คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
แสงสีฟ้าครับ ไม่ใช่พื้นหลังสีฟ้าครับ
คนละเรื่องกัน ภาพพื้นหลังจะสีอะไรก็ไม่เกี่ยว
และก็ไม่เกี่ยวกับการตลาดครับ เพราะ PC เมื่อก่อนก็มีฟิล์มกรองแสงถนอมสายตาเหมือนกันครับ ปัจจุบันก็ยังมีขายสำหรับ NB
(ถ้าคิดว่าการตลาด ไม่ต้องสนใจครับ ฟิล์มก็ไม่ต้องติดครับ เพราะมือถือและคอมคงส่งผลน้อยมาก พักสายตาและอย่าใช้งานต่อเนื่องนานๆก็พอ)
(ส่วนตัวไม่ติดฟิล์มทั้ง NB และ มือถือครับ เพราะสกปรกง่าย)
(เว็บไซต์ รพ. และการแพทย์มีเรื่องนี้ครับ แต่ถ้าไม่เชื่อ ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อครับ คิดซะว่า มันไม่มีจริง)
แสงสีฟ้า (Blue Light) คือ แสงที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง (HEV) ใกล้เคียงรังสียูวี (Near UV) อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 500 นาโนเมตร ซึ่งมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา เช่น แสงอาทิตย์ แสงไฟ แสงจากหน้าจอต่างๆ เป็นต้น โดยแสงสีฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ แสงสีม่วงในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร และ แสงสีน้ำเงินในช่วงความยาวคลื่น 450 – 500 นาโนเมตร แต่ช่วงแสงสีฟ้าที่ทำอันตรายต่อดวงตาได้ลึกมากที่สุดและเรามักเพ่งมองบ่อยๆ จากการใช้งานหน้าจอ จะอยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร
ผลกระทบจากแสงสีฟ้า
ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) ได้แก่
ปวดตาตาแห้งตาพร่าน้ำตาไหล
โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration : AMD)
มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า ถ้าเผชิญหน้ากับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์ในดวงตาตาย เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลงส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
แสงสีฟ้ามีคุณสมบัติในการยับยั้งการหลั่ง เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย กล่าวคือ ช่วยในการนอนหลับพักผ่อน เมื่อเมลาโทนินถูกยับยั้งให้หลั่งน้อยลง จึงทำให้นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ
คนละเรื่องกัน ภาพพื้นหลังจะสีอะไรก็ไม่เกี่ยว
และก็ไม่เกี่ยวกับการตลาดครับ เพราะ PC เมื่อก่อนก็มีฟิล์มกรองแสงถนอมสายตาเหมือนกันครับ ปัจจุบันก็ยังมีขายสำหรับ NB
(ถ้าคิดว่าการตลาด ไม่ต้องสนใจครับ ฟิล์มก็ไม่ต้องติดครับ เพราะมือถือและคอมคงส่งผลน้อยมาก พักสายตาและอย่าใช้งานต่อเนื่องนานๆก็พอ)
(ส่วนตัวไม่ติดฟิล์มทั้ง NB และ มือถือครับ เพราะสกปรกง่าย)
(เว็บไซต์ รพ. และการแพทย์มีเรื่องนี้ครับ แต่ถ้าไม่เชื่อ ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อครับ คิดซะว่า มันไม่มีจริง)
แสงสีฟ้า (Blue Light) คือ แสงที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง (HEV) ใกล้เคียงรังสียูวี (Near UV) อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 500 นาโนเมตร ซึ่งมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา เช่น แสงอาทิตย์ แสงไฟ แสงจากหน้าจอต่างๆ เป็นต้น โดยแสงสีฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ แสงสีม่วงในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร และ แสงสีน้ำเงินในช่วงความยาวคลื่น 450 – 500 นาโนเมตร แต่ช่วงแสงสีฟ้าที่ทำอันตรายต่อดวงตาได้ลึกมากที่สุดและเรามักเพ่งมองบ่อยๆ จากการใช้งานหน้าจอ จะอยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร
ผลกระทบจากแสงสีฟ้า
ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) ได้แก่
ปวดตาตาแห้งตาพร่าน้ำตาไหล
โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration : AMD)
มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า ถ้าเผชิญหน้ากับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์ในดวงตาตาย เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลงส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
แสงสีฟ้ามีคุณสมบัติในการยับยั้งการหลั่ง เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย กล่าวคือ ช่วยในการนอนหลับพักผ่อน เมื่อเมลาโทนินถูกยับยั้งให้หลั่งน้อยลง จึงทำให้นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ
แสดงความคิดเห็น
ในเมื่อแสงสีฟ้า-น้ำเงิน เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำไมพื้นหลังของวินโดว์ แอนดรอย หรือระบบอื่นๆยังเป็นฟ้า-น้ำเงินไม่เปลี่ยนครับ
ก็จะไม่เปลี่ยนด้วยครับ ยังคงใช้ภาพพื้นหลัง
สีฟ้า-น้ำเงินที่เป็นค่าพื้นฐานนั้นไปจนพัง
ซึ่งบริษัทที่วิเคราะห์และรู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภครวมไปถึงองค์การอนามัยฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่น่าจะทราบปัญหา ก็ไม่ได้มีมาตรการใดๆที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเลยครับ
หรือมีข้อมูลใดที่ผมไม่รู้ ผู้รู้รบกวนชี้แนะทีครับ
อันนี้สงสัยส่วนตัวเลย