ฌาคส์ เดอ คูทร์ (Jacques de Coutre) เป็นพ่อค้าอัญมณีชาวเฟลมิชที่ได้ติดตามคณะทูตจากโปรตุเกสมายังสยามเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๑๓๘ ถึง พ.ศ. ๒๑๓๙ ได้มีโอกาสติดตามคณะทูตเข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการต่อสมเด็จพระนเรศ และได้จดบันทึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้อย่างละเอียดลออ
บันทึกการเดินทางของ ฌาคส์ เดอ คูทร์ เป็นหลักฐานชั้นต้นที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นหนึ่งในหลักฐานเพียงไม่กี่ชิ้นที่มีการบันทึกเรื่องราวกรุงศรีอยุทธยาในรัชกาลสมเด็จพระนเรศโดยบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรง (eyewitness)
บันทึกนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและตีพิมพ์ในหนังสือ The Memoirs and Memorials of Jacques de Coutre: Security, Trade and Society in 16th- and 17th-century Southeast Asia
ในที่นี้ผู้เขียนได้แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่งครับ
ฉากบังลมญี่ปุ่นศิลปะนัมบัง (南蛮美術) แสดงภาพ เรือสำเภาของชาวโปรตุเกส มิชชันนารีและข้าทาสจากอินเดีย ที่เดินทางมายังเอเชียในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ร่วมสมัยกับสมเด็จพระนเรศวร
สันนิษฐานว่าเป็นผลงานของ คะโน ไนเซ็น (狩野内膳)
นัมบัง (南蛮) แปลว่า “คนเถื่อนจากทางใต้” เป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณเรียกชาวยุโรป
ศิลปะนัมบัง (南蛮美術) จึงหมายถึงศิลปะของญี่ปุ่นที่ได้อิทธิพลจากศิลปะยุโรป
---------------------------------------------------------------------
สาเหตุของการส่งคณะทูตชุดนี้ เกิดขึ้นหลังจากสมเด็จพระนเรศทรงพิชิตกรุงกัมพูชาได้สำเร็จ ทำให้ชาวคริสต์และชาวโปรตุเกสจากกัมพูชาจำนวนมากถูกกวาดต้อนไปที่สยาม หนึ่งในนั้นคือพระนิกายโดมินิกันชื่อ จอร์จ ดึ มอร์ตา (Friar Jorge de Morta) ได้ไปผูกมิตรกับพระโชฎึก (Prachidech) ขุนนางกรุงศรีอยุทธยาให้โน้มน้าวสมเด็จพระนเรศส่งตนเองเป็นผู้อัญเชิญพระราชสาส์นไปมอบให้ ฟรัสซิสกู ดึ ซิลวา (Francisco da Silva Meneses) ผู้ว่าราชการเมืองมะละกา (Capitão-mor de Malaca) ที่อยู่ใต้อำนาจโปรตุเกส
ภราดาจอร์จได้โน้มน้าวผู้ว่าราชการเมืองมะละกา ว่าสยามเป็นอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์มั่งคั่งรุ่งเรือง มีสินค้าหลากหลายรวมถึงอัญมณีสูงค่าที่ได้มาจากการทำสงครามกับกัมพูชาและหงสาวดีที่สามารถซื้อได้ในราคาถูก ด้วยเหตุนี้ผู้ว่าราชการฯ จึงส่งทูตคือ มานูเอล เปเรรา ดึ อาเบรว (Manuel Pereira de Abreu) ให้เดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศพร้อมกับภราดาจอร์จเพื่อเจรจาขอให้ปล่อยชาวโปรตุเกสที่เป็นเชลยอยู่ในสยาม และมีคำสั่งให้ไปซื้ออัญมณีด้วย
