สวัสดีค่ะ
สืบเนื่องจากกระทู้ "ทำไมระบบ Adoption สำหรับคนที่ไม่พร้อมจะมีลูก ถึงทำไม่ได้ในเมืองไทย" ของคุณ สมาชิกหมายเลข 1041883
http://ppantip.com/topic/32682237/comment3-1
เลยอยากแบ่งปันประสบการณ์ความรู้จากการที่เคยได้ทำงานอยู่ในสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งนะคะ อาจไม่ได้รู้ลึกมากในด้านกฎหมาย เพราะไม่ใช่นักสังคมสงเคราะห์ แต่เป็นวิชาชีพที่ต้องทำงานร่วมกันอยู่ตลอดเวลา เขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวมีสาระไม่เก่งนะคะ ศัพท์วิชาการอะไรไม่ค่อยมี เรียกว่าเล่าสู่กันฟังด้วยภาษาบ้านๆ ขอแบ่งเป็น 3 ภาคนะคะ คือ 1. การรับเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ 2. ชีวิตของเด็กเมื่ออยู่ในสถานสงเคราะห์ และ 3. ช่องทางการจำหน่ายเด็กออกสู่สถานสงเคราะห์
ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า สถานสงเคราะห์เด็กนั้น แบ่งออกเป็นสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน รับดูแลเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 6 ขวบ อยู่รวมกันทั้งเด็กชายและหญิง (เด็กอ่อนปกติกับเด็กพิการอยู่แยกกันคนละสถานสงเคราะห์นะคะ) เมื่อเกิน 6 ขวบ เด็กจะถูกส่งต่อ แยกเพศ ไปสถานสงเคราะห์เด็กชาย และสถานสงเคราะห์เด็กหญิง (ซึ่งแยกกับเด็กพิการเหมือนกัน) ซึ่งจะดูแลจนถึงอายุ 18 ปี เด็กที่มีความสามารถและประสงค์จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาก็สามารถอยู่ต่อได้จนเรียนจบ แม้จะอายุเกิน 18 ปี
1. การับเด็กเข้าสถานสงเคราะห์
เด็กที่มาอยู่สถานสงเคราะห์มีมากมายหลายสาเหตุค่ะ เป็นเด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กพลัดหลง พ่อแม่ยากจน พ่อแม่ยังเรียนอยู่ เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือมาจากการถูกทารุณกรรม การเลี้ยงอย่างไม่ถูกวิธี (เช่น การใช้แรงงานเด็ก ไม่ให้เรียนหนังสือ ไม่จัดหาปัจจัย4ตามความเหมาะสม ปล่อยให้เด็กไปเดินร่อนเร่ ใช้ให้เด็กไปเดินยาเสพย์ติด) พ่อแม่วิกลจริต พ่อแม่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำ ซึ่งเรารับทั้งเด็กไทยและเด็กต่างชาตินะคะ พ่อแม่อาจเอาเด็กมาให้ด้วยตัวเอง หรือมีหน่วยงานส่งเด็กมาให้ จากโรงพยาบาลบ้าง จากเรือนจำบ้าง หรือหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือครอบครัวเบื้องต้น จะแยกเด็กให้มาอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ พ่อแม่ก็ถูกส่งไปอยู่บ้านพักฉุกเฉินหรืออื่นๆตามแต่เคส
เด็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็มีญาติ ลุงป้าน้าอาเหมือนคนอื่น แต่ญาติไม่ช่วยดูแลให้
หรือญาติอาจจะไม่รู้ ไม่รู้นี่คือไม่รู้จริงๆนะคะ บางทีแม่ฑิฐิมาก ไม่ขอความช่วยเหลือใคร ฉันขออุ้มลูกไปตายเอาดาบหน้า เอามาฝากสถานสงเคราะห์แล้วบอกญาติที่ต่างจังหวัดว่าลูกอยู่ด้วยกันเลี้ยงดูอย่างดี ทะเลาะกับสามีเลยเอาเด็กมาทิ้งเพื่อประชดชีวิตบ้าง
