สวัสดีค่ะ
หลังจากที่เคยตั้งกระทู้เล่าเรื่องเด็กในสถานสงเคราะห์ไปแล้ว
https://ppantip.com/topic/32685041 มีคนหลังไมค์มาถามเรื่องการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเยอะมาก ๆ แต่ส่วนใหญ่จะบอกให้ไปติดต่อที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเอาเอง เพราะเราไม่ได้ทำงานส่วนนั้นโดยตรง กลัวจะให้ข้อมูลคาดเคลื่อนหรือไม่อัพเดท
มารอบนี้อยากจะตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องเด็กสถานสงเคราะห์เหมือนเดิม แต่เป็นเรื่องของ “ครอบครัวอุปถัมภ์ (Foster Family)” เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับในการช่วยเหลือดูแลเด็กสถานสงเคราะห์
ในกระทู้ก่อนเราไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เลยเพราะตัวเองมีข้อมูลเรื่องนี้ไม่มาก ตอนนี้พอมีข้อมูลอยู่บ้างเลยอยากจะมาเล่าให้ฟัง
ในการทำงานของสถานสงเคราะห์ เมื่อรับเด็กเข้ามาแล้ว ก็ต้องมีแผนว่าแล้วจะทำอย่างไรต่อกับเด็กคนนี้ เพราะแต่ละวันก็มีเด็กมาใหม่เรื่อย ๆ พื้นที่มีจำกัด เมื่อมีการรับเข้าก็ต้องมีการนำออก โดยการพยายามลดจำนวนเด็กในสถานสงเคราะห์ ซึ่งก็มีหลายวิธี วิธีแรกสุดคือส่งกลับครอบครัวเดิม ซึ่งเป็นภารกิจหลัก เด็กได้อยู่กับครอบครัวให้กำเนิด มีญาติพี่น้อง วิธีที่ 2 คือส่งเป็นบุตรบุญธรรมทั้งไทยและต่างประเทศ ทางเลือกที่ 3 คือการส่งเด็กไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์
ครอบครัวอุปถัมภ์ หรือ foster family มีมาหลายปีแล้วในบ้านเรา แต่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกันเท่าไหร่ แต่หลายประเทศทั่วโลกรู้จักกันดีว่าเป็นครอบครัวทดแทนให้เด็ก การดูแลเด็กแบบนี้ก็คล้ายกับการรับเป็นบุตรบุญธรรม คือเอาเด็กมาดูแลที่บ้านของเราในฐานะลูก แต่ต่างกันที่เด็กไม่ใช่สิทธิ์ของเราตามกฎหมายแบบบุตรบุญธรรม เด็กยังมีชื่อว่าเป็นเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ แต่ตัวเด็กอยู่บ้านเรา เรามีหน้าที่เป็นครอบครัวให้เด็ก ให้ความรัก อบรมสั่งสอนแบบที่เราเลี้ยงลูกของเราเอง จริง ๆ แล้วครอบครัวอุปถัมภ์มีหลายแบบ ทั้งดูแลระยะสั้นไม่กี่ปี ระยะยาวไปจนโต หรือดูแลเฉพาะบางสถานการณ์ เช่น ดูแลเด็กที่เพิ่งถูกแยกออกมาจากบ้านที่ถูกกระทำรุนแรง ก่อนจะวางแผนดูแลอื่น ๆ ที่หลัง หรือดูแลแม่ที่เพิ่งคลอดลูกอ่อนที่ไม่มีที่อยู่ เป็นต้น แต่ในบ้านเราไม่ได้มีแบบนี้ อาจเพราะความที่ยังไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีคนรู้จัก จึงไม่มีคนเสนอตัวมาทำตรงนี้มากนัก ส่วนใหญ่คือดูแลระยะยาวหลายปีจนกว่าพ่อแม่จะรับกลับหรือจนกว่าจะหาครอบครัวบุญธรรมได้
ครอบครัวอุปถัมภ์จะได้เงินจากรัฐด้วยนะคะ ในต่างประเทศก็น่าจะเยอะพอสมควรแต่ในบ้านเรานั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพปัจจุบัน แต่ก็ยังดีที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กได้ เช่น ค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสื้อผ้าชุดนักเรียน และอาจจะได้เครื่องอุปโภคบริโภคด้วย เอาง่าย ๆ คือเด็กยังเป็นเด็กของสถานสงเคราะห์ฯ เด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ได้สิทธิ์อะไรบ้าง เด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ก็จะได้ด้วย เพียงแต่ตัวเด็กอยู่ที่บ้านของเรา
คนที่เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ได้มาเล่าประสบการณ์ของการดูแลเด็กที่ผ่านมา ในประเทศไทยนะคะ
http://www.thaihealth.or.th/Content/16295-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B9%8C%20%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81...%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94.html
ทำไมเด็กถึงต้องไปอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์?
