เปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า อาจไม่ช่วยเรื่อง Pm2.5

ปัญหาจริงๆของฝุ่น pm 2.5 ไม่ใช่สาเหตุจากสัดส่วนการใช้รถประภทน้ำมันดีเซล
ถึงแม้คนไทยทั้งหมดจะเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเบนซิน แต่ก็จะยังมีปัญหา
เช่นจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีฝุ่นติดอันดับโลก รถ 99% ก็เป็นน้ำมันเบนซิล ,
ในขณะที่รถยนต์ครึ่งหนึ่งของ EU เองก็เป็นน้ำมันดีเซล แต่สภาพอากาศดีกว่าบ้านเรามาก
รวมทั้งไม่เกี่ยวกับเรื่องมาตราฐานน้ำมันด้วย ตัวอย่างเช่นมาเลเซีย ซึ่งใช้มาตราฐานน้ำมันดีเซล 2/6 มาตลอด
พึ่งเปลี่ยนมาเป็น Euro 4/6 ไม่ถึงสองปีดีนี้ (เท่ากับไทย) แต่สภาพอาาศก็ดีกว่าบ้านเราเช่นกัน


ในแต่ละพื้นที่ ก็จะมีที่มาของฝุ่นต่างกันไป เช่นที่สระบุรีมีการระเบิดภูเขา ขนาดใหญ่
เพื่อนำทรายมาใช้ในการก่อสร้าง ทำให้มีฝุ่นตลอดปี
การฉีดน้ำ รวมทั้งงดใช้รถยนต์ที่สระบุรี จึงไมไ่ด้ช่วยแก้ปัญหา ถ้าไม่แก้ที่ต้นตอ
ดังนั้นอากาศดี หรือไม่ดี สิ่งที่มีผลมากกว่า ไม่ใช่ ประเภทหรือ มาตราฐานน้ำมันเพียงอย่งเดียว แต่มีปัจจัยอื่นๆอีกมาก
แต่ที่มากที่สุดคือ การบริหารจัดการของรัฐ


อีกทั้ง ปริมาณฝุ่น pm2.5 นั้นมีมากขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2540
ไม่ได้มีแบบนี้มานานแล้วอย่างที่เข้าใจกัน
"แนวโน้มระยะยาวของระดับฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยทั้งปีตั้งแต่ ปี พ.ศ.2554-2560 พบว่าระดับฝุ่น PM2.5 ใน
พื้นที่ทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้น.." เป็นรายงานจากเอกสารของกรมควบคุมมลพิษ

จากรายงานก๊าซตั้งตั้นบางตัวในอากาศสูงขึ้นเกิน สองเท่า
ดังนั้นปัญหานี้จะแย่ขึ้นเรื่อยๆ


การเปลี่ยนรถยนต์ไฟฟ้านั้นช่วยเรื่องนี้ได้หรือเปล่า?
มันวนไปกับคำถามที่ว่า มีประเทศที่พัฒนาแล้วมีอากาศที่ดีได้โดยไม่ต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าใหม่คำตอบคือมี
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั้น ปัจจุบันมีแต่ญี่ปุ่นที่ใช้รถพลังงานไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงคือ 20%
แต่คุณภาพอากาศก็ดีพอๆกับประเทศ อื่นๆบางประเทศที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแต่มีการบริหารจัดการที่ดี
นั่นคือ อากาศดีได้ ไม่จำเป็นที่คนต้องใช้รถไฟฟ้ากันทั้งหมด
ในทางกลับกัน การที่ประเทศไทยจะเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
และเปลี่ยนรถใช้น้ำมันเบนซิล ดีเซลทั้งประเทศ เป็นรถยนต์ไฟฟ้านั้น อาจยิ่งส่งผลเสียต่อคุณภาพอกาาศของประเทศ


ปัจจุบันประเทศไทยมีรถยนต์กว่า 38 ล้านคัน การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพียง 20 % เท่ากับการผลิตรถยนต์ถึง 7.6 ล้าน
นั้น จะสร้างมลพิษทางอากาศ เช่น So2 ซึ่งสามารถก่อปฏิกริยา เป็น pm2.5 ได้ปริมาณมหาศาล
ในขณะที่ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา จนถึงปัจจัน ปริมาณ So2 ในอากาศบ้านเรามีปริมาณเพิ่มขึ้น กว่า 2 เท่า เกือบสามเท่า
ถ้ามีการเพิ่มการผลิตในภาคอุตสหากรรมปัญหานี้จะยิ่งหนักหนา
ปัญหามลพิษ และค่าแรงนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ ผู้ผลิต ผลักฐานการผลิตออกมานอกประเทศของตัวเอง


ดังนั้น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ อาจได้ประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศระยะสั้น และ กำไรของผู้ผลิตรถยนต์
แต่ไม่ได้ประโยชน์กับ สภาพอากาศโดยรวมของบ้านเราอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับโครงการรถคันแรกนั่นเอง
การเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหนัก ไม่เคย ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น นั่นคือเรื่องพื้นฐานที่ต้องเข้าใจกัน
อย่างไรก็ดี การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระบบ อาจทำให้เฉพาะสภาพแวดล้อมในตัวเมืองดีขึ้นได้บ้าง
คำตอบที่ลงตัวอาจเป็นการซื้อรถยนต์นำเข้ามาใช้ โดยมีประเทศไหนสักประเทศรับภาระเรื่องมลพิษด้านการผลิตไปแทน?

เมื่อกลับมามองสาเหตุของฝุ่นในกรุงเทพนั้น โดยเทียบเคียงกับตัวแปรรอบๆที่ใช้ประเภทเดียวกันแต่สภาพอากาศดีกว่า
สาเหตุจริงๆที่มีปัญหาสำหรับฝุ่นในกรุงเทพ นั่นคือ การก่อสร้างขนาดใหญ่จำนวนมาก , และจำนวนรถยนต์ต่อพื้นที่ทีมากเกินไป
ไม่ว่าจะเป็นดีเซลหรือเบนซิล รถยนต์เหล่านั้นไม่ได้ผ่านการคัดกรองหรือถูกตรวจสอบ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษปีที่ผ่านมา
มีการสั่งรถยนต์ควันดำห้ามวิ่งชั่วคราวเพียงสองคัน เท่านั้น
ดังนั้นปัญหาจริงๆในภาพรวมคือ การพัฒนาแบบรวมศูนย์ของประเทศไทย และ การหย่อนยานในการควบคุมมลพิษอย่างจริงจัง
(รถยนต์น้ำมันเบนซิลเองก็ก่อมลพิษ  มีการทดลองในปักกิ่งว่า รถที่ใช้น้ำมันเบนซิลทำให้เกิด pm 2.5 มากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล)


ดังนั้นแนวทางจริงๆที่ควรจะเป็นคือ การกระจายการพัฒนไปส่วนอื่นๆของประเทศ เพื่อให้ประชากร และการก่อสร้างขนาดใหญ่ กระจายตัว
ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีความเป็นไปได้ เนื่องการประเด็นด้านการครอบครองทุนและการเมือง
ในขณะเดียวกัน ความหย่อนยานในการควบคุมมลพิษนั้น ก็อาจจะหวังอะไรได้ไม่มากนัก
อย่างที่ทราบกันดีเกี่ยวกับระบบการทำงานของภาครัฐ ที่แก้ปัญหาฝุ่นด้วยการฉีดน้ำใส่เครื่องตรวจวัด
ทำให้เป็นไปได้ว่า เราต้องอยู่กับ สภาพแบบนี้อย่างนี้ไปอีกยาวนาน นั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่