ฌาคส์ เดอ คูทร์ เป็นหนึ่งในผู้ถูกเลือกให้เดินทางไปสยาม และได้รับคำสั่งให้ไปซื้อทับทิมกับไพลินกลับมา จึงต้องออกเดินทางไปพร้อมคณะทูตในวันที่ ๘ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๕๙๕ (พ.ศ. ๒๑๓๘)
ป้อมเมืองมะละกาของโปรตุเกส เมือ ค.ศ. ๑๖๐๔ (พ.ศ. ๒๑๔๗)
เมื่อคณะทูตไปถึงสยาม สมเด็จพระนเรศเสด็จไปคล้องช้าง จึงต้องรอจนเสด็จกลับมายังพระนคร เดอ คูทร์ จึงได้ติดตามภราดาจอร์จไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศในพระราชวัง ซึ่งเขาได้บันทึกไว้ว่า
“พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบว่าเราเดินทางมาถึงพร้อมกับคณะทูต พระองค์จึงมีรับสั่งให้ภราดา [จอร์จ] และข้าพเจ้ามาเข้าเฝ้าในทันที จากนั้นก่อนที่เราจะเข้าสู่พระราชวัง ออกญาวัง (Oya Avan) หนึ่งในข้าราชบริพารได้มอบดอกไม้ทำจากทองกับเงิน และดอกไม้จริงที่ในอินเดียเรียกว่ามะลิลา (mogra) ซึ่งเป็นกุหลาบประเภทหนึ่งที่มีขนาดใหญ่เท่าเหรียญสี่เรียล และมีกลิ่นเหมือนดอกมะลิ ให้กับพวกเราแต่ละคนเพื่อที่จะให้เราถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เพราะเป็นธรรมเนียมว่าพระองค์จะไม่ทรงยอมให้เข้าเฝ้าจนกว่าจะมีผู้นำสิ่งของทูลเกล้าฯ ถวาย
เมื่อเรากำลังจะเข้าเฝ้า ภราดาไม่ต้องการให้ข้าพเจ้าเข้าไปกับท่านไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม แม้ว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมีรับสั่งถึง ๔-๕ ครั้งให้ข้าพเจ้าเข้าไปด้วย จนกระทั่งภราดาได้กราบทูลว่าท่านมีราชการลับสำคัญที่ต้องปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดินและจะเป็นการไม่สะดวกหากข้าพเจ้าเข้าไปด้วย เมื่อทรงได้ยินคำกราบทูล พระเจ้าแผ่นดินจึงมีรับสั่งให้ภราดาเข้าไปเพียงคนเดียว พร้อมกับล่าม ๒ คนซึ่งเป็นพี่น้องกัน คนหนึ่งชื่อ อันโตนิโอ ฮานส์ (Antonio Hans) อีกคนชื่อ มิเกล ฮานส์ (Miguel Hans) เป็นบุตรของชายชาวเฟลมิชที่แต่งงานในเมืองมาเก๊า ส่วนสองพี่น้อง [ได้ตั้งรกราก] ในเมือง [หลวง] ของกัมพูชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงชุบเลี้ยงพวกเขาเป็นพระราชบุตรบุญธรรม และทรงตั้งพวกเขาเป็นเจ้าเพื่อตอบแทนความดีความชอบที่บิดาของพวกเขามีให้ต่อพระองค์ เมื่อพระเจ้ากรุงสยามทรงยึดอาณาจักรนั้นได้ พระองค์ทรงจับพวกเขามาเป็นเชลย แต่ทรงปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างดี แตกต่างจากเชลยคนอื่นมาก
หลังจากที่ภราดาได้กราบทูลตามธรรมเนียมและถวายดอกไม้ พระเจ้าแผ่นดินรับสั่งกับท่านว่า “เอาละ ภราดาจอร์จ ท่านนำสิ่งใดมาให้เรา” ท่านทูลว่า “ขอเดชะ อาตมภาพได้นำราชทูตผู้เป็นพระญาติแห่งพระเจ้ากรุงโปรตุเกส [พระเจ้าฟิลิปที่ ๒ แห่งสเปน] ผู้เดินทางมาเพื่อถวายการรับใช้พระองค์ในสงครามกับเมืองหงสาวดี (Pegu) หรือตามแต่ที่จะทรงเห็นสมควร เขาเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการสงคราม เขาคือบุรุษผู้ยึดครองเกาะลังกา (Ceylon) ได้ทั้งเกาะ เช่นเดียวกันนี้อาตมภาพยังได้นำชาวโปรตุเกส ๑๐ คนที่พระเจ้ากรุงโปรตุเกสส่งมาเพื่อถวายงานรับใช้พระองค์ด้วย”
