่า New York เป็นเมืองที่ประชากรหนาแน่นที่สุดของอเมริกา สามารถรวบรวมข้อมูล feedback ได้เป็นจำนวนมาก
และถ้าที่ New York ไม่ประสบความสำเร็จก็ไม่มีเมืองไหนในอเมริกาที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจอีกแล้ว ถ้าจะเจ็บ เจ็บที่เดียวแล้วให้จบ
Moment of True
เพื่อให้การทดลองตลาดเป็นไปได้ด้วยดีจึงมีการจัดตั้งทีมการตลาดเฉพาะของ NES ขึ้นในชื่อว่า
"Nintendo SWAT team” โดยทีมนี้จะทำหน้าที่โฆษณาขาย NES ผ่าน telemarketing(โฆษณาขายทางโทรศัพท์)
และออกบูตสาธิตตาม shopping mall ต่าง ๆ
และเพื่อให้สินค้ามีวางขายมากแห่งที่สุด Nintendo จึงจัดโปรไร้ความเสี่ยง เสี่ยสั่งลุยให้กับร้านค้าที่สั่ง NES ไปวางขายดังนี้
- Nintendo จะรับผิดชอบการจัดหน้าร้านและการตลาดให้แต่ละร้านค้าปลีกเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ให้เครดิตร้านค้าถึง 90 วัน (ร้านค้าเอา NES ไปขายก่อนได้แล้วอีก 90 วันค่อยส่งเงินให้ Nintendo)
- ถ้าขายไม่ได้ Nintendo ยินดีรับคืน NES ที่ขายไม่ออกทุกเครื่อง
ด้วยวิธีนี้ทำให้ NES มีวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกอย่างน้อย 500 ร้านร่วมถึงร้านมีชื่ออย่าง FAO Schwarz ด้วย
NES เริ่มวางจำหน่ายใน New York ประเทศอเมริกาในวันที่ 18 ตุลาคม 1985 ด้วยจำนวน 1 แสนเครื่อง
พร้อม Packet แบบจัดเต็ม เมื่อซื้อ NES จะแถมจอยสองจอย ปืน NES Zapper, R.O.B. พร้อมเกม Duck Hunt
(เกมยิงเป็ด ใช้ความสามารถของปืน Zapper) และ Gyromite (เกมผ่านด่านที่ใช้ความสามารถของ R.O.B.)
พร้อม ๆ กับเกมขายแยกต่างหากอีก 17 เกมที่วางจำหน่ายในวันเดียวกัน
ผลคือ NES สามารถทำยอดขายได้ 9 หมื่นเครื่องภายใน 9 สัปดาห์ (ราว ๆ 2 เดือน) หลังจากวางจำหน่าย
จากนั้นก็เหมือนไฟลามทุ่ง
Nintendo เริ่มทดลองตลาดเพิ่มที่ Los Angeles ในเดือนกุมภาพันธ์ 1986 ตามด้วย Chicago, San Francisco
และในที่สุดก็ทำตลาดทั่วอเมริกาในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
หมัดน๊อกของ Nintendo คือตอนออกขายทั่วประเทษ Nintendo ออกแพ๊กเกตซื้อ NES แถมเกมในตำนาน “Super Mario bros” ทำให้ Nintendo ครองตลาดเกม Console ในช่วงนั้นในฐานะอันดับ 1 ทิ้งห่างคู่แข่งได้อย่างไร้ข้อกังขา
หลังจากนั้น NES ก็เริ่มออกวางจำหน่ายในประเทศหรือทวีปต่าง ๆ เช่น ยุโรป, เกาหลีใต้, Australia, New Zealand
เคสพิเศษคือที่สหภาพโซเวียดซึ่งได้เครื่อง Clone ของ NES จากจีนมาเล่นแทน NES ของจริง คาดว่าเพราะสาเหตุทางการเมือง
Secret of Success: Nintendo quality control
Hiroshi Yamauchi ประธานบริษัท Nintendo ในปี 1986 ได้มองว่าสาเหตุที่เกิดยุค Video game crash
ขึ้นมาก็เพราะบริษัทเจ้าของเกม Consoles ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Atari ให้อิสระแก่ third-party developers มากเกินไป
จนทำให้ตลาดเต็มไปด้วย “เกมด้อยคุณภาพ”
