ความสัมพันธ์ระหว่าง ฝุ่น Pm 2.5 และลมมรสุม

เป็นที่น่าสนใจว่า ตัวแปรสำคัญอย่างลมมรสุม มีผลโดยตรงกับ ปริมาณฝุ่นใน กรุงเทพมหานคร
ทิศทางลมมรสุม


ความสัมพันธ์ระหว่างลมมรสุม และ ปริมาณฝุ่น Pm2.5

ในขณะที่ตัวแปรอื่นๆ อย่างฤดูกาล อุณหภูมิ กระแสลมในกทม มหานครมีผลกระทบในภาพรวม
ต่อปริมาณฝุ่นน้อยมาจนแทบไม่มีเลย

ภาพแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างฤดูกาลในประเทศไทย  และฝุ่น Pm 2.5
แดงฤดูร้อน เขียวฤดูฝน ฟ้าฤดูหนาว

ภาพอุณหภูมิ และความแรงลมระดับพื้นดิน ตลอดปีใน กรุงเทพมหานคร

จะเห็นว่าสิ่งที่อิทธิพลมากที่สุดและตรงที่สุดคือ ทิศทางลมมรสุม
ปัจจัยอื่นๆ เช่นฤดูการ ปริมาณลม ปริมาณฝน แม้มีอิทธิพล แต่ไม่ส่งผลกระทบเท่ากับทิศทางลมมรสุม
ทำไมทิศทางลมมรสุมทำให้ปริมาณฝุ่นสะสมเพิ่มขึ้นเกินเท่าตัว
คำตอบคือ เพราะลมหอบเอาฝุ่น จากปริมณฑลรอบๆกรุงเทพหรือเหนือจากนั้นมาผสมเข้ากับฝุ่นในกรุงเทพ
เท่ากับว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดต่างๆนั้นล้วนส่งผลกระทบต่อกัน
และท้ายที่สุด กรุงเทพซึ่งเป็นทางผ่านของลมออกสู่อ่าวไทยนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะรับฝุ่นสะสมทั้งหมดแม้จะมาจากพื้นที่ก็ตาม
(ไปตั้งแหล่งผลิตไกลๆ แต่มาบริโภคในกรุงเทพ แต่กรุงเทพต้องรับกรรมอยู่ดี)


ภาพทิศทางลมและการกระจายตัวของฝุ่น จากสระบุรี ผ่านอยุธยา มาสมทบที่กรุงเทพมหานคร


ฝุ่นในกรุงเทพจะลดลงได้ ต้องลดกิจกรรมโดยรอบเช่นสระบุรีต้องลดการเปิดหน้าดิน
ร่วมกับ การลดกิจกรรมลงอื่นๆโดยรอบตัวปริมณฑล เช่นโรงงานอุตสาหกรรม
ในขณะที่ตัวกรุงเทพเองก็ต้องลดปริมาณการก่อสร้างและลดจำนวนรถยนต์บนถนนเป็นต้น


ที่มา[1] http://infofile.pcd.go.th/air/PM2.5.pdf?CFID=1996536&CFTOKEN=22269896
[2]https://www.windfinder.com/windstatistics/bangkok_pilot
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่