พระเจ้าแผ่นดินทรงโสมนัสอย่างมากและตรัสว่า “เราไม่อาจยินดีไปยิ่งกว่านี้ได้ ภราดาจอร์จ แม้ว่าท่านจะนำช้างเผือกมาให้เรา เราก็ยังไม่ยินดีเท่ากับได้ราชทูตและชาวโปรตุเกสเหล่านี้ และนับจากนี้เป็นต้นไป จะไม่มีชาวโปรตุเกสที่ยากไร้ในอาณาจักรของเรา แม้ว่าเราจะไม่ใคร่ได้รับราชทูตนัก แต่เมื่อพระเจ้ากรุงโปรตุเกสทรงเป็นพระมหากษัตราธิราชผู้ใหญ่เกือบเสมอเรา เราจึงปรารถนาที่จะรับรองพระองค์ด้วยเกียรติยศอันสูงยิ่ง” จนถึงตอนนี้เป็นพระราชดำรัสของพระองค์
พระองค์มีรับสั่งให้ภราดาและพระภาษี (parabaci) ผู้เป็นเสนาบดีพระคลัง และ ออกญาศรีมินตอย (Oyasimintoy – ไม่ทราบว่าตำแหน่งใด) แม่ทัพผู้ดูแลแม่น้ำ ประชุมปรึกษาตกลงกันในเรื่องพิธีการรับรองคณะทูตและจะได้จัดการตามที่ภราดาต้องการ ถึงตอนนี้พระองค์มีพระราชโองการให้สำเภา [โปรตุเกส] เข้ามาในพระนคร และทรงอวยพรให้ภราดาโชคดี พระราชทานเหรียญเงิน ๘๐ ชั่ง (katis) แต่ละชั่งหนัก ๔ มาร์ค (mark) กับผ้าทอด้วยทองและไหมจำนวนมากวางบนถาด ๑๘ ถาดจนล้น ที่ต้องใช้คน ๑๘ คนถือมามากเท่าที่จะถือได้
ทูตได้มาถึงไม่กี่วันหลังจากนั้น ภราดาที่เตรียมแผนการไว้แล้วจึงได้รวมกันวางแผนยกเมฆระหว่างคนทั้งสองด้วยการเอาชีวิตของพวกเราทั้งหมดไปแลก นี่คือเหตุผลที่ภราดาไม่ต้องการให้ข้าพเจ้าไม่เข้าไปในท้องพระโรงเมื่อเขาไปเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครทราบเรื่องนี้เลย”
ภาพเขียนจำลองทหารปืนไฟโปรตุเกสสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๖
หลักฐานชั้นต้นเรื่องคณะทูตโปรตุเกสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร
บันทึกการเดินทางของ ฌาคส์ เดอ คูทร์ เป็นหลักฐานชั้นต้นที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นหนึ่งในหลักฐานเพียงไม่กี่ชิ้นที่มีการบันทึกเรื่องราวกรุงศรีอยุทธยาในรัชกาลสมเด็จพระนเรศโดยบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรง (eyewitness)
บันทึกนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและตีพิมพ์ในหนังสือ The Memoirs and Memorials of Jacques de Coutre: Security, Trade and Society in 16th- and 17th-century Southeast Asia
ในที่นี้ผู้เขียนได้แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่งครับ
สันนิษฐานว่าเป็นผลงานของ คะโน ไนเซ็น (狩野内膳)
นัมบัง (南蛮) แปลว่า “คนเถื่อนจากทางใต้” เป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณเรียกชาวยุโรป
ศิลปะนัมบัง (南蛮美術) จึงหมายถึงศิลปะของญี่ปุ่นที่ได้อิทธิพลจากศิลปะยุโรป