ดังนั้น third-party developers ที่พัฒนาเกมให้กับ Nintendo จึงถูกควบคุมภายใต้กฎข้อบังคับ
ที่เคร่งครัดและทุกเกมจะต้องผ่านการตรวจสอบจาก Nintendo ก่อนเท่านั้นถึงจะได้ Nintendo seal of quality
เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพและอนุญาตให้เล่นบน NES ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกมบน NES ส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะดี
แต่ในทางกลับกันกฎข้อบังคับที่เคร่งครัดนี้เองก็สั่งสมความอึดอัดและความแค้นของผู้พัฒนาเกม
ร่วมถึงสร้างศัตรูต่อ Nintendo จำนวนไม่น้อย ซึ่งจะได้เล่าถึงในโอกาสต่อไป
ร่วงโรย
ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา NES เองก็เช่นกัน
NES แม้จะเป็นเครื่องเกมที่รับความนิยมสูงมากแต่เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปทุกวันก็ทำให้ NES
เริ่มตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้เล่นไม่ได้ ในที่สุดเครื่องเกม 16bits ที่สามารถสร้างภาพที่สีสวยกว่า
คมชัดกว่า, ระบบเสียงดีกว่าก็ออกวางจำหน่าย
เริ่มด้วย PC Engine โดย NEC and Hudson Soft ในปี 1987 ตามด้วย Sega Mega Drive หรือ Genesis ในฝั่งอเมริกา
ในปี 1988 Nintendo ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามเครื่องเกม 16bits โดยการส่ง Super Famicom ลงสนามในปี 1990 และ Super NES สำหรับตลาดต่างประเทศในปี 1991 แต่ถึงกระนั้น Nintendo ก็ยังคงจำหน่าย NES และออกเกมใหม่ ๆ ของ NES ต่อไป
NES Kai (Famicom Kai ni)
ในปี 1993 Nintendo ได้วางจำหน่าย NES รุ่นออกแบบใหม่เพื่อลดขนาดและต้นทุนการผลิตในชื่อ NES 101
นอกจากขนาดที่เล็กลงมากเมื่อเทียบกับ NES จอยที่แถมมาให้ก็ใช้การดีไซส์ที่โค้งมนแบบเดียวกับจอยของ SNES
(Reuse ชิ้นส่วนจอยของ SNES อย่างชัดเจน) อีกจุดที่สำคัญคือการเปลี่ยนวิธีการเสียบตลับเกมมาเป็นการเสียบจากด้านบน
ตามเดิมเพราะการใส่ตลับเกมจากด้านหน้าทำให้การบำรุงรักษาเมื่อหน้า Contact สกปรกทำได้ยากรวมถึงปัญหาหน้า
Contact ในเครื่องล้าจนไม่จับกับหน้า Contact ของตลับเกม
ในอีกมุมหนึ่งคือ NES ไม่จำเป็นต้องปกปิดตัวเองอีกต่อไป เครื่องเกม Console ได้รับการยอมรับแล้วในที่สุด
The End and Legacy
Nintendo ยุติการผลิตและจำหน่าย NES ที่อเมริกาในเดือนสิงหาคม 1995 และญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 2003
NES สร้างตำนานไร้เทียบทานครองตำแหน่งเครื่องเกมที่ขายได้มากที่สุดในโลกในยุคนั้นและใน Gen ของตัวเครื่องเอง
ทำยอดขายทั่วโลกได้ทั้งสิ้น 61.9 ล้านเครื่อง ถ้าเอายอดขายทั่วโลกเครื่องเกม Gen เดียวกันมารวมกันแล้ว
NES สามารถครองตลาดเครื่องเกมได้เกือบ 80% ของทั้งหมด
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของ NES นั้นไม่เครื่องเกมที่ขายดีที่สุดแต่เป็นเครื่องเกมที่เป็นผู้ช่วยกอบกู้