อย่างที่บอกไปแล้วว่าเพื่อลดจำนวนเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ และอีกเหตุผลคือ ในสถานสงเคราะห์นั้น สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงมันไม่ใช่แบบครอบครัว เด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์จะขาดประสบการณ์หลายอย่าง ยิ่งถ้าเป็นเด็กที่เข้าสถานสงเคราะห์ตั้งแต่เล็ก ๆ เขาจะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้โลกจริงแบบเด็กบ้าน ลองนึกภาพการกินข้าว ก่อนจะกินเราก็ไปตลาด เลือกซื้ออาหารสด เข้าครัว หั่นผัก หั่นหมู ชิมรส เลือกภาชนะ ตั้งโต๊ะ กินข้าว แล้วล้างจาน ขั้นตอนที่เกิดขึ้นเหล่านี้ลูกคุณจะเห็นและเรียนรู้เพื่อทำมันต่อไปในอนาคต แต่เด็กสถานสงเคราะห์ฯ ไม่ใช่แบบนี้ เขาเข้าแถวเดินเข้าโรงอาหาร นั่งตามโต๊ะประจำ มีอาหารมาวางตรงหน้า ภาชนะใส่แบบเดิมเหมือนทุกวัน กินเสร็จเข้าแถวกลับอาคาร ผักก่อนถูกหั่นมันหน้าตายังไง ปลาก่อนทอดมันลักษณะยังไง เสียงทอดปลามันเป็นยังไง น้ำมันกระเด็นคืออะไร เหล่านี้คือเรื่องเล็กน้อยแต่มหาศาลในด้านประสบการณ์การใช้ชีวิตเมื่อโตขึ้น ปัจจุบันหลายสถานสงเคราะห์พยายามเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้กับเด็กโดยให้เด็กช่วยกันทำอาหารกินเอง แต่เด็กหลายคนอยู่ด้วยกันช่วยกันทำอาหารมันก็ยังไม่ใช่รูปแบบของครอบครัวจริง ๆ อยู่ดีใช่ไหมคะ เหมือนโรงเรียนประจำเสียมากกว่า
ข้อดีอีกอย่างของการให้เด็กอยู่ในสถานสงเคราะห์คือในเด็กที่เป็นพี่น้องกัน สถานสงเคราะห์จะแบ่งอายุการดูแลเด็กที่ 0-6 เลี้ยงรวมชายหญิง และ 7-18 ปี แยกสถานสงเคราะห์เด็กชาย/เด็กหญิง ดังนั้นถ้าพี่น้องอายุต่างกันหรือต่างเพศกัน อาจจะถูกส่งไปอยู่คนละที่ แต่ถ้าเด็กอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์ พี่น้องสามารถอยู่ร่วมกันได้
แล้วทำไมไม่ไปเป็นบุตรบุญธรรม?
