ผลสอบเมินเก็บภาษีถึงมือ “สมชัย” แล้ว ชี้ชัดสรรพากรภาค 3-ผู้บริหารกรมมีเอี่ยว รอวัดใจปลัดคลังกล้าสอบวินัยร้ายแรงหรือไม่ พาณิชย์แฉจีทูจีมันสำปะหลังเก๊ต้นแบบทุจริตจีทูเจี๊ยะข้าว
กรณีกรมสรรพากรได้นำหนังสือแจ้งประเมินภาษีจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้กองทุนเทมาเส็ก สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ว่าต้องชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มจำนวน 17,629.58 ล้านบาท โดยเจ้าหน้าที่สรรพากรได้ไปติดหมายที่หน้าบ้านจันทร์ส่องหล้าเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2560 นั้น ล่าสุดแหล่งข่าวจากกรมสรรพากรเผยว่า กรมได้ตรวจและอายัดทรัพย์นายทักษิณแล้ว ซึ่งพบว่ามีเงินฝากและที่ดินในชื่อของนายทักษิณในหลักล้านบาทเท่านั้น
“ตามระเบียบกรมสรรพากร ภาษีกว่า 1.7 หมื่นล้านบาทจะถือเป็นหนี้ภาษีซึ่งกรมต้องตรวจและอายัดทรัพย์มาชำระภาษีและค่าปรับให้ครบจำนวน โดยพบว่ามีมูลค่าหลักล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับหนี้ภาษีที่ค้างกรมอยู่ คาดว่าเป็นทรัพย์สินที่อดีตนายกฯ หลงลืมไว้ในเมืองไทยในชื่อของตัวเองเท่านั้น" แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับการยื่นอุทธรณ์ภาษีในกรณีนี้ของนายทักษิณนั้น กรมได้ตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์ขึ้นมาพิจารณาข้อมูลหลักฐานแล้วว่าจะรับอุทธรณ์หรือไม่ ซึ่งการพิจารณาอุทธรณ์เป็นคนละส่วนกับการสอบและอายัดทรัพย์ เพราะเมื่อไม่จ่ายภาษี ก็ถือเป็นหนี้ภาษีค้างที่กรมต้องดำเนินการให้ผู้เสียภาษีมาชำระทันที
นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวในเรื่องนี้ว่า ตอบอะไรไม่ได้ เนื่องจากสมัยเป็น คตส.ยึดเฉพาะทรัพย์สินที่ได้จากการขายหุ้น เพราะทรัพย์สินนั้นได้มาโดยใช้อำนาจหน้าที่ไม่สมควร
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวถึงกรณีนายยุทธนา หยิมการุณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการสอบการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรละเว้นปฏิบัติหน้าไม่เก็บภาษีนายทักษิณ ว่าได้ส่งผลสอบให้นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาและดำเนินการต่อแล้ว โดยผลสอบแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการสอบกรณีที่กรมสรรพากรไม่ยื่นอุทธรณ์ศาลภาษีอากรให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณให้เสียภาษีจากการซื้อขายหุ้น ซึ่งผลสอบระบุชัดเจนว่า ผู้บริหารสรรพากรภาค 3 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง รวมทั้งระเบียบของกรมสรรพากรก็ระบุชัดว่าต้องยื่นอุทธรณ์ศาลในทุกกรณี
“ผลสอบยังตั้งข้อสังเกตว่าผู้บริหารกรมสรรพากรในขณะนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการไม่ยื่นอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวด้วย ส่วนจะพิจารณาตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของปลัดกระทรวงการคลัง ในส่วนของสรรพากรภาค 3 ที่ละเว้นปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงแน่นอน” แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับส่วนที่สอง เป็นกรณีที่กรมสรรพากรไม่ทำการประเมินเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นจากอดีตนายกฯ ซึ่งผลสอบชี้ว่าผู้บริหารกรมสรรพากรมีความพยายามไม่ประเมินภาษี ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
ยุตั้งกรรมการสอบซ้ำ