อุตสาหกรรมเกมที่ตกต่ำสุดขีดให้กลับคืนมาได้
อีกทั้งยังทำให้เกิดบริษัทพัฒนาเกมจำนวนมาก ในจำนวนนั้นกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่
ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Konami, Capcom, Square, Enix
รวมถึงการกำเนิดเกมซีรีย์อมตะหลาย ๆ เกม ที่ล้วนแจ้งเกิดจาก NES ทั้งนั้นเช่น
Mario, Zelda, Rockman, Final Fantasy, Metal Gear เป็นต้น
และยังทำให้อุตสาหกรรมเกมในอเมริกาและอีกหลาย ๆ ประเทศเติบโตขึ้นจนเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ในทางกลับกัน NES ก็เป็นจุดเริ่มต้นของของความขัดแย้งและการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มคนและบริษัทต่าง ๆ
ในธุรกิจอุตสาหกรรมเกม ไม่ว่าจะในตำราหรือนอกตำรา, ตามแบบหรือนอกแบบ, ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย
รวมถึงการขัดผลประโยชน์, หักหลัง, กดขี่, และสร้างผลกระทบรวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
แก่สังคมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่จะได้กล่าวถึงในอนาคต
แต่ทั้งหมดนั้นก็ทำให้อุตสาหกรรมเกมเติบโตกลายเป็นธุรกิจระดับชาติเงินหมุนเวียนหลักพันล้านเหรียญสหรัฐ
ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ , มีการพัฒนากราฟฟิก Chip อย่างต่อเนื่องและเกิดเกมเปี่ยมไปด้วยความเรื่องราว
และคิดสร้างสรรอย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Game of Consoles: NES” Part 2 End
This is a Toy.
กลยุทธที่ Nintendo จะนำมาใช้ในการขายเครื่องเกม Console ในประเทศที่เข็ดขยาดเครื่องเกม Console ก็คือ
การนำเสนอว่า NES ไม่ใช่เครื่องเกม Console แต่เป็น Entertainment System
เป็น “ของเล่น” แบบหนึ่ง
และเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ซื้อและร้านค้าปลีกจะมอง NES ว่าเป็นของเล่น Nintendo จึงใช้วิธี
ขาย R.O.B. (Robotic Operating Buddy) ควบเป็นแพ๊กเกตอีกทีให้แน่ใจ
R.O.B. คือหุ่นยนต์ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่จะทำงานโดยตอบสนองต่อสัญญาณภาพที่
แสดงออกมาจากจอทีวีให้ทำงานช่วยผู้เล่นเกม เช่น ขนย้ายไจโรเพื่อเปิดทางให้ตัวละครในเกม เป็นต้น
และสิ่งนี้ทำให้ร้านค้าปลีกมอง NES ว่าเป็นของเล่นได้สำเร็จ ถ้าร้านค้ามองว่าเป็นของเล่น ลูกค้าก็ย่อมคิดไม่ต่างกัน
ที่น่าขันคือ R.O.B. หรือ Famicom Robot (ชื่อในญี่ปุ่น) นั้นเป็นสิ่งที่ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในญี่ปุ่น
ช่วงที่ NES ถูกวางขายพร้อม R.O.B. ในอเมริกา Famicom Robot ในได้ประสบความล้มเลวอย่างสิ้นเชิงไปแล้วด้วยซ้ำ
Nintendo อเมริกาเองตอนที่ได้รับตัวอย่าง R.O.B. มาทดสอบก็รู้เลยว่ามันไปไม่รอดแน่ Nintendo อเมริกาถึงกับต้อง
ติดต่อ Nintendo ญี่ปุ่นเพื่อขอให้ทบทวนแผนใหม่เพราะเห็นว่ามันไม่เวิร์คแน่ ๆ แต่ ประธานของ Nintendo ญี่ปุ่น