เด็กบางรายหาครอบครัวบุญธรรมได้ แต่กว่าจะหาได้ หรือช่วงระหว่างรอย้ายไปอยู่กับครอบครัวบุญธรรม เด็กกลุ่มนี้อาจจะถูกส่งไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ก่อนเพื่อให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของการอยู่เป็นครอบครัว เด็กบางคนไม่เคยเห็นก็นึกไม่ออกจริง ๆ ค่ะว่าครอบครัวอยู่กันยังไง ตอนอยู่สถานสงเคราะห์อยู่รวมกัน 20 คน อายุไล่เลี่ยกัน ทุกคนคือเพื่อน มีพี่เลี้ยง 2-3 คนสลับกันมาดูแล เรียกทุกคนว่าแม่ คนเราไม่มีแม่ทีละ 3 คน 5 คนหรอกจริงมั้ย ดังนั้นก่อนจะไปอยู่กับครอบครัวบุญธรรมก็ต้องไปเรียนรู้ก่อนว่า บ้านจริง ๆ คือมีบ้าน (ไม่ใช่ตึกนอน) มีพ่อมีแม่ มีพี่มีน้อง มีลุงป้าน้าอา มีวันรวมญาติ มีวันครอบครัวไปเที่ยวด้วยกัน
เด็กบางรายส่งไปอยู่กับครอบครัวบุญธรรมไม่ได้ เช่น พ่อแม่ไม่ได้ยกให้ เพียงต้องการฝากสถานสงเคราะห์เลี้ยง เมื่อตัวเองมีความพร้อมจะมารับเด็กกลับไปเลี้ยงเอง หรือพ่อแม่ที่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำหลายปี ถ้าพ้นโทษจะมารับเด็กกลับ แต่ช่วงระหว่างรอนี่แหละ ที่ทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตหลายอย่าง การให้เด็กเติบโตในรูปแบบของครอบครัวยังไงก็ดีกว่าอยู่ในสถานสงเคราะห์ ที่มีตอบสนองเด็กได้แค่ปัจจัยภายนอก แต่ไม่สามารถเติมเต็มจิตใจของเด็กได้
ต้องดูแลเด็กนานแค่ไหน?
แล้วแต่คนค่ะ เลี้ยงไปจนกว่าเด็กจะได้กลับครอบครัวเดิมหรือไปอยู่ครอบครัวบุญธรรม หรือเลี้ยงไปจนกว่าจะโตจนครบอายุ 18 ปี พ้นการสงเคราะห์ของสถานสงเคราะห์ตามอายุ หลังจากนั้นถ้าเรารักเราผูกพันกับเด็ก เราอาจจะให้เด็กอยู่กับเราต่อไปก็ได้ แต่จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้ว พอเด็กพ้นจากเราไปแล้ว ถ้าเราประสงค์จะเข้าโครงการนี้ต่อ เขาก็จะส่งเด็กคนใหม่มาให้เราอีก แล้วก็เลี้ยงไปเรื่อย ๆ อีก
เด็กที่เราเลี้ยงเขาก็จะผูกพันกับเรานะคะ บางคนโตจนเรียนจบก็ยังติดต่อกับพ่อแม่อุปถัมภ์อยู่ เด็กก็มองพ่อแม่อุปถัมภ์เป็นครอบครัวจริง ๆ นั่นแหละ พ่อครอบครัวรับเด็กใหม่มาเลี้ยง ก็มองเป็นน้องของเขา เป็นครอบครัวเป็นญาติที่ไม่ได้ผูกพันทางสายเลือดแต่ก็รักกันดี
อันนี้เป็นโฆษณาของ KFC พูดถึงครอบครัวอุปถัมภ์ เลี้ยงดูจนเขาเติบโตแล้วก็รับเด็กคนใหม่มาดูแลอีก
ถ้าเลี้ยงแล้วเกิดปัญหา?