ด้านนายสมชัยกล่าวว่า ยังไม่ได้อ่านผลสอบ ซึ่งต้องดำเนินการตามผลสอบที่เสนอขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาได้กำชับคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้วว่าให้ดำเนินการให้รอบคอบ เป็นธรรมกับทุกคน ผิดก็ต้องผิด ไม่มีการกลั่นแกล้งใคร
นายแก้วสรรกล่าวเรื่องนี้ว่า เห็นด้วยที่นายยุทธนาเสนอให้ตั้งกรรมการสอบวินัยผู้บริหารกรมสรรพากรภาค 3 และผู้บริหารกรมสรรพากร กรณีไม่ยื่นอุทธรณ์ศาลภาษีอากรให้นายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทาเสียภาษีจากการซื้อขายหุ้น โดยควรตอบด้วยว่าทำไมถึงเป็นมวยล้มไม่ยอมยื่นอุทธรณ์ต่อศาล
“ถ้ารัฐเสียหายผู้เกี่ยวข้องต้องถูกคำสั่งปกครองให้ชดใช้ ทั้งนี้ ในทางกฎหมายยังยึดทรัพย์ของนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทาไม่ได้ เพราะต้องประเมินภาษีก่อน” นายแก้วสรรระบุ
ส่วนกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ระบุถึงทีมทนาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีโครงการรับจำนำข้าวอาจขัดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ว่าเป็นการใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่อยื้อคดีนั้น นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า คดีอาญาเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ต่อสู้คดีได้เต็มที่ คดีบางประเภทแม้จำเลยรับสารภาพ ยังต้องสืบพยานให้แน่ใจว่าจำเลยกระทำผิดจริง ถ้ามีกรณีเป็นที่สงสัย ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
“กรณีข้อต่อสู้เรื่องกฎหมายที่มาปรับใช้กับคดีขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ก็ถือเป็นข้อต่อสู้ได้ประการหนึ่ง ซึ่งมีบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับ ส่วนจะเข้าเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เพียงใดหรือไม่ ก็คงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลพิจารณา ควรทำความเข้าใจว่าเป็นสิทธิและโอกาสของจำเลยในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่มากกว่า ไม่ควรมองไปในเชิงการตีรวน ประวิงเวลาหรือยื้อคดี การทำให้ทุกๆ ประเด็นมีคำตอบ ไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัย น่าจะเป็นผลดีมากกว่า” นายชูศักดิ์กล่าว
นายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ผู้ถูกกล่าวหาจะร้องขอใช้สิทธิ์ตามกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม มิใช่ต่อสู้เพื่อประวิงเวลาอย่างที่กล่าวหา เมื่อคดียังไม่เสร็จสิ้นการพิจารณาจึงดำเนินการได้ ถ้า นพ.วรงค์โดนคดีบ้างก็คงทำเช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องที่ประชาชนเดินทางมาให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ศาลฎีกานั้น ถือว่าธรรมดา เพราะคนที่เคยทำงานให้พี่น้องชาวไร่ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ เขาก็รักศรัทธาห่วงใยเป็นเรื่องปกติ
“ที่ นพ.วรงค์ระบุให้คนไทยต้องมีสติรับข้อมูลนั้น เห็นด้วย และถ้าจะให้ดีกว่านี้ นพ.วรงค์ควรไปดูพื้นที่จริง หาข้อมูลจริงมาพูดกับประชาชน ดีกว่าพูดจาแบบอคติเช่นที่เคยทำ และการพูดว่าข้าวเน่าข้าวเสียมาตลอด วันนี้กระทรวงพาณิชย์ประมูลขายข้าวราคาถูกๆ อ้างไปเป็นอาหารสัตว์ ท่ามกลางน้ำตาของเจ้าของโกดัง ทั้งที่ข้าวเหล่านั้นคนยังบริโภคได้ เป็นการโยนความรับผิดให้เจ้าของโรงสีหรือเจ้าของโกดังหรือไม่อย่างไร และควรหาข้อมูลมาให้ประชาชนได้รับรู้ว่า ตั้งแต่ยึดอำนาจมาสามปีกว่า เจ้าของโกดังรับฝากเขาได้ค่าเช่าหรือไม่” นายสมคิดระบุ