ในกรณีที่ครอบครัวอยากเอาเด็กมาฝากสถานสงเคราะห์ อันดับแรก นักสังคมสงเคราะห์จะพูดคุยซักถามประวัติและปัญหา เผื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นได้ (เผื่อจะเปลี่ยนใจนั่นแหละ) ถ้าพ่อแม่บอกว่าเอามาฝากเพราะฐานะยากจน เราอาจเสนอเป็นว่า เราให้การสนับสนุนเงินกับอุปกรณ์การเรียน นมผงของเด็กแทนได้ไหม ถ้ามีญาติ ให้ญาติช่วยดูแลแทนได้ไหม ลองปรึกษากับครอบครัวดีๆก่อนนะ โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งคลอด แม่บางคนโทรมาถามแล้วว่าจะยกเด็กให้ พอถามว่าเด็กอายุเท่าไหร่ แม่เด็กบอกว่าอีกหลายเดือน ตอนนี้ยังไม่คลอด กะว่าคลอดปุ๊บจะให้ปั๊บ ถ้าเคสแบบนี้ เราจะขอให้ลองพยายามเลี้ยงดูก่อน ขอให้เด็กได้กินนมแม่ก่อนได้ไหม เด็กจะไม่แข็งแรงนะ มีผลต่อพัฒนาการเด็ก (ส่วนหนึ่งก็ตามเหตุผลนั้น ส่วนหนึ่งก็คือ ถ้าแม่ให้ลูกดูดนม ได้เลี้ยง ได้กอดไปสักพักอาจเปลี่ยนใจไม่ฝากแล้ว อีกนั่นแหละ)
ถ้าแน่ใจแล้วว่าจะ "ฝาก" ฝากคือการฝากชั่วคราว สิทธิ์ในตัวเด็กยังเป็นของแม่ เพียงแต่ฝากให้เราดูแล มีเงื่อนไขว่าแม่จะต้องติดต่อกลับมาหรือสามารถติดต่อได้ ไม่หายไปเกิน 1 ปี เมื่อมีความพร้อม เช่น มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแล้ว มีงานทำแล้ว พ้นโทษแล้ว ก็สามารถรับเด็กกลับไปอยู่ด้วยได้
ถ้าหายไปไม่ส่งข่าวมาเลยเราจะเริ่มกระบวนการสืบหา ถ้าหาแล้วไม่เจอพ่อแม่หรือญาติคนไหนเลย สถานสงเคราะห์จะปิดเคส ส่งหาครอบครัวบุญธรรม
"การยกให้" หมายถึง ยกให้สถานสงเคราะห์เลย แบบนี้ง่ายเลย ส่งหาครอบครัวบุญธรรมต่อเลย
เด็กสถานสงเคราะห์
สืบเนื่องจากกระทู้ "ทำไมระบบ Adoption สำหรับคนที่ไม่พร้อมจะมีลูก ถึงทำไม่ได้ในเมืองไทย" ของคุณ สมาชิกหมายเลข 1041883
http://ppantip.com/topic/32682237/comment3-1
เลยอยากแบ่งปันประสบการณ์ความรู้จากการที่เคยได้ทำงานอยู่ในสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งนะคะ อาจไม่ได้รู้ลึกมากในด้านกฎหมาย เพราะไม่ใช่นักสังคมสงเคราะห์ แต่เป็นวิชาชีพที่ต้องทำงานร่วมกันอยู่ตลอดเวลา เขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวมีสาระไม่เก่งนะคะ ศัพท์วิชาการอะไรไม่ค่อยมี เรียกว่าเล่าสู่กันฟังด้วยภาษาบ้านๆ ขอแบ่งเป็น 3 ภาคนะคะ คือ 1. การรับเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ 2. ชีวิตของเด็กเมื่ออยู่ในสถานสงเคราะห์ และ 3. ช่องทางการจำหน่ายเด็กออกสู่สถานสงเคราะห์
ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า สถานสงเคราะห์เด็กนั้น แบ่งออกเป็นสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน รับดูแลเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 6 ขวบ อยู่รวมกันทั้งเด็กชายและหญิง (เด็กอ่อนปกติกับเด็กพิการอยู่แยกกันคนละสถานสงเคราะห์นะคะ) เมื่อเกิน 6 ขวบ เด็กจะถูกส่งต่อ แยกเพศ ไปสถานสงเคราะห์เด็กชาย และสถานสงเคราะห์เด็กหญิง (ซึ่งแยกกับเด็กพิการเหมือนกัน) ซึ่งจะดูแลจนถึงอายุ 18 ปี เด็กที่มีความสามารถและประสงค์จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาก็สามารถอยู่ต่อได้จนเรียนจบ แม้จะอายุเกิน 18 ปี