ปัญหาในการดูแลเด็กรวมถึงวัยรุ่นนั้น แม้ว่าจะเป็นลูกที่เราคลอดและเลี้ยงเองมาตั้งแต่เกิดก็ย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการ พฤติกรรมในช่วงวัยเด็ก พฤติกรรมในช่วงวัยรุ่น แต่ละคนแตกต่างกันไปไม่มากก็น้อย เมื่อสถานสงเคราะห์ฯ ส่งเด็กมาให้เราแล้ว จะมีการติดตามเป็นระยะ คอยให้คำปรึกษาและฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลเด็กต่าง ๆ แก่เราด้วย
เลี้ยงแล้วเลิกกลางคันได้ไหม? (ส่งเด็กคือสถานสงเคราะห์)
เอาจริง ๆ ก็คืนได้ แต่อยากขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย เด็กก็มีชีวิตจิตใจ ในเมื่อเอาเขามาเลี้ยงเหมือนเป็นลูกแท้ ๆ เขาก็รักคุณเหมือนพ่อเหมือนแม่แท้ ๆ นั่นแหละ ลองนึกถึงลูกของคุณว่าเวลาที่เขาสร้างปัญหา หรือว่าคุณเหนื่อย คุณท้อในการดูแล คุณจะเลิกเป็นพ่อเป็นแม่แล้วส่งลูกของคุณไปให้คนอื่นหรือไม่ ก่อนจะสมัครเข้าโครงการต้องคิดดี ๆ ก่อนว่าเราพร้อมจริง ๆ หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องวุฒิภาวะและเวลาในการดูแลเขา
เด็กในสถานสงเคราะห์มักมีปัญหาเรื่องความผูกพันกับคนอื่น เพราะเพื่อนเข้ามาแล้วออกไป สลับสับเปลี่ยน เปลี่ยนผู้ดูแลไปเรื่อย ๆ คนนั้นย้ายทำงานตำแหน่งอื่น เกษียณอายุ ลาออก ดังนั้นแทบจะไม่ได้ผูกพันกับใครยาว ๆ เวลาที่เรามีปัญหาในชีวิต อกหักรักคุด เราอาจจะโทรหาเพื่อน โทรหาพ่อแม่ แต่เด็กเหล่านี้อาจะไม่รู้เลยว่าจะคุยกับใครได้ อันนี้เป็นโฆษณาที่จะบอกเราว่าการเป็นครอบครัวไม่ได้ต้องเป็นพ่อแม่ที่เพอร์เฟคทุกอย่าง แต่คือคนที่อยู่ข้าง ๆ เขา ให้กำลังใจในวันที่เขาเจอปัญหา
อยากเข้าโครงการ ทำอย่างไร?
การที่เรารับดูแลเด็กของสถานสงเคราะห์ เขาจะมาประเมินเราเป็นระยะ ๆ ดังนั้นเราคิดว่าแต่ละสถานสงเคราะห์อาจจะพิจารณาจากระยะทางของบ้านเราด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นควรติดต่อที่สถานสงเคราะห์ที่อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้กับเรามากที่สุด เช่น ถ้าเราอยู่เชียงใหม่เราก็ควรขอรับเด็กจากสถานสงเคราะห์ของรัฐในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็จะส่งผลต่อข้อจำกัดว่าเด็กที่คุณสามารถรับมาดูแลนั้นจะตรงกับที่คุณต้องการหรือไม่ หมายความว่า ถ้าคุณอยากดูแลเด็กผู้หญิงแต่คุณอยู่ใกล้สถานสงเคราะห์เด็กผู้ชาย แต่ยังไงเสีย เคสแบบนี้ เราว่าลองติดต่อไปดูก่อนก็ไม่เสียหาย ลองปรึกษาเจ้าหน้าที่เขาดูว่าเราอยากเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์น่ะ แต่เราสะดวกที่จะรับแค่เด็กผู้หญิง จะได้ไหม
ขั้นตอนก็จะเริ่มตั้งแต่ส่งใบสมัคร จนท.ประเมินคุณ ทั้งจากการไปดูบ้านรวมถึงละแวกบ้านว่าปลอดภัยไหม เด็กจะต้องนอนที่ไหน (โดยส่วนใหญ่จะพิจารณาว่าเด็กต้องมีห้องส่วนตัว) คนในครอบครัวเห็นชอบไหม สัมภาษณ์คุณ ทัศนคติในการดูแลเด็กของคุณ เช่น ถ้าเด็กทำผิด คุณจะมีวิธีจัดการอย่างไร, ถ้าเด็กมีพฤติกรรมโกหก คุณจะแก้ปัญหาอย่างไร เวลาในการดูแลเด็ก เช่น ใครจะไปรับส่งเด็กที่โรงเรียน ถ้าเด็กป่วยต้องแอดมิทคิดว่าใครจะสามารถเฝ้าไข้ได้ ถ้าผ่านก็แจ้งผล ส่งเด็กมาให้คุณ ติดตามผลเป็นระยะ
พยายามเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย ถ้าอ่านแล้วงง ๆ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ จะช่วยตอบเท่าที่ทราบค่ะ
เขียนไปแล้วเพิ่งมาเจอว่ามีข้อมูลจากพัฒนาสังคมฯ
https://www.dcy.go.th/webnew/uploadchild/plc/download/file_th_20172811101210_1.pdf
https://www.dcy.go.th/webnew/uploadchild/plc/download/file_th_20190701104857_1.pdf
ครอบครัวอุปถัมภ์ หรือ foster family
