... หนังสือทางการแพทย์ " การรักษาต้องสงสัย”...
อ่านแล้วเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่นำเสนอข้อมูลและมุมมองที่น่าสนใจ....อ่านได้ทั้งคนทั่วไปและบุคลากรสาธารณสุขครับ...
________________________________________________________________________________________________________
เมื่อเร็วๆนี้ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (HITAP) ได้จัดพิมพ์หนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า
“การรักษาต้องสงสัย” โดยแปลมาจากหนังสือเรื่อง TESTING TREATMENTS ซึ่งเขียนโดย เอียน ชาลเมอร์ส,
อิโมเจน อีแวนส์, เฮเซล ทอร์นตัน และ พอล กลาสซิโอ
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้หยิบยกข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence Based) เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ทางการแพทย์มา
แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราเชื่อถือกันอยู่นี้ หลายๆเรื่องก็ไม่จริงเสมอไป
นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ นักวิจัยอาวุโสโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ ..กล่าวว่า ตัวอย่างที่ยกมา
เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ หากคนทั่วไปได้อ่านก็หวังว่าอ่านแล้วจะรู้จักตั้งคำถามกับแพทย์ ตั้งคำถามที่เป็น
ประโยชน์ในการดูแลตัวเอง เข้าใจโรคที่เป็นอยู่ หรือช่วยให้หมอฉุกคิด รวมทั้งอยากให้อาจารย์แพทย์ได้อ่าน...
เมื่ออ่านแล้วก็หวังว่าจะเกิดการตั้งคำถามกับบริษัทยาบ้าง เช่นเดียวกับระดับผู้กำหนดนโยบาย เพราะไม่ใช่แค่
การรักษาต้องสงสัย นโยบายก็ต้องสงสัยด้วย ว่านโยบายแบบไหนที่ผู้บริหารต้องสงสัยไว้ก่อนว่าดีจริงหรือไม่ ...
ด้าน ภญ.เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย ในฐานะผู้แปลหนังสือเรื่องนี้ กล่าวว่า สังคมปัจจุบันมีข้อมูลเต็มไปหมด
หลายครั้งที่เราได้ยินว่า “งานวิจัยชี้ว่า...” เราก็เชื่อไปหมด แต่งานวิจัยเองก็ไม่ได้เชื่อถือได้เสมอไป คนทำอาจมี
ผลประโยชน์ทับซ้อน มีวาระแอบแฝงในใจ หรืองานวิจัยคุณภาพไม่ดี อ้างอิงงานวิจัยไม่ถูกต้อง หรือทริกการใช้ตัวเลข
เช่น บอกว่าลดการเสียชีวิตลง 50% แต่ไม่บอกว่าของจำนวนเท่าไหร่ หรือหลายๆ อย่างเราทำตามความเชื่อ ทำตามที่
เขาว่ามา เขาว่าดีก็ทำตามโดยที่บางครั้งก็ไม่เคยคิดว่าดีจริงหรือไม่ มีข้อควรระวังหรือไม่ หรือได้ผลหรือไม่ จะเสียเงิน
ฟรีหรือไม่
กล่าวโดยสรุปคือแวดวงสุขภาพมีข้อมูลเยอะมาก ผู้ป่วยไม่ควรเชื่อทุกอย่างหรือแม้แต่ตัวแพทย์เองก็ควรตั้งข้อสงสัย
กับข้อมูลที่ตัวเองได้รับมา ซึ่งหนังสือเล่มนี้จับประเด็นทางวิชาการมาเล่าในภาษาที่คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ โดยไล่เรียง
ความเชื่อที่คนส่วนใหญ่คิดและแจกแจงออกมาว่าบางเรื่องก็ไม่เป็นความจริง โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆมา
แสดงให้เห็น...
ทั้งนี้ หนังสือ “การรักษาต้องสงสัย” ได้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปแล้วในขณะนี้ รวมทั้งเตรียมทยอยอัพโหลด
ให้อ่านฟรีในเว็บไซต์ของ HITAP (www.hitap.net)
ที่มา :
https://www.hfocus.org/content/2018/10/16447
... หนังสือทางการแพทย์ " การรักษาต้องสงสัย”...