โกงมันต้นตอโกงข้าว
วันเดียวกัน มีรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) แจ้งว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ขอให้ พณ.จัดส่งข้อมูลการขายมันสำปะหลังในสต็อกของรัฐบาลเมื่อปี 2554 หลังตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น โดยใช้การขายในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยพบว่ามีบริษัทไทยรายหนึ่งมีการติดต่อขอซื้อมันสำปะหลังจากสต็อกรัฐ โดยอ้างว่ามีสัญญาจีทูจีกับบริษัทจีนปริมาณ 4 แสนตัน มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่ไม่มีการส่งออกจริง
ทั้งนี้ รูปแบบการทุจริตที่ตรวจสอบพบคือ บริษัทจากจีนไม่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนให้เป็นผู้ซื้อมันสำปะหลังจากไทย และหลังจากทำสัญญาแล้วได้มอบหมายให้บริษัทไทยซึ่งเป็นคู่สัญญาเป็นผู้รับมอบสินค้าแทน และใช้วิธีขายหน้าโรงงาน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามีการนำมันสำปะหลังกลับมาวนขายในประเทศ เพราะราคามันเส้นขณะนั้นอยู่ที่ประมาณกิโลกรัม (กก.) ละ 8 บาท
รายงานแจ้งอีกว่า นอกจากจีทูจีปลอมแล้ว ป.ป.ช.ยังตรวจพบการทุจริตในการขนย้ายมันสำปะหลัง โดยบริษัทดังกล่าวได้ขนมันสำปะหลังออกจากโกดังรัฐบาล ทั้งๆ ที่แอลซี (L/C) หมดอายุ โดยขนออกไปได้ประมาณ 1 แสนตัน มูลค่าความเสียหายประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่ง ป.ป.ช.ได้รับแจ้งจากทางกรมการค้าต่างประเทศว่าหลังจากตรวจสอบพบได้สั่งให้หยุดขน ทำให้เอกชนรายดังกล่าวไม่พอใจ และได้ฟ้องร้องในข้อหาขายมันสำปะหลังไม่ตรงตามสัญญา
“เรื่องนี้ ป.ป.ช.ได้รับการชี้แจงจากกรมการค้าต่างประเทศว่าได้ขายมันสำปะหลังตามสภาพ และผู้ซื้อได้รับรู้สภาพมันสำปะหลังเป็นอย่างดีแล้ว โดยล่าสุดได้ฟ้องกลับ โดยเรียกค่าเสียหายรวมทั้งหมดประมาณ 3,000 ล้านบาท ขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ” รายงานระบุ
รายงานแจ้งว่า จากการตรวจสอบบริษัทไทยที่ทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังในรูปแบบจีทูจีเมื่อปี 2554 คือบริษัท ท. มีกรรมการผู้มีอำนาจชื่อ ว. ส่วนบริษัทจีน ชื่อ ฮ. โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงชื่อหลายครั้ง โดย ป.ป.ช.มองว่าการดำเนินการลักษณะนี้เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของการทุจริตการขายข้าวจีทูจีในยุคต่อมา ทั้งการใช้บริษัทจีนที่ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจและไม่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาล การขายหน้าโกดัง และการมอบอำนาจให้บริษัทบางรายเป็นผู้มีอำนาจในการขนมันสำปะหลังออกจากโกดัง
“ป.ป.ช.จะตรวจสอบว่ามีใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตการขายมันสำปะหลังในสต็อกรัฐบาล ทั้งรัฐบาลในขณะนั้นว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงอดีต รมว.พาณิชย์และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุมัติขาย และภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งหากได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วก็จะดำเนินการชี้มูลความผิดต่อไป” รายงานระบุ
สำหรับรัฐบาลในช่วงปี 2554 ที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงแรกของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ นั่งเก้าอี้ รมว.พาณิชย์
ขอบคุณไทยโพสต์ค่ะ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93-%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%8117%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5-%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%99