หลังจากที่เคยตั้งกระทู้เล่าเรื่องเด็กในสถานสงเคราะห์ไปแล้ว https://ppantip.com/topic/32685041 มีคนหลังไมค์มาถามเรื่องการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเยอะมาก ๆ แต่ส่วนใหญ่จะบอกให้ไปติดต่อที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเอาเอง เพราะเราไม่ได้ทำงานส่วนนั้นโดยตรง กลัวจะให้ข้อมูลคาดเคลื่อนหรือไม่อัพเดท
มารอบนี้อยากจะตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องเด็กสถานสงเคราะห์เหมือนเดิม แต่เป็นเรื่องของ “ครอบครัวอุปถัมภ์ (Foster Family)” เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับในการช่วยเหลือดูแลเด็กสถานสงเคราะห์
ในกระทู้ก่อนเราไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เลยเพราะตัวเองมีข้อมูลเรื่องนี้ไม่มาก ตอนนี้พอมีข้อมูลอยู่บ้างเลยอยากจะมาเล่าให้ฟัง
ในการทำงานของสถานสงเคราะห์ เมื่อรับเด็กเข้ามาแล้ว ก็ต้องมีแผนว่าแล้วจะทำอย่างไรต่อกับเด็กคนนี้ เพราะแต่ละวันก็มีเด็กมาใหม่เรื่อย ๆ พื้นที่มีจำกัด เมื่อมีการรับเข้าก็ต้องมีการนำออก โดยการพยายามลดจำนวนเด็กในสถานสงเคราะห์ ซึ่งก็มีหลายวิธี วิธีแรกสุดคือส่งกลับครอบครัวเดิม ซึ่งเป็นภารกิจหลัก เด็กได้อยู่กับครอบครัวให้กำเนิด มีญาติพี่น้อง วิธีที่ 2 คือส่งเป็นบุตรบุญธรรมทั้งไทยและต่างประเทศ ทางเลือกที่ 3 คือการส่งเด็กไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์
ครอบครัวอุปถัมภ์ หรือ foster family มีมาหลายปีแล้วในบ้านเรา แต่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกันเท่าไหร่ แต่หลายประเทศทั่วโลกรู้จักกันดีว่าเป็นครอบครัวทดแทนให้เด็ก การดูแลเด็กแบบนี้ก็คล้ายกับการรับเป็นบุตรบุญธรรม คือเอาเด็กมาดูแลที่บ้านของเราในฐานะลูก แต่ต่างกันที่เด็กไม่ใช่สิทธิ์ของเราตามกฎหมายแบบบุตรบุญธรรม เด็กยังมีชื่อว่าเป็นเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ แต่ตัวเด็กอยู่บ้านเรา เรามีหน้าที่เป็นครอบครัวให้เด็ก ให้ความรัก อบรมสั่งสอนแบบที่เราเลี้ยงลูกของเราเอง จริง ๆ แล้วครอบครัวอุปถัมภ์มีหลายแบบ ทั้งดูแลระยะสั้นไม่กี่ปี ระยะยาวไปจนโต หรือดูแลเฉพาะบางสถานการณ์ เช่น ดูแลเด็กที่เพิ่งถูกแยกออกมาจากบ้านที่ถูกกระทำรุนแรง ก่อนจะวางแผนดูแลอื่น ๆ ที่หลัง หรือดูแลแม่ที่เพิ่งคลอดลูกอ่อนที่ไม่มีที่อยู่ เป็นต้น แต่ในบ้านเราไม่ได้มีแบบนี้ อาจเพราะความที่ยังไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีคนรู้จัก จึงไม่มีคนเสนอตัวมาทำตรงนี้มากนัก ส่วนใหญ่คือดูแลระยะยาวหลายปีจนกว่าพ่อแม่จะรับกลับหรือจนกว่าจะหาครอบครัวบุญธรรมได้
ครอบครัวอุปถัมภ์จะได้เงินจากรัฐด้วยนะคะ ในต่างประเทศก็น่าจะเยอะพอสมควรแต่ในบ้านเรานั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพปัจจุบัน แต่ก็ยังดีที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กได้ เช่น ค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสื้อผ้าชุดนักเรียน และอาจจะได้เครื่องอุปโภคบริโภคด้วย เอาง่าย ๆ คือเด็กยังเป็นเด็กของสถานสงเคราะห์ฯ เด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ได้สิทธิ์อะไรบ้าง เด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ก็จะได้ด้วย เพียงแต่ตัวเด็กอยู่ที่บ้านของเรา
คนที่เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ได้มาเล่าประสบการณ์ของการดูแลเด็กที่ผ่านมา ในประเทศไทยนะคะ
http://www.thaihealth.or.th/Content/16295-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B9%8C%20%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81...%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94.html
ทำไมเด็กถึงต้องไปอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์?