อ่านแล้วเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่นำเสนอข้อมูลและมุมมองที่น่าสนใจ....อ่านได้ทั้งคนทั่วไปและบุคลากรสาธารณสุขครับ...
________________________________________________________________________________________________________
เมื่อเร็วๆนี้ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (HITAP) ได้จัดพิมพ์หนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า
“การรักษาต้องสงสัย” โดยแปลมาจากหนังสือเรื่อง TESTING TREATMENTS ซึ่งเขียนโดย เอียน ชาลเมอร์ส,
อิโมเจน อีแวนส์, เฮเซล ทอร์นตัน และ พอล กลาสซิโอ
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้หยิบยกข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence Based) เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ทางการแพทย์มา
แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราเชื่อถือกันอยู่นี้ หลายๆเรื่องก็ไม่จริงเสมอไป
นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ นักวิจัยอาวุโสโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ ..กล่าวว่า ตัวอย่างที่ยกมา
เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ หากคนทั่วไปได้อ่านก็หวังว่าอ่านแล้วจะรู้จักตั้งคำถามกับแพทย์ ตั้งคำถามที่เป็น
ประโยชน์ในการดูแลตัวเอง เข้าใจโรคที่เป็นอยู่ หรือช่วยให้หมอฉุกคิด รวมทั้งอยากให้อาจารย์แพทย์ได้อ่าน...
เมื่ออ่านแล้วก็หวังว่าจะเกิดการตั้งคำถามกับบริษัทยาบ้าง เช่นเดียวกับระดับผู้กำหนดนโยบาย เพราะไม่ใช่แค่
การรักษาต้องสงสัย นโยบายก็ต้องสงสัยด้วย ว่านโยบายแบบไหนที่ผู้บริหารต้องสงสัยไว้ก่อนว่าดีจริงหรือไม่ ...
ด้าน ภญ.เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย ในฐานะผู้แปลหนังสือเรื่องนี้ กล่าวว่า สังคมปัจจุบันมีข้อมูลเต็มไปหมด
หลายครั้งที่เราได้ยินว่า “งานวิจัยชี้ว่า...” เราก็เชื่อไปหมด แต่งานวิจัยเองก็ไม่ได้เชื่อถือได้เสมอไป คนทำอาจมี
ผลประโยชน์ทับซ้อน มีวาระแอบแฝงในใจ หรืองานวิจัยคุณภาพไม่ดี อ้างอิงงานวิจัยไม่ถูกต้อง หรือทริกการใช้ตัวเลข
เช่น บอกว่าลดการเสียชีวิตลง 50% แต่ไม่บอกว่าของจำนวนเท่าไหร่ หรือหลายๆ อย่างเราทำตามความเชื่อ ทำตามที่
เขาว่ามา เขาว่าดีก็ทำตามโดยที่บางครั้งก็ไม่เคยคิดว่าดีจริงหรือไม่ มีข้อควรระวังหรือไม่ หรือได้ผลหรือไม่ จะเสียเงิน
ฟรีหรือไม่
กล่าวโดยสรุปคือแวดวงสุขภาพมีข้อมูลเยอะมาก ผู้ป่วยไม่ควรเชื่อทุกอย่างหรือแม้แต่ตัวแพทย์เองก็ควรตั้งข้อสงสัย
กับข้อมูลที่ตัวเองได้รับมา ซึ่งหนังสือเล่มนี้จับประเด็นทางวิชาการมาเล่าในภาษาที่คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ โดยไล่เรียง
ความเชื่อที่คนส่วนใหญ่คิดและแจกแจงออกมาว่าบางเรื่องก็ไม่เป็นความจริง โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆมา
แสดงให้เห็น...
ทั้งนี้ หนังสือ “การรักษาต้องสงสัย” ได้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปแล้วในขณะนี้ รวมทั้งเตรียมทยอยอัพโหลด
ให้อ่านฟรีในเว็บไซต์ของ HITAP (www.hitap.net)
ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2018/10/16447