~มาลาริน~** อึ้ง! สรรพากรอายัดทรัพย์สิน “ทักษิณ” ได้แค่ระดับล้านบาท จาก 1.7 หมื่นล้านในคดีชินคอร์ป เหตุเจ้าตัวหลงลืมไว้
กรณีกรมสรรพากรได้นำหนังสือแจ้งประเมินภาษีจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้กองทุนเทมาเส็ก สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ว่าต้องชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มจำนวน 17,629.58 ล้านบาท โดยเจ้าหน้าที่สรรพากรได้ไปติดหมายที่หน้าบ้านจันทร์ส่องหล้าเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2560 นั้น ล่าสุดแหล่งข่าวจากกรมสรรพากรเผยว่า กรมได้ตรวจและอายัดทรัพย์นายทักษิณแล้ว ซึ่งพบว่ามีเงินฝากและที่ดินในชื่อของนายทักษิณในหลักล้านบาทเท่านั้น
“ตามระเบียบกรมสรรพากร ภาษีกว่า 1.7 หมื่นล้านบาทจะถือเป็นหนี้ภาษีซึ่งกรมต้องตรวจและอายัดทรัพย์มาชำระภาษีและค่าปรับให้ครบจำนวน โดยพบว่ามีมูลค่าหลักล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับหนี้ภาษีที่ค้างกรมอยู่ คาดว่าเป็นทรัพย์สินที่อดีตนายกฯ หลงลืมไว้ในเมืองไทยในชื่อของตัวเองเท่านั้น" แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับการยื่นอุทธรณ์ภาษีในกรณีนี้ของนายทักษิณนั้น กรมได้ตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์ขึ้นมาพิจารณาข้อมูลหลักฐานแล้วว่าจะรับอุทธรณ์หรือไม่ ซึ่งการพิจารณาอุทธรณ์เป็นคนละส่วนกับการสอบและอายัดทรัพย์ เพราะเมื่อไม่จ่ายภาษี ก็ถือเป็นหนี้ภาษีค้างที่กรมต้องดำเนินการให้ผู้เสียภาษีมาชำระทันที
นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวในเรื่องนี้ว่า ตอบอะไรไม่ได้ เนื่องจากสมัยเป็น คตส.ยึดเฉพาะทรัพย์สินที่ได้จากการขายหุ้น เพราะทรัพย์สินนั้นได้มาโดยใช้อำนาจหน้าที่ไม่สมควร
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวถึงกรณีนายยุทธนา หยิมการุณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการสอบการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรละเว้นปฏิบัติหน้าไม่เก็บภาษีนายทักษิณ ว่าได้ส่งผลสอบให้นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาและดำเนินการต่อแล้ว โดยผลสอบแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการสอบกรณีที่กรมสรรพากรไม่ยื่นอุทธรณ์ศาลภาษีอากรให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณให้เสียภาษีจากการซื้อขายหุ้น ซึ่งผลสอบระบุชัดเจนว่า ผู้บริหารสรรพากรภาค 3 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง รวมทั้งระเบียบของกรมสรรพากรก็ระบุชัดว่าต้องยื่นอุทธรณ์ศาลในทุกกรณี
“ผลสอบยังตั้งข้อสังเกตว่าผู้บริหารกรมสรรพากรในขณะนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการไม่ยื่นอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวด้วย ส่วนจะพิจารณาตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของปลัดกระทรวงการคลัง ในส่วนของสรรพากรภาค 3 ที่ละเว้นปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงแน่นอน” แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับส่วนที่สอง เป็นกรณีที่กรมสรรพากรไม่ทำการประเมินเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นจากอดีตนายกฯ ซึ่งผลสอบชี้ว่าผู้บริหารกรมสรรพากรมีความพยายามไม่ประเมินภาษี ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
ยุตั้งกรรมการสอบซ้ำ