อย่างที่บอกไปแล้วว่าเพื่อลดจำนวนเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ และอีกเหตุผลคือ ในสถานสงเคราะห์นั้น สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงมันไม่ใช่แบบครอบครัว เด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์จะขาดประสบการณ์หลายอย่าง ยิ่งถ้าเป็นเด็กที่เข้าสถานสงเคราะห์ตั้งแต่เล็ก ๆ เขาจะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้โลกจริงแบบเด็กบ้าน ลองนึกภาพการกินข้าว ก่อนจะกินเราก็ไปตลาด เลือกซื้ออาหารสด เข้าครัว หั่นผัก หั่นหมู ชิมรส เลือกภาชนะ ตั้งโต๊ะ กินข้าว แล้วล้างจาน ขั้นตอนที่เกิดขึ้นเหล่านี้ลูกคุณจะเห็นและเรียนรู้เพื่อทำมันต่อไปในอนาคต แต่เด็กสถานสงเคราะห์ฯ ไม่ใช่แบบนี้ เขาเข้าแถวเดินเข้าโรงอาหาร นั่งตามโต๊ะประจำ มีอาหารมาวางตรงหน้า ภาชนะใส่แบบเดิมเหมือนทุกวัน กินเสร็จเข้าแถวกลับอาคาร ผักก่อนถูกหั่นมันหน้าตายังไง ปลาก่อนทอดมันลักษณะยังไง เสียงทอดปลามันเป็นยังไง น้ำมันกระเด็นคืออะไร เหล่านี้คือเรื่องเล็กน้อยแต่มหาศาลในด้านประสบการณ์การใช้ชีวิตเมื่อโตขึ้น ปัจจุบันหลายสถานสงเคราะห์พยายามเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้กับเด็กโดยให้เด็กช่วยกันทำอาหารกินเอง แต่เด็กหลายคนอยู่ด้วยกันช่วยกันทำอาหารมันก็ยังไม่ใช่รูปแบบของครอบครัวจริง ๆ อยู่ดีใช่ไหมคะ เหมือนโรงเรียนประจำเสียมากกว่า
ข้อดีอีกอย่างของการให้เด็กอยู่ในสถานสงเคราะห์คือในเด็กที่เป็นพี่น้องกัน สถานสงเคราะห์จะแบ่งอายุการดูแลเด็กที่ 0-6 เลี้ยงรวมชายหญิง และ 7-18 ปี แยกสถานสงเคราะห์เด็กชาย/เด็กหญิง ดังนั้นถ้าพี่น้องอายุต่างกันหรือต่างเพศกัน อาจจะถูกส่งไปอยู่คนละที่ แต่ถ้าเด็กอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์ พี่น้องสามารถอยู่ร่วมกันได้
แล้วทำไมไม่ไปเป็นบุตรบุญธรรม?
