✡มาลาริน/ใครยังติดค้างหนี้จำนำข้าว จีทูจีเก๊อีกเท่าไหร่ ยึดทรัพย์คืนมาได้เท่าไหร่ ใครมันโกงยังไงฯลฯ ควรนำมาแฉให้ปชช.ทราบ


ถอดบทเรียน ‘โกงข้าวจีทูจี’



ตอนที่แล้ว ได้ลำดับให้เห็นพิษร้ายของนโยบายการเมือง เคลือบแฝงการทุจริต โกงระบายข้าวจีทูจี

สะท้อนเป็นบทเรียนเตือนใจ สำหรับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงด้วย

การที่ ครม.ชุดปัจจุบัน มีมติรับทราบมาตรการป้องกันการทุจริต หรือการโกงข้าวจีทูจี-จีทูเจี๊ยะ (ตามที่ ป.ป.ช.เสนอ) พร้อมกับมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการนั้น นับเป็นเรื่องที่ดี เสมือนหนึ่งอุดรูรั่ว ช่องโหว่ ที่โจรมันเคยปีนขึ้นบ้านไปก่อนหน้านี้ และควรกระทำต่อเนื่องไปยังรัฐบาลหน้า

ไม่ว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาล

แม้แต่พรรคการเมืองที่เคยเป็นรัฐบาลในช่วงที่มีการโกงข้าวจีทูจีกันแหลกลาญก็ตาม

วันนี้ จะลงรายละเอียดต่อไป ว่ามาตรการที่ทำกันนั้น จะสกัดกั้นการโกงข้าวจีทูจีของนักโกงเมืองได้อย่างไร

1. ขั้นตอนการพิจารณาสัญญาก่อนลงนามในสัญญาระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ

สภาพปัญหา “ยุคทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”

การดำเนินการที่ผ่านมา มีการแก้ไขสัญญาการค้าระหว่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ โดยเฉพาะการแก้ไขสัญญาเพิ่มชนิดและปริมาณข้าว ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญนอกขอบเขตของสัญญา และมีผลเสมือนหนึ่งเป็นการสัญญาฉบับใหม่ ที่ควรต้องมีการเจรจาใหม่อย่างรอบคอบรัดกุม บนเงื่อนไขที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและทำเป็นสัญญาฉบับใหม่

การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายข้าว จากเงื่อนไขเดิม คือ Free on Board : FOB (สัญญาซื้อขายที่มีการกำหนดราคาสินค้ารวมค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าจนกระทั่งขนสินค้าขึ้นบนระวางเรือ) หรือ Cost Insurance and Freight : CIF (สัญญาซื้อขายที่มีการกำหนดราคาสินค้า โดยรวมค่าระวางขนส่งสินค้าและค่าเบี้ยประกันภัยไว้ด้วย) เป็นการส่งมอบข้าวแบบหน้าคลังสินค้า (Ex Warehouse) ทำให้กลุ่มบุคคลผู้กระทำทุจริตที่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการระบายข้าวสามารถแอบนำข้าวที่ส่งมอบกันหน้าโกดังสินค้าออกไปขายเวียนภายในประเทศได้ แต่หากเป็นการซื้อขายข้าวแบบ FOB หรือ CIF จะสามารถยืนยันได้ว่าข้าวจะถูกส่งออกไปต่างประเทศ

ข้อตกลงเรื่องการชำระราคาข้าวโดยใช้แคชเชียร์เช็ค จะทำให้เกิดช่องทางในการชำระเงินโดยการออกเช็คภายในประเทศได้ ซึ่งขัดกับหลักการทั่วไปของการค้าระหว่างประเทศ ที่นิยมการชำระเงินแบบ Letter of Credit (L/C) เพราะเป็นวิธีที่สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าถูกส่งไปยังต่างประเทศจริง

ราคาข้าว เป็นข้อตกลงหนึ่งของสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ซึ่งที่ผ่านมามีการตกลงราคาขายข้าวตาม “ราคามิตรภาพ” ส่งผลให้รัฐบาลขาดทุนจากการขายข้าว เนื่องจากรัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาตันละ 15,000 – 20,000 บาท แต่เมื่อระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ กลับขายในราคามิตรภาพ (ประมาณตันละ 10,000 – 12,000 บาท) จึงนำไปสู่ความ
เสียหายแก่งบประมาณแผ่นดินหรือภาษีประชาชนเป็นจำนวนมาก

ข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช.