1. การับเด็กเข้าสถานสงเคราะห์
เด็กที่มาอยู่สถานสงเคราะห์มีมากมายหลายสาเหตุค่ะ เป็นเด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กพลัดหลง พ่อแม่ยากจน พ่อแม่ยังเรียนอยู่ เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือมาจากการถูกทารุณกรรม การเลี้ยงอย่างไม่ถูกวิธี (เช่น การใช้แรงงานเด็ก ไม่ให้เรียนหนังสือ ไม่จัดหาปัจจัย4ตามความเหมาะสม ปล่อยให้เด็กไปเดินร่อนเร่ ใช้ให้เด็กไปเดินยาเสพย์ติด) พ่อแม่วิกลจริต พ่อแม่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำ ซึ่งเรารับทั้งเด็กไทยและเด็กต่างชาตินะคะ พ่อแม่อาจเอาเด็กมาให้ด้วยตัวเอง หรือมีหน่วยงานส่งเด็กมาให้ จากโรงพยาบาลบ้าง จากเรือนจำบ้าง หรือหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือครอบครัวเบื้องต้น จะแยกเด็กให้มาอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ พ่อแม่ก็ถูกส่งไปอยู่บ้านพักฉุกเฉินหรืออื่นๆตามแต่เคส
เด็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็มีญาติ ลุงป้าน้าอาเหมือนคนอื่น แต่ญาติไม่ช่วยดูแลให้ หรือญาติอาจจะไม่รู้ ไม่รู้นี่คือไม่รู้จริงๆนะคะ บางทีแม่ฑิฐิมาก ไม่ขอความช่วยเหลือใคร ฉันขออุ้มลูกไปตายเอาดาบหน้า เอามาฝากสถานสงเคราะห์แล้วบอกญาติที่ต่างจังหวัดว่าลูกอยู่ด้วยกันเลี้ยงดูอย่างดี ทะเลาะกับสามีเลยเอาเด็กมาทิ้งเพื่อประชดชีวิตบ้าง
ในกรณีที่ครอบครัวอยากเอาเด็กมาฝากสถานสงเคราะห์ อันดับแรก นักสังคมสงเคราะห์จะพูดคุยซักถามประวัติและปัญหา เผื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นได้ (เผื่อจะเปลี่ยนใจนั่นแหละ) ถ้าพ่อแม่บอกว่าเอามาฝากเพราะฐานะยากจน เราอาจเสนอเป็นว่า เราให้การสนับสนุนเงินกับอุปกรณ์การเรียน นมผงของเด็กแทนได้ไหม ถ้ามีญาติ ให้ญาติช่วยดูแลแทนได้ไหม ลองปรึกษากับครอบครัวดีๆก่อนนะ โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งคลอด แม่บางคนโทรมาถามแล้วว่าจะยกเด็กให้ พอถามว่าเด็กอายุเท่าไหร่ แม่เด็กบอกว่าอีกหลายเดือน ตอนนี้ยังไม่คลอด กะว่าคลอดปุ๊บจะให้ปั๊บ ถ้าเคสแบบนี้ เราจะขอให้ลองพยายามเลี้ยงดูก่อน ขอให้เด็กได้กินนมแม่ก่อนได้ไหม เด็กจะไม่แข็งแรงนะ มีผลต่อพัฒนาการเด็ก (ส่วนหนึ่งก็ตามเหตุผลนั้น ส่วนหนึ่งก็คือ ถ้าแม่ให้ลูกดูดนม ได้เลี้ยง ได้กอดไปสักพักอาจเปลี่ยนใจไม่ฝากแล้ว อีกนั่นแหละ)
ถ้าแน่ใจแล้วว่าจะ "ฝาก" ฝากคือการฝากชั่วคราว สิทธิ์ในตัวเด็กยังเป็นของแม่ เพียงแต่ฝากให้เราดูแล มีเงื่อนไขว่าแม่จะต้องติดต่อกลับมาหรือสามารถติดต่อได้ ไม่หายไปเกิน 1 ปี เมื่อมีความพร้อม เช่น มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแล้ว มีงานทำแล้ว พ้นโทษแล้ว ก็สามารถรับเด็กกลับไปอยู่ด้วยได้ ถ้าหายไปไม่ส่งข่าวมาเลยเราจะเริ่มกระบวนการสืบหา ถ้าหาแล้วไม่เจอพ่อแม่หรือญาติคนไหนเลย สถานสงเคราะห์จะปิดเคส ส่งหาครอบครัวบุญธรรม
"การยกให้" หมายถึง ยกให้สถานสงเคราะห์เลย แบบนี้ง่ายเลย ส่งหาครอบครัวบุญธรรมต่อเลย