ในขณะนั้นตอบกลับไปว่าให้ดำเนินการตามแผนเดิมต่อไป
Nintendo ญี่ปุ่นมองว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนอเมริกันไม่ชอบเกมคอมพิวเตอร์แล้วเพราะตลาดเกมอาเขตที่อเมริกา
ก็ยังไปได้ดีอยู่ แต่ปัญหาคือคนอเมริกันไม่คิดว่าจะมีเกมดี ๆ อยู่บนเครื่อง Console อีกแล้วจึงพลอยปฏิเสธเครื่อง Console ไปด้วย
แต่ Nintendo ญี่ปุ่น เชื่อมั่นในโปรดักส์ของตนเองมากและเชื่อว่าขอเพียงคนอเมริกันได้ลองเล่นเกมของ NES สักครั้ง
ก็จะเปลี่ยนความคิดได้จึงทำทุกวิถีทางที่จะให้มีคนซื้อ NES ให้ได้มากที่สุดและรอหวังผลจากการตลาดแบบปากต่อปาก
และเพื่อการนั้น R.O.B. คือสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ร้านค้าปลีกยอมสั่งซื้อ NES, ยอมวางขาย NES และทำให้เด็ก ๆ สนใจจนขอพ่อแม่ให้ซื้อให้ได้สำเร็จ บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า R.O.B. เป็นดุจดัง “ม้าไม้โทรจัน” แห่งศตวรรษที่ 20 เลยทีเดียว
ในส่วนของการทำตลาดนั้น เนื่องจากอเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่มากจึงมีความเสี่ยงสูงในการทำการตลาด
ทั่วประเทศในคราวเดียว Nintendo ตัดสินใจที่จะทดลองตลาดโดยวางขายที่ในเมือง ๆ เดียวก่อน โดยเมืองที่เลือกมาก็คือ New York
เพราะมองว่า New York เป็นเมืองที่ประชากรหนาแน่นที่สุดของอเมริกา สามารถรวบรวมข้อมูล feedback ได้เป็นจำนวนมาก
และถ้าที่ New York ไม่ประสบความสำเร็จก็ไม่มีเมืองไหนในอเมริกาที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจอีกแล้ว ถ้าจะเจ็บ เจ็บที่เดียวแล้วให้จบ
Moment of True
เพื่อให้การทดลองตลาดเป็นไปได้ด้วยดีจึงมีการจัดตั้งทีมการตลาดเฉพาะของ NES ขึ้นในชื่อว่า
"Nintendo SWAT team” โดยทีมนี้จะทำหน้าที่โฆษณาขาย NES ผ่าน telemarketing(โฆษณาขายทางโทรศัพท์)
และออกบูตสาธิตตาม shopping mall ต่าง ๆ
และเพื่อให้สินค้ามีวางขายมากแห่งที่สุด Nintendo จึงจัดโปรไร้ความเสี่ยง เสี่ยสั่งลุยให้กับร้านค้าที่สั่ง NES ไปวางขายดังนี้
- Nintendo จะรับผิดชอบการจัดหน้าร้านและการตลาดให้แต่ละร้านค้าปลีกเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ให้เครดิตร้านค้าถึง 90 วัน (ร้านค้าเอา NES ไปขายก่อนได้แล้วอีก 90 วันค่อยส่งเงินให้ Nintendo)
- ถ้าขายไม่ได้ Nintendo ยินดีรับคืน NES ที่ขายไม่ออกทุกเครื่อง
ด้วยวิธีนี้ทำให้ NES มีวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกอย่างน้อย 500 ร้านร่วมถึงร้านมีชื่ออย่าง FAO Schwarz ด้วย
NES เริ่มวางจำหน่ายใน New York ประเทศอเมริกาในวันที่ 18 ตุลาคม 1985 ด้วยจำนวน 1 แสนเครื่อง
พร้อม Packet แบบจัดเต็ม เมื่อซื้อ NES จะแถมจอยสองจอย ปืน NES Zapper, R.O.B. พร้อมเกม Duck Hunt
(เกมยิงเป็ด ใช้ความสามารถของปืน Zapper) และ Gyromite (เกมผ่านด่านที่ใช้ความสามารถของ R.O.B.)