สาเหตุของการส่งคณะทูตชุดนี้ เกิดขึ้นหลังจากสมเด็จพระนเรศทรงพิชิตกรุงกัมพูชาได้สำเร็จ ทำให้ชาวคริสต์และชาวโปรตุเกสจากกัมพูชาจำนวนมากถูกกวาดต้อนไปที่สยาม หนึ่งในนั้นคือพระนิกายโดมินิกันชื่อ จอร์จ ดึ มอร์ตา (Friar Jorge de Morta) ได้ไปผูกมิตรกับพระโชฎึก (Prachidech) ขุนนางกรุงศรีอยุทธยาให้โน้มน้าวสมเด็จพระนเรศส่งตนเองเป็นผู้อัญเชิญพระราชสาส์นไปมอบให้ ฟรัสซิสกู ดึ ซิลวา (Francisco da Silva Meneses) ผู้ว่าราชการเมืองมะละกา (Capitão-mor de Malaca) ที่อยู่ใต้อำนาจโปรตุเกส
ภราดาจอร์จได้โน้มน้าวผู้ว่าราชการเมืองมะละกา ว่าสยามเป็นอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์มั่งคั่งรุ่งเรือง มีสินค้าหลากหลายรวมถึงอัญมณีสูงค่าที่ได้มาจากการทำสงครามกับกัมพูชาและหงสาวดีที่สามารถซื้อได้ในราคาถูก ด้วยเหตุนี้ผู้ว่าราชการฯ จึงส่งทูตคือ มานูเอล เปเรรา ดึ อาเบรว (Manuel Pereira de Abreu) ให้เดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศพร้อมกับภราดาจอร์จเพื่อเจรจาขอให้ปล่อยชาวโปรตุเกสที่เป็นเชลยอยู่ในสยาม และมีคำสั่งให้ไปซื้ออัญมณีด้วย
ฌาคส์ เดอ คูทร์ เป็นหนึ่งในผู้ถูกเลือกให้เดินทางไปสยาม และได้รับคำสั่งให้ไปซื้อทับทิมกับไพลินกลับมา จึงต้องออกเดินทางไปพร้อมคณะทูตในวันที่ ๘ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๕๙๕ (พ.ศ. ๒๑๓๘)
เมื่อคณะทูตไปถึงสยาม สมเด็จพระนเรศเสด็จไปคล้องช้าง จึงต้องรอจนเสด็จกลับมายังพระนคร เดอ คูทร์ จึงได้ติดตามภราดาจอร์จไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศในพระราชวัง ซึ่งเขาได้บันทึกไว้ว่า
“พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบว่าเราเดินทางมาถึงพร้อมกับคณะทูต พระองค์จึงมีรับสั่งให้ภราดา [จอร์จ] และข้าพเจ้ามาเข้าเฝ้าในทันที จากนั้นก่อนที่เราจะเข้าสู่พระราชวัง ออกญาวัง (Oya Avan) หนึ่งในข้าราชบริพารได้มอบดอกไม้ทำจากทองกับเงิน และดอกไม้จริงที่ในอินเดียเรียกว่ามะลิลา (mogra) ซึ่งเป็นกุหลาบประเภทหนึ่งที่มีขนาดใหญ่เท่าเหรียญสี่เรียล และมีกลิ่นเหมือนดอกมะลิ ให้กับพวกเราแต่ละคนเพื่อที่จะให้เราถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เพราะเป็นธรรมเนียมว่าพระองค์จะไม่ทรงยอมให้เข้าเฝ้าจนกว่าจะมีผู้นำสิ่งของทูลเกล้าฯ ถวาย
เมื่อเรากำลังจะเข้าเฝ้า ภราดาไม่ต้องการให้ข้าพเจ้าเข้าไปกับท่านไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม แม้ว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมีรับสั่งถึง ๔-๕ ครั้งให้ข้าพเจ้าเข้าไปด้วย จนกระทั่งภราดาได้กราบทูลว่าท่านมีราชการลับสำคัญที่ต้องปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดินและจะเป็นการไม่สะดวกหากข้าพเจ้าเข้าไปด้วย เมื่อทรงได้ยินคำกราบทูล