ให้กรมการค้าต่างประเทศจัดทำสัญญามาตรฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐ (Standard Contract) โดยคำนึงถึงการตรวจสอบคู่สัญญาเกี่ยวกับสถานะการเป็นตัวแทนของรัฐบาลกลางการส่งมอบข้าว การชำระเงิน และราคาข้าว มาพิจารณาประกอบการจัดทำสัญญาดังกล่าวด้วย ดังนี้

1) คู่สัญญาของรัฐ ต้องเป็นรัฐบาลกลางหรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้ดำเนินการแทนรัฐบาลกลางเท่านั้น

2) วิธีการส่งมอบข้าว ไม่ควรส่งมอบข้าวแบบหน้าคลังสินค้า (Ex Warehouse) และควรกำหนดวิธีการควบคุมเพื่อให้มีการส่งออกไปต่างประเทศจริง

3) วิธีการชำระเงิน ควรชำระเงินค่าข้าวผ่านธนาคารโดยวิธี Letter of Credit (L/C)

4) ราคาข้าว ไม่ควรกำหนดราคามิตรภาพหรือราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด

รวมทั้ง กำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาการค้าระหว่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐ โดยอาจดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.)

2. การเปิดเผยข้อมูลการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐให้สาธารณชนรับทราบ

สภาพปัญหา “ยุคทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”

การระบายข้าวจากสต๊อกรัฐบาล โดยวิธีการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลที่ผ่านมา เป็นไปในลักษณะปกปิดข้อมูลข่าวสาร

ส่อให้เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่มีความโปร่งใส

ขัดกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

โดยให้เหตุผลว่า การเจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ เพราะต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศผู้ซื้อที่ไม่ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลเนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวสูงเป็นข้อมูลด้านความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศผู้ซื้อ

ข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช.

เห็นควรให้กรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยสัญญาการค้าระหว่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐทั้งฉบับ

แต่หากกรมการค้าต่างประเทศไม่สามารถเปิดเผยสัญญาทั้งฉบับได้ ควรเปิดเผยข้อมูลบางส่วนของสัญญาฯ เช่น ปริมาณข้าว ชนิดของข้าว ราคาข้าว วิธีการส่งมอบข้าว และการชำระเงิน เป็นต้น

พร้อมทั้งจัดทำคู่มือเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว เพื่อให้ร่วมกันตรวจสอบการบริหารงานของภาครัฐ



3. บทเรียนราคาแพง

ข้อเสนอแนะทั้งหมดนั้น รัฐบาลปัจจุบันมีมติรับทราบ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการทันที (เกือบทุกเรื่องดำเนินการอยู่แล้ว แตกต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้ว)

แต่ละข้อเสนอของ ป.ป.ช.นั้น ถอดมาจากบทเรียนกรณีทุจริตโกงกินผ่านการระบายข้าวจีทูจีเก๊ หรือจีทูเจี๊ยะ-จีทูเจ๊ ซึ่งกระทำโดยนักการเมืองที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งในยุคที่แล้ว

เป็นบทเรียนราคาแพงลิบลิ่ว

เป็นบทเรียนที่ฝากบาดแผลแสนสาหัส

ปัจจุบัน ยังมีคดีโกงอีกเท่าไหร่ รัฐบาลยังติดค้างหนี้จากโครงการจำนำข้าวอีกเท่าไหร่ ยึดทรัพย์คืนมาได้เท่าไหร่ ใครมันโกงยังไง ฯลฯ ทั้งหมดนั้น ควรที่รัฐบาลและสื่อมวลชนที่มีจรรยาบรรณ ควรจะต้องช่วยกันตีแผ่ ตอกย้ำ และเตือนให้คนไทยได้ตระหนักรู้ มิใช่แกล้งทำลืมๆ กันไป กับความเสียหายหลายแสนล้านบาทของประเทศชาติ

 

สารส้ม

https://www.naewna.com/politic/columnist/38784


อย่าปล่อยให้คนชั่วคนทุจริตลอยนวลค่ะ
กระฉากหน้กากออกมาทุกๆวัน  ใครทำอะไรไม่ดีไว้ต้องเอามาแฉ
อย่าให้หาเสียงฟอกพรรคตัวเองว่าขาวสะอาด  

นักการเมืองที่สนับสนุนพวกโกงกินบ้านเมือง  ต้องสะกิดต่อมจิตสำนึกบ่อยๆ



กุหลาบสีไหนก็สวยนะคะ...miniheart
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่