เด็กบางรายหาครอบครัวบุญธรรมได้ แต่กว่าจะหาได้ หรือช่วงระหว่างรอย้ายไปอยู่กับครอบครัวบุญธรรม เด็กกลุ่มนี้อาจจะถูกส่งไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ก่อนเพื่อให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของการอยู่เป็นครอบครัว เด็กบางคนไม่เคยเห็นก็นึกไม่ออกจริง ๆ ค่ะว่าครอบครัวอยู่กันยังไง ตอนอยู่สถานสงเคราะห์อยู่รวมกัน 20 คน อายุไล่เลี่ยกัน ทุกคนคือเพื่อน มีพี่เลี้ยง 2-3 คนสลับกันมาดูแล เรียกทุกคนว่าแม่ คนเราไม่มีแม่ทีละ 3 คน 5 คนหรอกจริงมั้ย ดังนั้นก่อนจะไปอยู่กับครอบครัวบุญธรรมก็ต้องไปเรียนรู้ก่อนว่า บ้านจริง ๆ คือมีบ้าน (ไม่ใช่ตึกนอน) มีพ่อมีแม่ มีพี่มีน้อง มีลุงป้าน้าอา มีวันรวมญาติ มีวันครอบครัวไปเที่ยวด้วยกัน
เด็กบางรายส่งไปอยู่กับครอบครัวบุญธรรมไม่ได้ เช่น พ่อแม่ไม่ได้ยกให้ เพียงต้องการฝากสถานสงเคราะห์เลี้ยง เมื่อตัวเองมีความพร้อมจะมารับเด็กกลับไปเลี้ยงเอง หรือพ่อแม่ที่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำหลายปี ถ้าพ้นโทษจะมารับเด็กกลับ แต่ช่วงระหว่างรอนี่แหละ ที่ทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตหลายอย่าง การให้เด็กเติบโตในรูปแบบของครอบครัวยังไงก็ดีกว่าอยู่ในสถานสงเคราะห์ ที่มีตอบสนองเด็กได้แค่ปัจจัยภายนอก แต่ไม่สามารถเติมเต็มจิตใจของเด็กได้
ต้องดูแลเด็กนานแค่ไหน?
แล้วแต่คนค่ะ เลี้ยงไปจนกว่าเด็กจะได้กลับครอบครัวเดิมหรือไปอยู่ครอบครัวบุญธรรม หรือเลี้ยงไปจนกว่าจะโตจนครบอายุ 18 ปี พ้นการสงเคราะห์ของสถานสงเคราะห์ตามอายุ หลังจากนั้นถ้าเรารักเราผูกพันกับเด็ก เราอาจจะให้เด็กอยู่กับเราต่อไปก็ได้ แต่จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้ว พอเด็กพ้นจากเราไปแล้ว ถ้าเราประสงค์จะเข้าโครงการนี้ต่อ เขาก็จะส่งเด็กคนใหม่มาให้เราอีก แล้วก็เลี้ยงไปเรื่อย ๆ อีก
เด็กที่เราเลี้ยงเขาก็จะผูกพันกับเรานะคะ บางคนโตจนเรียนจบก็ยังติดต่อกับพ่อแม่อุปถัมภ์อยู่ เด็กก็มองพ่อแม่อุปถัมภ์เป็นครอบครัวจริง ๆ นั่นแหละ พ่อครอบครัวรับเด็กใหม่มาเลี้ยง ก็มองเป็นน้องของเขา เป็นครอบครัวเป็นญาติที่ไม่ได้ผูกพันทางสายเลือดแต่ก็รักกันดี
อันนี้เป็นโฆษณาของ KFC พูดถึงครอบครัวอุปถัมภ์ เลี้ยงดูจนเขาเติบโตแล้วก็รับเด็กคนใหม่มาดูแลอีก
ถ้าเลี้ยงแล้วเกิดปัญหา?