พร้อม ๆ กับเกมขายแยกต่างหากอีก 17 เกมที่วางจำหน่ายในวันเดียวกัน
ผลคือ NES สามารถทำยอดขายได้ 9 หมื่นเครื่องภายใน 9 สัปดาห์ (ราว ๆ 2 เดือน) หลังจากวางจำหน่าย
จากนั้นก็เหมือนไฟลามทุ่ง
Nintendo เริ่มทดลองตลาดเพิ่มที่ Los Angeles ในเดือนกุมภาพันธ์ 1986 ตามด้วย Chicago, San Francisco
และในที่สุดก็ทำตลาดทั่วอเมริกาในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
หมัดน๊อกของ Nintendo คือตอนออกขายทั่วประเทษ Nintendo ออกแพ๊กเกตซื้อ NES แถมเกมในตำนาน “Super Mario bros” ทำให้ Nintendo ครองตลาดเกม Console ในช่วงนั้นในฐานะอันดับ 1 ทิ้งห่างคู่แข่งได้อย่างไร้ข้อกังขา
หลังจากนั้น NES ก็เริ่มออกวางจำหน่ายในประเทศหรือทวีปต่าง ๆ เช่น ยุโรป, เกาหลีใต้, Australia, New Zealand
เคสพิเศษคือที่สหภาพโซเวียดซึ่งได้เครื่อง Clone ของ NES จากจีนมาเล่นแทน NES ของจริง คาดว่าเพราะสาเหตุทางการเมือง
Secret of Success: Nintendo quality control
Hiroshi Yamauchi ประธานบริษัท Nintendo ในปี 1986 ได้มองว่าสาเหตุที่เกิดยุค Video game crash
ขึ้นมาก็เพราะบริษัทเจ้าของเกม Consoles ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Atari ให้อิสระแก่ third-party developers มากเกินไป
จนทำให้ตลาดเต็มไปด้วย “เกมด้อยคุณภาพ”
ดังนั้น third-party developers ที่พัฒนาเกมให้กับ Nintendo จึงถูกควบคุมภายใต้กฎข้อบังคับ
ที่เคร่งครัดและทุกเกมจะต้องผ่านการตรวจสอบจาก Nintendo ก่อนเท่านั้นถึงจะได้ Nintendo seal of quality
เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพและอนุญาตให้เล่นบน NES ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกมบน NES ส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะดี
แต่ในทางกลับกันกฎข้อบังคับที่เคร่งครัดนี้เองก็สั่งสมความอึดอัดและความแค้นของผู้พัฒนาเกม
ร่วมถึงสร้างศัตรูต่อ Nintendo จำนวนไม่น้อย ซึ่งจะได้เล่าถึงในโอกาสต่อไป
ร่วงโรย
ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา NES เองก็เช่นกัน
NES แม้จะเป็นเครื่องเกมที่รับความนิยมสูงมากแต่เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปทุกวันก็ทำให้ NES
เริ่มตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้เล่นไม่ได้ ในที่สุดเครื่องเกม 16bits ที่สามารถสร้างภาพที่สีสวยกว่า
คมชัดกว่า, ระบบเสียงดีกว่าก็ออกวางจำหน่าย
เริ่มด้วย PC Engine โดย NEC and Hudson Soft ในปี 1987 ตามด้วย Sega Mega Drive หรือ Genesis ในฝั่งอเมริกา
ในปี 1988 Nintendo ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามเครื่องเกม 16bits โดยการส่ง Super Famicom ลงสนามในปี 1990 และ Super NES สำหรับตลาดต่างประเทศในปี 1991 แต่ถึงกระนั้น Nintendo ก็ยังคงจำหน่าย NES และออกเกมใหม่ ๆ ของ NES ต่อไป
