โรงเรียนทางเลือก อีกหนึ่งมิติของการเรียนรู้

พ่อแม่หลายๆท่าน เข้ามาอ่านกระทู้นี้ อาจเพื่อดูว่าโรงเรียนทางเลือกเค้าเรียนกันยังไง ดีไหม ก่อนจะไปทีคำตอบนั้น ลองคิดตามความคิดในมิตินึงด้านล่างดูก่อนนะครับ
โจทย์ของผมเริ่มที่ว่า ทำไมเด็กเอเชียที่เรียนหนักๆ เป็นถึงแชมป์โอลิมปิควิชาการ ถึงยังไม่สามารถนำประเทศประสบความสำเร็จหรือนวัตกรรม เท่ากลับประเทศในยุโรปหรืออเมริกา
กลับให้เด็กทางยุโรป อเมริกาที่เราเห็นเรียนสบายๆแบบนักเรียนโรงเรียนนานาชาติกลับมีนวัตกรรมเปลี่ยนโลกออกมาอยู่ตลอดเวลา

ความคิดผมตกผลึกจากหลายๆเหตุการณ์
-    จากประสบการณ์การทำงานที่ได้เห็นในประเทศเยอรมัน เค้ามีเด็กฝึกงานจำนวนมากในโรงงาน แต่เค้าไม่ได้ฝึกงานแบบบ้านเรา เค้าฝึกแบบทำงานจริง เรียน 2 วันทำงานจริง 3 วัน => แสดงว่าวิศวกรเยอรมันที่ว่าเก่งๆก็เพราะเค้าทำงานก่อนเราตั้ง 7 ปี(เค้าเริ่มฝึกงาน ม.ปลายครับ)
-    การได้เห็นเด็กไทยคนนึงเข้าศึกษาใน Harvard ได้ในระดับป.ตรี และเด็กคนนี้เริ่มทำงานวิจัยตั้งแต่อยู่ม.ปลายครับ
-    ผมเห็นหนังสือการทดลองวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย เต็มไปได้ด้วยโน๊ตที่ผลการทดลอง ที่เค้าบอกว่าเค้าแทบไม่ได้ทำการทดลองนั้นๆเลย
-    การได้เห็น พ่อ แม่ของเด็กฝรั่งเลี้ยงลูกแบบปล่อยปะละเลย เห็นคนไทยเลี้ยงลูกแบบประครบประหงม

จากทั้งหมดนั้น มันนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า การเลี้ยงลูกและการเรียนแบบตะวันตก เป็นแบบเน้นให้ลงมือทำ และลองผิดลองถูก ส่วนแบบเอเชีย จะเป็นแบบให้ท่องจำ จำข้อสรุปที่ถูกพิจารณามาอย่างดีแล้ว ไม่ต้องลงมือปฏิบัตหรือลองผิดลองถูก
พ่อแม่เอเชีย เราเน้นที่ว่า เรื่องผิดที่พ่อ แม่เคยทำ ลูกไม่ต้องเรียนรู้ ให้จำไปใช้ได้เลยว่าอย่าทำนั้น อย่าทำนี้ ให้ทำนั้น ให้ทำนี้ ส่วนฝรั่งปล่อยให้ลูกทำ ลองผิด ลองถูก เรียนรู้จากความผิดพลาด

ทำไมโรงเรียนทางเลือกถึงตอบโจทย์
เพราะโรงเรียนทางเลือกเป็นโรงเรียนที่ตอบสนองต่อการลงมือทำ เรียนรู้จากสิ่งรอบตัว ให้อิสระในการลองผิดลองถูก เหมือนแนวตะวันตกเค้าทำ
เด็กใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งหนึ่งนานเพราะต้องทำตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ใช่แค่จำผลการทดลอง เด็กโรงเรียนทางเลือกจึงไม่สามารถเรียนได้เยอะเหมือนเด็กโรงเรียนทั่วไป แต่เด็กโรงเรียนทางเลือกรู้ทั้งกระบวนการ รู้จริงและเคยทำทั้งผิดและถูกมาแล้ว
สำหรับผมแล้ว เด็กโรงเรียนทางเลือกจะค้นพบตัวเองได้เร็วกว่าเด็กทั่วไป การได้ทำสิ่งหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบจะทำให้เค้ารู้จริงว่าเค้าชอบหรือไม่ชอบสิ่งไหน เหมือนเราจะเป็นเชฟ ถ้ามีคนเอาส่วนผสมอาหารพร้อมสูตรมาให้เสร็จ หลายๆคนว่ามันง่ายและก็จะรู้สึกชอบมัน แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราเองต้องลงมือตั้งแต่เลือกซื้อของ เตรียมของ หาสูตรเอง เค้าก็จะรู้ในทุกมิติของอาชีพเชฟและนำมาซึ่งข้อสรุปได้ว่าเค้าชอบ หรือไม่ชอบมันจริงๆ
ผมยังเชื่ออีกว่า เด็กที่เคยผ่านทั้งการลองผิดและลองถูก จะเข็มแข็งอดทนและฝั่นฝ่าอุปสรรคได้ดีกว่าเด็กที่ลองถูกมาอย่างเดียว ไม่เคยมีใครทำอะไรถูกหมด ไม่เคยมีใครไม่เคยต้องแก้ไขอะไรเลย นอกจากคนนั้นจะไม่เคยทำอะไรใหม่เลย รู้จักความผิดพลาดตั้งแต่เล็ก ดีกว่ามารู้จักเมื่อตอนโตที่อาจจะสายไปเสียแล้ว
สุดท้าย เรากำลังเลี้ยงลูกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการแรงงานหรือความต้องการของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า เราจะยังมีความเชื่อแบบเดิมๆไหม ว่าการเลี้ยงลูกแบบ “ได้ครับพี่ ดีครับท่าน เหมาะสมครับเจ้านาย”(ดูมันแย่นะครับ แต่จริงๆนี่คือสิ่งที่คุณสอนลูกอยู่ “ทำตามที่แม่บอกได้ยินไหม”) จะทำให้ลูกเราประสบความสำเร็จ ผมเป็นคนนึงที่เชื่อว่า “ไม่ต้องเป็นที่หนึ่ง แต่เป็นหนึ่งเดียว” จะเป็นกุญแจของความสำเร็จของเด็กในอนาคตครับ

คนยุคนีงเลี้ยงลูกให้เป็นเจ้าคนนายคน คนยุคต่อมาเลี้ยงลูกให้ทำงานโรงงาน คนยุคต่อมาเลี้ยงลูกให้เป็นหมอ เป็นเจ้าของกิจการ แล้วคนยุคต่อไปหละ....... สำหรับผม เลี้ยงลูกให้เป็นเจ้าของความคิดและนวัตกรรม

จะรอให้มีคนสำเร็จก่อนแล้วคอยวิ่งตามก็ได้ครับ เห็นแล้วว่าคนว่งตามเป็นยังไง อาชีพราชการเงินเดือนน้อย อาชีพพนักงานในโรงงาน ทำงานหนักไม่มีเงินเก็บ อาชีพหมอ เจ้าของกิจการ...........ร่ำรวยแต่ไม่ได้ใช้เงิน

ปล. คงมีหลายคนแย้งว่าการศึกษาของสิงคโปร์ เกาหลีและญี่ปุ่น ก็หนักหน่วงเหมือนเรา ทำไมเค้ายังประสบความสำเร็จได้ ลองนึกย้อนไปดูนะครับ ทั้ง 3 ประเทศที่กล่าวมามีแต่การพัฒนาต่อยอด(Improvement and Development) แต่มีนวัตกรรม(Innovation) น้อมากๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่