ปัญหาในการดูแลเด็กรวมถึงวัยรุ่นนั้น แม้ว่าจะเป็นลูกที่เราคลอดและเลี้ยงเองมาตั้งแต่เกิดก็ย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการ พฤติกรรมในช่วงวัยเด็ก พฤติกรรมในช่วงวัยรุ่น แต่ละคนแตกต่างกันไปไม่มากก็น้อย เมื่อสถานสงเคราะห์ฯ ส่งเด็กมาให้เราแล้ว จะมีการติดตามเป็นระยะ คอยให้คำปรึกษาและฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลเด็กต่าง ๆ แก่เราด้วย
เลี้ยงแล้วเลิกกลางคันได้ไหม? (ส่งเด็กคือสถานสงเคราะห์)
เอาจริง ๆ ก็คืนได้ แต่อยากขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย เด็กก็มีชีวิตจิตใจ ในเมื่อเอาเขามาเลี้ยงเหมือนเป็นลูกแท้ ๆ เขาก็รักคุณเหมือนพ่อเหมือนแม่แท้ ๆ นั่นแหละ ลองนึกถึงลูกของคุณว่าเวลาที่เขาสร้างปัญหา หรือว่าคุณเหนื่อย คุณท้อในการดูแล คุณจะเลิกเป็นพ่อเป็นแม่แล้วส่งลูกของคุณไปให้คนอื่นหรือไม่ ก่อนจะสมัครเข้าโครงการต้องคิดดี ๆ ก่อนว่าเราพร้อมจริง ๆ หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องวุฒิภาวะและเวลาในการดูแลเขา
เด็กในสถานสงเคราะห์มักมีปัญหาเรื่องความผูกพันกับคนอื่น เพราะเพื่อนเข้ามาแล้วออกไป สลับสับเปลี่ยน เปลี่ยนผู้ดูแลไปเรื่อย ๆ คนนั้นย้ายทำงานตำแหน่งอื่น เกษียณอายุ ลาออก ดังนั้นแทบจะไม่ได้ผูกพันกับใครยาว ๆ เวลาที่เรามีปัญหาในชีวิต อกหักรักคุด เราอาจจะโทรหาเพื่อน โทรหาพ่อแม่ แต่เด็กเหล่านี้อาจะไม่รู้เลยว่าจะคุยกับใครได้ อันนี้เป็นโฆษณาที่จะบอกเราว่าการเป็นครอบครัวไม่ได้ต้องเป็นพ่อแม่ที่เพอร์เฟคทุกอย่าง แต่คือคนที่อยู่ข้าง ๆ เขา ให้กำลังใจในวันที่เขาเจอปัญหา
อยากเข้าโครงการ ทำอย่างไร?
การที่เรารับดูแลเด็กของสถานสงเคราะห์ เขาจะมาประเมินเราเป็นระยะ ๆ ดังนั้นเราคิดว่าแต่ละสถานสงเคราะห์อาจจะพิจารณาจากระยะทางของบ้านเราด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นควรติดต่อที่สถานสงเคราะห์ที่อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้กับเรามากที่สุด เช่น ถ้าเราอยู่เชียงใหม่เราก็ควรขอรับเด็กจากสถานสงเคราะห์ของรัฐในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็จะส่งผลต่อข้อจำกัดว่าเด็กที่คุณสามารถรับมาดูแลนั้นจะตรงกับที่คุณต้องการหรือไม่ หมายความว่า ถ้าคุณอยากดูแลเด็กผู้หญิงแต่คุณอยู่ใกล้สถานสงเคราะห์เด็กผู้ชาย แต่ยังไงเสีย เคสแบบนี้ เราว่าลองติดต่อไปดูก่อนก็ไม่เสียหาย ลองปรึกษาเจ้าหน้าที่เขาดูว่าเราอยากเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์น่ะ แต่เราสะดวกที่จะรับแค่เด็กผู้หญิง จะได้ไหม
ขั้นตอนก็จะเริ่มตั้งแต่ส่งใบสมัคร จนท.ประเมินคุณ ทั้งจากการไปดูบ้านรวมถึงละแวกบ้านว่าปลอดภัยไหม เด็กจะต้องนอนที่ไหน (โดยส่วนใหญ่จะพิจารณาว่าเด็กต้องมีห้องส่วนตัว) คนในครอบครัวเห็นชอบไหม สัมภาษณ์คุณ ทัศนคติในการดูแลเด็กของคุณ เช่น ถ้าเด็กทำผิด คุณจะมีวิธีจัดการอย่างไร, ถ้าเด็กมีพฤติกรรมโกหก คุณจะแก้ปัญหาอย่างไร เวลาในการดูแลเด็ก เช่น ใครจะไปรับส่งเด็กที่โรงเรียน ถ้าเด็กป่วยต้องแอดมิทคิดว่าใครจะสามารถเฝ้าไข้ได้ ถ้าผ่านก็แจ้งผล ส่งเด็กมาให้คุณ ติดตามผลเป็นระยะ
พยายามเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย ถ้าอ่านแล้วงง ๆ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ จะช่วยตอบเท่าที่ทราบค่ะ
เขียนไปแล้วเพิ่งมาเจอว่ามีข้อมูลจากพัฒนาสังคมฯ
https://www.dcy.go.th/webnew/uploadchild/plc/download/file_th_20172811101210_1.pdf
https://www.dcy.go.th/webnew/uploadchild/plc/download/file_th_20190701104857_1.pdf