NES Kai (Famicom Kai ni)
ในปี 1993 Nintendo ได้วางจำหน่าย NES รุ่นออกแบบใหม่เพื่อลดขนาดและต้นทุนการผลิตในชื่อ NES 101
นอกจากขนาดที่เล็กลงมากเมื่อเทียบกับ NES จอยที่แถมมาให้ก็ใช้การดีไซส์ที่โค้งมนแบบเดียวกับจอยของ SNES
(Reuse ชิ้นส่วนจอยของ SNES อย่างชัดเจน) อีกจุดที่สำคัญคือการเปลี่ยนวิธีการเสียบตลับเกมมาเป็นการเสียบจากด้านบน
ตามเดิมเพราะการใส่ตลับเกมจากด้านหน้าทำให้การบำรุงรักษาเมื่อหน้า Contact สกปรกทำได้ยากรวมถึงปัญหาหน้า
Contact ในเครื่องล้าจนไม่จับกับหน้า Contact ของตลับเกม
ในอีกมุมหนึ่งคือ NES ไม่จำเป็นต้องปกปิดตัวเองอีกต่อไป เครื่องเกม Console ได้รับการยอมรับแล้วในที่สุด
The End and Legacy
Nintendo ยุติการผลิตและจำหน่าย NES ที่อเมริกาในเดือนสิงหาคม 1995 และญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 2003
NES สร้างตำนานไร้เทียบทานครองตำแหน่งเครื่องเกมที่ขายได้มากที่สุดในโลกในยุคนั้นและใน Gen ของตัวเครื่องเอง
ทำยอดขายทั่วโลกได้ทั้งสิ้น 61.9 ล้านเครื่อง ถ้าเอายอดขายทั่วโลกเครื่องเกม Gen เดียวกันมารวมกันแล้ว
NES สามารถครองตลาดเครื่องเกมได้เกือบ 80% ของทั้งหมด
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของ NES นั้นไม่เครื่องเกมที่ขายดีที่สุดแต่เป็นเครื่องเกมที่เป็นผู้ช่วยกอบกู้
อุตสาหกรรมเกมที่ตกต่ำสุดขีดให้กลับคืนมาได้
อีกทั้งยังทำให้เกิดบริษัทพัฒนาเกมจำนวนมาก ในจำนวนนั้นกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่
ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Konami, Capcom, Square, Enix
รวมถึงการกำเนิดเกมซีรีย์อมตะหลาย ๆ เกม ที่ล้วนแจ้งเกิดจาก NES ทั้งนั้นเช่น
Mario, Zelda, Rockman, Final Fantasy, Metal Gear เป็นต้น
และยังทำให้อุตสาหกรรมเกมในอเมริกาและอีกหลาย ๆ ประเทศเติบโตขึ้นจนเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ในทางกลับกัน NES ก็เป็นจุดเริ่มต้นของของความขัดแย้งและการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มคนและบริษัทต่าง ๆ
ในธุรกิจอุตสาหกรรมเกม ไม่ว่าจะในตำราหรือนอกตำรา, ตามแบบหรือนอกแบบ, ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย
รวมถึงการขัดผลประโยชน์, หักหลัง, กดขี่, และสร้างผลกระทบรวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
แก่สังคมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่จะได้กล่าวถึงในอนาคต
แต่ทั้งหมดนั้นก็ทำให้อุตสาหกรรมเกมเติบโตกลายเป็นธุรกิจระดับชาติเงินหมุนเวียนหลักพันล้านเหรียญสหรัฐ
ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ , มีการพัฒนากราฟฟิก Chip อย่างต่อเนื่องและเกิดเกมเปี่ยมไปด้วยความเรื่องราว
และคิดสร้างสรรอย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/