ด้านนายสมชัยกล่าวว่า ยังไม่ได้อ่านผลสอบ ซึ่งต้องดำเนินการตามผลสอบที่เสนอขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาได้กำชับคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้วว่าให้ดำเนินการให้รอบคอบ เป็นธรรมกับทุกคน ผิดก็ต้องผิด ไม่มีการกลั่นแกล้งใคร
นายแก้วสรรกล่าวเรื่องนี้ว่า เห็นด้วยที่นายยุทธนาเสนอให้ตั้งกรรมการสอบวินัยผู้บริหารกรมสรรพากรภาค 3 และผู้บริหารกรมสรรพากร กรณีไม่ยื่นอุทธรณ์ศาลภาษีอากรให้นายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทาเสียภาษีจากการซื้อขายหุ้น โดยควรตอบด้วยว่าทำไมถึงเป็นมวยล้มไม่ยอมยื่นอุทธรณ์ต่อศาล
“ถ้ารัฐเสียหายผู้เกี่ยวข้องต้องถูกคำสั่งปกครองให้ชดใช้ ทั้งนี้ ในทางกฎหมายยังยึดทรัพย์ของนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทาไม่ได้ เพราะต้องประเมินภาษีก่อน” นายแก้วสรรระบุ
ส่วนกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ระบุถึงทีมทนาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีโครงการรับจำนำข้าวอาจขัดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ว่าเป็นการใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่อยื้อคดีนั้น นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า คดีอาญาเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ต่อสู้คดีได้เต็มที่ คดีบางประเภทแม้จำเลยรับสารภาพ ยังต้องสืบพยานให้แน่ใจว่าจำเลยกระทำผิดจริง ถ้ามีกรณีเป็นที่สงสัย ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
“กรณีข้อต่อสู้เรื่องกฎหมายที่มาปรับใช้กับคดีขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ก็ถือเป็นข้อต่อสู้ได้ประการหนึ่ง ซึ่งมีบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับ ส่วนจะเข้าเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เพียงใดหรือไม่ ก็คงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลพิจารณา ควรทำความเข้าใจว่าเป็นสิทธิและโอกาสของจำเลยในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่มากกว่า ไม่ควรมองไปในเชิงการตีรวน ประวิงเวลาหรือยื้อคดี การทำให้ทุกๆ ประเด็นมีคำตอบ ไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัย น่าจะเป็นผลดีมากกว่า” นายชูศักดิ์กล่าว
นายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ผู้ถูกกล่าวหาจะร้องขอใช้สิทธิ์ตามกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม มิใช่ต่อสู้เพื่อประวิงเวลาอย่างที่กล่าวหา เมื่อคดียังไม่เสร็จสิ้นการพิจารณาจึงดำเนินการได้ ถ้า นพ.วรงค์โดนคดีบ้างก็คงทำเช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องที่ประชาชนเดินทางมาให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ศาลฎีกานั้น ถือว่าธรรมดา เพราะคนที่เคยทำงานให้พี่น้องชาวไร่ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ เขาก็รักศรัทธาห่วงใยเป็นเรื่องปกติ
“ที่ นพ.วรงค์ระบุให้คนไทยต้องมีสติรับข้อมูลนั้น เห็นด้วย และถ้าจะให้ดีกว่านี้ นพ.วรงค์ควรไปดูพื้นที่จริง หาข้อมูลจริงมาพูดกับประชาชน ดีกว่าพูดจาแบบอคติเช่นที่เคยทำ และการพูดว่าข้าวเน่าข้าวเสียมาตลอด วันนี้กระทรวงพาณิชย์ประมูลขายข้าวราคาถูกๆ อ้างไปเป็นอาหารสัตว์ ท่ามกลางน้ำตาของเจ้าของโกดัง ทั้งที่ข้าวเหล่านั้นคนยังบริโภคได้ เป็นการโยนความรับผิดให้เจ้าของโรงสีหรือเจ้าของโกดังหรือไม่อย่างไร และควรหาข้อมูลมาให้ประชาชนได้รับรู้ว่า ตั้งแต่ยึดอำนาจมาสามปีกว่า เจ้าของโกดังรับฝากเขาได้ค่าเช่าหรือไม่” นายสมคิดระบุ