พระเจ้าแผ่นดินจึงมีรับสั่งให้ภราดาเข้าไปเพียงคนเดียว พร้อมกับล่าม ๒ คนซึ่งเป็นพี่น้องกัน คนหนึ่งชื่อ อันโตนิโอ ฮานส์ (Antonio Hans) อีกคนชื่อ มิเกล ฮานส์ (Miguel Hans) เป็นบุตรของชายชาวเฟลมิชที่แต่งงานในเมืองมาเก๊า ส่วนสองพี่น้อง [ได้ตั้งรกราก] ในเมือง [หลวง] ของกัมพูชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงชุบเลี้ยงพวกเขาเป็นพระราชบุตรบุญธรรม และทรงตั้งพวกเขาเป็นเจ้าเพื่อตอบแทนความดีความชอบที่บิดาของพวกเขามีให้ต่อพระองค์ เมื่อพระเจ้ากรุงสยามทรงยึดอาณาจักรนั้นได้ พระองค์ทรงจับพวกเขามาเป็นเชลย แต่ทรงปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างดี แตกต่างจากเชลยคนอื่นมาก
หลังจากที่ภราดาได้กราบทูลตามธรรมเนียมและถวายดอกไม้ พระเจ้าแผ่นดินรับสั่งกับท่านว่า “เอาละ ภราดาจอร์จ ท่านนำสิ่งใดมาให้เรา” ท่านทูลว่า “ขอเดชะ อาตมภาพได้นำราชทูตผู้เป็นพระญาติแห่งพระเจ้ากรุงโปรตุเกส [พระเจ้าฟิลิปที่ ๒ แห่งสเปน] ผู้เดินทางมาเพื่อถวายการรับใช้พระองค์ในสงครามกับเมืองหงสาวดี (Pegu) หรือตามแต่ที่จะทรงเห็นสมควร เขาเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการสงคราม เขาคือบุรุษผู้ยึดครองเกาะลังกา (Ceylon) ได้ทั้งเกาะ เช่นเดียวกันนี้อาตมภาพยังได้นำชาวโปรตุเกส ๑๐ คนที่พระเจ้ากรุงโปรตุเกสส่งมาเพื่อถวายงานรับใช้พระองค์ด้วย”
พระเจ้าแผ่นดินทรงโสมนัสอย่างมากและตรัสว่า “เราไม่อาจยินดีไปยิ่งกว่านี้ได้ ภราดาจอร์จ แม้ว่าท่านจะนำช้างเผือกมาให้เรา เราก็ยังไม่ยินดีเท่ากับได้ราชทูตและชาวโปรตุเกสเหล่านี้ และนับจากนี้เป็นต้นไป จะไม่มีชาวโปรตุเกสที่ยากไร้ในอาณาจักรของเรา แม้ว่าเราจะไม่ใคร่ได้รับราชทูตนัก แต่เมื่อพระเจ้ากรุงโปรตุเกสทรงเป็นพระมหากษัตราธิราชผู้ใหญ่เกือบเสมอเรา เราจึงปรารถนาที่จะรับรองพระองค์ด้วยเกียรติยศอันสูงยิ่ง” จนถึงตอนนี้เป็นพระราชดำรัสของพระองค์
พระองค์มีรับสั่งให้ภราดาและพระภาษี (parabaci) ผู้เป็นเสนาบดีพระคลัง และ ออกญาศรีมินตอย (Oyasimintoy – ไม่ทราบว่าตำแหน่งใด) แม่ทัพผู้ดูแลแม่น้ำ ประชุมปรึกษาตกลงกันในเรื่องพิธีการรับรองคณะทูตและจะได้จัดการตามที่ภราดาต้องการ ถึงตอนนี้พระองค์มีพระราชโองการให้สำเภา [โปรตุเกส] เข้ามาในพระนคร และทรงอวยพรให้ภราดาโชคดี พระราชทานเหรียญเงิน ๘๐ ชั่ง (katis) แต่ละชั่งหนัก ๔ มาร์ค (mark) กับผ้าทอด้วยทองและไหมจำนวนมากวางบนถาด ๑๘ ถาดจนล้น ที่ต้องใช้คน ๑๘ คนถือมามากเท่าที่จะถือได้
ทูตได้มาถึงไม่กี่วันหลังจากนั้น ภราดาที่เตรียมแผนการไว้แล้วจึงได้รวมกันวางแผนยกเมฆระหว่างคนทั้งสองด้วยการเอาชีวิตของพวกเราทั้งหมดไปแลก นี่คือเหตุผลที่ภราดาไม่ต้องการให้ข้าพเจ้าไม่เข้าไปในท้องพระโรงเมื่อเขาไปเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครทราบเรื่องนี้เลย”