โกงมันต้นตอโกงข้าว
วันเดียวกัน มีรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) แจ้งว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ขอให้ พณ.จัดส่งข้อมูลการขายมันสำปะหลังในสต็อกของรัฐบาลเมื่อปี 2554 หลังตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น โดยใช้การขายในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยพบว่ามีบริษัทไทยรายหนึ่งมีการติดต่อขอซื้อมันสำปะหลังจากสต็อกรัฐ โดยอ้างว่ามีสัญญาจีทูจีกับบริษัทจีนปริมาณ 4 แสนตัน มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่ไม่มีการส่งออกจริง
ทั้งนี้ รูปแบบการทุจริตที่ตรวจสอบพบคือ บริษัทจากจีนไม่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนให้เป็นผู้ซื้อมันสำปะหลังจากไทย และหลังจากทำสัญญาแล้วได้มอบหมายให้บริษัทไทยซึ่งเป็นคู่สัญญาเป็นผู้รับมอบสินค้าแทน และใช้วิธีขายหน้าโรงงาน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามีการนำมันสำปะหลังกลับมาวนขายในประเทศ เพราะราคามันเส้นขณะนั้นอยู่ที่ประมาณกิโลกรัม (กก.) ละ 8 บาท
รายงานแจ้งอีกว่า นอกจากจีทูจีปลอมแล้ว ป.ป.ช.ยังตรวจพบการทุจริตในการขนย้ายมันสำปะหลัง โดยบริษัทดังกล่าวได้ขนมันสำปะหลังออกจากโกดังรัฐบาล ทั้งๆ ที่แอลซี (L/C) หมดอายุ โดยขนออกไปได้ประมาณ 1 แสนตัน มูลค่าความเสียหายประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่ง ป.ป.ช.ได้รับแจ้งจากทางกรมการค้าต่างประเทศว่าหลังจากตรวจสอบพบได้สั่งให้หยุดขน ทำให้เอกชนรายดังกล่าวไม่พอใจ และได้ฟ้องร้องในข้อหาขายมันสำปะหลังไม่ตรงตามสัญญา
“เรื่องนี้ ป.ป.ช.ได้รับการชี้แจงจากกรมการค้าต่างประเทศว่าได้ขายมันสำปะหลังตามสภาพ และผู้ซื้อได้รับรู้สภาพมันสำปะหลังเป็นอย่างดีแล้ว โดยล่าสุดได้ฟ้องกลับ โดยเรียกค่าเสียหายรวมทั้งหมดประมาณ 3,000 ล้านบาท ขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ” รายงานระบุ
รายงานแจ้งว่า จากการตรวจสอบบริษัทไทยที่ทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังในรูปแบบจีทูจีเมื่อปี 2554 คือบริษัท ท. มีกรรมการผู้มีอำนาจชื่อ ว. ส่วนบริษัทจีน ชื่อ ฮ. โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงชื่อหลายครั้ง โดย ป.ป.ช.มองว่าการดำเนินการลักษณะนี้เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของการทุจริตการขายข้าวจีทูจีในยุคต่อมา ทั้งการใช้บริษัทจีนที่ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจและไม่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาล การขายหน้าโกดัง และการมอบอำนาจให้บริษัทบางรายเป็นผู้มีอำนาจในการขนมันสำปะหลังออกจากโกดัง
“ป.ป.ช.จะตรวจสอบว่ามีใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตการขายมันสำปะหลังในสต็อกรัฐบาล ทั้งรัฐบาลในขณะนั้นว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงอดีต รมว.พาณิชย์และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุมัติขาย และภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งหากได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วก็จะดำเนินการชี้มูลความผิดต่อไป” รายงานระบุ
สำหรับรัฐบาลในช่วงปี 2554 ที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงแรกของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ นั่งเก้าอี้ รมว.พาณิชย์
ขอบคุณไทยโพสต์ค่ะ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้